เท็ด (การประชุม)
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
สำนักงานใหญ่ | นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก และ แวนคูเวอร์, รัฐบริติชโคลัมเบีย, ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
ผู้ก่อตั้ง | ริชาร์ด เวอร์แมน และ แฮร์รี่ มารกส์[1] |
เจ้าของ | Sapling Foundation[2] |
คำขวัญ | ความคิดน่าเผยแพร่ |
เว็บไซต์ | www |
อันดับอเล็กซา | 847[3] |
ประเภทเว็บ | งานประชุม |
การลงทะเบียน | เลือกได้ |
ภาษาที่มี | อังกฤษ, มีคำบรรยายหลายภาษา, มีใบคัดสำเนา |
เปิดตัว | ค.ศ. 1984 |
สถานะปัจจุบัน | ยังดำเนินการอยู่ |
เทคโนโลยี การบันเทิง และการออกแบบ (อังกฤษ: Technology, Entertainment and Design) ย่อว่า เท็ด (TED) เป็นกลุ่มงานประชุมสากลที่มีเจ้าของเป็นมูลนิธิเซปลิง องค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไร ภายใต้คำขวัญว่า "ความคิดน่าเผยแพร่" (Ideas Worth Spreading)[4] เท็ดเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1984 เดิมตั้งใจให้เป็นงานจัดครั้งเดียว[1] ต่อมาจึงเริ่มจัดงานประจำปีในปี ค.ศ. 1990[5] เท็ดในยุคแรกเน้นประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการออกแบบ[6] ซึ่งสอดคล้องกับแหล่งกำเนิดของงานประชุมคือ ซิลิคอนแวลลีย์ แต่ต่อมาได้ขยายประเด็นพูดคุยเป็นหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และวิชาการเพิ่มขึ้นมาด้วย[7]
งานประชุมหลักของเท็ดจัดขึ้นทุกปีที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา และงานคู่กันคือเท็ดแอกทีฟ (TEDActive) จัดที่เมืองวิสต์เลอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย[8][9] ก่อน ค.ศ. 2014 งานประชุมทั้งสองงานจัดขึ้นที่ลองบีช และปาล์มสปริงส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ตามลำดับ[10] เท็ดยังจัดขึ้นทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย โดยเสนอการบรรยายสดผ่านสตรีมมิง การบรรยายจะครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวิจัยและปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และสังคมผ่านการเล่าเรื่อง[11] ผู้บรรยายจะมีเวลาอย่างมาก 18 นาทีในการนำเสนอแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมมากที่สุดและดึงดูดความสนใจมากที่สุดเท่าที่ตนจะทำได้[12] นักพูดที่เคยมาบรรยายที่นี่ ได้แก่ บิล คลินตัน เจน กูดดอลล์ อัล กอร์ กอร์ดอน บราวน์ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ริชาร์ด สตอลแมน บิล เกตส์ โบโน ไมค์ โรว์ ผู้ก่อตั้งกูเกิล แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน และผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีกหลายคน[13] ผู้ดูแลเท็ดคนปัจจุบัน คือ คริส แอนเดอร์สัน อดีตนักหนังสือพิมพ์และนักตีพิมพ์นิตยสารชาวอังกฤษ[14]
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006[1] การบรรยายมีให้ชมทางออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แอตทริบิวชันนอนคอมเมอร์เชียลโนเดริฟส์ (Attribution-NonCommercial-NoDerivs Creative Commons) ในเว็บไซต์ TED.com[15] นับจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 มีการบรรยายกว่า 1,900 หัวข้อให้ชม[16] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 ตัวเลขยอดผู้ชมการบรรยายทุกหัวข้อรวมกันได้มากกว่า 500 ล้านครั้ง[17] และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 การบรรยาย TED มียอดผู้ชมหนึ่งพันล้านครั้งทั่วโลก[18] แต่การบรรยายเท็ดไม่ได้เป็นที่นิยมเท่ากันทุกหัวข้อ หัวข้อวิชาการจะมีผู้ชมออนไลน์มากกว่า ส่วนหัวข้อเกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบจะมีผู้ชมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย[19]
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]เท็ดมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์กและแวนคูเวอร์ การสัมมนาได้เคยจัดที่เมืองมอนเตอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แต่หลังจากที่มีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนามากขึ้นจนสถานที่เก่าไม่สามารถรองรับได้ จึงได้ย้ายการจัดสัมมนาไปที่ลองบีช (รัฐแคลิฟอร์เนีย)[20] เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 งานประชุมหลักของเท็ดปัจจุบันจัดเป็นประจำปีที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย และงานคู่หูกันคือเท็ดแอฟทีฟ จัดที่เมืองวิสต์เลอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย[21][22] นอกเหนือไปจากการจัดสัมมนาในประเทศสหรัฐอเมริกา เท็ดยังได้ส่งเสริมโครงการเท็ดโกลบัล (TEDGlobal) ซึ่งได้มีการจัดการจัดสัมมนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย
วัตถุประสงค์ขององค์กรได้แก่:
เราเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าพลังแห่งความคิดสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ชีวิต และโลกของเราได้ ดังนั้นจึงได้เริ่มดำเนินการสร้างศูนย์กลางเพื่อรวบรวมและนำเสนอความรู้จากนักคิดยอดนักดลบันดาลใจของโลก อย่างไม่มีค่าใช้จ่ายต่อสาธารณชน และสร้างชุมชนผู้ใฝ่รู้เพื่อนำไอเดียไปใช้และสร้างความสัมพันธุ์ในระหว่างชุมชน[23]
ประวัติ
[แก้]ริชาร์ด ซอล์ เวอร์แมน (Richard Saul Wurman) และ แฮร์รี มากส์ ก่อตั้งเท็ดขึ้นในปี ค.ศ. 1984 และได้มีการจัดการสัมมนาขึ้นเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ซึ่งผู้ก่อตั้งได้มอบหมายให้คริส แอนเดอร์สัน ดูแลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 จนกระทั่งปัจจุบัน โดยที่ให้ Sapling Foundation องค์กรไม่หวังผลกำไร[24] เป็นเจ้าของ TED ซึ่งอุทิศตัวและทุ่มเทให้กับการใช้พลังแห่งความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
ปาฐกถาในเท็ดทอกส์ (TED Talks) ได้รับการถ่ายทอดเป็นตัวอักษร และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ TED Open-Translation ที่มุ่งหวังจะถ่ายทอดความคิดต่าง ๆ ให้แก่คนอีกสี่พันห้าร้อยล้านคนที่ไม่สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษ การแปลนั้นได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการแปลไปมากกว่าสี่สิบภาษา[25]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hefferman, Virginia (January 23, 2009). "Confessions of a TED addict". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12.
- ↑ "About TED: Who we are: Who owns TED". TED: Ideas Worth Spreading. TED Conferences, LLC. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
- ↑ "TED". Alexa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ April 15, 2014.
- ↑ "TED Talks". PeAndMe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
- ↑ "What's the big idea?". The Guardian. July 24, 2005. Retrieved December 20, 2014.
- ↑ "TED Talks". mashable.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ 2014-09-26.
- ↑ "TED Talks". Mashable.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
- ↑ "TED's next chapter is Vancouver's". The Globe and Mail. March 2014. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
- ↑ "TED's next chapter is Vancouver's". Huffington Post. April 2, 2013. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
- ↑ "The next chapter: TED headed to Vancouver in 2014, TEDActive hitting the slopes of Whistler". TED Blog. February 4, 2013. สืบค้นเมื่อ February 5, 2013.
- ↑ "Here's Why TED and TEDx are Appealing". Forbes. June 19, 2012. Retrieved December 20, 2014.
- ↑ "Tools". RISE UP/GEAR UP (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 26, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-02. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
- ↑ "Speakers". TED: Ideas Worth Spreading. TED Conferences, LLC. สืบค้นเมื่อ February 6, 2009.
- ↑ "Chris Anderson is the curator of TED". DumboFeather.com. 2011. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
- ↑ "TEDTalks usage policy". TED.com. Retrieved December 20, 2014.
- ↑ "TED Talks List". TED. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
- ↑ "TED profile". Mashable.com. June 27, 2011. Retrieved December 20, 2014.
- ↑ "TED reaches its billionth video view!". TED Blog. November 13, 2012. Retrieved December 20, 2014.
- ↑ doi:10.1002/asi.22764
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ "Long Beach to host influential TED conference". LA Times. 16 Jan 2008.
- ↑ "TED's next chapter is Vancouver's". theglobeandmail.com. 15 March 2014.
- ↑ "TED's next chapter is Vancouver's". Hufftington Post. Canada. 2 April 2013.
- ↑ "About TED". TED. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "About TED » Who we are » Who owns TED". TED. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "TED Open-Translation Project Brings Subtitles in 40+ Languages to TED.com". redOrbit. May 13, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- "Conference of cool". Financial Times. July 23 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - "TED - the ultimate forum for blue-sky thinking". The Guardian. UK. 2010-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12.</ref>
- Official TED YouTube channel
- "Confessions of a TED Addict". New York Times. January 23, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12.
- TED India Updates เก็บถาวร 2012-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TEDIndia Program เก็บถาวร 2010-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (TEDIndia official web site)