ข้ามไปเนื้อหา

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์
การแทรกแซง
การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ของทารกในครรภ์อายุ 16 สัปดาห์ วงกลมขาวสว่างตรงกลาง-ขวาคือหัว โดยหน้าหันไปทางซ้าย ลักษณะมีหน้าผากที่ 10 นาฬิกา หูซ้ายอยู่ค่อนกลางที่ 7 นาฬิกา และมือขวาปิดตาที่ 9 นาฬิกา
ICD-9-CM88.78
MeSHD016216
OPS-301 code:3-032, 3-05d

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์เป็นการใช้การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในการตั้งครรภ์ ซึ่งใช้คลื่นเสียงสร้างภาพเรียลไทม์ของเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ที่กำลังเจริญในมดลูก (ครรภ์) มารดา กระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนมาตรฐานของการดูแลก่อนกำเนิดในหลายประเทศ เพราะให้สารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพของมารดา กำหนดเวลาและความคืบหน้าของการตั้งครรภ์ และสุขภาพและการเจริญของเอ็มบริโอหรือทารกใครรภ์

สมาคมคลื่นเสียงความถี่สูงในสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาระหว่างประเทศ (International Society of Ultrasound in Obstetrics and Gynecology) แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์รูทีนระหว่างอายุครรภ์ 18 ถึง 22 สัปดาห์เพื่อยืนยันกำหนดเวลาการตั้งครรภ์ เพื่อวัดทารกในครรภ์เพื่อให้สามารถพบความผิดปกติการเจริญอย่างรวดเร็วต่อมาในการตั้งครรภ์ และเพื่อประเมินสภาพวิรูปแต่กำเนิดและการตั้งครรภ์บุตรหลายคน (คือ แฝด)[1] นอกจากนี้ ISUOG แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ระหว่างอายุครภ์ 11 สัปดาห์ถึง 13 สัปดาห์ 6 วันในประเทศที่มีทรัพยากรพอทำ การตรวจบันทึด้วยคลื่นเสี่ยงความถี่สูงในระยะการตั้งครรภ์ต้นขนาดนี้สามารถยืนยันกำหนดเวลาของการตั้งครภ์ได้แม่นยำขึ้นและยังสามารถประเมินทารกในครรภ์หลายคนและความผิดปกติแต่กำเนิดสำคัญในขั้นต้น ๆ[2] การวิจัยแสดงว่าคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์รูทีนก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์สามารถลดความเสี่ยงการไม่สามารถรู้การตั้งครรภ์บุตรหลายคนได้อย่างสำคัญและสามารเพิ่มการกำหนดวันการตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงการชักนำการคลอดในการตั้งครรภ์เกินกำหนด ทว่า ไม่มีความแตกต่างในการเสียชีวิตปริกำเนิดหรือผลเสียสำหรับทารก[3]

การใช้ทางการแพทย์

[แก้]

การตั้งครรภ์ช่วงต้น

[แก้]

สามารถเห็นถุงการตั้งครรภ์ (gestational sac) อย่างน่าเชื่อถือทางคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านช่องคลอดเมื่ออายุครรภ์ 5 สัปดาห์ (ประมาณ 3 สัปดาห์หลังตกไข่) ควรเห็นเอ็มบริโอเมื่อวัดขนาดถุงการตั้งครรภ์ได้ 20 มิลลิเมตร ตรงกับประมาณห้าสัปดาห์ครึ่ง ปกติเห็นหัวใจเต้นทางคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านช่องคลอดเมื่อเอ็มบริโอวัดขนาดได้ 5 มิลลิเมตร แต่อาจมองไม่เห็นจนเอ็มบริโอมีขนาดถึง 7 มิลลิเมตร คือ อายุครรภ์ประมาณ 7 สัปดาห์[4][5][6] บังเอิญว่าการแท้งส่วนมากก็เกิดที่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์เช่นกัน อัตราการแท้ง โดยเฉพาะการแท้งคุกคาม ลดลงอย่างสำคัญหากตรวจพบหัวใจเต้นปกติ[7]

ไตรมาสแรก

[แก้]

ในไตรมาสแรก การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมาตรฐานตรงแบบมี[6]

  • ขนาด ตำแหน่งและจำนวนถุงการตั้งครรภ์
  • การระบุเอ็มบริโอและ/หรือถุงไข่แดง (yolk sac)
  • การวัดความยาวทารกในครรภ์ (เรียก crown-rump length)
  • จำนวนทารกในครรภ์ ซึ่งรวมจำนวนถุงเยื่อถุงน้ำคร่ำ (amnionic sac) และถุงคอเรียน (chorionic sac) สำหรับการตั้งครรภ์บุตรหลายคน
  • กิจกรรมหัวใจของเอ็มบริโอ/ทารกในครรภ์
  • การประเมินกายวิภาคของเอ็มบริโอ/ทารกใคนครรภ์ที่เหมาะสมกับไตรมาสแรก
  • การประเมินมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่และโครงสร้างแวดล้อมของมารดา
  • การประเมินสันหลังคอ (nuchal fold) ของทารกในครรภ์ โดยพิจารณาการประเมินความใสหลังคอ (nuchal translucency) ของทารกในครรภ์

ไตรมาสที่สองและสาม

[แก้]

ในไตรมาสที่สอง การตรวจคลื่นเสี่ยงความถี่สูงมาตรฐานตรงแบบมี[6]

  • จำนวนทารกในครรภ์ ซึ่งรวมจำนวนถุงเยื่อถุงน้ำคร่ำและถุงคอเรียนสำหรับการตั้งครรภ์บุตรหลายคน
  • กิจกรรมหัวใจของทารกในครรภ์
  • ท่าของทารกในครรภ์เทียบกับมดลูกและปากมดลูก
  • ตำแหน่งและลักษณะของรก ซึ่งรวมตำแหน่งของที่เกาะปลายสายสะดือเมื่อเป็นไปได้
  • ปริมาตรน้ำคร่ำ
  • การประเมินอายุครรภ์
  • การประมาณน้ำหนักทารกในครรภ์
  • การสำรวจกายวิภาคของทารกในครรภ์
  • การประเมินมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่และโครงสร้างแวดล้อมของมารดาตามความเหมาะสม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Salomon, LJ; Alfirevic, Z; Berghella, V; Bilardo, C; Hernandez-Andrade, E; Johnsen, SL; Kalache, K; Leung, K.-Y.; Malinger, G; Munoz, H; Prefumo, F; Toi, A; Lee, W (2010). "Practice guidelines for performance of the routine mid-trimester fetal ultrasound scan" (PDF). Ultrasound Obstet Gynecol. 37: 116–126. doi:10.1002/uog.8831. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-11. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  2. Salomon, LJ; Alfirevic, Z; Bilardo, CM; Chalouhi, GE; Ghi, T; Kagan, KO; Lau, TK; Papageorghiou, AT; Raine-Fenning, NJ; Stirnemann, J; Suresh, S; Tabor, A; Timor-Tritsch, IE; Toi, A; Yeo, G (2013). "ISUOG Practice Guidelines: performance of first-trimester fetal ultrasound scan" (PDF). Ultrasound Obstet Gynecol. 41: 102–113. doi:10.1002/uog.12342. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  3. Whitworth, M; Bricker, L; Neilson, JP; Dowswell, T (2010). "Ultrasound for fetal assessment in early pregnancy". Cochrane Database of Systematic Reviews (4): CD007058. doi:10.1002/14651858.CD007058.pub2. PMID 20393955.
  4. Woo, Joseph (2006). "Why and when is Ultrasound used in Pregnancy?". Obstetric Ultrasound: A Comprehensive Guide. สืบค้นเมื่อ 2007-05-27.
  5. Boschert, Sherry (2001-06-15). "Anxious Patients Often Want Very Early Ultrasound Exam". OB/GYN News. FindArticles.com. สืบค้นเมื่อ 2007-05-27.
  6. 6.0 6.1 6.2 Cunningham, F; Leveno, KJ; Bloom, SL; Spong, CY; Dashe, JS; Hoffman, BL; Casey BM, BM; Sheffield, JS (2013). "Fetal Imaging". Williams Obstetrics, Twenty-Fourth Edition. McGraw-Hill. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  7. "Miscarriage". A.D.A.M., Inc. 21 Nov 2010. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.