การฟ้องให้ขับบิล คลินตันออกจากตำแหน่ง
การฟ้องให้ขับบิล คลินตันออกจากตำแหน่ง เป็นกระบวนการซึ่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเริ่มเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2541 ต่อบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 42 ใน 2 ข้อหา ข้อหาหนึ่งฐานเบิกความเท็จ และอีกข้อหนึ่งฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม[1] ข้อหาทั้งสองเกิดจากคดีการก่อกวนทางเพศที่พอลลา โจนส์ฟ้องคลินตัน ต่อมา วุฒิสภาปล่อยตัวคลินตันจากข้อเหาเหล่านี้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2542[2] ส่วนมาตราฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งอีกสองมาตรา คือ ข้อหาเบิกความเท็จที่สองและข้อหาละเมิดอำนาจ ไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
ก่อนหน้าการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาอิสระ เคน สตาร์ (Ken Starr) ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมาธิการตุลาการของสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าอัยการ เดวิด ชิพเพอส์ (David Schippers) และทีมของเขาทบทวนเอกสารและตัดสินว่ามีมูลพอให้ฟ้องให้ขับประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง ผลคือ สภาผู้แทนราษฎรเต็มสภาพิจารณาสี่ข้อหา โดยผ่านสองข้อหา ทำให้คลินตันเป็นประธานาธิบดีคนที่สองที่ถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง คนแรกคือ แอนดรูว์ จอห์นสันในปี 2411 และเป็นคนที่สามที่มาตราฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งถูกเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเต็มสภาเพื่อพิจารณา (ริชาร์ด นิกสันลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2517 ระหว่างที่มีกระบวนการฟ้องให้ขับเขาออกจากตำแหน่ง)
การพิจารณาในวุฒิสภาสหรัฐเริ่มทันทีหลังมีการประชุมรัฐสภาชุดที่ 106 ซึ่งพรรครีพับลิกันเริ่มด้วยสมาชิกวุฒิสภา 55 คน ต้องการคะแนนเสียงสองในสาม (67 เสียง) เพื่อถอดถอนคลินตันออกจากตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา 50 คนออกเสียงลงคแนนให้ถอดถอนคลินตันฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และ 45 เสียงในถอดถอนเขาในข้อหาเบิกความเท็จ ไม่มีสมาชิกพรรคเดโมแครตของเขาออกเสียงลงคะแนนให้มีความผิดทั้งสองข้อหา คลินตันถูกปล่อยตัวในทุกข้อกล่าวหา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Erskine, Daniel H. (2008). "The Trial of Queen Caroline and the Impeachment of President Clinton: Law As a Weapon for Political Reform". Washington University Global Studies Law Review (ภาษาอังกฤษ). 7 (1). ISSN 1546-6981.
- ↑ Baker, Peter (February 13, 1999). "The Senate Acquits President Clinton". The Washington Post. The Washington Post Co. สืบค้นเมื่อ 4 December 2013.