การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44
การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44 | |
---|---|
ประเทศเจ้าภาพ | แคนาดา |
ข้อมูลวันที่ | 8-9 มิถุนายน พ.ศ. 2561 |
ผู้เข้าร่วม | |
เว็ปไซต์ทางการ | g7 |
การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ลามาลแบ รัฐเกแบ็ก ประเทศแคนาดา[1] การประชุดสุดยอดในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่หก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่ประเทศแคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอด[2]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 กลุ่ม 7 ได้ก่อตั้งขึ้น พร้อมกับเหล่าผู้นำจากประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เนื่องจากการเปิดอภิปรายให้ประเทศรัสเซียออกจากกลุ่ม 8[3] ตั้งแต่นั้นมาการประชุมจึงได้ขึ้นชื่อว่าอยู่ในกลุ่ม 7 ในวันแรกของการประชุม สหรัฐได้มีท่าทีที่จะผลักดันให้ประเทศรัสเซียเข้ามาในกลุ่ม 7 เหมือนเดิม หลังจากนั้นไม่นานประเทศอิตาลีก็ได้ขอให้ใช้ชื่อกลุ่ม 8 เหมือนเดิม[4][5]
การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ได้ร่วมความสนใจอย่างมาก เนื่องจากว่าสหรัฐลดความสัมพันธ์กับสมาชิกประเทศในกลุ่ม 7[6] เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีการขนานนามการประชุมในครั้งนี้ว่า การประชุมสุดยอดกลุ่ม 6+1 โดยสื่อมวลชนในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสมาชิกได้กล่าวว่า เป็นการสื่อถึงการแยกตัวของสหรัฐ[7][8][9][10]
วาระการประชุมและการเตรียมการ
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แห่งแคนาดา กล่าวว่าเขาตั้งใจที่จะ "แสดงการให้ความสำคัญกับทั้งในและต่างประเทศ: เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ชนชั้นกลาง เพิ่มความเสมอภาคทางเพศ การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการเคารพความหลากหลาย[1]
ในเดือนมิถุนายน 2560 ปีเตอร์ โบห์ม (Peter Boehm) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการการประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 และผู้แทนส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี[11] หลังจากทำหน้าที่เป็น "จี 7 เศรปา" (ผู้แทนนายกรัฐมนตรีในการเตรียมการประชุมประจำปี) ของแคนาดา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[12]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ทรูโดได้เปิดตัวสัญลักษณ์การประชุมสุดยอด และประกาศห้าประเด็นสำคัญที่แคนาดาจะดำเนินการต่อ เมื่อได้รับตำแหน่งประธานของกลุ่ม 7 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561[13]
- ลงทุนสร้างความเจริญก้าวหน้าที่เหมาะสมกับทุกคน
- เตรียมความพร้อมสำหรับงานในอนาคต
- การพัฒนาความเสมอภาคทางเพศและการส่งเสริมพลังสตรี
- ทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, มหาสมุทร และส่งเสริมพลังงานสะอาด
- สร้างโลกที่สงบและปลอดภัยยิ่งขึ้น
คำประกาศแถลงการณ์
[แก้]"พันธกรณีชาร์เลอวัว ในการปกป้องประชาธิปไตยจากภัยคุกคามจากต่างประเทศ" เป็นหนึ่งในแปดคำแถลงการณ์ในการประชุมครั้งนี้ โดยผู้นำกลุ่ม 7 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561[14] โดยพันธกรณีชาร์เลอวัว ระบุว่า "ผู้ดำเนินนโยบายต่างชาติ ได้พยายามที่จะบ่อนทำลายสังคมประชาธิปไตยและสถาบันของเรา, กระบวนการเลือกตั้งของเรา, อำนาจอธิปไตยของเรา และความปลอดภัยของเรา กลยุทธ์ที่เป็นอันตรายหลายแง่มุมและมีวิวัฒนาการตลอดเวลาเหล่านี้ เป็นภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์ร้ายแรง ซึ่งเรามุ่งมั่นที่จะเผชิญหน้าและทำงานร่วมกับรัฐบาลอื่น ๆ ที่แบ่งปันค่านิยมทางประชาธิปไตยของเรา" การประชุมสุดยอดชาร์เลอวัว มีมติให้จัดตั้งกลไกการตอบสนองอย่างรวดเร็วของกลุ่ม 7 "เพื่อเสริมสร้างการประสานงานของเราในการระบุและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่หลากหลาย และการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยของเรา รวมถึงผ่านทางการแบ่งปันข้อมูลและการวิเคราะห์ และการระบุโอกาสในการประสานความร่วมมือกัน"[14]
ผู้นำในการประชุมสุดยอด
[แก้]ผู้เข้าร่วมการประสุดยอดในครั้งนี้ล้วนแล้วเป็นผู้นำประเทศของสมาชิกกลุ่ม 7 โดยมีตัวแทนจากสหภาพยุโรปเข้าร่วมด้วย ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรปได้เป็นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมถาวร ในทุกครั้งการประชุมและการหารือกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524
การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44 นี้ถือเป็นครั้งแรกในการประชุมสุดยอดของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จูเซปเป คอนเต และเป็นการประชุมครังสุดท้ายของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เทเรซา เมย์ และประธานคณะคณะกรรมาธิการยุโรป ฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์
ผู้เข้าร่วม
[แก้]ผู้ที่เข้าร่วม/สมาชิกของการประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 เมืองและผู้นำเจ้าภาพในการจัดประชุมสุดยอดจะเป็นตัวหนา | |||
สมาชิก | นำโดย | ตำแหน่ง | |
---|---|---|---|
แคนาดา | จัสติน ทรูโด | นายกรัฐมนตรี | |
ฝรั่งเศส | แอมานุแอล มาครง | ประธานาธิบดี | |
เยอรมนี | อังเกลา แมร์เคิล | นายกรัฐมนตรี | |
อิตาลี | จูเซปเป คอนเต | นายกรัฐมนตรี | |
ญี่ปุ่น | ชินโซ อาเบะ | นายกรัฐมนตรี | |
สหราชอาณาจักร | เทเรซา เมย์ | นายกรัฐมนตรี | |
สหรัฐ | ดอนัลด์ ทรัมป์ | ประธานาธิบดี | |
สหภาพยุโรป | ฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์ | ประธานคณะกรรมมาธิการ | |
ดอนัลต์ ตุสก์ | ประธานสภายุโรป |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Canada to host 2018 G7 Summit in Charlevoix, Quebec". pm.gc.ca. Office of the Prime Minister (Canada). May 27, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ May 27, 2017.
- ↑ "Canada to host 2018 meeting of G7 leaders in Charlevoix, Quebec". Toronto Star. May 25, 2017. สืบค้นเมื่อ May 29, 2017.
- ↑ "Leaders plan Brussels G7 in June instead of G8 in Sochi". Irish Independent. March 24, 2014. สืบค้นเมื่อ May 29, 2017..
- ↑ "Trump Calls for Russia to Be Readmitted to G-7". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-08. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2018-06-08.
- ↑ Herszenhorn, David (June 8, 2018). "New Italian leader backs Trump on Russia rejoining G-7". Politico. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018.
- ↑ Erlam, Craig (June 8, 2018). "Risk Aversion Seen Ahead of Hostile G6+1 Summit". FXStreet. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018.
The G7 meeting has become more like a G6+1, with Trump choosing to isolate the US on a number of issues from trade to Iran and climate change.
- ↑ Allen, Jonathan (June 8, 2018). "Welcome to the G6+1: Trump reps an isolated America at the G-7 summit". NBC News. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018.
The G-7 this year looks more like a G6+1. That's how French Foreign Minister Bruno Le Maire recently described America's increasingly isolated position as the Group of Seven nations — the U.S., Britain, France, Japan, Germany, Italy and Canada — start a two-day meeting in Charlevoix, Canada, Friday.
- ↑ Erlam, Craig (June 8, 2018). "Risk Aversion Seen Ahead of Hostile G6+1 Summit". FXStreet. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018.
The G7 meeting has become more like a G6+1, with Trump choosing to isolate the US on a number of issues from trade to Iran and climate change.
- ↑ Kottasová, Ivana (8 June 2018). "G7 summit angst; ZTE deal; IMF in Argentina". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 8 June 2018.
Diplomatic tensions and an escalating trade war mean that President Donald Trump can expect a chilly reception at the summit, which some have dubbed the G6+1.
- ↑ Solomon, Deborah (June 11, 2018). "Who is Peter Navarro?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 13, 2018.
- ↑ "The Prime Minister announces changes in the senior ranks of the Public Service". pm.gc.ca. Office of the Prime Minister (Canada). 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
- ↑ "Peter Boehm". pm.gc.ca. 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
- ↑ "Prime Minister unveils themes for Canada's 2018 G7 Presidency". pm.gc.ca. Office of the Prime Minister (Canada). 14 December 2017.
- ↑ 14.0 14.1 Charlevoix commitment on defending democracy from foreign threats (PDF) (Report). Charlevoix, Quebec: Group of 7. June 9, 2018. p. 2.