การทำเกลือหก
การทำเกลือหก (อังกฤษ: spilling salt) เป็นความเชื่องมงายของยุโรปที่เชื่อกันว่าจะเป็นลางร้าย (omen)
คำอธิบายอันแพร่หลายของความเชื่อดังกล่าวมีรากฐานมาจากการที่จูดาส์ อิสคาริออททำเกลือหกระหว่างพระกระยาหารมื้อสุดท้าย[1] ที่ปรากฏในภาพ "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" โดย เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่เป็นภาพจูดาส์ อิสคาริออททำกระปุกเกลือหก[2]
แต่คำอธิบายนี้อาจจะไม่ใช่คำอธิบายที่แท้จริง เพราะเกลือเป็นสิ่งที่มีราคาแพงในสมัยโบราณ[3] ซึ่งทำให้เกลือกลายเป็นสัญลักษณ์ของความไว้วางใจและความเป็นมิตร ดังสุภาษิตเยอรมันที่ว่า “ผู้ใดที่ทำเกลือหกผู้นั้นก่อให้เกิดความเป็นศัตรู”[4] ตามความเห็นของนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสชาร์ลส์ โนดิเยร์ ในบรรดา “คนป่าเถื่อน” “การทำเกลือหก. . .เป็นการแสดงการปฏิเสธการพิทักษ์และการต้อนรับจากคนแปลกหน้า เพราะอาจจะมาจากความสงสัยว่าคนแปลกหน้าอาจจะเป็นขโมยหรือฆาตกร”[5]
นอกจากนั้นแล้วเกลือก็ยังเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาด้วย เกลือใช้ในการทำน้ำมนต์สำหรับคริสต์ศาสนพิธีของโรมันคาทอลิก[6] ฉะนั้นเกลือจึงเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการขจัดสิ่งชั่วร้าย ฉะนั้นอาหารที่เซิร์ฟในวันวันแซบัธแม่มดจึงเป็นอาหารที่ปราศจากเกลือ[7] เกลือเป็นสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์คุณค่าของความศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูในการอ้างอิงว่าทรงเป็น “เกลือแห่งโลก” ในเมื่อเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์และการพิทักษ์เกลือจึงเป็นสิ่งที่ถ้าสูญเสียไปก็จะเป็นเครื่องแสดงถึงความไม่เป็นมงคล
การแก้เคล็ดก็มีด้วยกันหลายวิธี ความเชื่อร่วมสมัยที่พบมากที่สุดคือให้โยนเกลือข้ามไหล่ซ้ายเพื่อให้โดนหน้าปีศาจที่แฝงตัวอยู่ตรงนั้น[8] หรือตามความเชื่อที่ว่าถ้าทำไวน์หกแล้วจะโชคดี ฉะนั้นระหว่างมืออาหารผู้ที่ทำเกลือหกก็จะรออย่างกระวนกระวายให้พนักงานเสริฟมาเทไวน์ใส่ตักให้[9]
ความเชื่อที่ว่าจะเป็นลางร้ายเมื่อทำเกลือหกเป็นความเชื่อโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ[10]. ในปี ค.ศ. 1556 ใน “Hieroglyphica” โดย เปียโร วาเลริอาโน โบลซานีรายงานว่า “เกลือเดิมเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพ เพราะเป็นสิ่งที่ยั่งยืน และเป็นสิ่งที่ใช้ในการรักษาสิ่งอื่นให้คงทนอยู่นาน ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งแรกที่เจ้าของบ้านจะมอบให้แก่แขกก่อนอาหารอื่น เพื่อเป็นการเน้นถึงสัมพันธภาพอันดีระหว่างทั้งสองฝ่าย ฉะนั้นการทำเกลือหกบนโต๊ะจึงถือกันว่าเป็นลางร้าย แต่ในทางตรงกันข้ามการทำไวน์หกเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะไวน์ที่ยังไม่ได้ผสมกับน้ำ”[11]
แต่ก็มีผู้ทีเยาะเย้ยความเชื่อเรื่องลางร้าย เฮอร์เบิร์ต สเป็นเซอร์กล่าวว่า “การตระหนักว่ามีความเชื่อว่าการทำเกลือหกจะตามด้วยลางร้าย ที่เป็นความคิดที่มาจากการตระหนักของคนป่าเถื่อน ที่เต็มไปด้วยความเชื่อเกี่ยวกับลางร้าย และ เครื่องราง เป็นการเปิดช่องให้รับความคิดอื่นในทำนองเดียวกันของคนป่าเถื่อนเข้ามา”[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Robert Means Lawrence, "The Folk-lore of Common Salt", in The Magic of the Horseshoe, with Other Folk-lore Notes, s. V
- ↑ E. Cobham Brewer, "Salt", in Brewer's Dictionary of Phrase and Fable
- ↑ CSICOP, Spilt Salt เก็บถาวร 2010-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Lawrence, supra
- ↑ M. Betham-Edwards, "Charles Nodier", in The Gentleman's Magazine, vol CCLXII, Jan-June 1878, p. 716
- ↑ In the rite for the preparation of holy water, first the salt is exorcised; then the salt is used to exorcise the water. Rituale Romanum, Ordo ad faciendam aquam benedictam (pre-Vatican II rite: Latin language link)
- ↑ Lawrence, ss. II
- ↑ Andrea Dean Van Scoyoc, Olde Worlde Magic - Superstitions and Lore (Lulu, 2008: ISBN 1-4357-2762-2), p. 40
- ↑ Lawrence, ss. V, above
- ↑ Brewer's Dictionary of Phrase and Fable, above
- ↑ Alioqui sal amicitiae symbolum fuit, durationis gratia. Corpora enim solidiora facit et diutissime conservat. Unde hospitibus ante alios cibos apponi solitum, quo amicitiae firmitas ac perseverantia significetur. Quare plerique ominosum habent si sal in mensam profundi contigerit. Contra vero faustum si vinum atque id merum effusum sit. Quoted by Lawrence, ss. 5, supra (and attributed to "Joanne Valeriano").
- ↑ Herbert Spencer, The Study of Sociology (Appleton, 1875), ch. 1, "Our Need of It", p. 5.