ข้ามไปเนื้อหา

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2021

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประกวดเพลงยูโรวิชัน 2021
เปิดใจ
(Open Up)
วันและเวลา
รอบรองชนะเลิศรอบที่ 118 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
รอบรองชนะเลิศรอบที่ 220 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
รอบชิงชนะเลิศ22 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
เจ้าภาพ
สถานที่จัดงานรอตเทอร์ดามอะฮอย รอตเทอร์ดาม เนเธอร์แลนด์
ผู้บริหารระดับสูงมาร์ติน เอิสเตอดาห์ล
สถานีโทรทัศน์เจ้าภาพอาโฟรโทรส
มูลนิธิการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเนเธอร์แลนด์ (เอ็นโอเอส)
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง (เอ็นพีโอ)
ประเทศที่เข้าร่วม
จำนวนประเทศที่เข้าร่วม39
ประเทศที่กลับมาเข้าร่วมอีกครั้ง บัลแกเรีย
 ยูเครน
ประเทศที่ถอนตัว/ไม่กลับมาเข้าร่วม อาร์มีเนีย
 เบลารุส
 ฮังการี
 มอนเตเนโกร
แผนที่ประเทศที่เข้าร่วม
  •   ประเทศที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ
  •   ประเทศที่ตกรอบรองชนะเลิศ
  •   ประเทศที่เคยเข้าร่วมในอดีตแต่ไม่เข้าร่วมในปี 2021
การลงคะแนน
ระบบการลงคะแนนแต่ละประเทศจะมอบรางวัล 2 ชุด โดยชุดหนึ่งประกอบด้วย 12, 10, 8–1 คะแนน สำหรับเพลงสิบเพลง
เพลงชนะเลิศ อิตาลี
ซิตตีเอบูโอนี
2019 ← 2020 ← การประกวดเพลงยูโรวิชัน → 2022

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2021 (อังกฤษ: Eurovision Song Contest 2021, ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson 2021) เป็นการประกวดเพลงซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 65 ที่เมืองรอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดำเนินการโดยสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป และมีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง (เอ็นพีโอ), มูลนิธิการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเนเธอร์แลนด์ (เอ็นโอเอส), และอาโฟรโทรสเป็นเจ้าภาพ การประกวดจัดขึ้นที่รอตเทอร์ดามอะฮอยในวันที่ 18 และ 20 พฤษภาคมสำหรับรอบรองชนะเลิศ และในวันที่ 22 พฤษภาคมสำหรับรอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันจัดขึ้นภายหลังชัยชนะของดันแคน ลอว์เรนซ์ ด้วยเพลง อาร์เคด ในการประกวดปี 2019

เดิมเนเธอร์แลนด์มีกำหนดที่จะเป็นประเทศเจ้าภาพของการประกวดในปี 2020 แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 การประกวดจึงถูกยกเลิกไป[1]

การประกวดในปีนี้มีประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด 37 ประเทศ โดยมี 26 ประเทศที่ได้เข้าร่วมโดยมีศิลปินที่เดิมจะเข้าร่วมในการประกวดปี 2020 (ด้วยเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ซึ่งเป็นไปตามกฎของการแข่งขัน) นอกจากนี้แล้ว บัลแกเรียและยูเครนยังได้กลับมาเข้าร่วมอีกครั้ง ในขณะที่ฮังการีและมอนเตเนโกรไม่กลับมาเข้าร่วม และยังมีสถานการณ์ของประเทศอาร์มีเนียและเบลารุสที่ทั้งสองมีแผนที่จะเข้าร่วม แต่ตามหลังปัญหาทางการเมืองซึ่งมีผลจากสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สองในอาร์มีเนีย และการส่งผลงานที่ขัดต่อกฎการแข่งขันถึงสองครั้งและไม่มีการส่งผลงานที่ถูกระเบียบมาเพิ่มเติมของเบลารุส ส่งผลให้ทั้งสองประเทศนี้ไม่ได้กลับมาเข้าร่วมการประกวดเช่นกัน

ผู้ชนะในการประกวดครั้งนี้คือ โมเนสกิน จากอิตาลี ด้วยเพลง "ซิตตีเอบูโอนี" และมีฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, ไอซ์แลนด์ และยูเครน ได้อันดับที่สองถึงห้าตามลำดับ โดยฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับที่ดีที่สุดตั้งแต่การประกวดปี 1991 และ 1993 ตามลำดับ อิตาลีได้รับคะแนนสูงสุดในผลคะแนนจากผู้ชม แต่ได้อันดับที่สี่จากคณะกรรมการตามหลังสวิตเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, และมอลตา อิตาลียังเป็นประเทศที่สองใน "บื๊กไฟว์" ที่ชนะการประกวดตั้งแต่การริเริ่มของกลุ่มนี้ ตามหลังเยอรมนีในการประกวดปี 2010 การประกวดครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1995 ที่ผลงานเพลงของประเทศที่ได้สามอันดับแรกไม่ได้มีภาษาอังกฤษ โดยฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ส่งเพลงที่เป็นภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่อิตาลีในภาษาอิตาลี

อีบียูรายงานว่ามีผู้ชมการประกวดครั้งนี้จำนวน 183 ล้านคนใน 36 ตลาดยุโรป ซึ่งเพิ่มขึ้นหนึ่งล้านคนจากครั้งก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในกลุ่มอายุ 15–24 ปี[2][3]

สถานที่จัดงาน

[แก้]
รอตเทอร์ดามอะฮอยในรอตเทอร์ดามเป็นสถานที่จัดการประกวดปี 2021

การประกวดปี 2021 ได้จัดขึ้นที่รอตเทอร์ดาม เนเธอร์แลนด์[4] ภายหลังชัยชนะของดันแคน ลอว์เรนซ์ ด้วยเพลง อาร์เคด ในการประกวดปี 2019 นับเป็นชัยชนะครั้งที่ห้าของประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพการประกวดเพลงยูโรวิชัน 1958, 1970, 1976 และ 1980 สถานที่จัดงานที่ได้รับเลือกคือ อะฮอยอะรีนา ขนาด16,400 ที่นั่งในรอตเทอร์ดามอะฮอย ศูนย์ประชุมและสนามกีฬาในร่มอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่บนอะฮอยเวก รอตเทอร์ดามอะฮอยเคยเป็นสถานที่จัดการประกวดเพลงจูเนียร์ยูโรวิชันปี 2007 และจะเป็นสถานที่จัดการประกวดในปี 2020 ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป สำหรับกิจกรรม "พรมเทอร์ควอยซ์" ได้จัดขึ้นที่ท่าเรือรอตเทอร์ดัมในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2021[5][6] โดยเป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าแข่งขันและคณะผู้แทนจากแต่ละประเทศ[a] ได้เปิดตัวก่อนการแข่งขัน

การคัดเลือก

[แก้]

ตามธรรมเนียมยูโรวิชัน เนเธอร์แลนด์ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพการประกวดเพลงยูโรวิชันหลังจากที่ประเทศชนะการแข่งขันในปี 2019 สถานีโทรทัศน์แห่งชาติเอ็นพีโอ, เอ็นโอเอส และอาโฟรโทรสได้เปิดตัวกระบวนการเสนอเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม[8] ซึ่งห้าเมือง – อาร์เนม เซร์โทเคนบอส มาสทริชท์ รอตเทอร์ดัม และยูเทรกต์ – ได้ยื่นเสนอเป็นเจ้าภาพในระหว่างพิธีที่จัดขึ้นที่ฮิลเวอร์ซัม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2019[9] ในวันที่ 16 กรกฎาคม มาสทริชต์และรอตเทอร์ดัมได้รับคัดเลือก[10] และภายหลังการเข้าเยี่ยมชมเมืองของเอ็นพีโอ[11] ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2019 รอตเทอร์ดัมได้รับการประกาศให้เป็นเมืองเจ้าภาพของการประกวดเพลงยูโรวิชัน 2020[12]

หลังจากการยกเลิกการแข่งขันในปี 2020 อีบียูได้เริ่มพูดคุยกับสถานีโทรทัศน์เอ็นพีโอ, เอ็นโอเอส และอาโฟรโทรส รวมถึงเมืองรอตเทอร์ดัม เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดการประกวดในปี 2021 [13] เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2020 สภาเทศบาลเมืองรอตเทอร์ดัมได้อนุมัติงบประมาณที่เพิ่มขึ้นหลังจากสื่อของเนเธอร์แลนด์รายงานว่าเมืองจะต้องใช้เงินเพิ่มเติม 6.7 ล้านยูโรเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประกวด[14][15] ในระหว่างการออกอากาศรายการ ยูโรวิชัน: คอมทูเก็ทเทอร์ ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 รอตเตอร์ดัมได้รับการยืนยันให้เป็นเมืองเจ้าภาพของการประกวดปี 2021[16]

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ระดับชาติที่เป็นสมาชิกอีบียูจะมีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชัน และสามารถรับสัญญาณภาพการประกวดผ่านทางเครือข่ายยูโรวิชัน และถ่ายทอดสดทั่วประเทศได้ อีบียูจะออกคำเชิญเข้าร่วมการประกวดให้แก่สมาชิกปัจจุบันทั้งหมด สมาชิกที่เกี่ยวข้องอย่างประเทศออสเตรเลียจะสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องมีคำเชิญ เพราะอีบียูเคยอนุญติให้ออสเตรเลียเข้าร่วมการประกวดจนถึงปี 2023[17]

ภาพรวม

[แก้]
ลำดับการแสดง[21] ประเทศ[18] ศิลปิน[22] ชื่อเพลง[22] ภาษา ลำดับคะแนน คะแนนรวม
01  ไซปรัส Elena Tsagrinou "El diablo" อังกฤษ 16 94
02  แอลเบเนีย Anxhela Peristeri "Karma" แอลเบเนีย 21 57
03  อิสราเอล Eden Alene "Set Me Free" อังกฤษ 17 93
04  เบลเยียม Hooverphonic "The Wrong Place" อังกฤษ 19 74
05  รัสเซีย Manizha "Russian Woman" รัสเซีย, อังกฤษ 9 204
06  มอลตา Destiny "Je me casse" อังกฤษ 7 255
07  โปรตุเกส The Black Mamba "Love Is on My Side" อังกฤษ 12 153
08  เซอร์เบีย Hurricane "Loco Loco" เซอร์เบีย 15 102
09  สหราชอาณาจักร James Newman "Embers" อังกฤษ 26 0
10  กรีซ Stefania "Last Dance" อังกฤษ 10 170
11  สวิตเซอร์แลนด์ Gjon's Tears "Tout l'Univers" ฝรั่งเศส 3 432
12  ไอซ์แลนด์ Daði og Gagnamagnið "10 Years" อังกฤษ 4 378
13  สเปน Blas Cantó "Voy a quedarme" สเปน 24 6
14  มอลโดวา Natalia Gordienko "Sugar" อังกฤษ 13 115
15  เยอรมนี Jendrik "I Don't Feel Hate" อังกฤษ[d] 25 3
16  ฟินแลนด์ Blind Channel "Dark Side" อังกฤษ 6 301
17  บัลแกเรีย Victoria "Growing Up Is Getting Old" อังกฤษ 11 170
18  ลิทัวเนีย The Roop "Discoteque" อังกฤษ 8 220
19  ยูเครน Go_A "Shum" (Шум) ยูเครน 5 364
20  ฝรั่งเศส Barbara Pravi "Voilà" ฝรั่งเศส 2 499
21  อาเซอร์ไบจาน Efendi "Mata Hari" อังกฤษ 20 65
22  นอร์เวย์ Tix "Fallen Angel" อังกฤษ 18 75
23  เนเธอร์แลนด์ Jeangu Macrooy "Birth of a New Age" อังกฤษ, สรานันโตงโง 23 11
24  อิตาลี Måneskin "Zitti e buoni" อิตาลี 1 524
25  สวีเดน Tusse "Voices" อังกฤษ 14 109
26  ซานมารีโน Senhit feat. Flo Rida "Adrenalina" อังกฤษ 22 50

ผลคะแนนโดยละเอียด

[แก้]

คะแนนแยกตามประเภท

[แก้]
คะแนนแยกตามประเภท
ลำดับคะแนน คะแนนจากผู้ชม คะแนนจากกรรมการ
ประเทศ คะแนน ประเทศ คะแนน
1  อิตาลี 318  สวิตเซอร์แลนด์ 267
2  ยูเครน 267  ฝรั่งเศส 248
3  ฝรั่งเศส 251  มอลตา 208
4  ฟินแลนด์ 218  อิตาลี 206
5  ไอซ์แลนด์ 180  ไอซ์แลนด์ 198
6  สวิตเซอร์แลนด์ 165  บัลแกเรีย 140
7  ลิทัวเนีย 165  โปรตุเกส 126
8  รัสเซีย 100  รัสเซีย 104
9  เซอร์เบีย 82  ยูเครน 97
10  กรีซ 79  กรีซ 91
11  สวีเดน 63  ฟินแลนด์ 83
12  มอลโดวา 62  อิสราเอล 73
13  นอร์เวย์ 60  เบลเยียม 71
14  มอลตา 47  ลิทัวเนีย 55
15  ไซปรัส 44  มอลโดวา 53
16  แอลเบเนีย 35  ไซปรัส 50
17  อาเซอร์ไบจาน 33  สวีเดน 46
18  บัลแกเรีย 30  ซานมารีโน 37
19  โปรตุเกส 27  อาเซอร์ไบจาน 32
20  อิสราเอล 20  แอลเบเนีย 22
21  ซานมารีโน 13  เซอร์เบีย 20
22  เบลเยียม 3  นอร์เวย์ 15
23  เนเธอร์แลนด์ 0  เนเธอร์แลนด์ 11
24  สเปน 0  สเปน 6
25  เยอรมนี 0  เยอรมนี 3
26  สหราชอาณาจักร 0  สหราชอาณาจักร 0

ผลคะแนนในรอบชิงชนะเลิศโดยละเอียด

[แก้]
คะแนนรอบชิงชนะเลิศ (ส่วนของคณะกรรมการ)[23]
วิธีการให้คะแนน:
  ผู้ชม 100%
  คณะกรรมการ 100%
คะแนนรวม
คะแนนจากผู้ชม
อิสราเอล
โปแลนด์
ซานมารีโน
แอลเบเนีย
มอลตา
เอสโตเนีย
นอร์ทมาซิโดเนีย
อาเซอร์ไบจาน
นอร์เวย์
สเปน
ออสเตรีย
สหราชอาณาจักร
อิตาลี
สโลวีเนีย
กรีซ
ลัตเวีย
ไอร์แลนด์
มอลโดวา
เซอร์เบีย
บัลแกเรีย
ไซปรัส
เบลเยียม
เยอรมนี
ออสเตรเลีย
ฟินแลนด์
โปรตุเกส
ยูเครน
ไอซ์แลนด์
โรมาเนีย
โครเอเชีย
สาธารณรัฐเช็ก
จอร์เจีย
ลิทัวเนีย
เดนมาร์ก
รัสเซีย
ฝรั่งเศส
สวีเดน
สวิตเซอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์
ประเทศผู้เข้าแข่งขัน
ไซปรัส 94 44 3 7 4 2 6 12 1 7 4 2 2
แอลเบเนีย 57 35 2 12 7 1
อิสราเอล 93 20 6 8 8 3 6 4 1 2 3 7 5 1 1 5 5 4 4
เบลเยียม 74 3 6 3 3 1 5 6 3 3 4 5 6 3 7 3 6 1 6
รัสเซีย 204 100 7 1 1 12 8 2 1 10 6 7 2 1 4 10 2 4 2 10 3 3 8
มอลตา 255 47 5 4 7 8 1 5 7 12 8 4 7 5 6 2 10 7 5 10 5 8 12 1 4 5 1 12 3 7 1 3 4 4 12 6 7
โปรตุเกส 153 27 8 7 5 2 5 7 7 6 2 5 6 1 1 2 10 10 1 12 8 6 8 7
เซอร์เบีย 102 82 1 12 7
สหราชอาณาจักร 0 0
กรีซ 170 79 8 6 6 10 1 1 3 8 3 8 12 2 4 7 12
สวิตเซอร์แลนด์ 432 165 12 7 4 12 10 12 6 7 10 10 8 7 12 5 3 1 2 12 10 10 12 7 8 12 7 8 5 10 8 12 1 7 5 5
ไอซ์แลนด์ 378 180 10 8 4 2 7 12 10 8 10 10 8 5 7 3 3 8 8 8 4 10 8 6 4 10 3 7 5 10
สเปน 6 0 2 4
มอลโดวา 115 62 5 8 10 12 6 12
เยอรมนี 3 0 2 1
ฟินแลนด์ 301 218 2 1 3 2 7 1 4 10 4 4 10 1 3 8 5 8 1 8 1
บัลแกเรีย 170 30 1 3 6 1 6 4 5 5 8 5 1 12 6 5 6 2 10 12 8 2 4 4 2 6 6 10
ลิทัวเนีย 220 165 10 6 2 2 12 6 4 1 3 2 3 4
ยูเครน 364 267 4 5 4 6 3 1 1 7 6 10 5 5 2 3 5 7 12 8 3
ฝรั่งเศส 499 251 8 12 10 3 10 7 4 4 12 8 12 3 2 5 3 12 4 12 7 7 12 7 7 6 10 6 4 6 10 5 6 12 12
อาเซอร์ไบจาน 65 33 2 2 2 6 3 5 8 2 2
นอร์เวย์ 75 60 2 7 1 3 2
เนเธอร์แลนด์ 11 0 3 2 3 1 2
อิตาลี 524 318 5 10 4 3 10 5 6 12 4 8 8 10 8 2 6 6 6 3 12 7 3 12 6 12 10 10 10 8
สวีเดน 109 63 8 3 5 10 4 4 4 5 2 1
ซานมารีโน 50 13 12 5 1 3 7 5 4
คะแนนรอบชิงชนะเลิศ (ส่วนของผู้ชม)[23]
วิธีการให้คะแนน:
  ผู้ชม 100%
  คณะกรรมการ 100%
คะแนนรวม
คะแนนจากกรรมการ
อิสราเอล
โปแลนด์
ซานมารีโน
แอลเบเนีย
มอลตา
เอสโตเนีย
นอร์ทมาซิโดเนีย
อาเซอร์ไบจาน
นอร์เวย์
สเปน
ออสเตรีย
สหราชอาณาจักร
อิตาลี
สโลวีเนีย
กรีซ
ลัตเวีย
ไอร์แลนด์
มอลโดวา
เซอร์เบีย
บัลแกเรีย
ไซปรัส
เบลเยียม
เยอรมนี
ออสเตรเลีย
ฟินแลนด์
โปรตุเกส
ยูเครน
ไอซ์แลนด์
โรมาเนีย
โครเอเชีย
สาธารณรัฐเช็ก
จอร์เจีย
ลิทัวเนีย
เดนมาร์ก
รัสเซีย
ฝรั่งเศส
สวีเดน
สวิตเซอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์
ประเทศผู้เข้าแข่งขัน
ไซปรัส 94 50 8 2 2 6 12 2 12
แอลเบเนีย 57 22 10 10 7 1 7
อิสราเอล 93 73 12 2 1 5
เบลเยียม 74 71 1 2
รัสเซีย 204 104 10 2 1 6 1 6 7 1 1 10 12 6 7 3 5 1 1 4 3 5 4 4
มอลตา 255 208 5 3 3 2 6 3 4 1 2 8 3 2 2 2 1
โปรตุเกส 153 126 1 2 2 8 8 6
เซอร์เบีย 102 20 4 12 12 4 12 5 3 2 12 3 1 12
สหราชอาณาจักร 0 0
กรีซ 170 91 7 8 8 7 3 2 12 2 8 12 10
สวิตเซอร์แลนด์ 432 267 6 7 3 12 2 7 4 2 7 5 1 5 4 4 3 4 1 3 4 2 5 7 6 7 6 5 5 3 6 6 5 6 5 7
ไอซ์แลนด์ 378 198 1 8 5 3 10 5 10 10 6 3 5 10 5 5 6 12 12 3 6 4 7 1 3 12 1 4 10 5 8
สเปน 6 6
มอลโดวา 115 53 6 7 1 2 2 8 12 12 2 3 7
เยอรมนี 3 3
ฟินแลนด์ 301 83 4 6 4 3 7 12 2 5 6 2 4 7 8 4 6 8 5 5 7 8 4 6 8 3 5 8 12 6 6 4 7 7 8 1 12 4 4
บัลแกเรีย 170 140 2 5 8 8 7
ลิทัวเนีย 220 55 3 4 6 10 12 4 3 12 5 12 12 2 5 7 12 6 5 10 4 3 1 10 4 2 7 1 3
ยูเครน 364 97 12 12 5 4 1 5 4 8 5 6 7 4 12 7 5 6 8 10 8 6 6 10 4 10 10 10 8 7 8 10 6 12 1 7 12 4 2 5
ฝรั่งเศส 499 248 8 5 10 6 3 7 5 2 4 12 6 5 1 6 8 3 7 6 10 10 8 12 10 4 6 12 5 7 8 7 2 5 8 3 6 6 6 12
อาเซอร์ไบจาน 65 32 2 3 1 2 1 4 4 3 4 2 3 4
นอร์เวย์ 75 15 3 10 4 7 1 2 2 2 1 1 1 4 1 5 8 8
เนเธอร์แลนด์ 11 11
อิตาลี 524 206 7 10 12 10 12 8 8 10 7 10 8 3 10 10 7 6 8 12 12 10 8 7 7 8 7 12 5 10 10 6 8 10 5 10 10 3 10 2
สวีเดน 109 46 1 1 8 1 8 1 1 3 1 3 3 4 2 10 1 10 2 3
ซานมารีโน 50 37 3 3 7

12 คะแนน

[แก้]

ตารางด้างล่างคือสรุปประเทศที่ได้รับ 12 คะแนนเต็มจากคณะกรรมการและจากผู้ชมในรอบชิงชนะเลิศ ประเทศที่เน้น ตัวหนา คือประเทศที่ให้ 24 คะแนนเต็ม (คะแนนจากคณะกรรมการและจากผู้ชมอย่างละ 12 คะแนน) แก่ผู้เข้าแข่งขัน

ประเทศที่ได้ 12 คะแนนเต็ม จากคณะกรรมการ
จำนวน ผู้เข้าแข่งขัน ประเทศที่ให้ 12 คะแนนเต็ม
8  ฝรั่งเศส  เยอรมนี,  ไอร์แลนด์,  เนเธอร์แลนด์,  ซานมารีโน,  เซอร์เบีย,  สเปน,  สวิตเซอร์แลนด์,  สหราชอาณาจักร
 สวิตเซอร์แลนด์  แอลเบเนีย,  เบลเยียม,  เดนมาร์ก,  เอสโตเนีย,  ฟินแลนด์,  ไอซ์แลนด์,  อิสราเอล,  ลัตเวีย
4  อิตาลี  โครเอเชีย,  จอร์เจีย,  สโลวีเนีย,  ยูเครน
 มอลตา  ออสเตรเลีย,  นอร์เวย์,  โรมาเนีย,  สวีเดน
2  บัลแกเรีย  มอลโดวา,  โปรตุเกส
 กรีซ  ไซปรัส,  ฝรั่งเศส
 มอลโดวา  บัลแกเรีย,  รัสเซีย
1  แอลเบเนีย  มอลตา
 ไซปรัส  กรีซ
 ไอซ์แลนด์  ออสเตรีย
 ลิทัวเนีย  อิตาลี
 โปรตุเกส  เช็กเกีย
 รัสเซีย  อาเซอร์ไบจาน
 ซานมารีโน  โปแลนด์
 เซอร์เบีย  มาซิโดเนียเหนือ
 ยูเครน  ลิทัวเนีย
ประเทศที่ได้ 12 คะแนนเต็ม จากผู้ชม
จำนวน ผู้เข้าแข่งขัน ประเทศที่ให้ 12 คะแนนเต็ม
5  อิตาลี  บัลแกเรีย,  มอลตา,  ซานมารีโน,  เซอร์เบีย,  ยูเครน
 ลิทัวเนีย  เยอรมนี,  ไอร์แลนด์,  ลัตเวีย,  นอร์เวย์,  สหราชอาณาจักร
 เซอร์เบีย  ออสเตรีย,  โครเอเชีย,  มาซิโดเนียเหนือ,  สโลวีเนีย,  สวิตเซอร์แลนด์
 ยูเครน  ฝรั่งเศส,  อิสราเอล,  อิตาลี,  ลิทัวเนีย,  โปแลนด์
4  ฝรั่งเศส  เบลเยียม,  เนเธอร์แลนด์,  โปรตุเกส,  สเปน
3  ฟินแลนด์  เอสโตเนีย,  ไอซ์แลนด์,  สวีเดน
 ไอซ์แลนด์  ออสเตรเลีย,  เดนมาร์ก,  ฟินแลนด์
2  ไซปรัส  กรีซ,  รัสเซีย
 กรีซ  ไซปรัส,  จอร์เจีย
 มอลโดวา  เช็กเกีย,  โรมาเนีย
1  อิสราเอล  อาเซอร์ไบจาน
 รัสเซีย  มอลโดวา
 สวิตเซอร์แลนด์  แอลเบเนีย

หมายเหตุ

[แก้]
  1. คณะผู้แทนจากไอซ์แลนด์, มอลตา, โปแลนด์, และโรเมเนีย ไม่ได้เข้าร่วมเพราะมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19[7]
  2. ในนามของกลุ่มกระจายเสียงสาธารณะแห่งเยอรมนี อาแอร์เด[20]
  3. การแสดงมีเสียงร้องสดของโฟล ไรเดอ ซึ่งไม่ได้อ้างชื่อไว้
  4. Contains two spoken sentences in German

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Eurovision 2020 in Rotterdam is cancelled". Eurovision.tv. EBU. 2020-03-18.
  2. "183 million viewers welcome back the Eurovision Song Contest" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). European Broadcasting Union (EBU). 2021-05-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-31.
  3. "182 million tune in to 64th Eurovision Song Contest as young audience numbers surge". European Broadcasting Union. 28 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2019. สืบค้นเมื่อ 28 May 2019.
  4. "Eurovision 2021: How this year's acts are aiming for a Covid-safe contest". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 May 2021.
  5. "Sunday: The Turquoise Carpet Live" (ภาษาอังกฤษ). European Broadcasting Union. 13 May 2021. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
  6. "Eurovision'21: New Details About The Opening Ceremony Revealed". Eurovoix (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 28 April 2021. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
  7. Muldoon, Padraig (2021-05-16). "Turquoise carpet: Romania and Malta to miss Eurovision 2021 opening ceremony...Iceland and Poland were previously ruled out". Wiwibloggs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
  8. Groot, Evert (29 May 2019). "Which Dutch city or region will host Eurovision 2020?". European Broadcasting Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2019.
  9. Zwart, Josianne (10 July 2019). "5 Dutch cities in the race to become Eurovision 2020 Host City". Eurovision Song Contest. European Broadcasting Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2019.
  10. Oomen, Eefje (16 July 2019). "Rotterdam en Maastricht strijden om Songfestival, andere steden vallen af" [Rotterdam and Maastricht compete for the Song Contest, other cities are dropped]. Algemeen Dagblad (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2019.
  11. Jiandani, Sanjay (19 July 2019). "Eurovision 2020: Highlights from NPO's visit to Rotterdam". ESCToday. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2019.
  12. LaFleur, Louise (30 August 2019). "Rotterdam to host Eurovision 2020!". European Broadcasting Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2019.
  13. "Official EBU statement & FAQ on Eurovision 2020 cancellation". European Broadcasting Union. 18 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
  14. Granger, Anthony (8 April 2020). "Eurovision'21: Rotterdam Requires 6.7 Million Euro's Additional Funding to Host Eurovision 2021". Eurovoix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  15. Jumawan, Tim (23 April 2020). "Rotterdam City Council agrees to extra funding for Eurovision 2021". ESCXTRA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2020. สืบค้นเมื่อ 23 April 2020.
  16. "Rotterdam returns as Eurovision Song Contest Host City in 2021". European Broadcasting Union. 16 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
  17. Groot, Evert (12 February 2019). "Australia secures spot in Eurovision for the next five years". European Broadcasting Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
  18. 18.0 18.1 "41 Countries to participate at Eurovision 2021". European Broadcasting Union (EBU). 26 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
  19. "Participants of Rotterdam 2021". Eurovision.tv. EBU. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2023. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.
  20. "Alle deutschen ESC-Acts und ihre Titel" [All German ESC acts and their songs]. www.eurovision.de (ภาษาเยอรมัน). ARD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2023. สืบค้นเมื่อ 12 June 2023.
  21. "Grand Final Running Order" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). European Broadcasting Union (EBU). 20 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2021. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
  22. 22.0 22.1 "Eurovision Song Contest 2021 Grand Final". European Broadcasting Union. 30 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-31. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  23. 23.0 23.1 "Results of the Grand Final of Rotterdam 2021". European Broadcasting Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.