ข้ามไปเนื้อหา

การประมาณภาวะน่าจะเป็นสูงสุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การประมาณภาวะน่าจะเป็นสูงสุด[1] หรือ การประมาณค่าควรจะเป็นสูงสุด (maximum likelihood estimation) หรือ วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุด (method of maximum likelihood) ในทางสถิติศาสตร์ คือวิธีการประมาณค่าแบบจุดสำหรับพารามิเตอร์ของการแจกแจงความน่าจะเป็นของข้อมูล

วิธีการนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยโรนัลด์ ฟิชเชอร์ ระหว่าง ปี 1912 ถึง 1922[2][3]

มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อพยายามอธิบายประชากรที่สร้างข้อมูลที่สังเกตได้ ในทางชีววิทยา เมื่อสร้างแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ตามแบบจำลองความน่าจะเป็นสำหรับการทดแทนข้อมูลโมเลกุล เช่น แถวลำดับของเบส หรือ กรดอะมิโน ยังใช้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเลือกรูปร่างของต้นไม้ที่อธิบายข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือที่สุด

ในสาขาการเรียนรู้ของเครื่อง การประมาณภาวะน่าจะเป็นสูงสุดได้ถูกนำมาใช้ในการเรียนรู้ของโครงข่ายประสาทเทียม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Pfanzagl, Johann (1994). Parametric Statistical Theory. Walter de Gruyter. pp. 207–208. doi:10.1515/9783110889765. ISBN 978-3-11-013863-4. MR 1291393.
  3. Hald, Anders (1999). "On the History of Maximum Likelihood in Relation to Inverse Probability and Least Squares". Statistical Science. 14 (2): 214–222. ISSN 0883-4237.