ข้ามไปเนื้อหา

การมีคนรักหลายคน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวใจที่ไม่สิ้นสุด

การมีคนรักหลายคน หรือ พอลีแอเมอรี (อังกฤษ: polyamory, จาก ภาษากรีก πολύ poly แปลว่า "หลากหลาย"และ ภาษาละติน amor แปลว่า "ความรัก") เป็นการปฏิบัติหรือความปรารถนา จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กันมากกว่าหนึ่งคนโดยที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับรู้[1][2] มีการอธิบายไว้ว่า เป็น "ความยินยอม จริยธรรม และการมีคู่ครองหลายคนอย่างมีความรับผิดชอบ"[3][4][5] คนที่แสดงตัวเป็น พอลีแอเมอรี ปฏิเสธว่า มุมมองทางเพศและการมีความสัมพันธ์กับบุคคลเดียว เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความรัก และความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ในระยะยาว[6]

รูปแบบของพอลีแอเมอรีมีความหลากหลาย[7][8] สะท้อนถึงทางเลือกและปรัชญาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่ด้วยแก่นหรือค่านิยม เช่น ความรัก ความสนิทสนม ความซื่อสัตย์สุจริตความเท่าเทียมกัน การสื่อสารและข้อผูกมัด

ความสับสนเกิดขึ้นเมื่อใช้พอลีแอเมอรีในความหมายที่กว้างขึ้น โดยใช้เป็นคำที่ครอบคลุมรูปแบบต่าง ๆ ของการมีหลายคู่ครองโดยสมัครใจ ความสัมพันธ์หลายคู่ (รวมถึงพอลีแอเมอรี) หรือความสัมพันธ์ทางเพศหรือโรแมนติกที่ไม่ผูกขาดกับบุคคลเดียว[9]

พอลีแอเมอรีในขบวนไพรด์พาเรดที่ลอนดอน ปี 2016

รูปแบบ

[แก้]

พอลีแอเมอรีมีมาตรฐานสูงในการรักอย่างมีจริยธรรม การซื่อสัตย์ การเปิดเผยและการให้ความเคารพต่อกันและกัน พอลีแอเมอรีมีหลากหลายรูปแบบได้แก่

  • อินทิเมตเน็ตเวิกส์ — เครือข่ายใกล้ชิดที่เชื่อมต่อความรักความสัมพันธ์ที่บุคคลอื่นอีกหลายคนและมีระดับความใกล้ชิดที่หลากหลาย
  • พอลีแอเมอรีเดียว — คนที่ไม่มีความปรารถนาจะสร้างครอบครัวกับคู่รักคนอื่น
  • ความสัมพันธ์แบบ"เรขาคณิต" เช่น
    • วี— หนึ่งคนที่มีคู่รักสองคน โดยคู่รักสองคนไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน
    • ไทรแอด — สามคนที่รักใคร่กัน โดยอาจจะเริ่มจากคู่รักตัดสินใจเพิ่มอีกคนเข้ามาในความสัมพันธ์
    • ควอด — สี่คน มันเริ่มจากสองคู่ที่คบกันอยู่แล้ว
    • เอ็น (N) — ความเป็นไปได้ที่คู่รักแต่ละคนจะมีคนรักเพิ่ม

ศาสนา

[แก้]

ชุมชนโอเนดะ (Oneida Community) เป็นชุมชนศาสนาคริสต์ในนิวยอร์ก ในช่วงศตวรรษที่ 19 เชื่อมั่นในระบบรักอิสระ (free love) และการแต่งงานที่ซับซ้อน (complex marriage)[10] โดนสมาชิกมีอิสระในการมีเซ็กส์กับทุกคนที่ยินยอม[11] การยึดครอง ความเป็นเจ้าของ และการคบหาดูใจกับคนใดแค่คนเดียวมักไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน[12]

บางคนคิดว่าตัวเองเป็นคริสเตียนและเป็นพอลีแอเมอรี แต่หลักศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ[13]

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560 คณะมนตรีเกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิ้ลบุรุษและสตรีได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศของมนุษย์ที่เรียกว่า "แถลงการณ์แนชวิลล์" ข้อความดังกล่าวได้รับการลงนามโดยผู้นำศาสนา 150 คนและรวมถึงความเชื่อ 14 ข้อ[14] หนึ่งในนั้นกล่าวว่า "เราปฏิเสธว่าพระเจ้าได้ออกแบบการแต่งงานไว้ สำหรับพวกรักร่วมเพศ พวกที่มีคู่ครองหลายคนหรือ พวกที่มีความสัมพันธ์แบบพอลีแอเมอรี"[15][16]

หลักปฏิบัติ

[แก้]

นอกจากปรัชญาพื้นฐานสำหรับความสัมพันธ์แล้ว พอลีแอเมอรียังมีหลักปฏิบัติที่รับมือ และจัดการกับปัญหาบางอย่างไม่ต่างจากการมีคู่สมรสเพียงคนเดียวที่ได้รับการยอมรับจากสังคม

ความเชื่อหลัก

[แก้]
  • ความซื่อสัตย์ พอลีแอเมอรีจำนวนมาก นิยามความซื่อสัตย์ว่าไม่ได้เป็นความผูกขาดทางเพศ แต่เป็นความสัตย์ซื่อต่อสัญญาและข้อตกลงที่ทำไว้เมื่อคบกัน พอลีแอเมอรี สนับสนุนความสัมพันธ์แบบเปิดกว้างหรือการมีคนรักหลายคน โดยต่างกันไปตามระดับความใกล้ชิดและข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม[17] ความสัมพันธ์ทางเพศที่เป็นความลับจะนับว่าละเมิดข้อตกลงและจะถูกมองว่าเป็นความไม่ซื่อสัตย์ คำนิยามของข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มจะพิจารณานอกเหนือจากการผูกขาดทางเพศ เช่น "ความไว้วางใจและความซื่อสัตย์"[18]
  • การสื่อสารและการเจรจาต่อรอง เนื่องจากไม่มี "โมเดลมาตรฐาน" สำหรับความสัมพันธ์แบบพอลีแอเมอรี การเจรจาอย่างชัดเจนกับทุกฝ่ายในการกำหนดเงื่อนไขของความสัมพันธ์ของพวกเขามักเป็นสิ่งที่ถูกเน้นย้ำให้ทำอย่างสม่ำเสมอ เขาเชื่อว่าบางครั้งคนรักก็อาจทำผิดพลาด และการสื่อสารก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้.
  • ความเชื่อถือ ความซื่อสัตย์ ศักดิ์ศรี และความเคารพ พอลีแอเมอรีส่วนใหญ่เน้นความเคารพ ความไว้วางใจ และความซื่อสัตย์ระหว่างคนรักทั้งหมด[19][20]
  • ขอบเขตและข้อตกลง ความสัมพันธ์แบบพอลีแอเมอรีมักเกี่ยวข้องกับการเจรจาข้อตกลงและการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน โดยมี"กฎพื้นฐาน" ที่แตกต่างกันไปและอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
  • ความเสมอภาคทางเพศ พอลีแอเมอรีเชื่อในความเสมอภาคทางเพศ ต่างจากบางศาสนาที่ผู้ชายเป็นใหญ่
  • ความไม่เป็นเจ้าของ: พอลีแอเมอรีสนับสนุนให้การที่คนรักของตนมีตนรักอีกคนเป็๋นสิ่งที่ดี ทำให้ตนรักของเรามีความสุขมากขึ้น ไม่ใช่การถูกแย่ง ความหึงหวงหรือความรู้สึกเป็นเจ้านั้นควรแก้ไข โดยมีเป้าหมายคือคอมเพอชัน (compersion)[21]

คอมเพอชัน (compersion)

[แก้]

คอมเพอร์ชัน (หรือในสหราชอาณาจักรใช้คำว่า ฟรับเบิล (frubble)[22][23]) ใช้เพื่ออธิบายว่าคนหนึ่งมีประสบการณ์ในแง่บวก เมื่อคนรักของตนกำลังมีความสุขกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น[24][25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sheff, Elisabeth (2016). When Someone You Love Is Polyamorous: Understanding Poly People and Relationships. Portland, Oregon: Thorntree Press.
  2. Haritaworn, J.; Lin, C.-j.; Klesse, C. (2016-08-15). "Poly/logue: A Critical Introduction to Polyamory". Sexualities. 9 (5): 515–529. doi:10.1177/1363460706069963.
  3. Morning Glory Zell-Ravenheart. A Bouquet of Lovers (1990)
  4. Klesse, C. (2016-08-15). "Polyamory and its 'Others': Contesting the Terms of Non-Monogamy". Sexualities. 9 (5): 565–583. doi:10.1177/1363460706069986.
  5. Keenan, Jillian (June 13, 2013). "Marry Me. And Me: The case for polyamory. And while we're at it, let's privatize marriage". Slate.
  6. Klesse, C. (2011). "Notions of love in polyamory—Elements in a discourse on multiple loving". Laboratorium. 3 (2): 4–25.
  7. Helen Echlin (November 14, 2003). "When two just won't do". The Guardian. สืบค้นเมื่อ March 27, 2007. For most people, the biggest stumbling block to polyamory is jealousy. But polys try to see jealousy less as a green-eyed monster than as an opportunity for character-building
  8. Schippers, Mimi (2017). Beyond Monogamy: Polyamory and the Future of Polyqueer Sexualities. NYU Press.
  9. "Poly glossary". PolyMatchMaker.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  10. Foster, Lawrence (2010). "Free Love and Community: John Humphrey Noyes and the Oneida Perfectionists." In: Donald E. Pitzer (ed.), America's Communal Utopias. Chapel Hill, NC: University of North Carolina Press, pp. 253–278.
  11. Stoehr, Taylor (1979). Free Love in America: A Documentary History. New York: AMS Press, Inc.
  12. DeMaria, Richard (1978). Communal Love at Oneida: A Perfectionist Vision of Authority, Property and Sexual Order. New York: The Edwin Mellen Press, p. 83.
  13. "Multiple intimate relationships: a summary of liberated Christians' views". Liberated Christians. สืบค้นเมื่อ August 25, 2015.
  14. Meyer, Holly (August 29, 2017). "More than 150 evangelical religious leaders sign 'Christian manifesto' on human sexuality". USA Today. สืบค้นเมื่อ August 30, 2017.
  15. "What is the Nashville Statement and why are people talking about it?". Usatoday.com. สืบค้นเมื่อ 2017-08-31.
  16. Mikelionis, Lukas. "Evangelicals draw critics with 'Nashville Statement' on sexuality". Fox News. สืบค้นเมื่อ 2017-08-31.
  17. Klesse, Christian (February 5, 2014). "Polyamory: Intimate practice, identity or sexual orientation?". Sexualities. 17 (1–2). doi:10.1177/1363460713511096.
  18. Cook, Elaine (2005). "Commitment in Polyamorous Relationships". สืบค้นเมื่อ July 10, 2006.
  19. From PolyOz glossary: "Not in the [linguistic roots of the term] but very important is the commitment to honesty with all partners, and openly negotiated ground rules." Scm-rpg.com เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 27, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. From sexuality.org เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ Archive-It: "Two of the cultural cornerstones of the polyamory community are honesty and communication: it's expected that you and your existing long-term partner(s) will have talked over what you're comfortable with and what you aren't comfortable with, and that nobody is going around behind anyone else's back."
  21. Attridge, Mark (2013-02-04). "Jealousy and Relationship Closeness". SAGE Open. 3 (1): 215824401347605. doi:10.1177/2158244013476054.
  22. Christina Richards, Meg-John Barker (eds.), The Palgrave Handbook of the Psychology of Sexuality and Gender, Palgrave Macmillan, 2015, pp. 267, 247, 253.
  23. "Polyamory Weekly #255 (Podcast)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ January 6, 2016.
  24. Sheff, Elisabeth (December 17, 2013). "Jealousy and Compersion with Multiple Partners – How polys deal with jealousy and feel happy when their lover loves someone else". Psychology Today.
  25. Anapol, Deborah M (1998). COMPERSION: Meditation on Using Jealousy as a Path to Unconditional Love. San Rafael, CA: IntinNet Resource Center.

อ่านเพิ่ม

[แก้]