ข้ามไปเนื้อหา

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Regeneron International Science and Engineering Fair (Regeneron ISEF)[1] หรือ "รีเจเนอรอน ไอเซฟ" เป็นการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระหว่างประเทศ ที่จัดประจำปีในเดือนพฤษภาคม ณ สหรัฐ โดย Society for Science ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในแต่ละปีนักเรียนมัธยมศึกษามากกว่า 1,500 คน จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกจะเข้าร่วมการประกวด เพื่อชิงทุนการศึกษา ค่าเล่าเรียน การฝึกงาน การทัศนศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยรางวัลทั้งหมดมีมูลค่ารวมถึง 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

ภายในงานมีการบรรยายโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล และมีการพบปะสังสรรค์นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์กับนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก นับเป็นการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์นานาชาติสำหรับนักเรียนมัธยมปลายแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินและพิจารณาโครงงาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิต้อง 1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือ 2) เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีประสบการณ์การวิจัยระดับปริญญาเอกมากกว่าสี่ปี หรือ 3) เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่อยู่ในหนึ่งปีของการป้องกันวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก หรือ 4) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี (วุฒิ B.A., B.S.) / หรือปริญญาโท และเคยมีประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับการมอบรางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์[3] ประกอบไปด้วย รางวัล Top Award รางวัล Grand award และรางวัลพิเศษ (Special Award) จากองค์กร (Special Awards Organization)[4]

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี 1950 โดย Science Service (ปัจจุบันคือ Society for Science) และได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Intel ตั้งแต่ปี 1997 ถึง 2019 จากนั้นตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา บริษัท Regeneron Pharmaceuticals (NASDAQ: REGN) บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านการวิจัยและพัฒนายา สหรัฐ เป็นผู้สนับสนุนหลัก แต่ในปี 2020 งานนั้นถูกยกเลิก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีการจัดงานในรูปแบบออนไลน์แทน[5]

โครงงานที่จะส่งเข้าประกวดต้องชนะ หรือได้รับการคัดเลือกจากการประกวดระดับชาติหรือระดับรัฐที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของไอเซฟไว้ก่อน[6] สำหรับประเทศไทยมีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (THA001: SST-NSM National Science Projects Competition) และของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (THA002: Young Scientist Competition) ที่ได้ลงทะเบียนไว้

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง [1]

[แก้]
  • Richard Zare (1957): นักเคมีชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัล National Medal of Science ในปี 1983[7]
  • James Gunn (1957): นักดาราศาสตร์และเจ้าของรางวัล MacArthur Fellow ผู้ได้รับรางวัล National Medal of Science ในปี 2008[7]
  • Paul Modrich (1964): นักชีวเคมีชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 2015[7]
  • Susan Solomon (1972): นักเคมีบรรยากาศผู้ได้รับรางวัลเหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1999[7]
  • Kristina M. Johnson (1975): นายกรัฐมนตรี SUNY
  • Dianne Newman (1987): นักจุลชีววิทยา[8]
  • Vamsi Mootha (1989): นักชีววิทยาไมโตคอนเดรีย เจ้าของรางวัล MacArthur Fellow ในปี 2004[7]
  • Feng Zhang (2000): นักวิจัย CRISPR[9]
  • Alexandria Ocasio-Cortez (2007): สภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา[10]
  • Alex Deans (2013): นักประดิษฐ์

ผู้เข้าร่วมการประกวดและรายละเอียดการประกวด [1]

[แก้]

ผู้เข้าประกวดจะได้รับการคัดเลือกจากการเข้าร่วมการเวทีการประกวดในระดับภูมิภาค รัฐ หรือระดับประเทศ ซึ่งเป็นเวทีที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นสมาชิก ISEF (ISEF-affiliated fair) สำหรับประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย

1) เวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ระดับประเทศ (Thailand Young Scientist Festival, TYSF)[11] โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยใช้ชื่อเวที THA001: SST-NSM National Science Projects Competition ในการเข้าร่วมการประกวด ซึ่งเริ่มส่งเข้าประกวดเข้าร่วมการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ในเวที ISEF 1996 และ

2) เวทีการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition, YSC)[12] โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (ในอดีดบริหารโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC) โดยใช้ชื่อเวที THA002: Young Scientist Competition ในการเข้าร่วมการประกวด ซึ่งเริ่มส่งเข้าประกวดเข้าร่วมการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในเวที Intel ISEF 1998 แรกเริ่มได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมการประกวดในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้ส่งสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมการประกวดเพิ่มเติม

ในการประกวดจะมีการประกวดทั้งในรายบุคคล และแบบทีม (ไม่เกิน 3 คน) โดยกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6 หรือเทียบเท่า สำหรับโครงการประเภททีมจะได้ประกวดและได้รับการตัดสินตามสาขาที่กำหนดในเวที ISEF

โปรแกรมการประกวด:

[แก้]

ในการประกวด Regeneron ISEF 2023 ได้มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการประกวดกลับมาสู่โปรแกรมการประกวดแบบเดิม โดยจะมีการตัดสินในวันพุธของสัปดาห์ที่มีการประกวด[13]

  • วันเสาร์: การลงทะเบียน
  • วันอาทิตย์: การลงทะเบียน การติดตั้งผลงานสำหรับการนำเสนอ การแก้ไขการละเมิดการแสดงผลงานและความปลอดภัย และการแลกเปลี่ยนเข็มที่ระลึก
  • วันจันทร์: การลงทะเบียน การติดตั้งผลงานสำหรับการนำเสนอ การแก้ไขการละเมิดการแสดงผลงานและความปลอดภัยขั้นสุดท้าย และพิธีเปิด
  • วันอังคาร: การฟังบรรยายพิเศษ ได้แก่ (I) Women in STEM Panel (II) Innovation, Entrepreneurship, and Impact Panel และ (III) Excellence in Science & Technology Panel
  • วันพุธ: การสัมภาษณ์เพื่อตัดสินผลงาน สำหรับรางวัลพิเศษ (Special Award) จากองค์กร รางวัล Grand Award รางวัล Top Award กิจกรรมประชุมสัมมนา และงานเลี้ยงสังสรรค์
  • วันพฤหัสบดี: การเยี่ยมผลงาน และพิธีมอบรางวัลพิเศษ
  • วันศุกร์: พิธีมอบรางวัล Grand Awards และการรื้อถอนผลงานสำหรับการนำเสนอ

ตลอดช่วงสัปดาห์ของการจัดกิจกรม นักเรียนจะได้สัมผัสกับเมืองเจ้าภาพ โดย ISEF จะประสานงานการลงทะเบียนสำหรับทัวร์และกิจกรรมต่าง ๆ โดยสิ่งที่สำคัญของการร่วมกิจกรรม คือ ด้านสังคม ซึ่งนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในระหว่างกิจกรรมมิกเซอร์และพิธีการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาต่าง ๆ สำหรับนักเรียน และครูที่ปรึกษาอีกด้วย

สาขาการประกวด [14]

[แก้]

ในเวที Regeneron ISEF 2024 ได้กำหนดสาขาการประกวด จำนวน 22 สาขา ได้แก่

  1. สัตวศาสตร์ (Animal Sciences, ANIM)[15] : การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์และชีวิต วัฏจักรชีวิต และปฏิสัมพันธ์ของสัตว์ระหว่างกันหรือสัตว์กับสิ่งแวดล้อม โดยเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง สรีรวิทยา การพัฒนาการ และการจำแนกสัตว์ นิเวศวิทยา การเลี้ยงสัตว์ กีฏวิทยา มีนวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับปลา) ปักษีวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับนก) วิทยาศาสตร์ของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และวิทยาศาสตร์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตลอดจนการศึกษาสัตว์ในระดับเซลล์และระดับโมเลกุล เช่น เซลล์วิทยา จุลกายวิภาค และสรีรวิทยาระดับเซลล์

    สาขาย่อย:
    • พฤติกรรมสัตว์ (Animal Behavior, BEH)
    • การศึกษาระดับเซลล์ (Cellular Studies, CEL)
    • การพัฒนาการ (Development, DEV)
    • นิเวศวิทยา (Ecology, ECO)
    • พันธุศาสตร์ (Genetics, GEN)
    • โภชนาการและการเจริญเติบโต (Nutrition and Growth, NTR)
    • สรีรวิทยา (Physiology, PHY)
    • การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และวิวัฒนาการ (Systematics and Evolution, SYS)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  2. พฤติกรรมและสังคมศาสตร์ (Behavioral and Social Sciences, BEHA)[16] : การศึกษาความรู้ความเข้าใจ (กระบวนการคิด) อารมณ์ พฤติกรรม และ/หรือการเรียนรู้ของมนุษย์และสัตว์ อาจรวมถึงการศึกษาบุคคล กลุ่ม และ/หรือวัฒนธรรมด้วยวิธีสังเกตและการทดลอง

    สาขาย่อย:
    • ประสาทวิทยาพฤติกรรม (Behavioral Neuroscience, NEU)
    • พัฒนาการ (Development, DEV)
    • จิตวิทยาการรับรู้ (Cognitive Psychology, COG)
    • สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Sociology and Anthropology, SOC)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  3. ชีวเคมี (Biochemistry, BCHM)[17]: การศึกษาพื้นฐานทางเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต รวมถึงการศึกษากระบวนการที่สารเคมีเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นในสิ่งมีชีวิต และทำปฏิกิริยาระหว่างกันและกับสิ่งแวดล้อม

    สาขาย่อย:
    • ชีวเคมีเชิงวิเคราะห์ (Analytical Biochemistry, ANB)
    • ชีวเคมีทั่วไป (General Biochemistry, GNR)
    • ชีวเคมีทางการแพทย์ (Medicinal Biochemistry, MED)
    • ชีวเคมีเชิงโครงสร้าง (Structural Biochemistry, STR)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  4. วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์และสุขภาพ (Biomedical and Health Sciences, BMED)[18]: การศึกษาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและโรคของมนุษย์ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค การรักษา การป้องกันโรค หรือระบาดวิทยาของโรคและความเสียหายอื่นๆ ต่อร่างกายหรือจิตใจของมนุษย์ นอกจากนี้ยังรวมถึงการศึกษาการทำงานปกติและอาจตรวจสอบปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เช่น ผลกระทบของกลไกควบคุมย้อนกลับภายในร่างกาย ผลของสิ่งแวดล้อม หรือผลของความเครียดต่อสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์

    สาขาย่อย:
    • เซลล์ อวัยวะ และระบบสรีรวิทยา (Cell, Organ, and Systems Physiology, PHY)
    • พันธุศาสตร์และชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรค (Genetics and Molecular Biology of Disease, GEN)
    • ภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology, IMM)
    • โภชนาการและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Nutrition and Natural Products, NTR)
    • พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology, PAT)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  5. วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering, ENBM)[19]: การนำหลักการทางวิศวกรรมและแนวคิดการออกแบบมาประยุกต์ใช้กับการแพทย์และชีววิทยาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพ รวมถึงการวินิจฉัย การเฝ้าติดตาม และการบำบัด การประยุกต์ใช้งานด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่โดดเด่น ได้แก่ การพัฒนาอวัยวะเทียมที่เข้ากันได้ทางชีวภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคต่าง ๆ ตั้งแต่อุปกรณ์ทางคลินิกไปจนถึงการปลูกรากฟันเทียมขนาดเล็ก อุปกรณ์ถ่ายภาพทั่วไป เช่น MRI และ EEG การเติบโตของเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่ ยารักษาโรค และชีวบำบัด

    สาขาย่อย:
    • วัสดุชีวภาพและเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Biomaterials and Regenerative Medicine, BMR)
    • ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics, BIE)
    • อุปกรณ์ชีวการแพทย์ (Biomedical Devices, BDV)
    • เซ็นเซอร์ชีวการแพทย์และการถ่ายภาพ (Biomedical Sensors and Imaging, IMG)
    • วิศวกรรมเซลล์และเนื้อเยื่อ (Cell and Tissue Engineering, CTE)
    • ชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic Biology, SYN)
    • อื่น ๆ (Other)

  6. ชีววิทยาของเซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล (Cellular and Molecular Biology, CELL)[20]: การศึกษาโครงสร้าง หน้าที่ ชีววิถีภายในเซลล์ และการก่อตัวของเซลล์ ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจชีวิตและกระบวนการของเซลล์ โดยเฉพาะในระดับโมเลกุล

    สาขาย่อย:
    • สรีรวิทยาของเซลล์ (Cell Physiology, PHY)
    • ภูมิคุ้มกันวิทยาเซลล์ (Cellular Immunology, IMM)
    • พันธุศาสตร์ (Genetics, GEN)
    • ชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular Biology, MOL)
    • ประสาทชีววิทยา (Neurobiology, NEU)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  7. เคมี (Chemistry, CHEM)[21]: การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับองค์ประกอบ โครงสร้าง คุณสมบัติ และปฏิกิริยาของสสาร ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีของสิ่งมีชีวิต

    สาขาย่อย:
    • เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry, ANC)
    • เคมีเชิงคำนวณ (Computational Chemistry, COM)
    • เคมีสิ่งแวดล้อม (Environmental Chemistry, ENV)
    • เคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry, INO)
    • เคมีวัสดุ (Materials Chemistry, MAT)
    • เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry, ORG)
    • เคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry, PHC)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  8. ชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศ (Computational Biology and Bioinformatics, CBIO)[22]: การศึกษาที่เน้นหลักการและเทคนิคของวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและทฤษฎี การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเทคนิคการจำลองด้วยการคำนวณทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาระบบทางชีววิทยา พฤติกรรม และสังคม

    สาขาย่อย:
    • การจำลองทางชีวภาพเชิงคำนวณ (Computational Biomodeling, MOD)
    • ระบาดวิทยาเชิงคำนวณ (Computational Epidemiology, EPD)
    • ชีววิทยาวิวัฒนาการเชิงคำนวณ (Computational Evolutionary Biology, EVO)
    • ประสาทวิทยาเชิงคำนวณ (Computational Neuroscience, NEU)
    • เภสัชวิทยาเชิงคำนวณ (Computational Pharmacology, PHA)
    • จีโนมิกส์ (Genomics, GEN)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  9. วิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth and Environmental Sciences, EAEV)[23]: การศึกษาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิต/ระบบ รวมถึงการตรวจสอบกระบวนการทางชีววิทยา เช่น การเจริญเติบโตและอายุขัย ตลอดจนการศึกษาระบบโลกและวิวัฒนาการ

    สาขาย่อย:
    • วิทยาศาสตร์บรรยากาศ (Atmospheric Science, AIR)
    • วิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ (Climate Science, CLI)
    • ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อระบบนิเวศ (Environmental Effects on Ecosystems, ECS)
    • ธรณีศาสตร์ (Geosciences, GES)
    • วิทยาศาสตร์น้ำ (Water Science, WAT)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  10. ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems, EBED)[24]: การศึกษาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ซึ่งข้อมูลถูกส่งผ่านในรูปแบบสัญญาณและคลื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงการสื่อสาร การควบคุม และ/หรือการตรวจจับ

    สาขาย่อย:
    • ระบบวงจร (Circuits, CIR)
    • อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things, IOT)
    • ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontrollers, MIC)
    • ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล (Networking and Data Communications, NET)
    • เลนส์ (Optics, OPT)
    • เซนเซอร์ (Sensors, SEN)
    • การประมวลผลสัญญาณ (Signal Processing, SIG)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  11. พลังงาน: วัสดุและการออกแบบที่ยั่งยืน (Energy: Sustainable Materials and Design, EGSD)[25]: การศึกษา/กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและ/หรือการจัดเก็บพลังงาน

    สาขาย่อย:
    • กระบวนการและการออกแบบทางชีวภาพ (Biological Process and Design, BIO)
    • กระบวนการพลังงานแสงอาทิตย์ วัสดุ และการออกแบบ(Solar Process, Materials, and Design, SOL)
    • การจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage, EST)
    • การสร้างพลังงานลมและน้ำ (Wind and Water Movement Power Generation, FLD)
    • การสร้างและการจัดเก็บแก๊สไฮโดรเจน (Hydrogen Generation and Storage, HYD)
    • การสร้างและการออกแบบความร้อน (Thermal Generation and Design, THR)
    • Triboelectricity และอิเล็กโทรไลซิส (Triboelectricity and Electrolysis, ELC)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  12. เทคโนโลยีวิศวกรรม: สถิตยศาสตร์และพลศาสตร์ (Engineering Technology: Statics & Dynamics, ETSD)[26]: การศึกษาที่มุ่งเน้นวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือโครงสร้าง การเคลื่อนไหวจะเป็นผลมาจากแรง โดยโครงสร้างจะมีเสถียรภาพเนื่องจากความสมดุลของแรง

    สาขาย่อย:
    • วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace and Aeronautical Engineering, AER)
    • วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering, CIV)
    • กลศาสตร์การคำนวณ (Computational Mechanics, COM)
    • ทฤษฎีการควบคุม (Control Theory, CON)
    • ระบบยานพาหนะภาคพื้นดิน (Ground Vehicle Systems, VEH)
    • วิศวกรรมอุตสาหการ-การแปรรูป (Industrial Engineering-Processing, IND)
    • วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering, MEC)
    • ระบบที่เกี่ยวข้องกับเรือ (Naval Systems, NAV)
    • อื่น ๆ (Other)

  13. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering, ENEV)[27]: การศึกษาทางวิศวกรรมหรือพัฒนากระบวนการและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในการจัดการน้ำ การกำจัดของเสีย หรือการควบคุมมลพิษ

    สาขาย่อย:
    • การบำบัดทางชีวภาพ (Bioremediation, BIR)
    • การถมที่ดิน (Land Reclamation, ENG)
    • การควบคุมมลพิษ (Pollution Control, PLL)
    • การรีไซเคิลและการจัดการของเสีย (Recycling and Waste Management, REC)
    • การจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Resources Management, WAT)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  14. วัสดุศาสตร์ (Materials Science, MATS)[28]: การศึกษาการผสมผสานของรูปแบบวัสดุต่าง ๆ ที่อาศัยคุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์ (unique) และจำเพาะเจาะจง (specific) โดยเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ และการประมวลผลในรูปของอนุภาคนาโน นาโนไฟเบอร์ และโครงสร้างนาโนเลเยอร์ เพื่อใช้สำหรับเคลือบและลามิเนต จนถึงการศึกษาโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ ผลึกเดี่ยว/โพลีคริสตัล วัสดุจากแก้ว วัสดุอ่อน/แข็ง วัสดุคอมโพสิต และโครงสร้างเซลล์ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการวัดคุณสมบัติต่าง ๆ  และการกำหนดลักษณะเฉพาะของโครงสร้าง รวมถึงการสร้างแบบจำลองหลายมาตราส่วน (multi-scale modeling) และการคำนวณด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและคุณสมบัติของวัสดุ

    สาขาย่อย:
    • วัสดุชีวภาพ (Biomaterials, BIM)
    • เซรามิกและแก้ว (Ceramic and Glasses, CER)
    • วัสดุคอมโพสิต (Composite Materials, CMP)
    • การคำนวณและทฤษฎีของวัสดุ (Computation and Theory, COM)
    • วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ทัศนศาสตร์ และแม่เหล็ก (Electronic, Optical and Magnetic Materials, ELE)
    • วัสดุนาโน (Nanomaterials, NAN)
    • พอลิเมอร์ (Polymers, POL)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  15. คณิตศาสตร์ (Mathematics, MATH)[29]: การศึกษาการวัด คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ของปริมาณและเซต โดยใช้ตัวเลขและสัญลักษณ์ การศึกษาเชิงนิรนัยของตัวเลข เรขาคณิต และโครงสร้างนามธรรมต่าง ๆ หรือโครงสร้าง

    สาขาย่อย:
    • พีชคณิต (Algebra, ALB)
    • การวิเคราะห์ (Analysis, ANL)
    • ทฤษฎีผสม ทฤษฎีกราฟ และทฤษฎีเกม (Combinatorics, Graph Theory, and Game Theory, CGG)
    • เรขาคณิตและโทโพโลยี (Geometry and Topology, GEO)
    • ทฤษฎีตัวเลข (Number Theory, NUM)
    • ความน่าจะเป็นและสถิติ (Probability and Statistics, PRO)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  16. จุลชีววิทยา (Microbiology, MCRO)[30]: การศึกษาจุลินทรีย์ หรือ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรคาริโอต ยูคาริโอตอย่างง่าย ตลอดจนการศึกษาสารต้านจุลชีพและยาปฏิชีวนะ

    สาขาย่อย:
    • ยาต้านจุลชีพและยาปฏิชีวนะ (Antimicrobials and Antibiotics, ANT)
    • จุลชีววิทยาประยุกต์ (Applied Microbiology, APL)
    • แบคทีเรียวิทยา (Bacteriology, BAC)
    • จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Microbiology, ENV)
    • พันธุศาสตร์จุลินทรีย์ (Microbial Genetics, GEN)
    • ไวรัสวิทยา (Virology, VIR)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  17. ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ (Physics and Astronomy, PHYS)[31]: สสาร พลังงาน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง และดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาสิ่งใดก็ตามในจักรวาลที่อยู่นอกเหนือโลก

    สาขาย่อย:
    • อะตอม โมเลกุล และฟิสิกส์เชิงแสง (Atomic, Molecular, and Optical Physics, AMO)
    • ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยา (Astronomy and Cosmology, AST)
    • ฟิสิกส์ชีวภาพ (Biological Physics, BIP)
    • สสารและวัสดุควบแน่น (Condensed Matter and Materials, MAT)
    • กลศาสตร์ (Mechanics, MEC)
    • ฟิสิกส์นิวเคลียร์และอนุภาค (Nuclear and Particle Physics, NUC)
    • ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี ฟิสิกส์เชิงคำนวณ และควอนตัมฟิสิกส์ (Theoretical, Computational, and Quantum Physics, THE)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  18. พืชศาสตร์ (Plant Sciences, PLNT)[32]: การศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืช ได้แก่ กลไกและวัฏจักร โครงสร้าง สรีรวิทยา การพัฒนาการ และการจำแนกประเภทของพืช นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การเพาะปลูก นิเวศวิทยา พันธุศาสตร์ และการปรับปรุงพันธุ์พืช พยาธิวิทยา ระบบและวิวัฒนาการ

    สาขาย่อย:
    • เกษตรกรรมและพืชไร่ (Agriculture and Agronomy, AGR)
    • นิเวศวิทยา (Ecology, ECO)
    • พันธุศาสตร์และการขยายพันธุ์ (Genetics and Breeding, GEN)
    • การเจริญเติบโตและการพัฒนาการ (Growth and Development, DEV)
    • พยาธิวิทยาของพืช (Pathology, PAT)
    • สรีรวิทยาพืช (Plant Physiology, PHY)
    • ระบบและวิวัฒนาการของพืช (Systematics and Evolution, SYS)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  19. หุ่นยนต์และจักรกลอัจฉริยะ (Robotics and Intelligent Machines, ROBO)[33]: การศึกษาที่มีการใช้เครื่องจักรเป็นสำคัญ เพื่อการลดการพึ่งพาของมนุษย์ หรือช่วยผ่อนแรงมนุษย์

    สาขาย่อย:
    • ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics, BIE)
    • ระบบความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Systems, COG)
    • ทฤษฎีการควบคุม (Control Theory, CON)
    • การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning, MAC)
    • จลนศาสตร์หุ่นยนต์ (Robot Kinematics, KIN)
    • อื่น ๆ (Other)

  20. ซอฟต์แวร์ระบบ (Systems Software, SOFT)[34]: การศึกษาหรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ กระบวนการของข้อมูล หรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อสาธิต วิเคราะห์ หรือควบคุมกระบวนการ/วิธีการแก้ไขปัญหา

    สาขาย่อย:
    • อัลกอริธึม (Algorithms, ALG)
    • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity, CYB)
    • ฐานข้อมูล (Databases, DAT)
    • อินเตอร์เฟสมนุษย์/จักรกล (Human/Machine Interface, HMC)
    • ภาษาและระบบปฏิบัติการ (Languages and Operating Systems, LNG)
    • แอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Apps, APP)
    • การเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning, LRN)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  21. เทคโนโลยีช่วยยกระดับศิลปะ (Technology Enhances the Arts, TECA)[35]: การใช้เทคโนโลยีเพื่อจุดประกายแนวคิด เครื่องมือสร้างภาพข้อมูล และ/หรือสื่อใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความเพลิดเพลินในงานศิลปะ

    สาขาย่อย:
    • เทคโนโลยีเพื่อการแสดงผล (Display Technology, DSP)
    • การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างมนุษย์ (Human Information Exchange, HIE)
    • การจัดการดนตรีและภาพ (Music and Image Manipulation, MIM)
    • เกม (Games, GAM)
    • การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (3D Modeling, MOD)
    • ผลกระทบทางวิศวกรรม (Engineering Effects, ENG)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

  22. วิทยาศาสตร์การแพทย์ปริวรรต (Translational Medical Science, TMED)[36]: การปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์และเพื่ออายุยืนโดยการแปลการค้นพบใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ให้เป็นกิจกรรมและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานในทางคลินิกและสาธารณสุข การใช้แนวคิดแบบสองทิศทาง ซึ่งเป็นโครงการที่สามารถพัฒนาจากการวิจัยขั้นพื้นฐานสู่การทดสอบทางคลินิก (bench-to-bedside) หรือโครงการที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้การรักษาแบบใหม่และวิธีปรับปรุงให้ดีขึ้น (bedside-to-bench)

    สาขาย่อย:
    • การตรวจหาและวินิจฉัยโรค (Disease Detection and Diagnosis, DIS)
    • การป้องกันโรค (Disease Prevention, PRE)
    • การรักษาและบำบัดโรค (Disease Treatment and Therapies, TRE)
    • การระบุและการทดสอบยา (Drug Identification and Testing, DRU)
    • การศึกษายาและการรักษาในขั้นก่อนคลินิก (Pre-Clinical Studies, PCS)
    • อื่น ๆ (Other, OTH)

รางวัลและเกียรติยศ[4][1]

[แก้]
รางวัลและเกียรติยศ การเข้าร่วมการประกวด Regeneron ISEF
คําขวัญ"Future Forward"
สถาปนาพ.ศ. 2493
ผู้ก่อตั้งGordon E. Moore
รางวัลGeorge Yancopoulos Innovator Award
Regeneron Young Scientist Award
Gordon E. Moore Award for Positive Outcomes for Future Generations
Dudley R. Herschbach SIYSS Award
Craig R. Barrett Award for Innovation
H. Robert Horvitz Prize for Fundamental Research
Peggy Scripps Award for Science Communication
Regeneron ISEF Grand Awards
Regeneron ISEF Special Awards
เว็บไซต์https://www.societyforscience.org/isef/
  • George Yancopoulos Innovator Award: ทุนการศึกษา 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ คัดเลือกจากผลงานรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา โดยคัดเลือกจากผลงานวิจัยนวัตกรรมและเป็นโครงการที่มีศักยภาพที่สร้างผลกระทบในสาขาเฉพาะและทั่วโลกโดยรวม[37]
  • รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของ Regeneron (Regeneron Young Scientist Award): รางวัล 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัท Regeneron และ SSP โดยคัดเลือกจากผลงานรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา จำนวนสองผลงานที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อจัดการกับคำถามทางวิทยาศาสตร์ที่ท้าทาย โดยใช้หลักปฏิบัติการวิจัยที่แท้จริง และสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่ออนาคต[38]
  • รางวัล Gordon E. Moore สำหรับผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับคนรุ่นอนาคต (The Gordon E. Moore Award for Positive Outcomes for Future Generations): เพื่อเป็นเกียรติแก่ Gordon E. Moore ที่สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องในการยกย่องผลงานที่ดีที่สุดในงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมนานาชาติ มูลนิธิ Gordon และ Betty Moore ได้มอบเงินรางวัลจำนวน 50,000 ดอลลาร์ แก่ผลงานที่สร้างความแตกต่างที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นอนาคต โดยมีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวดและมีความหลงใหลในการค้นพบและการประดิษฐ์ โดยคัดเลือกจากรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา[39]
  • รางวัล Dudley R. Herschbach SIYSS: มอบรางวัลสำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางไปร่วมงานสัมมนาวิทยาศาสตร์เยาวชนนานาชาติแห่งสตอกโฮล์ม และเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลโนเบล โดยคัดเลือกจากผลงานรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา
  • รางวัล Craig R. Barrett สำหรับนวัตกรรม (Craig R. Barrett Award for Innovation): Society for Science มอบ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยคัดเลือกจากผลงานรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา ที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ได้ดีที่สุด โดยตระหนักว่าการวิจัยและนวัตกรรมขึ้นอยู่กับการผสมผสานของสาขาวิชาเหล่านี้ ตลอดจนผลกระทบที่พวกเขามีต่อชีวิตประจำวันของเรา
  • รางวัล H. Robert Horvitz สำหรับงานวิจัยพื้นฐาน (Robert Horvitz Prize for Fundamental Research): ทุนการศึกษา 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ คัดเลือกจากผลงานรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา โดยมอบให้กับผลงานที่เป็นการวิจัยขั้นพื้นฐานที่ส่งเสริมความเข้าใจของเราในด้านวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์ได้ดีที่สุด และส่งเสริมความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
  • รางวัล Peggy Scripps สำหรับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ (Peggy Scripps Award for Science Communication): Society for Science มีความภูมิใจที่จะเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ผ่านรางวัลมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยคัดเลือกจากผลงานรางวัลชนะเลิศ (First Award) ของแต่ละสาขา เพื่อเป็นเกียรติแก่ Peggy Scripps ซึ่งเป็นนักข่าววิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่เป็นนักเขียนและบรรณาธิการจดหมายข่าววิทยาศาสตร์มาหลายปี รางวัลนี้มอบให้กับผลงานที่สามารถสื่อสารโครงการของตนกับบุคคลทั่วไปได้ดีที่สุด โดยอธิบายทั้งด้านวิทยาศาสตร์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคม

นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษ จากองค์กรต่าง ๆ ซึ่งมีเกณฑ์การตัดสินที่แตกต่างกันออกไป องค์กรเหล่านี้รวมถึงสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) สมาคมเครื่องจักรคอมพิวเตอร์ (Association for Computing Machinery) มูลนิธิ IEEE และสมาคมสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า

เหรียญสำหรับผู้เข้ารอบ

[แก้]

เหรียญสำหรับผู้เข้ารอบสุดท้าย Regeneron ISEF จะมอบให้กับนักเรียนมากกว่า 1,500 คน จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมงาน Regeneron International Science and Engineering Fair

ในแต่ละปี มีนักศึกษาประมาณ 7 ล้านคนเข้าร่วมแสดงผลงานผ่านเวทีที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นสมาชิก ISEF (ISEF-affiliated fair) ซึ่งมีกว่า 70 ประเทศ ที่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมงาน Regeneron ISEF ในฐานะผู้เข้ารอบสุดท้าย แต่ละคนจะได้รับเหรียญ Regeneron ISEF Finalist

เหรียญมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 48 มม. และเคลือบสีทอง ด้านหน้าแสดงโลโก้อย่างเป็นทางการของ Regeneron ISEF ด้านหลังแสดงปีที่เข้าร่วมและตำแหน่งของ Regeneron ISEF ในปีนั้น โดยแถบริบบอนสีน้ำเงินมีความกว้าง 40 มม.

นักเรียนไทยผู้ได้รับรางวัล

[แก้]

ISEF 1996 (ครั้งที่ 47) ณ เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา[11]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5–11 พฤษภาคม 2539

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    โดย นพพร กรอนันต์ศิลป์, วัชระ สวนธนู, และชนินทร์ บุญศรี วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี

Intel ISEF 2000 (ครั้งที่ 51) ณ เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน[40][12][11]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7–13 พฤษภาคม 2543 ณ Cobo Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Organization Award

  • รางวัลอันดับ 1 โดย Conservation International:
    ZO309 - Amphibians in Northeastern Thailand Species Diversity, Morphological Differences and Growth Behavior
    โดย ธีรศักดิ์ โชคชัย, มยุรี โครตมณี, และศิราพร อูปแก้ว โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 2 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์:
    CS041 - Visible Surface Determination for Moving Camera in First Person 3-D Software Smart VSD
    โดย ณัฐพงศ์ ชินธเนศ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ

รางวัล Organization Award

  • ทุนการศึกษาจาก Lehigh University และ Lawrence Technological University:
    CS041 - Visible Surface Determination for Moving Camera in First Person 3-D Software Smart VSD
    โดย ณัฐพงศ์ ชินธเนศ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ

Intel ISEF 2002 (ครั้งที่ 53) ณ เมืองลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี[40][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–17 พฤษภาคม 2545 ณ Kentucky Commonwealth Convention Center

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Organization Award

  • Best Use of Personal Computer จากมูลนิธิ Intel:
    CS015 - Real-time Radiosity Using Vertex Shader Process for 3-D Game Programming Innovation
    โดย ศุภศักดิ์ กุลวงศ์อนันชัย โรงเรียนทิวไผ่งาม จังหวัดกรุงเทพฯ

Intel ISEF 2004 (ครั้งที่ 55) ณ เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน[40][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10–15 พฤษภาคม 2547 ณ Oregon Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Organization Award

  • รางวัลอันดับ 1 โดย Sigma Xi, The Scientific Research Society:
    MA311 - Walking with a Millipede
    โดย จารุพล สถิรพงษะสุทธิ, ณัฐดนัย ปุณณานิธิ, และภูมิยศ วิมลกิตติวัฒน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพฯ

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Organization Award

  • รางวัลชมเชย จาก Association for Computing Machinery:
    CS037 - The Enhancement of Password Security System Using Keystroke Verification
    โดย ทวีธรรม ลิมปานุภาพ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

Intel ISEF 2006 (ครั้งที่ 57) ณ เมืองอินเดียแนโพลิส รัฐอินดีแอนา[40][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7–13 พฤษภาคม 2549 ณ Indianapolis Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 2 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    BO310 - Dehiscence and Dispersal of the Popping Pod Ruellia tuberosa L.
    โดย ครองรัฐ สุวรรณศรี, สุขสันต์ อิทธิปัญญานันท์, และทนงศักดิ์ ชินอรุณชัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพฯ

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    EV316 - A Novel Bioabsorbent of "Ya-Plong" as An Oil Spill Removal
    โดย พีรจุฬา จุฬานนท์, จิตต์ศจี สิชฌนุกฤษฏ์, และตากเพชร เลขาวิจิตร โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จังหวัดกรุงเทพฯ
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์:
    CS024 - Statistical-based Adaptive Binarization for Document Imaging
    โดย ณัฏฐ์ ปิยะปราโมทย์ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี

รางวัล Organization Award

  • รางวัลอันดับ 1 จาก Association for Computing Machinery:
    CS024 - Statistical-based Adaptive Binarization for Document Imaging
    โดย ณัฏฐ์ ปิยะปราโมทย์ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี
  • รางวัลจาก American Association for Artificial Intelligence:
    CS024 - Statistical-based Adaptive Binarization for Document Imaging
    โดย ณัฏฐ์ ปิยะปราโมทย์ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี
  • รางวัลจาก United Technologies Corporation for Excellence in Science and Engineering:
    EV316 - A Novel Bioabsorbent of "Ya-Plong" as An Oil Spill Removal
    โดย พีรจุฬา จุฬานนท์, จิตต์ศจี สิชฌนุกฤษฏ์, และตากเพชร เลขาวิจิตร โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จังหวัดกรุงเทพฯ

Intel ISEF 2007 (ครั้งที่ 58) ณ เมืองแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก[40]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–19 พฤษภาคม 2550 ณ Albuquerque Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Top Award

  • รางวัล European Union Contest for Young Scientists:
    PS316 - The Secret in Mimosa's Leaf Folding Pattern
    โดย กรวิชญ์ นิยมเสถียร, ณฐพล สุโภไควณิช, และณัฐนรี ศิริวัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพฯ

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    PS316 - The Secret in Mimosa's Leaf Folding Pattern
    โดย กรวิชญ์ นิยมเสถียร, ณฐพล สุโภไควณิช, และณัฐนรี ศิริวัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพฯ

Intel ISEF 2008 (ครั้งที่ 59) ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย[40][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–16 พฤษภาคม 2551 ณ Georgia World Congress Center

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    PS317 - Unfolding the Mystery of Tanglehead Grass Awn’s Twisting Ability
    โดย อลิสรา ศรีนิลทา, ปรารถนา ชุนหคาม, และจักพงษ์ บุญตันจีน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพฯ

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 2 จาก Sigma Xi, The Scientific Research Society:
    EN315 - New Particleboards by Objects Un-Benefit
    โดย ภีมเดช ประสิทธิ์วรเวทย์, มนภาส หะรารักษ์, และธนวรกฤต บางเขียว โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

Intel ISEF 2009 (ครั้งที่ 60) ณ เมืองรีโน รัฐเนวาดา[40][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10–15 พฤษภาคม 2552 ณ Reno-Sparks Convention Center

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    EM326 - Artificial Leathers from Acetobacter xylinum
    โดย พรวสุ พงศ์ธีระวรรณ, ธัญพิชชา พงศ์ชัยไพบูลย์, และนางสาวอารดา สังขนิตย์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 3 จาก American Association for Clinical Chemistry:
    ME078 - Development of Anti-HIV Test Kit by Using Immunochromatographic Strip Test Technique
    โดย จักรกฤษณ์ ใจดี โรงเรียนแม่พริกวิทยา จังหวัดลำปาง

Intel ISEF 2010 (ครั้งที่ 61) ณ เมืองแซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย[40][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9–14 พฤษภาคม 2553 ณ San Jose Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 สาขาพืชศาสตร์:
    PS045 - Leaf Extracts of Euphorbiaceae Can Eradicate the Field Crab, Somanniathelphusa sexpucntata
    โดย มาลินี มีทา โรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" จังหวัดฉะเชิงเทรา

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 3 จาก American Geological Institute:
    EA027 - Paleontological Study of Permian Gastropoda at Khoa Noi, Amphoe Takhli, Changwat Nakhonsawan, Central of Thailand
    โดย ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิศวกรรม: วิศวกรรมวัสดุและชีววิศวกรรม:
    EN044 - Innovative Use of Anaerobic Effective Microorganisms for Natural Rubber Latex Coagulation
    โดย ศุภชัย นิลดำ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีษะเกษ
  • รางวัลอันดับ 4 โครงงานประเภททีม (Team Projects):
    PS306 - Modification of Breeding Rice Grains through Artificial Colors, Flavor and Smell Used in Prevention of Grain-Consuming Birds
    โดย สายฝน นภนิภา, และอภิชญา นพเลิศ โรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" จังหวัดจังหวัดฉะเชิงเทรา

Intel ISEF 2011 (ครั้งที่ 62) ณ เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[41][42][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8–13 พฤษภาคม 2554 ณ Los Angeles Convention Center

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Top Award

  • รางวัล Intel Foundation Young Scientist Award:
    EM315 - Bio-based Packaging Plastics from Fish Scale
    โดย พรวสุ พงศ์ธีระวรรณ, ธัญพิชชา พงศ์ชัยไพบูลย์, และนางสาวอารดา สังขนิตย์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 และ Best of Category Award สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม:
    EM315 - Bio-based Packaging Plastics from Fish Scale
    โดย พรวสุ พงศ์ธีระวรรณ, ธัญพิชชา พงศ์ชัยไพบูลย์, และนางสาวอารดา สังขนิตย์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิศวกรรม: วิศวกรรมวัสดุและชีววิศวกรรม:
    EN316 - Utilization of Mucilage Derived from Lemon Basil Seeds as Coating Substance for Fruit Preservation
    โดย ธนทรัพย์ ก้อนมณี, วรดา จันทร์มุข, และนรินธเดช เจริญสมบัติ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

Intel ISEF 2012 (ครั้งที่ 63) ณ เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย[43][44][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–18 พฤษภาคม 2555 ณ David L. Lawrence Convention Center

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 2 สาขาสัตวศาสตร์:
    AS052 - Effect of Food Types on Quantity and Nutritional Quality of Weaver Ant, Oecophylla smaragdina, Larvae
    โดย กิตติ์ธเนศ ธนะรุ่งโรจน์ทวี โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • รางวัลอันดับ 2 สาขาสัตวศาสตร์:
    AS311 - Effects of Siamese Snail (Cryptozona siamensis) on Natural Rubber Coagulation
    โดย ณัฐพงษ์ ชิณรา, จตุพร ฉวีภักดิ์, และนันทกานต์ ล่องโลด โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Intel ISEF 2013 (ครั้งที่ 64) ณ เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา[45][46][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–17 พฤษภาคม 2556 ณ Phoenix Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม:
    EM303 - Stirling Engine Utilizing Biogas as Fue
    โดย สวิตต์ คงเดชาเลิศ, ภควัฒน์ ภาณุวัฒน์สุข, และธวัชวงศ์ ตัณฑวนิชย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพฯ

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม:
    EM043 - Removal of Copper from Aqueous Solutions through Spent Bleaching Earth
    โดย อภิษฎา จุลกทัพพะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาพืชศาสตร์:
    PS315 - Factors Affecting the Response of Venus Flytrap
    โดย สหกฤษณ์ ธนิกวงษ์, พรภวิษย์ เจนจิรวงศ์, และณัฐนนท์ พงษ์ดี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ

Intel ISEF 2014 (ครั้งที่ 65) เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[47][48][49]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11–16 พฤษภาคม 2557 ณ Los Angeles Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาพืชศาสตร์:
    PS319 - Novel Strategy for Controlling Population of Pest Snails Using Plant Extracts
    โดย วันทา กำลัง, และภัทรพงศ์ ลิมปวัฒนะ โรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" จังหวัดจังหวัดฉะเชิงเทรา

Intel ISEF 2015 (ครั้งที่ 66) ณ เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย[50][51][52][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10–15 พฤษภาคม 2558 ณ David L. Lawrence Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Top Award

  • รางวัล European Union Contest for Young Scientists:
    ANIM062T - A New Method of Silk Sheath Production Developed from Observation of Spinning Behavior of Silkworms
    โดย นัทธพงศ์ เชื้อศิริถาวร, ธนานนท์ หิรัณย์วาณิชชากร, และสุทธิลักษณ์ รักดี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 และ Best of Category Award สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM062T - A New Method of Silk Sheath Production Developed from Observation of Spinning Behavior of Silkworms
    โดย นัทธพงศ์ เชื้อศิริถาวร, ธนานนท์ หิรัณย์วาณิชชากร, และสุทธิลักษณ์ รักดี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • รางวัลอันดับ 3 สาขาพืชศาสตร์:
    PLNT058I - Using Parasitic Fruit Sap to Produce Orchid Adhesion Glue
    โดย วัฒนะ ทำของดี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • รางวัลอันดับ 3 สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม:
    ENEV069T - Bio-based Packaging from Lotus Cellulose
    โดย ธีรพัฒน์ มาน้อย, ยุทธศาสตร์ สอนประสม, และฤทธิกุล ธรฤทธิ์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาพืชศาสตร์:
    PLNT057T - Utilization of crude plant extract of Imperata cylindrica as effective bio-insecticide to eradicate brown plant hoppers Nilaparvata lugens Stal in rice fields
    โดย วสุ ชวนะสุพิชญ์, วณิชา โคตรวงศ์ษา, และณัชมุกดา ไพบูลย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Society:
    ANIM062T - A New Method of Silk Sheath Production Developed from Observation of Spinning Behavior of Silkworms
    โดย นัทธพงศ์ เชื้อศิริถาวร, ธนานนท์ หิรัณย์วาณิชชากร, และสุทธิลักษณ์ รักดี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • รางวัลอันดับ 3 จากบริษัท Monsanto:
    PLNT057T - Utilization of crude plant extract of Imperata cylindrica as effective bio-insecticide to eradicate brown plant hoppers Nilaparvata lugens Stal in rice fields
    โดย วสุ ชวนะสุพิชญ์, วณิชา โคตรวงศ์ษา, และณัชมุกดา ไพบูลย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม:
    ENEV078T - Efficient Dry-Cell Batteries Powered by Environmental-Friendly and Low Cost Activated Carbon Derived from Bacterial Cellulose
    โดย อรวรรณ ทัศนเบญจกุล, และปัณณวัฒน์ เพียรจัด โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Intel ISEF 2016 (ครั้งที่ 67) ณ เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา[53][54][55][12]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8–13 พฤษภาคม 2559 ณ Phoenix Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 2 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM049T - A Silk Sheath Production Frame Developed from Negative Geotropic Spinning Behavior of Silkworms Resulted in Silk Sheath with High Homogeneity
    โดย ชลันธร ดวงงา, และรุ้งลาวัลย์ ชาภักดี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Society:
    ANIM049T - A Silk Sheath Production Frame Developed from Negative Geotropic Spinning Behavior of Silkworms Resulted in Silk Sheath with High Homogeneity
    โดย ชลันธร ดวงงา, และรุ้งลาวัลย์ ชาภักดี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM046T - Bubble Nesting Behavior Behind Local Wisdom of Rearing Siamese Fighting Fish by Utilizing Dry Leaves
    โดย ธัชกร จินตวลากร, และวนาถ เตรียมชาญชัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ

Intel ISEF 2017 (ครั้งที่ 68) ณ เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[56][57][58]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14–19 พฤษภาคม 2560 ณ Los Angeles Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาเคมี:
    CHEM024T - Semiconductor Cells for Photocatalytic Decomposition of Industrial Dyes under Visible Light
    โดย ปรียาภรณ์ กันดี, ณิชากรณ์ เขียวขำ, และพิมพ์โพยม สุดเจริญ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM056T - Factors Affecting Polystyrene Foam Consuming Rate of Superworms (Zophobas morio)
    โดย นุชวรา มูลแก้ว, และจิตรานุช ไชยราช โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 2 จากบริษัท Monsanto:
    PLNT036T - Control of Tomato Yellow Leave Curl Disease with Biopesticide Extracted from Goat Weed Ageratum conyzoides Linn
    โดย นฤภร แพงมา, จรรยพร โกฏิมนัสวนิขย์, และวิชชากร นันทัยเกื้อกูลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น

Intel ISEF 2018 (ครั้งที่ 69) ณ เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย[59][60][61][62]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–18 พฤษภาคม 2561 ณ David L. Lawrence Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาคณิตศาสตร์:
    MATH038T - The Polar Equations of Water Distribution from Butterfly Sprinkler Heads
    โดย อดิศร ขันทอง, วิชยา เนตรมนต์ประภา, และกุลณัฐ บูรณารมย์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาพืชศาสตร์:
    PLNT053 - Dehiscence of Creeping Woodsorrel’s Capsule
    โดย ณัฐบูรณ์ ศิริแสงตระกูล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Society:
    MATH038T - The Polar Equations of Water Distribution from Butterfly Sprinkler Heads
    โดย อดิศร ขันทอง, วิชยา เนตรมนต์ประภา, และกุลณัฐ บูรณารมย์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • รางวัลอันดับ 2 USAID Science for Development จาก U.S. Agency for International Development:
    EBED034 - Wireless Sensor Network for Illegal Logging and Wildfire Detection
    โดย ญาณภัทร นิคมรักษ์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
  • รางวัลชมเชย จาก American Statistical Association:
    EAEV048T - Effect of Mud Conditions in Mangrove Forests on Rowing Motions of Robotic Mudskippers: A Novel Anticipation Method on Reforestation and Ecosystem Rehabilitation
    โดย นภัทร จีนจำรัส, และภัทรพล ชัยนิวัฒนา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพฯ

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM062T - Increasing the Honey Productivity of Stingless Bees (Tetragonula fuscobalteata) by Creating Pseudo Honey Pots
    โดย วิรชัช ศรีปุริ, จิตรลดา ไชยชมภู, และบุณยกร สอนขยัน โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 USAID Science for Development จาก U.S. Agency for International Development:
    EAEV072T - Innovative Conservation of Wetland Resources with Rhizophora mucronata Nursery
    โดย กษิดิ์เดช สุขไกว, พัทธดนย์ นามวงค์เนาว์, และชิดชนก อินทร์แก้วโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Intel ISEF 2019 (ครั้งที่ 70) ณ เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา[63][64][65]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–17 พฤษภาคม 2562 ณ Phoenix Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 3 สาขาพืชศาสตร์:
    PLNT056T - Environmental Friendly Seedling Nursery Balls from Cow Dung
    โดย ธีรกานต์ วรรณกาญจน์, และสุทธิดา เอี่ยมสอาด โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • รางวัลอันดับ 3 สาขาพลังงานกายภาพ:
    EGPH022T - Development of Novel Wind Turbines Hybridized between Permanent Magnet Disks and Additional Motor/Generator for Extending Operating Range and Enhancing Conversion Efficiency
    โดย รังสิมันต์ กุลเพชรจิระ, วรวิช ศรีคำภา, และจิตรภณ ขจรภิรมย์ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาซอฟตแวร์ระบบ:
    SOFT050T - Saponin Hydrogel for Controlling Snail Invasion
    โดย ณีรนุช สุดเจริญ, ชนิกานต์ พรหมแพทย์, และพรชนัญญ์ มั่งมีธนพิบูลย์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาพืชศาสตร์:
    PLNT057T - Saponin Hydrogel for Controlling Snail Invasion
    โดย นัทธมน ศรีพรม, รมิตา เชื้อเมืองพาน, และพันธ์อนงค์ ชื่นโชคชัย โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society:
    PLNT056T - Environmental Friendly Seedling Nursery Balls from Cow Dung
    โดย ธีรกานต์ วรรณกาญจน์, และสุทธิดา เอี่ยมสอาด โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • รางวัลชมเชย จาก American Chemical Society:
    EGCH036T - Novel Alternative Energy: Seawater Electric Generator Improved by the Catalyst from Waste Lard
    โดย ปุถุชน วงศ์วรกุล, ชวิศ แก้วนุรัชดาสร, และภัทรนันท์ บุญชิต โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาเคมี:
    CHEM048T - Chloramine Test Kits for an Efficient Process of Swimming Pools’ Disinfection
    โดย อธิชา สันติลินนท์, ณัฐประวีร์ ปัถยาวิชญ์, และณภัทร สัจจมงคล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 2 USAID Science for Development จาก U.S. Agency for International Development:
    PLNT058T - Coating Highland Rice Seeds with Local Spondias pinnata Gum Can Reduce Seedling Mortality Caused By Water Deficit During Rain Delay
    โดย น้ำผึ้ง ปัญญา, เจษฎา สิทธิขันแก้ว, และพิรชัช คชนิล โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

Regeneron ISEF 2020 (ครั้งที่ 71) ณ เมืองแอนะไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[5]

[แก้]

ถูกยกเลิกเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 และจัดงานในรูปแบบออนไลน์แทน และเนื่องจากการประกวดรอบคัดเลือกบางรายการไม่ได้ระบุชื่อผู้ชนะ งานจึงไม่ได้รับการตัดสินและไม่ได้มอบรางวัล

Regeneron ISEF 2021 (ครั้งที่ 72) รูปแบบออนไลน์[66][67][68]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16–21 พฤษภาคม 2564

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM020T - Development of Lady Beetle Cultivation for Pest Control
    โดย วรินยุพา งานเจริญวงศ์, นัยน์ปพร กำหอม, ธนกร ศิลาพันธุ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 3 จาก American Chemical Society:
    CHEM028T - Structurally Modified Chlorophyll a as a Natural-Based Pigment for Dye-Sensitized Solar Cells
    โดย สพล ไม้สนธิ์, เสฏนันท์ ทรวงบูรณกุล, และศุภวิชญ์ พรหมโคตร โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศ:
    CBIO084T - EGFRNet: Transfer and Multi-task Learning Based on Graph Convolutional Network Toward Multi-target Drug Discovery Against Cancers for EGFR-Family Proteins
    โดย ณัฐกันต์ แสงนิล, และภูริ วิรการินทร์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง
  • รางวัลอันดับ 2 สาขาเคมี:
    CHEM056T - Development of Multi-sensor Paper-Based Test Kit for Heavy Metal Detection
    โดย กิจการ นำสว่างรุ่งเรือง, ดวิษ บุญยกิจโณทัย, และธิติ เถลิงบุญสิริ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์และสุขภาพ:
    BMED072T - Rapid Osteoporosis Risk Assessment: Non-invasive Detection Kit of Calcium, Phosphate and pH in Human Sweat
    โดย พัฒฒ์ พฤฒิวิลัย, กฤษฏิ์ กสิกพันธุ์, และกรวีร์ ลีลาอดิศร โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society:
    BMED072T - Rapid Osteoporosis Risk Assessment: Non-invasive Detection Kit of Calcium, Phosphate and pH in Human Sweat
    โดย พัฒฒ์ พฤฒิวิลัย, กฤษฏิ์ กสิกพันธุ์, และกรวีร์ ลีลาอดิศร โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

Regeneron ISEF 2022 (ครั้งที่ 73) ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ร่วมกับรูปแบบออนไลน์[69][70][71]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8–13 พฤษภาคม 2565 ณ Georgia World Congress Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Top Award

  • รางวัล Gordon E. Moore Award for Positive Outcomes for Future Generations:
    TMED010T - BiDEx – A Screening System for Rapid Proactive Detection of Patients With Liver Fluke Infection Using a CNN Model To Detect Orphistorchis viverrini Eggs From Microscopic Fecal Images and a NN Model for Infection Risk Assessment
    โดย นภัสสร หลิดชิววงศ์, กฤษ ฐิติจำเริญพร, และวัฒนพงษ์ อุทสัธโยธา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ปริวรรต:
    TMED010T - BiDEx – A Screening System for Rapid Proactive Detection of Patients With Liver Fluke Infection Using a CNN Model To Detect Orphistorchis viverrini Eggs From Microscopic Fecal Images and a NN Model for Infection Risk Assessment
    โดย นภัสสร หลิดชิววงศ์, กฤษ ฐิติจำเริญพร, และวัฒนพงษ์ อุทสัธโยธา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
  • รางวัลอันดับ 3 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM011T - Rearing Crickets Teleogryllus mitratus in Green LED Light Can Significantly Reduce Limb Autotomy and Mortality
    โดย จรัสณัฐ วงษ์กำปั่น, และมาริสา อรรจนานนท์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศ:
    CBIO069T - CANDraGAT: A Hybrid Fragment-Based Graph Attention Network To Improve Cancer Drug Response Prediction
    โดย ภาวิต แก้วนุรัชดาสร, ณัฐวินทร์ แย้มประเสริฐ, และวุฒิพงศ์ จงเจริญสันติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
  • รางวัลอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม:
    EAEV076T - A Novel Floatable Planting Material for Inner Mangrove Forest Inspired by Barringtonia asiatica
    โดย จิรพนธ์ เส็งหนองเเบน, และฐิติพงศ์ หลานเดช โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์:
    PHYS064 - Bob Pendulum Oscillation Under Air Flow: An Experimental and Numerical Investigation
    โดย วิชยุตม์ นาคะศูนย์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์และสุขภาพ:
    BMED071T - Sawasdee-AMP: Highly Efficient, Portable and Low-Cost Point of Care Test Kit for Future Emerging RNA/DNA Diseases Diagnosis
    โดย กุลพัชร ชนานำ, ปกิตตา เกรียงเกษม, และคุณัชญ์ คงทอง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์:
    ENBM069T - Microneedles for Creatinine Detection: Novel Prototype of Non-Invasive Portable Tool Towards Chronic Kidney Disease Risk Assessment
    โดย พีรทัตต์ ลาภณรงค์ชัย, และธนพัฒน์ รีชีวะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society:
    EAEV076T - A Novel Floatable Planting Material for Inner Mangrove Forest Inspired by Barringtonia asiatica
    โดย จิรพนธ์ เส็งหนองเเบน, และฐิติพงศ์ หลานเดช โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • รางวัลอันดับ 1 USAID Science for Development จาก U.S. Agency for International Development:
    BMED071T - Sawasdee-AMP: Highly Efficient, Portable and Low-Cost Point of Care Test Kit for Future Emerging RNA/DNA Diseases Diagnosis
    โดย กุลพัชร ชนานำ, ปกิตตา เกรียงเกษม, และคุณัชญ์ คงทอง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

Regeneron ISEF 2023 (ครั้งที่ 74) ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส[72][73][74]

[แก้]

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–19 พฤษภาคม 2566 ณ Kay Bailey Hutchison Convention Center

THA001: National Science Projects Competition

[แก้]

รางวัล Top Award

  • รางวัล Regeneron Young Scientist Awards:
    ANIM024T - Optimization of Green Lacewing (Mallada basalis) Survivability From Hatching and Foraging Behavior
    โดย ปูรณ์ ตระกูลตั้งมั่น, ทีปกร แก้วอำดี, และปัณณธร ศิริ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM024T - Optimization of Green Lacewing (Mallada basalis) Survivability From Hatching and Foraging Behavior
    โดย ปูรณ์ ตระกูลตั้งมั่น, ทีปกร แก้วอำดี, และปัณณธร ศิริ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • รางวัลอันดับ 2 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM026T - A Novel Non-Invasive Method to Detect Pebrine Disease in Sericulture by Using Phototaxis of Hatched Silkworm (Bombyx mori)
    โดย ธนวิชญ์ น้ำใจดี, พณทรรศน์ ชัยประการ, และกัญญาริณทร์ ศรีวิชัย โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • รางวัลอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม:
    EAEV028T - A Novel Invention of Aerial Delivery of Planting Material for Burnt Forest Restoration Inspired by the Structure of Kadsura coccinea Fruit
    โดย จิรพนธ์ เส็งหนองเเบน, นฤพัฒน์ ยาใจ, และพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • รางวัลอันดับ 3 สาขาสัตวศาสตร์:
    ANIM025T - A Sustainable Approach to Control the Destructive Red Palm Weevil Pests
    โดย สัญพัชญ์ อัครจีราวัฒน์, และธนัตถ์กรณ์ เชาวนสมิทธิ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • รางวัลอันดับ 3 สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์:
    PHYS026T - Effect of the Planetary Magnetic Field on the Shape of Gas Giants’ Polygons Based on Fluid Instabilities Principle
    โดย จินต์จุฑา ปริปุรณะ, ปวริศ พานิชกุล, และอมาดา ภานุมนต์วาที โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง
  • รางวัลอันดับ 4 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ปริวรรต:
    TMED066T - O-RA: Osteoarthritis Rehabilitation Assistant
    โดย นภัสชล อินทะพันธุ์, แก้วกล้า สร้อยกาบแก้ว, และกฤตภาส ตระกูลพัว โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

รางวัล Special Award

  • รางวัลอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society:
    TMED066T - O-RA: Osteoarthritis Rehabilitation Assistant
    โดย นภัสชล อินทะพันธุ์, แก้วกล้า สร้อยกาบแก้ว, และกฤตภาส ตระกูลพัว โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
  • รางวัลอันดับ 2 สาขาเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร จาก U.S. Agency for International Development (USAID):
    ANIM025T - A Sustainable Approach to Control the Destructive Red Palm Weevil Pests
    โดย สัญพัชญ์ อัครจีราวัฒน์, และธนัตถ์กรณ์ เชาวนสมิทธิ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

THA002: Young Scientist Competition

[แก้]

รางวัล Grand Award

  • รางวัลอันดับ 4 สาขาชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศ:
    CBIO050T - PROSynMOGN: Enhancing Molecular Graph Neural Networks Toward Predicting Synergistic Cancer Drug Combinations Driven by Protein Expression
    โดย ติสรณ์ ณ พัทลุง, เมธิน โฆษิตชุติมา, และกิตติพัศ พงศ์อรุโณทัย โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "International Science and Engineering Fair", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-05-20, สืบค้นเมื่อ 2022-05-22
  2. "High School scientists from around the world win nearly $8 million in awards, scholarships at the Regeneron International Science and Engineering Fair". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-13.
  3. "Grand Award Judging". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. 4.0 4.1 "Awards at Regeneron ISEF". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. 5.0 5.1 "Virtual Regeneron ISEF 2020". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "Student Science - Find a Fair". findafair.societyforscience.org.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "Society Alumni Honors". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. "This MacArthur Fellow researches how bacteria shaped the Earth". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-10-24.
  9. "Feng Zhang becomes Society Board Member". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-28.
  10. King, Georgia Frances. "Alexandria Ocasio-Cortez won a science-fair prize for research involving free radicals". Quartz (ภาษาอังกฤษ).
  11. 11.0 11.1 11.2 https://www.nectec.or.th/clipping/news/2011-08-02-9222.pdf
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 http://fic.nectec.or.th/sites/fic.nectec.or.th/files/Booklet_IT2019.pdf
  13. https://sspcdn.blob.core.windows.net/files/Documents/SEP/ISEF/2022/Fair-Network/Summary-of-Judging.pdf
  14. "ISEF Categories and Subcategories". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  15. "Animal Sciences". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. "Behavioral and Social Sciences". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. "Biochemistry". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  18. "Biomedical and Health Sciences". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. "Biomedical Engineering". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  20. "Cellular and Molecular Biology". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. "Chemistry". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  22. "Computational Biology and Bioinformatics". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. "Earth & Environmental Sciences". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. "Embedded Systems". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. "Energy: Sustainable Materials and Design". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  26. "Engineering Technology: Statics and Dynamics". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  27. "Environmental Engineering". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  28. "Materials Science". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  29. "Mathematics". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  30. "Microbiology". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  31. "Physics and Astronomy". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  32. "Plant Sciences". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  33. "Robotics and Intelligent Machines". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  34. "Systems Software". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  35. "Technology Influence the Arts". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  36. "Translational Medical Science". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  37. "George D. Yancopoulos Innovator Award". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  38. "Regeneron Young Scientist Awards". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  39. "Legacy of the Gordon E. Moore Awards". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  40. 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 40.5 40.6 40.7 "Intel ISEF - Results - Society for Science & the Public". web.archive.org. 2013-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-20. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  41. "Intel ISEF 2011". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  42. "เด็กไทยสร้างชื่อ ขึ้นผงาด2เวที โครงงานวิทย์ฯโลก". www.thairath.co.th. 2011-05-14.
  43. "Intel ISEF 2012". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  44. "นร.ไทยได้รางวัลที่2 แกรนด์อวอร์ดงาน'อินเทล ไอเซฟ2012'". www.thairath.co.th. 2012-05-22.
  45. "Intel ISEF 2013". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  46. "ยินดีกับความสำเร็จของเยาวชนไทยบนคว้ารางวัล Intel ISEF2013/I-SWEEP2013". ryt9.com.
  47. "Intel ISEF 2014 Grand Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  48. "Intel ISEF 2014 Special Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  49. "เด็กวัย 15 พัฒนาซอฟท์แวร์ตรวจยีนก่อมะเร็งทรวงอก". mgronline.com. 2014-05-20.
  50. "Intel ISEF 2015 Grand Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  51. "Intel ISEF 2015 Special Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  52. "นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของไทยสร้างชื่อส่ง 5 ผลงานคว้า 9 รางวัลจากงาน". ข่าวไอที 24 ชั่วโมง.[ลิงก์เสีย]
  53. "Intel ISEF 2016 Grand Award winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  54. "Intel ISEF 2016 Special Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  55. "ผลการประกวด Intel ISEF 2016". www.scisoc.or.th.
  56. "Intel International Science and Engineering Fair 2017 Grand Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  57. "Intel International Science and Engineering Fair 2017 Special Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  58. "การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมระดับโลก The Intel International Science and Engineering Fair 2017 (Intel ISEF) | nsm". www.nsm.or.th.
  59. "Intel International Science and Engineering Fair 2018 Grand Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  60. "Intel International Science and Engineering Fair 2018 Special Award Winners". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  61. "เด็กไทยสุดเจ๋ง! คว้า 6 รางวัลใหญ่ จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก Intel ISEF 2018 - NECTEC : National Electronics and Computer Technology Center" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-05-19.
  62. "ร่วมยินดีเด็กไทยคว้ารางวัลใหญ่ Intel ISEF 2018". mgronline.com. 2018-05-18.
  63. "16-Year-Old Engineer Works to Improve Spinal Surgery Using Machine Learning and Computer Vision: Full Awards". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  64. "Intel ISEF 2019 Special Awards Winners Announced". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  65. "เมืองไทยได้เฮ! สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ขอแสดงความยินดีกับ 8 รางวัลของเด็กไทยในการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ อินเทล ไอเซฟ 2019". NSTDA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
  66. "Full Awards: Teen Scientists and Engineers Win $5 Million at Largest Global High School STEM Competition". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  67. "Regeneron ISEF 2021 Special Awards Winners Announced". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  68. "เยาวชนไทยเจ๋ง คว้า 6 รางวัล บนเวทีประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก – Young Scientist Competition (YSC)" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  69. "Full Awards: High School Scientists from Around the World Win Nearly $8M in Awards, Scholarships at Regeneron International Science and Engineering Fair". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  70. "Regeneron ISEF 2022 Special Awards Winners Announced". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  71. "กระทรวง อว. ปลื้ม นักวิทย์ฯ-ทีมเยาวชนไทย กวาด 10 รางวัลเวทีโลก โครงงานวิทย์ฯ 'ISEF2022' จากสหรัฐอเมริกา". NSTDA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  72. "Full Awards: High school scientists win nearly $9M at Regeneron International Science and Engineering Fair". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-05-19.
  73. "Regeneron ISEF 2023 Society for Science Special Awards Winners Announced". Society for Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-05-18.
  74. "เด็กไทยผงาดคว้าชัยในเวทีการแข่งขันประกวดโครงงานวิทย์ฯ ระดับโลก REGENERON ISEF 2023". NSTDA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. https://www.societyforscience.org/isef/
  2. https://centennial.societyforscience.org/