ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิรูปฝ่ายตุลาการเม็กซิโก พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

การปฏิรูปฝ่ายตุลาการเม็กซิโก พ.ศ. 2567
รัฐสภาเม็กซิโก
  • คำสั่งแก้ไข เพิ่มเติม และยกเลิกบทบัญญัติหลายบทของรัฐธรรมนูญทางการเมืองแห่งสหรัฐเม็กซิโก ในเรื่องการปฏิรูปฝ่ายตุลาการ
การอ้างถึงคำสั่งแก้ไข เพิ่มเติม และยกเลิกบทบัญญัติหลายบทของรัฐธรรมนูญทางการเมืองแห่งสหรัฐเม็กซิโก ในเรื่องการปฏิรูปฝ่ายตุลาการ (ภาษาสเปน) วารสารทางการของสหพันธ์, 15 กันยายน พ.ศ. 2567
ผู้ตราสภาผู้แทนเม็กซิโก
ผู้ตราวุฒิสภาเม็กซิโก
วันลงนาม15 กันยายน พ.ศ. 2567
ผู้ลงนามอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์
วันมีผล16 กันยายน พ.ศ. 2567
ประวัติทางนิติบัญญัติ
วาระที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567 (สภาผู้แทน)
วาระที่ 110 กันยายน พ.ศ. 2567 (วุฒิสภา)
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญเม็กซิโก
สถานะ: ยังมีผลอยู่

การปฏิรูปฝ่ายตุลาการเม็กซิโก พ.ศ. 2567 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อปรับปรุงโครงสร้างฝ่ายตุลาการเม็กซิโก[1] การปฏิรูปนี้เปลี่ยนระบบที่ตุลาการมาจากการแต่งตั้งให้เป็นระบบที่ตุลาการมาจากการเลือกสรรเบื้องต้นของรัฐสภาและให้ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การปฏิรูปนี้ยังกำหนดให้ตุลาการแต่ละคนมีวาระดำรงตำแหน่งไม่เกิน 9 ปี (แต่อาจดำรงตำแหน่งซ้ำได้อีก 1 วาระ) การปฏิรูปนี้ยังลดจำนวนตุลาการในศาลสูงสุดจาก 11 คนเป็น 9 คน และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวไม่เกิน 12 ปี การปฏิรูปยังกำหนดให้ใช้ศาลไร้หน้าในคดีบางประเภท และจัดตั้งคณะตุลาการขึ้นใหม่คณะหนึ่งเพื่อกำกับดูแลฝ่ายตุลาการ อนึ่ง การปฏิรูปครั้งนี้ยังส่งผลให้เงินตอบแทนและผลประโยชน์อื่นของฝ่ายตุลาการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ[2][3] เมื่อการปฏิรูปนี้ผ่านความเห็นชอบ เม็กซิโกจึงกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ตุลาการทุกคนมาจากการเลือกตั้ง[4][5]

การปฏิรูปนี้มาจากการเสนอของพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีผู้นำคือพรรคโมเรนา มีเป้าหมายเพื่อขจัดความฉ้อฉลในฝ่ายตุลาการ[6] แต่ข้อเสนอให้มีการปฏิรูปนี้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้าน เจ้าหน้าที่ตุลาการ และองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งโต้แย้งว่า จะเป็นการคุกคามความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ[7][8] ข้อเสนอดังกล่าวยังก่อให้เกิดการประท้วงและหยุดงานทั่วประเทศ และการบุกยึดวุฒิสภาในวันลงมติในร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ[9][10]

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาเกิน 2 ใน 3 ตามที่กำหนด และได้รับสัตยาบันจากสภานิติบัญญัติประจำรัฐต่าง ๆ ภายในเวลารวดเร็ว[11][12] ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567 จึงได้รับการลงนามประกาศใช้เป็นกฎหมายจากอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ประธานาธิบดีผู้ซึ่งขณะนั้นกำลังจะพ้นจากตำแหน่ง[13][14]

ความเป็นมา

[แก้]

ระหว่างดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีโลเปซ โอบราดอร์ เผชิญความขัดแย้งกับฝ่ายตุลาการบ่อยครั้ง โลเปซ โอบราดอร์ กล่าวหาฝ่ายตุลาการว่า มักขัดขวางรัฐบาลด้วยการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญซึ่งประวิงโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล เช่น โครงการรถไฟมายาในช่วง พ.ศ. 2563[15] โลเปซ โอบราดอร์ อ้างว่า ระบบตุลาการอยู่ภายใต้ความควบคุมของคนกลุ่มน้อยซึ่งมีส่วนในอาชญากรรมคอปกขาว และยังตกอยู่ใต้อิทธิพลของบุคคลภายนอก[15][16] ดังนั้น ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 โลเปซ โอบราดอร์ จึงประกาศแผนการปฏิรูปฝ่ายตุลาการเพื่อขจัดความฉ้อฉลและการขัดกันของผลประโยชน์ในวงการตุลาการ โดยเสนอให้ตุลาการทุกคนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน[17]

ครั้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โลเปซ โอบราดอร์ นำเสนอโครงการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกว่า "แผนซี" ในการนี้รวมถึงการปฏิรูปฝ่ายตุลาการของประเทศด้วย[18][19] โครงการปฏิรูปรัฐธรรมนูญดังกล่าวเสนอมาในรูปการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จึงจำต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากสมาชิกสภาทั้ง 2 ของรัฐสภาเกิน 2 ใน 3

ระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2567 คลอเดีย เชนบอม รณรงค์หาเสียงว่าจะผลักดันแผนซีของโลเปซ โอบราดอร์ ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปฝ่ายตุลาการ หากพรรคร่วมของตนได้รับเสียงข้างมากพิเศษในรัฐสภา[20] ผลปรากฏว่า คลอเดียและพรรคร่วมได้ที่นั่งในสภาผู้แทน 364 ที่จากทั้งหมด 500 ที่ แต่ในวุฒิสภา ได้ 83 ที่จาก 128 ที่ ขาดอีก 3 ที่จึงจะได้เสียงข้างมากพิเศษ

ไม่นานหลังชนะการเลือกตั้ง ว่าที่ประธานาธิบดีคลอเดียก็ประกาศผลักดันการปฏิรูปฝ่ายตุลาการเป็นวาระสำคัญ[21] ระหว่างวันที่ 14 ถึง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567 มีการสำรวจความคิดเห็น 3 ครั้ง ปรากฏผลว่า ราวร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจสนับสนุนการปฏิรูป แม้ว่าจะมีเพียงครึ่งหนึ่งที่รับทราบเกี่ยวกับการปฏิรูปนี้มาก่อน[22] ต่อมาในช่วงวันที่ 27 มิถุนายนถึง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สมาชิกรัฐสภาจากพรรคของคลอเดียและพรรคโมเรนาร่วมกันจัดเวทีอภิปราย 9 แห่ง แต่ละแห่งมุ่งเน้นประเด็นที่แตกต่างกันไปในโครงการการปฏิรูป[23][24]

ประวัติทางนิติบัญญัติ

[แก้]

สภาผู้แทน

[แก้]

ในช่วงท้ายของสมัยประชุมรัฐสภา สมัยที่ 65 การปฏิรูปฝ่ายตุลาการดังกล่าวได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการด้านรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทน และในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมาธิการมีมติให้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเต็มสภา โดยมีกรรมาธิการ 22 คนลงคะแนนเสียงเห็นชอบ อีก 16 คนไม่เห็นชอบ

ต่อมาในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลเม็กซิโกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้บุคลากรศาลหยุดงานเพื่อประท้วงได้ พร้อมทั้งห้ามการอภิปรายหรือลงคะแนนเสียงในรัฐสภาเกี่ยวกับการปฏิรูปนี้[25]

อย่างไรก็ดี รัฐสภาดำเนินการต่อไปโดยเห็นว่าการพิจารณากฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ การพิจารณาวาระที่ 1 มีขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นวันเริ่มสมัยประชุมที่ 66 แต่ก็มีสมาชิกประท้วงด้วยการเดินออกจากห้องประชุมเพราะเห็นว่าเป็นการขัดต่อคำสั่งของศาล ขณะที่สมาชิกบางคนก็โต้แย้งว่า คำสั่งของศาลไม่อาจใช้บังคับถึงการปฏิรูปรัฐธรรมนูญได้[26]

ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 มีกำหนดอภิปรายเรื่องการปฏิรูปนี้ ณ วังนิติบัญญัติแห่งซานลาซาโร บุคลากรศาลและนักศึกษาจำนวนหนึ่งพากันมาชุมนุมปิดกั้นสถานที่ เป็นผลให้การอภิปรายต้องย้ายไปยังโรงพลศึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งสมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก[27] การอภิปรายสามารถเริ่มในเวลา 16:00 นาฬิกาของท้องถิ่น[28] กระทั่งเช้าวันถัดมา ตัวบททั่วไปของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 359 ต่อ 135 เสียง เสียงที่ไม่เห็นชอบนั้นส่วนใหญ่มาจากพรรคฝ่ายค้าน[29]

หลายชั่วโมงถัดมา มีการเสนอให้เพิ่มเติมร่างนั้นในหลายประเด็น เช่น ให้มีความเท่าเทียมทางเพศในสัดส่วนของตุลาการ และให้ตุลาการที่พ้นจากตำแหน่งแล้วสามารถประกอบวิชาชีพทางกฎหมายต่อไปได้[30] ในการพิจารณาวาระสุดท้าย ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนด้วยคะแนนเสียง 357 ต่อ 130 เสียง โดยสมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายค้านทั้งหมดที่มาประชุมลงคะแนนเสียงไม่เห็นชอบ[31]

วุฒิสภา

[แก้]

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2567 คณะกรรมาธิการด้านรัฐธรรมนูญและด้านการศึกษาทางนิติบัญญัติของวุฒิสภาได้จัดการประชุมร่วมกัน และลงมติให้นำข้อเสนอการปฏิรูปเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาเต็มสภา โดยมีกรรมาธิการลงคะแนนเสียงเห็นชอบ 25 เสียง ไม่เห็นชอบ 12 เสียง[32]

การพิจารณาในวาระแรกของวุฒิสภามีขึ้นในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567 มีสมาชิกขาดประชุม 2 คน และมีกลุ่มผู้ประท้วงบางกลุ่มเรียกร้องให้ยุติการพิจารณา โดยอ้างว่า สมาชิกที่ขาดประชุมนั้นถูกจับตัวไป แต่หลังจากโทรศัพท์ตรวจสอบกับสมาชิกที่ขาดประชุม ก็พบว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง การประชุมจึงดำเนินไป และในที่สุดญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็ได้รับความเห็นชอบในวาระแรกด้วยคะแนนเสียง 83 ต่อ 41 เสียง[33]

การอภิปรายในวาระต่อมาเริ่มขึ้นในเวลาของ 14:30 นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น) ของวันนั้นเอง แต่ผู้ชุมนุมประท้วงภายนอกอาคารวุฒิสภาพากันบุกเข้ายึดอาคาร ทำให้ต้องพักประชุม[34] กระทั่งเวลา 19:00 นาฬิกา จึงประชุมกันอีกครั้งในสถานที่อื่น โดยมีตำรวจนครเม็กซิโกอารักขาพื้นที่[35] ที่สุดแล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้รับความเห็นชอบของวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 86 ต่อ 41 เสียง ณ เวลาประมาณ 04:00 นาฬิกาของเช้าวันถัดมา[36]

สัตยาบัน

[แก้]

เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาในสมัยประชุมที่ 66 แล้ว จำต้องได้รับสัตยาบันจากสภานิติบัญญัติประจำรัฐต่าง ๆ ของเม็กซิโกอีก[37] ซึ่งต้องได้รับจากรัฐ 17 รัฐ (จากทั้งหมด 32 รัฐ) เป็นอย่างน้อย[38] โออาซากาเป็นรัฐแรกที่ให้สัตยาบัน โดยให้วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567 ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการแก้ไขเพิ่มเติมได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา[39] ส่วนรัฐอื่น ๆ อีก 17 รัฐก็ให้สัตยาบันตามภายใน 24 ชั่วโมงนั้นเอง[40] เกเรตาโรเป็นรัฐแรกที่ไม่ให้สัตยาบัน[41] และฮาลิสโกก็ปฏิเสธการให้สัตยาบันเช่นกันในอีกสองวันถัดมา

ภายในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็ได้รับสัตยาบันจากรัฐส่วนใหญ่ รัฐที่ให้สัตยาบันเป็นลำดับที่ 17 คือ ซากาเตกัส[42] กระบวนการได้รับสัตยาบันครั้งนี้ลุล่วงภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ทำลายสถิติเดิมของการให้สัตยาบันแก่การปฏิรูปพลังงานใน พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้เวลา 45 ชั่วโมง[12]

ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 มีการเรียกประชุมสภาผู้แทนและวุฒิสภาเพื่อออกประกาศการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แล้วส่งให้ประธานาธิบดีโลเปซ โอบราดอร์ ลงนาม ณ เวลานั้นการแก้ไขเพิ่มเติมได้รับสัตยาบันจากรัฐ 23 รัฐแล้ว ส่วนสมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายค้านทั้งหมดไม่ร่วมประชุมดังกล่าว[43][44]

ครั้นวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567 ประธานาธิบดีโลเปซ โอบราดอร์ ก็ประกาศการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ใน วารสารทางการของสหพันธ์ โดยมีคลอเดีย เชนบอม ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยาน[14]

การปฏิรูป

[แก้]

การเลือกตั้งตุลาการ

[แก้]

การปฏิรูปนี้กำหนดให้ตุลาการส่วนกลางทั้งหมด (ซึ่งรวมถึงตุลาการศาลสูงสุด) มาจากการเลือกตั้ง[45][46] ตุลาการทุกคน ยกเว้นตุลาการศาลสูงสุด จะได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 9 ปี และสามารถได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกเพียงวาระเดียว ส่วนตุลาการศาลสูงสุดจะอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวไม่เกิน 12 ปี[3]

การเลือกตั้งตุลาการจะอยู่ในการกำกับดูแลของสถาบันการเลือกตั้งแห่งชาติ และในการเลือกตั้งนี้ ห้ามระดมทุนไม่ว่าจากภาครัฐหรือภาคเอกชน ห้ามซื้อพื้นที่สื่อ และห้ามพรรคการเมืองรณรงค์หาเสียง[47]

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตุลาการต้องเป็นพลเมืองเม็กซิโกโดยกำเนิด ไม่เคยต้องโทษทางอาญาร้ายแรง มีปริญญาทางกฎหมายในสาขานิติศาสตร์โดยมีเกรดเฉลี่ยระดับ 8 เป็นอย่างน้อย ต้องมีประสบการณ์ทางวิชาชีพอย่างน้อย 5 ปี ต้องส่งเรียงความชุดหนึ่งในหัวเรื่องทางกฎหมาย และต้องมีหนังสือแนะนำอย่างน้อย 5 ฉบับซึ่งพรรณนาถึงคุณสมบัติของผู้สมัคร นอกจากนี้ ผู้สมัครยังต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งบางประเภทในช่วงเวลาตั้งแต่ปีก่อนหน้าปีที่ลงสมัครจนถึงปีที่ลงสมัคร เช่น ตำแหน่งสมาชิกคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนหรือวุฒิสภา อัยการสูงสุด ผู้ว่าการ ฯลฯ[3][47]

การเลือกตั้งครั้งแรกจะมีขึ้นใน พ.ศ. 2568 เพื่อเลือกตั้งตุลาการศาลสูงสุดทั้งศาล และเลือกตั้งกึ่งหนึ่งของตุลาการตำแหน่งอื่น ๆ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งจะเลือกตั้งใน พ.ศ. 2570[3]

การไม่เปิดเผยตัวตนของฝ่ายตุลาการ

[แก้]

การปฏิรูปนี้กำหนดให้ใช้ศาลไร้หน้าสำหรับคดีบางประเภท เช่น คดีเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรม[48][49] สภาผู้แทนเสนอเรื่องนี้ขึ้นในชั้นกรรมาธิการ หลังจากที่ประธานาธิบดีโลเปซ โอบราดอร์ กล่าวเรื่องนี้ขึ้นในการแถลงข่าวประจำวันก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน[50]

การกำกับดูแลฝ่ายตุลาการ

[แก้]

การปฏิรูปนี้กำหนดให้ยกเลิกสภาตุลาการกลาง และแทนที่ด้วยคณะตุลาการด้านวินัย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 5 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวไม่เกิน 6 ปี และสมาชิกคณะจะหมุนเวียนกันเป็นประธานคณะ คณะตุลาการนี้มีอำนาจลงโทษ พักงาน หรือไล่ออกซึ่งบรรดาตุลาการที่กระทำความผิดทางวินัย และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการนี้ไม่อาจอุทธรณ์ได้[51]

ความเปลี่ยนแปลงในศาลสูงสุด

[แก้]

การปฏิรูปนี้กำหนดให้ลดจำนวนตุลาการศาลสูงสุดลงจาก 11 คนเป็น 9 คน และลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจาก 15 ปีเป็น 12 ปีวาระเดียว[2] นอกจากนี้ ระยะการดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุดก็ลดลงเป็น 2 ปี และตำแหน่งนี้จะหมุนเวียนในหมู่ตุลาการศาลสูงสุดตามแต่คะแนนเสียงที่ได้รับมากที่สุด[52]

เงินตอบแทน

[แก้]

การปฏิรูปนี้จำกัดเงินตอบแทนของตุลาการทุกคนมิให้สูงกว่าของประธานาธิบดี[53]

ความเห็นแย้ง

[แก้]

หน่วยงานทางกฎหมายในเม็กซิโก เช่น เนติบัณฑิตยสภาเม็กซิโก โรงเรียนกฎหมายสแตนฟอร์ด และอินเตอร์อเมริกันไดอาล็อก มองว่า "การเลือกตั้งตุลาการจะเป็นผลเสียต่อความเป็นอิสระและเป็นกลางของระบบตุลาการ"[45][46]

มาร์กาเร็ต แซตเทอร์ทเวต ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของตุลาการและทนายความ ส่งสารถึงรัฐบาลเม็กซิโกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 ว่า โครงการปฏิรูปนี้ "อาจทำลายความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการของเม็กซิโก" มาร์กาเร็ตกล่าวว่า ตนกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับบริบทที่แวดล้อมการปฏิรูป โดยเฉพาะเมื่อได้รับ "รายงานถึงการแทรกแซงความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ ผ่านวาจาที่ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติใช้โจมตีตุลาการบางคน" มาร์กาเร็ตยังกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจ "เพิ่มความเสี่ยงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นตุลาการจะพยายามเอาอกเอาใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้สนับสนุนการรณรงค์เลือกตั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสที่ตนจะได้รับเลือกตั้ง แทนที่การตัดสินใจ [เลือกตั้ง] จะเกิดขึ้นโดยอิงบรรทัดฐานและมาตรฐานของฝ่ายตุลาการเพียงประการเดียว" ในสารของมาร์กาเร็ตยังลงรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความเป็นอิสระของตุลาการ และการรักษากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ[54]

ฮิวแมนไรตส์วอตช์เห็นว่า การปฏิรูปนี้จะทำลายความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการอย่างร้ายแรง และฝ่าฝืนมาตรฐานทางสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่า ตุลาการควรมีหลักประกันในการดำรงตำแหน่ง และควรได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากอิทธิพลทางการเมือง และการใช้ศาลไร้หน้ายังขัดต่อสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม[49]

สำนักงานวอชิงตันว่าด้วยลาตินอเมริกามองว่า การปฏิรูปครั้งนี้เป็น "ความเสื่อมถอยของสิทธิมนุษยชน" เพราะเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองซึ่งมีอำนาจนำในฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารจะเข้ามายึดครองระบบตุลาการ สำนักงานยังเตือนให้ระวังถึงประชานิยมที่เป็นโทษ และความอ่อนแอลงของวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย[55][56]

เคน ซาลาซาร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก มองว่า การปฏิรูปฝ่ายตุลาการนี้เป็นความเสี่ยงต่อประชาธิปไตยของเม็กซิโก และคุกคามความสัมพันธ์ทางการค้าพาณิชย์ระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก[57] การวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดีโลเปซ โอบราดอร์ ประกาศระงับความสัมพันธ์ทางทูตกับสถานทูตสหรัฐและแคนาดาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567[58]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mexico's planned judicial reform is 'major risk' to democracy, says US ambassador". Reuters. 22 August 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2024. สืบค้นเมื่อ 6 September 2024.
  2. 2.0 2.1 Staff, Forbes (2024-09-11). "Estas son cinco claves para entender la polémica reforma judicial de López Obrador y Sheinbaum". Forbes México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-12.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 López, Alejandro I. (2024-09-04). "¿Qué dice la reforma judicial y cuál es el camino para su aprobación?". El País México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.López, Alejandro I. (4 September 2024). "¿Qué dice la reforma judicial y cuál es el camino para su aprobación?". El País México (in Spanish). Retrieved9 September 2024.
  4. "Mexico becomes first country to approve popular election of judges" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). ABC News (Australia). 2024-09-11. สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  5. "Mexico's Senate passes judicial reform after protesters break into chamber". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  6. Jiménez, Néstor; Olivares, Emir (2024-09-10). "Niega AMLO que se pretenda "dinamitar"; "limpiar de corrupción beneficiará a empresas"". La Jornada (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.
  7. "IACHR expresses concerns over judiciary reform in Mexico and warns of threats to judicial independence, access to justice, and rule of law". Inter-American Commission on Human Rights (IACHR) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.
  8. "México adopta la elección popular de jueces pese a las advertencias sobre el daño a la justicia". France 24. 2024-09-10. สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.
  9. Romero, Simon; Rodríguez Mega, Emiliano (19 August 2024). "Mexico's Judges Vote to Strike, Opposing Overhaul of Legal System". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 August 2024.
  10. "Protesters storm Mexican senate, forcing pause on judicial reform debate". CTVNews (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-10. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.
  11. López-Castro, Fernanda (12 September 2024). "AMLO celebra que más de 17 Congresos estatales aprobaron la reforma al Poder Judicial: "Ya es legal"". Infobae. สืบค้นเมื่อ 12 September 2024.
  12. 12.0 12.1 García, Carina (2024-09-12). "Diputados alistan declaratoria de la Reforma Judicial". ADNPolítico (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-12.García, Carina (12 September 2024). "Diputados alistan declaratoria de la Reforma Judicial". ADNPolítico (in Spanish). Retrieved12 September 2024.
  13. "Mexico president signs contested judicial reforms into law". Yahoo! News. AFP. 15 September 2024. สืบค้นเมื่อ 16 September 2024.
  14. 14.0 14.1 "VIDEO: AMLO firma decreto de reforma al Poder Judicial junto a Claudia Sheinbaum, antes de dar el Grito de Independencia 2024". sdpnoticias (ภาษาสเปน). 2024-09-16. สืบค้นเมื่อ 2024-09-16."VIDEO: AMLO firma decreto de reforma al Poder Judicial junto a Claudia Sheinbaum, antes de dar el Grito de Independencia 2024". sdpnoticias (in Spanish). 16 September 2024. Retrieved16 September 2024.
  15. 15.0 15.1 Raziel, Zedryk (2023-05-30). "López Obrador acusa a los jueces de intentar un "golpe de Estado técnico" contra su Gobierno". El País México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  16. Vargas, Por Octavio (2024-02-29). "AMLO arremete contra ambientalista que denuncian perforación de cavernas del Tren Maya: "Lo agarran de negocio"". infobae (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  17. Raziel, Zedryk; Breña, Carmen Morán (2023-09-01). "López Obrador arremete contra el Poder Judicial en su quinto informe de Gobierno: 'Tienen convivencias inconfesables'". El País México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  18. "Reforma al Poder Judicial 2024: AMLO envía iniciativa para elegir a jueces por voto popular". El Financiero (ภาษาสเปน). 2024-02-06. สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  19. López, Alejandro I. (2024-02-06). "Las 20 reformas constitucionales que propone López Obrador". El País México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  20. Luis, Emanuel Landeros / El Sol de San. "Claudia Sheinbaum quiere "carro completo" y pide votar por el Plan C". El Sol de México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.
  21. "Sheinbaum define seis reformas prioritarias para septiembre en reunión con legisladores electos". Animal Politico (ภาษาอังกฤษ). 2024-06-18. สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  22. "Encuesta de Morena arroja que mayoría quiere reforma judicial y elección de ministros por voto popular, dice Sheinbaum". Animal Politico (ภาษาอังกฤษ). 2024-06-17. สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  23. "Sheinbaum y legisladores de Morena acuerdan abrir diálogo nacional sobre la reforma al Poder Judicial". LatinUS (ภาษาสเปน). 2024-06-11. สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.
  24. Esquivel, Por Israel Aguilar (2024-06-25). "Este es el calendario y los temas de los Diálogos para la Reforma del Poder Judicial". infobae (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.
  25. "Jueza mexicana ordena paralización de la reforma judicial – DW – 31/08/2024". dw.com (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  26. México, Fernando Merino / El Sol de. "Dan primera lectura a Reforma Judicial en la Cámara de Diputados". El Sol de México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.
  27. Cortés, Juan Carlos (5 September 2024). "Lilly Téllez: "a Noroña le dio pánico el pueblo"". www.proceso.com.mx (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-09-07.
  28. "Debate de Reforma Judicial empezará a las 16:00 horas, esto debes saber". El Imparcial (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  29. Janetsky, Megan (2024-09-05). "Diputados mexicanos aprueban reforma que exige que todos los jueces se postulen a elecciones". Los Angeles Times en Español (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-09-06.
  30. Digital, Once (2024-09-04). "Reforma al Poder Judicial va al Senado con tres reservas". Once Noticias (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  31. "Reforma judicial: Queda aprobada en lo general y en lo particular". El Universal (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  32. "Reforma judicial avanza en comisiones del Senado; pasa al pleno". El Universal (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  33. Campuzano, Jimena (2024-09-10). "MC denuncia detención del senador Daniel Barreda; Fernández Noroña dice que está libre". Excélsior (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.
  34. "Votación de la reforma al Poder Judicial: Manifestantes 'toman' el Pleno del Senado y suspenden la sesión". El Financiero (ภาษาสเปน). 2024-09-10. สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  35. "Noroña convoca a sede alterna del Senado en Xicoténcatl; policías de CDMX resguardan inmueble". Semanario ZETA (ภาษาสเปน). 2024-09-11. สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  36. Cortés, Juan Carlos (11 September 2024). "Sin cambiarle una coma, la 4T en el Senado aprueba en lo particular la reforma judicial". Proceso. สืบค้นเมื่อ 11 September 2024.
  37. Staff, Forbes (2024-09-11). "Senado aprueba en lo general y particular la reforma judicial de AMLO; pasa a congresos estatales". Forbes México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  38. "Controversial judicial reform passes Mexican Senate after protesters break into chamber". CNN. 11 September 2024. สืบค้นเมื่อ 11 September 2024.
  39. Turrubiartes, Jennifer (2024-09-11). "Oaxaca y Tamaulipas, primeros estados del país en avalar la Reforma al Poder Judicial". UnoTV (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  40. "Avanza reforma al Poder Judicial: 13 estados ya la aprobaron y uno la rechazó". Infobae. 12 September 2024. สืบค้นเมื่อ 12 September 2024.
  41. Jiménez, Gualita (2024-09-11). "Rechazan en Comisión legislativa queretana dictamen de Reforma al Poder Judicial". Plaza de Armas | Querétaro (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-11.
  42. Tepal, Jesús. "El aval de 17 estados, el último eslabón de las reformas constitucionales". imagenpoblana.com (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-12.
  43. Staff, Forbes (2024-09-14). "Congreso declara constitucional la reforma judicial". Forbes México (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-14.
  44. "Cámara de Diputados declara la constitucionalidad de la reforma judicial; pasa al Ejecutivo para su publicación en el DOF". LatinUS (ภาษาสเปน). 2024-09-13. สืบค้นเมื่อ 2024-09-14.
  45. 45.0 45.1 Butler, Kelsey (2 May 2024). "AMLO's Plan to Elect Judges Undermines Democracy, Groups Say". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 27 August 2024.Butler, Kelsey (2 May 2024). "AMLO's Plan to Elect Judges Undermines Democracy, Groups Say". Bloomberg News. Retrieved27 August 2024.
  46. 46.0 46.1 Butler, Kelsey (2 May 2024). "AMLO's Plan to Elect Judges Undermines Democracy, Groups Say". Bloomberg via Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 13 September 2024.Butler, Kelsey (2 May 2024). "AMLO's Plan to Elect Judges Undermines Democracy, Groups Say". Bloomberg via Yahoo!. Retrieved13 September 2024.
  47. 47.0 47.1 Trejo, Roberto (2024-09-04). "¿Cuáles serán los requisitos para ser juez con la reforma judicial?". Reporte Indigo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.Trejo, Roberto (4 September 2024). "¿Cuáles serán los requisitos para ser juez con la reforma judicial?". Reporte Indigo (in Spanish). Retrieved9 September 2024.
  48. "La Cámara de Diputados emite declaratoria de constitucionalidad en materia de reforma al Poder Judicial". Comunicación Social. Cámara de Diputados. 13 September 2024. สืบค้นเมื่อ 14 September 2024.
  49. 49.0 49.1 "Mexico: Proposed Constitutional Changes Threaten Rights". Human Rights Watch. 30 August 2024. สืบค้นเมื่อ 11 September 2024."Mexico: Proposed Constitutional Changes Threaten Rights". Human Rights Watch. 30 August 2024. Retrieved11 September 2024.
  50. Raziel, Zedryk (27 August 2024). "Los 'jueces sin rostro': la nueva polémica en torno a la reforma judicial de López Obrador". El País. สืบค้นเมื่อ 14 September 2024.
  51. "El paso a pasito de la reforma judicial, parte 2 de 3: El Tribunal de Disciplina Judicial, un nuevo árbitro para los jueces". El Universal (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  52. "Reforma judicial en México: ¿en qué consiste el proyecto de ley que divide al país?". France 24. 2024-09-08. สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  53. García, Yared de la Rosa y Carina (2024-09-04). "Ya se aprobó la Reforma Judicial en Diputados, pero con cambios para jueces y magistrados". ADNPolítico (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  54. Satterthwaite, Margaret (29 July 2024). "Comunicación OL MEX 11/2024, Relatora Especial sobre la independencia de los magistrados y abogados". Office of the High Commissioner for Human Rights. สืบค้นเมื่อ 13 September 2024.
  55. Brewer, Stephanie (20 August 2024). "Judicial Reform in Mexico: A Setback for Human Rights". WOLA. สืบค้นเมื่อ 13 September 2024.
  56. Brewer, Stephanie (20 August 2024). "Reforma judicial en México: un retroceso para los derechos humanos". WOLA (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-09-07.
  57. Janetsky, Megan (2024-08-22). "US ambassador to Mexico calls proposed judicial overhaul a democracy 'risk' and economic threat". AP News (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-09-07.
  58. Romero, Simon; Rodríguez Mega, Emiliano (27 August 2024). "Mexico Pauses Relations With U.S. Embassy Amid Clash Over Judicial Overhaul". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 August 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]