การทำลายเขื่อนกาคอว์กา
การทำลายเขื่อนกาคอว์กา | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การทัพนีเปอร์ พ.ศ. 2565–2566 ระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย | |
ความเสียหายจากน้ำท่วมที่ปลายน้ำหลังเขื่อนแตก | |
สถานที่ | เขื่อนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำกาคอว์กา นอวากาคอว์กา แคว้นแคร์ซอน ยูเครน |
พิกัด | 46°46′40″N 33°22′13″E / 46.77778°N 33.37028°E |
วันที่ | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566 02:50 น. (UTC+3) |
ประเภท | การทำให้เขื่อนแตก |
อาวุธ | ไม่ทราบ |
ตาย | 58 คน ณ วันที่ 21 มิถุนายน[1][2] |
ผู้ก่อเหตุ | เป็นที่โต้แย้ง |
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ระหว่างเวลาประมาณ 02:00 น. ถึง 02:54 น. ตามเวลาท้องถิ่น[3][4][5] ส่วนหนึ่งของเขื่อนกาคอว์กาในประเทศยูเครนได้พังทลายลง ก่อให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง เขื่อนนี้ตั้งอยู่ที่แม่น้ำนีเปอร์ (หรือแม่น้ำดนีปรอ) ในแคว้นแคร์ซอน และตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพรัสเซียซึ่งได้ยึดเขื่อนไว้ตั้งแต่วันแรก ๆ ของการรุกรานยูเครน[6] เขื่อนมีความสูง 30 เมตร (98 ฟุต) และมีความยาว 3.2 กิโลเมตร (2.0 ไมล์)[7] ส่วนของเขื่อนที่ถูกทำลายมีความยาวประมาณ 200 เมตร (660 ฟุต)[8]
สิ่งบ่งชี้ว่ามีการระเบิดในช่วงเช้ามืดของวันที่ 6 มิถุนายน ได้แก่ (1) เสียงคล้ายระเบิดจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำของเขื่อนตามแหล่งข้อมูลของทั้งยูเครนและรัสเซีย[3][4] (2) สัญญาณไหวสะเทือนที่เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวแบบโครงข่ายของประเทศนอร์เวย์บันทึกไว้ได้[5] และ (3) สัญญาณความร้อนอินฟราเรดของการระเบิดครั้งใหญ่ที่ดาวเทียมตรวจพบ[9] น้ำท่วมและความเสียหายของเขื่อนได้รับการยืนยันอย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและยุทโธปกรณ์ที่ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ขอคำปรึกษา กล่าวว่าสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการระเบิดจากภายใน[10] กองกำลังรัสเซียถูกกล่าวหาว่าระเบิดเขื่อนเพื่อขัดขวางแผนการรุกโต้ตอบของยูเครน แต่ทางการรัสเซียปฏิเสธ
ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนกาคอว์กาซึ่งรัสเซียควบคุมได้เพิ่มสูงขึ้นมาหลายเดือน และอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 30 ปีในขณะที่เขื่อนแตก[11] ชาวบ้านหลายหมื่นคนที่อยู่ท้ายน้ำต้องอพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากน้ำทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านหลายแห่งทั้งในพื้นที่ที่ยูเครนควบคุมและพื้นที่ที่รัสเซียยึดครอง มีรายงานว่าน้ำท่วมได้คร่าชีวิตผู้คนไป 9 คน รวมทั้งสัตว์อีกจำนวนมาก เชื่อกันว่าน้ำท่วมที่ปลายน้ำซึ่งปะปนกับของเสียจากมนุษย์และจากอุตสาหกรรมได้สร้างวิกฤตเชิงนิเวศครั้งใหญ่ที่สุดในยูเครนนับตั้งแต่ภัยพิบัติเชียร์โนบีลใน พ.ศ. 2529 การสูญเสียน้ำในอ่างเก็บน้ำอาจส่งผลกระทบต่อการจ่ายน้ำในระยะยาวให้แก่คาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริฌเฌียที่รัสเซียยึดครอง แต่ไม่มีความเสี่ยงฉุกเฉิน
ภูมิหลัง
[แก้]ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยูเครน เขื่อนอีกแห่งที่กั้นแม่น้ำนีเปอร์ได้ถูกระเบิดสองครั้ง ผู้ก่อเหตุครั้งแรกคือกองกำลังเอนคาเวเดของสหภาพโซเวียตที่ล่าถอยออกไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 สังหารพลเรือนโซเวียตไประหว่าง 3,000 ถึง 100,000 คน รวมทั้งทหารโซเวียตด้วย ผู้ก่อเหตุครั้งที่สองคือกองกำลังนาซีที่ล่าถอยออกไปใน พ.ศ. 2486[13][14][15]
เขื่อนกาคอว์กาซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2499 ถูกกองกำลังรัสเซียเข้ายึดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ในช่วงแรก ๆ ของการรุกรานยูเครน[16] รัสเซียโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของยูเครนในปีนั้น โดยสร้างความเสียหายให้กับเขื่อนอื่น ๆ หลายแห่งและทำให้ชาวยูเครนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ ตัวอย่างเช่น การโจมตีด้วยจรวดใส่เขื่อนเคียฟเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์[17] การทำลายเขื่อนกั้นแม่น้ำออสกิลโดยกองกำลังทางบกของรัสเซียในเดือนกรกฎาคม และการโจมตีเขื่อนที่เมืองกรือวึยรีห์ด้วยขีปนาวุธในเดือนกันยายน[18]
ตามข่าวกรองทางทหารของยูเครน กองกำลังรัสเซียได้ดำเนินการ "ติดตั้งกับระเบิดขนานใหญ่" ไว้ที่เขื่อนกาคอว์กาหลังจากเข้ายึดเขื่อนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ได้ไม่นาน และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ได้ติดตั้งกับระเบิดเพิ่มเติมที่ประตูเรือสัญจรและโครงสร้างเขื่อน อีกทั้งยังนำรถบรรทุกติดระเบิดหลายคันไปจอดไว้บนสันเขื่อน[19] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 นีกู ปอเปสกู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอลโดวา กล่าวว่ายูเครนสามารถสกัดกั้นขีปนาวุธรัสเซียที่พุ่งเป้าไปที่เขื่อนแห่งหนึ่งบนแม่น้ำนีสเตอร์ไว้ได้[20] ในเวลานั้น วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน เตือนว่ารัสเซียเตรียมการที่จะทำลายเขื่อนกาคอว์กาและกล่าวโทษยูเครน และเรียกร้องให้มีคณะผู้สังเกตการณ์เขื่อนจากนานาชาติเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น[21]
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 ยูเครนปลดปล่อยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนีเปอร์ระหว่างการรุกโต้ตอบที่แคว้นแคร์ซอน ยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าวางแผนที่จะทำลายเขื่อนกาคอว์กาโดยใช้วัตถุระเบิดเพื่อตอบโต้[22] ระหว่างการรุกโต้ตอบของยูเครน กองกำลังยูเครนได้โจมตีถนนบนสันเขื่อนโดยใช้เครื่องยิงไฮมาร์เพื่อขัดขวางการส่งกำลังของรัสเซีย การโจมตีครั้งหนึ่งพุ่งเป้าไปที่ประตูระบายน้ำบานหนึ่งเพื่อทดสอบว่าจรวดสามารถเปิดมันออกได้หรือไม่ในฐานะ "ทางเลือกสุดท้าย" ในกรณีที่รัสเซียรุกข้ามแม่น้ำมาทางฝั่งตะวันตก[23]
เมื่อกองกำลังรัสเซียล่าถอยออกจากพื้นที่หลายส่วนของแคว้นแคร์ซอนในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 พวกเขาได้โจมตีเขื่อนกาคอว์กา ส่งผลให้ประตูน้ำบานเลื่อนบางส่วนเสียหาย[24] จากการจุดระเบิดที่มีการควบคุม[25]
จากนั้นรัสเซียก็จงใจเปิดประตูน้ำบานเลื่อนเพิ่มเติมเพื่อปล่อยน้ำให้ไหลทะลักออกจากอ่างเก็บน้ำเขื่อน ฝ่ายบริหารการทหารประจำแคว้นซาปอริฌเฌียระบุว่ารัสเซียอาจระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำเพื่อให้น้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำและเพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังยูเครนข้ามแม่น้ำนีเปอร์ได้[26] อุกร์ฮีดรอแอแนร์ฮอ (บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของยูเครน) เชื่อเช่นเดียวกันว่ากองกำลังของผู้รุกราน "เปิดประตูน้ำเขื่อนเพราะกลัวว่าทหารยูเครนจะรุกคืบเข้ามา"[26] ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ระดับน้ำเหนือเขื่อนกาคอว์กา (ซึ่งอยู่ในสภาพเสียหาย) ไม่ได้รับการปรับให้สอดคล้องกับการไหลของน้ำที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาลไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือเป็นผลจากการละเลย เป็นผลให้น้ำไหลข้ามสันเขื่อนและพื้นที่เหนือน้ำของเขื่อนถูกน้ำท่วม[27][28] น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี[11] การวิบัติของเขื่อนส่งผลกระทบหนักขึ้นเนื่องจากระดับน้ำที่สูงผิดปกติเช่นนี้เอง[29]
ในวันที่ 30 พฤษภาคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนเขื่อนกาคอว์กาแตก รัฐบาลรัสเซียออกคำสั่งว่าจะไม่มีการสอบสวน "ทางเทคนิค" ต่ออุบัติเหตุ "ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการทางทหาร การก่อวินาศกรรม และการก่อการร้าย"[30] ที่โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าพลังน้ำในยูเครนที่ถูกยึดครอง ออแลห์ อุสแตนกอ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีแซแลนสกึยของยูเครน เรียกพฤติการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "หลักฐานชัดเจน" โดยกล่าวว่าคงต้องเป็นคนที่มี "จินตนาการที่แจ่มชัดมาก" ถึงจะเชื่อว่าการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่วันก่อนที่โรงไฟฟ้ากาคอว์กาจะถูกทำลายนั้นเป็นเพียงเรื่องบังเอิญ[31][32]
ในวันที่ 2 มิถุนายน ภาพถ่ายดาวเทียมที่บีบีซีนิวส์ได้รับมาแสดงให้เห็นว่าส่วนเล็ก ๆ ของถนนบนสันเขื่อนกาคอว์กาได้รับความเสียหาย[12][33]
สถาบันเพื่อการศึกษาสงครามรายงานในวันที่ 6 มิถุนายน (ซึ่งเป็นวันที่เขื่อนถูกทำลาย) ว่า "แหล่งข่าวของรัสเซียแสดงความกังวลอย่างรุนแรงและชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ยูเครนกำลังเตรียมที่จะข้ามแม่น้ำนีเปอร์และปฏิบัติการรุกโต้ตอบเข้าไปในแคว้นแคร์ซอนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ"[34]
การทำลาย
[แก้]ในวันที่ 6 มิถุนายน เขื่อนกาคอว์กายังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย และระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี[6]
ระหว่างเวลา 02:00 น. ถึง 02:30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเช้าวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566 แหล่งข่าวของทั้งยูเครนและรัสเซียรายงานว่ามีเสียงดังคล้ายระเบิดซึ่งดูเหมือนว่ามาจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนกาคอว์กา[3] ชาวเมืองนอวากาคอว์กาพูดคุยกันเกี่ยวกับการระเบิดในช่องเทเลแกรมช่องหนึ่ง โดยชาวเมืองคนหนึ่งบรรยาย (เป็นภาษายูเครน) ถึง "แสงวาบสีส้ม" และกล่าวว่าเสียงน้ำ "อื้ออึงมาก ... ดังมาก" เมื่อเวลา 02:45 น.[4] ประธานาธิบดีแซแลนสกึยของยูเครนกล่าวว่าเกิด "การระเบิดภายในของโครงสร้าง" ที่เขื่อนนี้เมื่อเวลา 02:50 น.[35]
ชุดเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวแบบโครงข่ายของนอร์เวย์ (ซึ่งมีเครื่องหนึ่งอยู่ในโรมาเนีย ห่างจากเขื่อน 620 กิโลเมตร) ตรวจพบสัญญาณที่นักวิทยาศาสตร์นอร์เวย์ตีความว่าเป็นเหตุแผ่นดินไหวอย่างอ่อนจากทิศทางของเขื่อนกาคอว์กาเมื่อเวลา 02:35 น. ตามเวลาฤดูร้อนของยูเครน และตรวจพบสัญญาณที่แรงขึ้นเป็นขนาด 1–2 ซึ่งแสดงว่าเกิดการระเบิดหนึ่งครั้งเมื่อเวลา 02:54 น.[5][36]
ดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐตรวจพบสัญญาณความร้อนอินฟราเรดซึ่งสอดคล้องกับการระเบิดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่เขื่อนกาคอว์กาก่อนที่เขื่อนจะพังทลายไม่นาน[9]
บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ เดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ว่าสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการระเบิดจากภายใน โดยเสริมว่าสาเหตุจากการโจมตีจากภายนอกหรือความล้มเหลวของโครงสร้างมีความน่าเชื่อถือน้อย แม้จะเป็นไปได้ก็ตาม[10] ดิอีโคโนมิสต์ ระบุว่าเกิดการระเบิดที่รุนแรงมากจนรู้สึกได้ไกลจากเขื่อนถึง 80 กิโลเมตร (50 ไมล์)[37] อีฮอร์ ซือรอตา ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอุกร์ฮีดรอแอแนร์ฮอของยูเครน ปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่าเขื่อนแตกเพราะถูกยิงโจมตีหรือเพราะความล้มเหลวของโครงสร้างเขื่อน โดยกล่าวว่านั่นคือโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย ซือรอตาระบุว่า "โรงไฟฟ้าได้รับการออกแบบให้ทนต่อการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ในการที่จะทำลายโรงไฟฟ้าจากภายนอกนั้น จะต้องทิ้งระเบิดจากอากาศยานอย่างน้อย 3 ลูก ลูกละ 500 กิโลกรัม ลงไปที่จุดเดียวกัน [ดังนั้น] โรงไฟฟ้าถูกจุดระเบิดจากภายใน"[36]
คริส บินนี นักวิจัยสาขาวิศวกรรมน้ำขึ้นน้ำลงและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ระบุว่าเกิดรอยแตกขึ้นสองจุดที่เขื่อนกาคอว์กา "ทั้งสองด้านของโครงสร้าง" เขาให้เหตุผลว่าหากเขื่อนพังทลายด้วยสาเหตุธรรมชาติจริง มวลน้ำเหนือเขื่อนจะก่อให้เกิดรอยแตกเพียงจุดเดียวเท่านั้น นอกจากนี้เขายังปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่ายูเครนยิงโจมตีเขื่อนจนเขื่อนพังทลาย เพราะเป็นไปได้ยากที่กระสุนปืนใหญ่จะก่อให้เกิด "การระเบิดขนาดใหญ่ใกล้ฐานราก" ของเขื่อน[38]
อีฮอร์ สแตรแลตส์ วิศวกรที่เคยประจำการที่เขื่อนกาคอว์กาอยู่หลายเดือนและดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรน้ำจากแม่น้ำนีเปอร์ระหว่าง พ.ศ. 2548–2561 กล่าวว่ามวลน้ำขนาดใหญ่ซ่อนอยู่ใต้เส้นระดับน้ำของเขื่อน โดยมีฐานเขื่อนซึ่งเป็นบล็อกคอนกรีตขนาดมหึมาสูง 20 เมตร (66 ฟุต) และหนาถึง 40 เมตร (130 ฟุต) กักน้ำไว้ที่ด้านล่าง นอกจากนี้ยังหมายความว่าเขื่อนที่สร้างในช่วงสงครามเย็นเขื่อนนี้สามารถต้านทานการโจมตีจากภายนอกได้เกือบทุกชนิด[39] ประตูน้ำบานเลื่อนตั้งอยู่บนบล็อกคอนกรีตดังกล่าวและถูกเปิดและปิดเพื่อปรับระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ หลังจากเขื่อนแตก เป็นที่ชัดเจนว่าฐานคอนกรีตดังกล่าวก็ถูกทำลายไปด้วยไม่เพียงแต่ประตูน้ำบานเลื่อนเท่านั้น ก่อนหน้านี้มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ถนนเหนือสันเขื่อนและที่ประตูน้ำบานเลื่อนบางบาน แต่จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญด้านเขื่อน ความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้และแรงดันจากระดับน้ำสูงเหนือเขื่อนไม่รุนแรงพอที่จะทำให้โครงสร้างฐานเขื่อนเสียหายได้ ภายในฐานรากมีทางเดินที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอาจเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งวัตถุระเบิดที่รุนแรงพอที่จะทำลายโครงสร้างดังกล่าว นิก กลูแม็ก ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเพน[40] กล่าวว่า "สำหรับผม มันยากที่จะจินตนาการว่าจะมีอะไรที่อธิบายสาเหตุของความเสียหายได้อีกนอกจากการระเบิดภายในทางเดิน การเคลื่อนย้ายบล็อกคอนกรีตที่ใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้แรงมหาศาล"[39]
ส่วนกลางของเขื่อนกาคอว์กาซึ่งมีความกว้าง 3.2 กิโลเมตรถูกทำลาย[12][41] ก่อให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างด้านท้ายน้ำ
ความรับผิดชอบ
[แก้]การอ้างว่าเป็นความผิดของรัสเซีย
[แก้]ทางการยูเครนกล่าวว่ากองกำลังรัสเซียเป็นฝ่ายทำลายเขื่อนกาคอว์กา[42][43] อุกร์ฮีดรอแอแนร์ฮอ (บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของยูเครน) ระบุว่าเขื่อน "เสียหายโดยสิ้นเชิง" หลังการระเบิดจากภายในห้องเครื่องและไม่สามารถซ่อมแซมฟื้นฟูได้ เจ้าหน้าที่ของยูเครนกล่าวว่ารัสเซียทำลายเขื่อน "จากความตื่นตระหนก" เพื่อชะลอแผนการรุกโต้ตอบของยูเครน[44][45]
ยูเครนกล่าวโทษกองพลน้อยอิสระปืนเล็กยาวยานยนต์ที่ 205 ของรัสเซีย (ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองนอวากาคอว์กา) ว่าเป็นผู้ระเบิดเขื่อน[46] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ช่องเทเลแกรมของกองพลน้อยดังกล่าวขู่ว่าได้ติดตั้งระเบิดไว้ที่เขื่อนและจะระเบิดเขื่อนเสียหากกองกำลังยูเครนพยายามข้ามแม่น้ำนีเปอร์มา นอกจากนี้ยังแนะนำให้กองกำลังรัสเซียอยู่ในที่ปลอดภัยด้วย[47]
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ช่องเทเลแกรมของหน่วยความมั่นคงยูเครนได้เผยแพร่คลิปเสียงคลิปหนึ่งที่ได้จากการดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ โดยระบุว่าคลิปนั้นบ่งชี้ว่ากลุ่มก่อวินาศกรรมของรัสเซียเป็นผู้ทำลายเขื่อนกาคอว์กา การสนทนาดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างชาย 2 คนที่น่าจะเป็นทหารรัสเซีย หนึ่งในนั้นกล่าวว่ารัสเซียตั้งใจที่จะโจมตีเขื่อนเพื่อ "ข่มขวัญ [ชาวยูเครน]" แต่ "มันไม่เป็นไปตามแผน และ [กลุ่มก่อวินาศกรรมรัสเซียทำ] เกินกว่าที่วางแผนไว้"[48]
ดมือตรอ กูแลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน วิจารณ์สื่อต่างประเทศที่นำเสนอการอนุมานสาเหตุของยูเครนและของรัสเซียให้มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือพอกัน โดยให้เหตุผลว่านี่เป็นการยกโฆษณาชวนเชื่อขึ้นมาให้มีฐานะเท่ากับข้อเท็จจริง[49]
สถาบันเพื่อการศึกษาสงครามกล่าวว่ารัสเซียเป็นฝ่ายที่ "ได้ประโยชน์มากกว่าและชัดเจนกว่าในการทำให้น้ำท่วมฝั่งซ้าย" ถึงแม้น้ำจะท่วมที่ตั้งทางทหารบางแห่งของรัสเซียด้วยก็ตาม[34] เนื่องจากน้ำท่วมจะทำให้ลำน้ำนีเปอร์กว้างขึ้นจนเป็นอุปสรรคต่อการข้ามฝั่งของยูเครน ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน รัสเซียได้ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนเพื่อบังคับให้กลุ่มลาดตระเวนของยูเครนออกไปจากเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ปลายน้ำ[50]
ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานกับโกลบัลไรตส์คัมไพลอันซ์ บริษัทกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเนเธอร์แลนด์ สรุปไว้ในรายงานการสืบสวนเบื้องต้นว่ามี "ความเป็นไปได้สูง" ที่การทำลายเขื่อนกาคอว์กาจะเป็นผลจากการกระทำของรัสเซีย โดยใช้ "วัตถุระเบิดที่ติดตั้งล่วงหน้าไว้ที่จุดสำคัญภายในโครงสร้างเขื่อน"[51] รายงานดังกล่าวจัดทำโดย "ทีมยุติธรรมเคลื่อนที่" ทีมหนึ่ง ทีมยุติธรรมเหล่านี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผลักดันการดำเนินงานของกลุ่มที่ปรึกษาอาชญากรรมโหดร้ายสำหรับยูเครน ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นและได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป สหรัฐ และสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 "เพื่อให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์และความช่วยเหลือด้านปฏิบัติการแก่สำนักงานอัยการสูงสุดแห่งยูเครน ในการสืบสวนและดำเนินคดีอาชญากรรมที่โหดร้ายในยูเครน"[52][53][54]
ในวันที่ 15 มิถุนายน รัฐสภายุโรปประกาศว่าได้ผ่านมติประณามการทำลายเขื่อนกาคอว์กาโดยรัสเซียเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้[55]
การอ้างว่าเป็นความผิดของยูเครน
[แก้]วลาดีมีร์ เลออนเตียฟ นายกเทศมนตรีเมืองนอวากาคอว์กาที่รัสเซียแต่งตั้ง ปฏิเสธในตอนแรกว่าเขื่อนไม่ได้รับความเสียหายโดยกล่าวว่าเป็น "เรื่องไร้สาระ" แต่ภายหลังกลับกล่าวหายูเครน[56] ดมีตรี เปสคอฟ โฆษกประจำทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ารัสเซียมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายเขื่อน และกล่าวว่าเป็นการก่อวินาศกรรมจากฝ่ายยูเครน[57] สื่อของรัฐรัสเซียระบุว่าการทำลายเขื่อนเกิดจากการยิงปืนใหญ่จากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องวิลคา[58]
ผลกระทบ
[แก้]การบาดเจ็บล้มตาย
[แก้]ณ วันที่ 21 มิถุนายน มีรายงานว่าอุทกภัยจากเหตุเขื่อนแตกได้คร่าชีวิตผู้คนไป 58 คน โดย 41 คนในจำนวนนี้มาจากพื้นที่แคว้นแคร์ซอนส่วนที่ถูกรัสเซียยึดครอง[2] ที่เหลือมาจากพื้นที่แคว้นแคร์ซอนและแคว้นมือกอลายิวส่วนที่ยูเครนควบคุม[59][1]
น้ำท่วมและการอพยพ
[แก้]ภายในวันเดียวกันหลังจากที่เขื่อนถูกทำลาย อัยการสูงสุดของยูเครนประเมินว่าประชาชนประมาณ 40,000 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยูเครนควบคุมและพื้นที่ที่รัสเซียยึดครองมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม[60] ออแลกซันดร์ ปรอกูดิน ผู้ว่าการแคว้นแคร์ซอน กล่าวว่าพื้นที่ประมาณ 600 ตารางกิโลเมตรของแคว้นนี้จมอยู่ใต้น้ำ และร้อยละ 68 ของพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมอยู่ในฝั่งที่รัสเซียควบคุม[61]
ตำรวจแห่งชาติยูเครนสั่งการให้อพยพประชาชนออกจากหมู่บ้านและชุมชนทางฝั่งขวาของแม่น้ำนีเปอร์ (ซึ่งยูเครนควบคุม) ได้แก่ หมู่บ้านมือกอลายิวกา หมู่บ้านออลฮิวกา หมู่บ้านลวอแว หมู่บ้านจาฮึนกา หมู่บ้านปอญาติวกา หมู่บ้านอีวานิวกา หมู่บ้านตอการิวกา และหมู่บ้านปรึดนีปรอว์สแก รวมทั้งเขตซาดอแวและเขตกอราแบลของเมืองแคร์ซอน[62][63][44] ปรอกูดิน ผู้ว่าการแคว้นแคร์ซอน กล่าวว่าในเช้าวันที่ 6 มิถุนายน มีหมู่บ้านถูกน้ำท่วมแล้ว 8 หมู่บ้าน และการอพยพประชาชนโดยรถบัสและรถไฟยังดำเนินต่อไปสำหรับชาวบ้าน 16,000 คนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ[12]
กองกำลังภาคพื้นดินของยูเครนกล่าวว่ากองทัพรัสเซียยังคงระดมยิงใส่ฝั่งขวาของแม่น้ำระหว่างที่มีการอพยพ[64] เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ประธานาธิบดีแซแลนสกึยกล่าวกับ โพลิติโกยุโรป ว่ากองกำลังรัสเซียยิงใส่เจ้าหน้าที่กู้ภัยที่กำลังทำงานในบริเวณน้ำท่วม[65]
ในเมืองนอวากาคอว์การิมฝั่งซ้ายของแม่น้ำนีเปอร์ มีประชาชน 22,000 คนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และมีรายงานบ้านเรือน 600 หลังถูกน้ำท่วม ทางการรัสเซียประกาศภาวะฉุกเฉินทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ[66][67] ในเช้าวันที่ 6 มิถุนายน อันเดรย์ อะเลคเซเยนโก รักษาการหัวหน้าฝ่ายบริหารพลเรือนและทหารของแคว้นแคร์ซอนที่รัสเซียแต่งตั้ง รายงานทางเทเลแกรมว่ามีชุมชนทางฝั่งแม่น้ำที่รัสเซียควบคุม 14 ชุมชนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม ได้แก่ เมืองฮอลาปรึสตัญ เมืองออแลชกือ นิคมดนีเปรียนือ หมู่บ้านบีลอฮรูดอแว หมู่บ้านการ์ดาชึนกา หมู่บ้านกอคานือ หมู่บ้านกอร์ซุนกา หมู่บ้านกอซาชีลาเฮรี หมู่บ้านกรึนกือ หมู่บ้านมาลาการ์ดาชึนกา หมู่บ้านปิชชานิวกา หมู่บ้านซอลอนต์ซี หมู่บ้านสตารัซบูรียิวกา และหมู่บ้านซาบารือแน รวมทั้งเกาะต่าง ๆ บริเวณแม่น้ำนีเปอร์ตอนล่าง[68]
ทางการยูเครนกล่าวว่ามีการอพยพประชาชน 17,000 คนออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของยูเครน โดยมีหมู่บ้าน 24 หมู่บ้านถูกน้ำท่วม[69]
สัตว์และสิ่งแวดล้อม
[แก้]ที่อยู่อาศัยจำนวนหนึ่งของสัตว์ป่าถูกน้ำท่วม[70]
สัตว์ประมาณ 300 ตัวจมน้ำตายในสวนสัตว์กัซกอวาดีบรอวา ("ป่าโอ๊กเทพนิยาย") หลังจากที่น้ำทะลักเข้าท่วมสวนสัตว์ สวนสัตว์ดังกล่าวตั้งอยู่ทางปลายน้ำและอยู่ทางทิศตะวันตกของเขื่อน หลังจากนั้นไม่นาน สำนักข่าวตัสส์ของรัสเซียอ้างอย่างผิด ๆ[71] ว่าไม่มีสวนสัตว์ดังกล่าวอยู่จริง[72] ก่อนที่จะกลับคำและยอมรับว่ามีสวนสัตว์อยู่จริง แต่ยืนยันว่าสัตว์ทุกตัวในนั้นปลอดภัย[73]
วิดีโอที่แสดงภาพชาวบ้านกำลังเคลื่อนย้ายปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงท่ามกลางน้ำท่วมได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์[67][74][75][76]
กาชาดเตือนว่าทุ่นระเบิดถูกชะล้างไปกับกระแสน้ำ Erik Tollefsen หัวหน้าหน่วยการปนเปื้อนอาวุธของกาชาด กล่าวว่า "ก่อนหน้านี้เรารู้ว่าอันตรายอยู่ตรงไหนบ้าง ... แต่ตอนนี้เราไม่รู้แล้ว ทั้งหมดที่เรารู้ก็คือพวกมันอยู่ที่ไหนสักแห่งที่ปลายน้ำ"[77]
น้ำประปา
[แก้]น้ำจากอ่างเก็บน้ำในเขื่อนส่งน้ำประปาให้แก่ภาคใต้ของยูเครนซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริฌเฌีย เนื่องจากน้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อท่อส่งน้ำทางตอนใต้ของยูเครน ประธานาธิบดีแซแลนสกึยกล่าวว่าประชาชนหลายแสนคนทางภาคใต้จะไม่สามารถ "เข้าถึงน้ำดื่มได้อย่างปกติ" ทางการแคว้นแคร์ซอนแนะนำให้ประชาชนต้มน้ำดื่มน้ำใช้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น[78]
ระดับน้ำ 13.2 เมตร (43 ฟุต) เป็นระดับต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับการสูบน้ำเข้าสู่ถังหล่อเย็นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริฌเฌีย อย่างไรก็ตาม ยังมีแหล่งทางเลือกอีกมากที่เพียงพอสำหรับการหล่อเย็นในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์อยู่ในสถานะหยุดทำงานในปัจจุบัน ราฟาเอล กรอสซี หัวหน้าทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ กล่าวว่า "เราประเมินว่าในปัจจุบันยังไม่มีความเสี่ยงฉุกเฉินต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า"[79]
เบื้องต้นมีรายงานว่าระดับน้ำลดลง 0.35 เมตร (1 ฟุต 2 นิ้ว) ต่อชั่วโมง เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงหลังจากเขื่อนแตก ระดับน้ำในแม่น้ำนีเปอร์ที่เมืองนีกอปอลได้ลดลง 2.5 เมตร (8 ฟุต 2 นิ้ว) อยู่ที่ 14.41 เมตร (47.3 ฟุต)[80] และหลังจากผ่านไป 48 ชั่วโมง ระดับน้ำอยู่ที่ 13.05 เมตร (42.8 นิ้ว)[81]
อีฮอร์ ซือรอตา ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอุกร์ฮีดรอแอแนร์ฮอ ประกาศว่าระดับน้ำได้ลดลงต่ำกว่าจุด "ตาย" ที่ 12.7 เมตร (42 ฟุต) หมายความว่าจะไม่สามารถสูบน้ำให้แก่ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริฌเฌียได้อีกต่อไป น้ำจะลดลงอีกเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าส่วนล่างของเขื่อนได้ถูกทำลายจนถึงฐานหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ระดับน้ำจะสูงเพียง 3 เมตร (9.8 ฟุต) และความกว้างของอ่างเก็บน้ำของเขื่อนจะลดลงจาก 3.5 กิโลเมตร (2.2 ไมล์) เป็น 1–1.2 กิโลเมตร (0.62–0.75 ไมล์)[82]
อุกร์ฮีดรอแอแนร์ฮอประกาศว่าบริษัทกำลังทำงานในโครงการก่อสร้างโครงสร้างเหนือเขื่อนและสถานีไฟฟ้าพลังน้ำที่จะฟื้นฟูระดับน้ำให้กลับคืนสู่ระดับก่อนการระเบิด[83][84] การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นทันทีที่กองกำลังยึดครองของรัสเซียออกไปจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำนีเปอร์ และคาดว่าจะใช้เวลาสองเดือน[83]
คลองไครเมียเหนือ
[แก้]คลองไครเมียเหนือมีความยาวกว่า 400 กิโลเมตร (250 ไมล์)[86] และตามธรรมเนียมได้ส่งจ่ายน้ำประปาคิดเป็นร้อยละ 85 ของน้ำประปาในคาบสมุทรไครเมีย[87] คลองมีจุดเริ่มต้นที่เมืองเตารีสก์ซึ่งตั้งอยู่เหนือเขื่อนที่ถูกทำลายพอดี[88] นายกเทศมนตรีเมืองนอวากาคอว์กาที่รัสเซียแต่งตั้งกล่าวว่าจะเกิด "ปัญหา" ในการส่งน้ำจากคลองไครเมียเหนือไปยังไครเมีย[43] ในขณะที่หน่วยงานของรัสเซียที่ยึดครองไครเมียกล่าวว่า "ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ว่าคลองไครเมียเหนือจะขาดน้ำ"[89][90] อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในคาบสมุทรไครเมียได้รับการเติมน้ำประมาณร้อยละ 80 ตามคำกล่าวของเซียร์เกย์ อัคซิโอนอฟ หัวหน้าสาธารณรัฐไครเมียซึ่งรัสเซียผนวกเข้ากับตนเองแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ[87][91][92]
การเกษตร
[แก้]กระทรวงเกษตรยูเครนระบุว่าการวิบัติของเขื่อนจะทำให้พื้นที่ 584,000 เฮกตาร์ (1,440,000 เอเคอร์) ปราศจากการชลประทาน และจะส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง ใน พ.ศ. 2564 เกษตรกรเก็บเกี่ยวธัญพืชและเมล็ดพืชน้ำมันจากพื้นที่เหล่านี้ได้ประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 4 ของผลผลิตธัญพืชและเมล็ดพืชน้ำมันของยูเครน ร้อยละ 94 ของระบบชลประทานในแคว้นแคร์ซอน, ร้อยละ 74 ของระบบชลประทานในแคว้นซาปอริฌเฌีย และร้อยละ 30 ของระบบชลประทานในแคว้นดนีปรอแปตร็อวสก์จะไม่มีน้ำใช้[93][94] แม้จะไม่มีภัยพิบัตินี้ แต่ก็คาดกันว่าผลผลิตธัญพืชและเมล็ดพืชน้ำมันของยูเครนจะลดลงร้อยละ 8 จากผลผลิตใน พ.ศ. 2565 และลดลงร้อยละ 36 จากผลผลิตของ พ.ศ. 2564 (ปีก่อนสงครามเริ่มขึ้น) ตามรายงานของสมาคมธัญพืชแห่งยูเครน[95][96]
ออแลกซันดร์ กรัสนอลุตส์กึย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติยูเครน[97] กล่าวว่าน้ำท่วมได้ชะล้างชั้นดินชั้นบนออกจากไร่นาและพื้นที่เพาะปลูกหลายพันเฮกตาร์ "เราจะไม่สามารถเพาะปลูกพืชเกษตรบนดินนี้ได้อีกหลายปีข้างหน้า" เขากล่าว[98]
การประมง
[แก้]กระทรวงเกษตรยูเครนประเมินว่าอุตสาหกรรมการประมงจะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.05 หมื่นล้านฮรึวญา (285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อันเป็นผลมาจากการที่สัตว์น้ำถูกพัดพาไปยังพื้นที่น้ำท่วมและตายที่นั่นเมื่อน้ำลดระดับลง เช่นเดียวกับสัตว์น้ำจืดที่สัมผัสกับน้ำเค็มและในทางกลับกัน[94][99]
การรุกโต้ตอบ
[แก้]น้ำท่วมอาจเป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการที่ยูเครนวางแผนไว้ในพื้นที่และทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนีเปอร์[100] ผู้เชี่ยวชาญการทหารตะวันตกบางคนกล่าวว่ารัสเซียได้ประโยชน์ทางการทหารจากน้ำท่วม[101]
ปฏิกิริยา
[แก้]ยูเครน
[แก้]วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน กล่าวว่า "การทำลายเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำกาคอว์กาโดยผู้ก่อการร้ายรัสเซียเป็นเพียงการยืนยันให้ทั้งโลกเห็นว่าพวกเขาจะต้องถูกขับไล่ออกจากทุกซอกมุมของดินแดนยูเครน"[102] อันดรีย์ แยร์มัก หัวหน้าสำนักประธานาธิบดียูเครน เรียกการทำลายเขื่อนว่าเป็น "การทำลายล้างสิ่งแวดล้อม"[62] กระทรวงการต่างประเทศยูเครนกล่าวว่า "เราขอเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศประณามการโจมตีของผู้ก่อการร้ายรัสเซียที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำกาคอว์กา" โดยเรียกร้องให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและการประชุมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ[103] อัยการสูงสุดของยูเครนกล่าวว่ากำลังสอบสวนการทำลายเขื่อนในฐานะอาชญากรรมสงคราม[104]
ประชาคมระหว่างประเทศ
[แก้]บรรดาผู้นำชาติตะวันตกระบุว่าการทำลายเขื่อนกาคอว์กาเป็นอาชญากรรมสงคราม โดยข้อ 56 ของพิธีสารฉบับที่ 1 อนุสัญญาเจนีวา (ซึ่งทั้งรัสเซียและยูเครนได้ให้สัตยาบัน) กำหนดห้ามการโจมตี "งานหรือสิ่งติดตั้งที่บรรจุพลังงานอันตราย" เช่น เขื่อน ทำนบ โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เป็นต้น[105][104]
อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่าเหตุเขื่อนแตกครั้งนี้เป็น "อีกหนึ่งผลเสียหายร้ายแรงจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย" และระบุว่า "การโจมตีพลเรือนและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของพลเรือนต้องยุติ"[106] เย็นส์ สต็อลเตินบาร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ กล่าวว่าเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึง "ความโหดร้ายของสงครามของรัสเซียในยูเครน"[107] ชาร์ล มีแชล ประธานสภายุโรป กล่าวว่าการโจมตีเขื่อนดังกล่าวเป็นอาชญากรรมสงครามจากฝ่ายรัสเซีย[108] สภายุโรปกล่าวว่า "เราขอประณามการทำลายเขื่อนที่นอวากาคอว์กาในแคว้นแคร์ซอนของยูเครนด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุด"[109]
เกลาส์ โยฮานิส ประธานาธิบดีโรมาเนีย ประณามการทำลายเขื่อนและเรียกมันว่าเป็น "อาชญากรรมสงครามอีกครั้งของรัสเซียต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์" เขายังเรียกร้องให้นำรัสเซียมารับผิดชอบและยังแสดงความเห็นใจผู้เสียหายด้วย[110] มายา ซันดู ประธานาธิบดีมอลโดวา และดอริน เรชัน นายกรัฐมนตรีมอลโดวา ประณามเหตุการณ์ดังกล่าวและกล่าวว่ามอลโดวาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนเพื่อบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วม โอลัฟ ช็อลทซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุว่า "นี่เป็นความก้าวร้าวของฝ่ายรัสเซียที่ต้องการจะหยุดยั้งไม่ให้ยูเครนรุกโต้ตอบเพื่อปกป้องประเทศของตน"[111] เจมส์ เคลเวอร์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งอยู่ในยูเครนในเวลานั้น กล่าวว่า "เหตุผลเดียวที่ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นก็คือการที่รัสเซียรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบโดยปราศจากการยั่วยุ"[112] กระทรวงการต่างประเทศเช็กเกียระบุว่าการกระทำของรัสเซีย "เป็นการทำให้ชีวิตพลเรือนหลายหมื่นคนตกอยู่ในอันตรายอย่างจงใจ" และ "ต้องถูกประณามและลงโทษ"[113]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Russia rejects U.N. help as death toll from breached dam rises". Reuters. 19 June 2023.
- ↑ 2.0 2.1 "Russian official says breach of Kakhovka dam in Ukraine killed 41". Al-Arabiya. 21 June 2023.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Russian Offensive Campaign Assessment, June 6, 2023, Institute for the Study of War, 6 มิถุนายน 2023
{{citation}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์), Wikidata Q119224855 - ↑ 4.0 4.1 4.2 "Nova Kakhovka residents heard explosions before flooding of Kakhovka HPP: Here's what we know about the destruction of the dam on the Dnipro", The Insider, 6 มิถุนายน 2023
{{citation}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์), Wikidata Q119233154 - ↑ 5.0 5.1 5.2 "Seismic signals recorded from an explosion at the Kakhovka Dam in Ukraine". www.jordskjelv.no. 7 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ 6.0 6.1 "Thousands flee homes as collapse of dam is blamed on Russian forces". The Guardian. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Diagram: Ukraine's Kakhovka Hydrolectric Power Plant". RadioFreeEurope/RadioLiberty. 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
- ↑ "The causes, chronology, and culprits of a man-made disaster at the Kakhovska HPP". Molfar analytics. 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
- ↑ 9.0 9.1 Eric P. Schmitt (9 มิถุนายน 2023), "U.S. Official Says Spy Satellites Detected Explosion Just Before Dam Collapse", เดอะนิวยอร์กไทมส์
{{citation}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์), Wikidata Q119269286 - ↑ 10.0 10.1 Glanz, James; Santora, Marc; Pérez-Peña, Richard (6 June 2023). "Internal Blast Probably Breached Ukraine Dam, Experts Say (Cautiously)". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ 11.0 11.1 "Ukraine and Russia Agree to Extend Black Sea Grain Deal". The New York Times. 17 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-20. สืบค้นเมื่อ 2023-05-28.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "What we know about Nova Kakhovka dam attack". BBC News. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Brown, Steve (6 June 2023). "Damn Dams – For Ukrainians, Devastation Caused by Destruction of Dams Should Be No Surprise". Kyiv Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Подрыв дамбы на Днепре. Как и зачем это сделали по приказу Кремля 82 года назад". BBC (ภาษารัสเซีย). 7 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ Moroz, Dmytro; Bigg, Claire (23 August 2013). "Ukrainian Activists Draw Attention To Little-Known WWII Tragedy". Radio Free Europe/Radio Liberty (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ Constable, Pamela (6 June 2023). "Dam destruction a threat to Ukrainian counteroffensive, water supplies". Washington Post.
- ↑ bbarclay (8 April 2022). "Weaponising water — Ukraine's dams are targets in Putin's war". International Rivers (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ "The war put the water reservoir of the Kharkiv region on the verge of ecological disaster". ЭкоПолитика (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 16 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ David Axe (6 มิถุนายน 2023), "Last Fall A Russian Brigade Nearly Blew Up Ukraine's Dnipro River Dam. Eight Months Later The Russians Finally Pulled The Trigger.", ฟอบส์
{{citation}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์), Wikidata Q119295513 - ↑ Tanas, Alexander (31 October 2022). "Debris of Russian missile downed by Ukraine lands in Moldovan village". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Bilefsky, Dan (20 October 2022). "Zelensky says Russia plans to blow up a major dam in a 'false flag' attack, flooding southern Ukraine". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ "Ukraine's Zelenskyy accuses Russia of planning to destroy dam". Al Jazeera. 21 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Inside the Ukrainian counteroffensive that shocked Putin and reshaped the war". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). 29 December 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Damage to Russian-occupied dam submerges Ukrainian reservoir island community". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 25 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Surveillance video from November 2022 shows explosions at the Kakhovka dam". NBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ 26.0 26.1 "Russia is draining a massive Ukrainian reservoir, endangering a nuclear plant". NPR. 10 February 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Vasilisa Stepanenko; Lori Hinnant (25 May 2023). "Damage to Russian-occupied dam submerges Ukrainian reservoir island community". apnews.com. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-25.
Since mid-February, the water level in the reservoir has steadily increased, according to data from Theia, a French geospatial analytical organization. An Associated Press analysis of satellite imagery showed the water has now risen so high that it’s washing over the top of the damaged Russian-occupied dam downstream.
- ↑ "Damage to Russian-occupied dam floods Ukrainian island community". Al Jazeera. 25 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
- ↑ Beaumont, Peter (2023-06-09). "A visual guide to the collapse of Ukraine's Nova Kakhovka dam". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
- ↑ "Russia decided accidents at hazardous facilities would not be investigated shortly before blowing up Kakhovka Hydroelectric Power Plant". Ukrainska Pravda (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ "Russia decided accidents at hazardous facilities would not be investigated shortly before blowing up Kakhovka Hydroelectric Power Plant". Ukrainska Pravda (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ Brugen, Isabel van (2023-06-09). "Russia's "smoking gun" on Ukraine dam collapse". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 2023-06-12.
- ↑ "What we know about a large dam's catastrophic breach in Ukraine". NPR. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
- ↑ 34.0 34.1 "RUSSIAN OFFENSIVE CAMPAIGN ASSESSMENT, JUNE 6, 2023". Institute for the Study of War. 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2023-06-15.
- ↑ "Explainer: What the Kakhovka Dam Catastrophe Means For the Ukraine-Russia War", The Moscow Times, 6 มิถุนายน 2023, Wikidata Q119141426
- ↑ 36.0 36.1 "Seismic data adds to evidence Ukraine's Kakhovka dam was blown up". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2023. สืบค้นเมื่อ 9 June 2023.
- ↑ "Huge explosions breach the Kakhovka dam in southern Ukraine". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ "Expert reaction to reported attack on Ukraine's Kakhovka dam". Science Media Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-10. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
- ↑ 39.0 39.1 Glanz, James; Santora, Marc; Robles, Pablo; Willis, Haley; Leatherby, Lauren; Koettl, Christoph; Khavin, Dmitriy (16 June 2023). "An Inside Job". The New York Times.
- ↑ "Nick G Glumac". Mechanical Science & Engineering. 2007-08-16. สืบค้นเมื่อ 2023-06-17.
- ↑ "Ukraine's Kakhovka Hydrolectric Power Plant". Radio Free Europe. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Ukraine says Russian forces blew up Nova Kakhovka dam in Kherson". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ 43.0 43.1 "Russia-Ukraine war live: evacuations under way near Kherson after Kyiv accuses Moscow of destroying dam". The Guardian. 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
The Russian-imposed mayor of the occupied settlement of Nova Kakhovk near the damaged dam [Vladimir Leontyev] ... said that there was no explosion at the station, but night strikes led to the destruction and water began to uncontrollably be discharged downstream. According to him, the armed forces of Ukraine continue to shell the city. The blow to the Kakhovskaya hydroelectric power station, presumably, was delivered from an MLRS. Leontyev said that it was impossible to predict whether the Kakhovskaya HPP would continue to collapse. According to him, the hydroelectric power plant suffered serious damage and it was impossible to repair it. He stated that the destruction at the station would lead to problems in the delivery of water to the Crimea.
- ↑ 44.0 44.1 "Evacuations begin after a major dam in southern Ukraine is heavily damaged". NPR. 6 June 2023.
- ↑ "Минобороны сообщило о срыве крупномасштабного наступления ВСУ". TACC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ "Official: Kakhovka dam was blown up by Russia's 205th Motorized Rifle Brigade". The Kyiv Independent (ภาษาอังกฤษ). 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ "Russians have long been planning to blow up the Kakhovka HPP dam, but they did not expect such consequences, – media expert". Freedom (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ Peleschuk, Dan (9 June 2023). "Ukraine security service says it intercepted call proving Russia destroyed Kakhovka dam". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ Kate Tsurkan (6 มิถุนายน 2023), "Kuleba criticizes international media for entertaining Russian propaganda about Kakhovka dam explosion", The Kyiv Independent, Wikidata Q119140906
- ↑ Censor.NET (7 June 2023). "Troops of Russian Federation are interested in blowing up Kakhovka HPP, – ISW". Censor.NET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ Anthony Deutsch (16 June 2023). "Highly likely Russia behind Ukraine dam collapse, experts say". Reuters. สืบค้นเมื่อ 16 June 2023.
- ↑ Macias, Amanda (2023-06-16). "Russian forces 'highly likely' behind attack on Ukrainian dam, international law investigation says". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Creation of Atrocity Crimes Advisory Group for Ukraine". United States Department of State. 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Ukraine Advisory Group (ACA)". United States Department of State. 2023-01-05. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Parliament calls on NATO to invite Ukraine to join the alliance - News". European Parliament. 2023-06-15. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Collapse of critical Ukrainian dam sparks region-wide evacuations. Here's what we know". CNN. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ ""Это преднамеренная диверсия украинской стороны". Кремль — о прорыве плотины на Каховской ГЭС". Meduza (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Главное: подрыв дамбы Каховской ГЭС в Херсонской области. Что уже затоплено, как это могло произойти и какие будут последствия". Настоящее Время (ภาษารัสเซีย). 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Interior Minister: 10 dead, 42 missing due to Kakhovka dam disaster". Kyiv Independent. 12 June 2023.
- ↑ "Ukraine says Russia blew up major dam 'from inside', endangering thousands of people and a nuclear plant". CBS News. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-06.
- ↑ "Bodies floating in flooded areas after dam collapse: Zelenskyy". Al Jazeera. 8 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ 62.0 62.1 Sullivan, Helen (6 June 2023). "Russia-Ukraine war live: dam near Kherson destroyed by Russian forces, says Ukraine, sparking evacuations". the Guardian. ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Hallam, Jonny; Pennington, Josh; Regan, Helen; Voytovych, Olga; Nasser, Irene; Shukla, Sebastian; Kottasová, Ivana; Mezzofiore, Gianluca; Shelley, Jo (6 June 2023). "Critical Ukrainian dam near Kherson destroyed sparking region-wide evacuations". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Humeniuk: Enemy continues shelling right bank of Kherson region despite evacuation measures". www.ukrinform.net. 7 June 2023.
- ↑ Ronzheimer, Paul; Sheftalovich, Zoya (7 June 2023). "Russians shooting at rescuers in flooded areas, Zelenskyy says". Politico Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ Adler, Nils (6 June 2023). "Russia-Ukraine live news: Moscow accused of blowing up dam / State of emergency declared in Nova Kakhovka district: TASS". Aljazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ 67.0 67.1 Stepanenko, Vasilisa; Blann, Susie (6 June 2023). "Collapse of major dam in southern Ukraine triggers emergency as Moscow and Kyiv trade blame". apnews.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "В зону затопления поврежденной Каховской ГЭС попали прибрежные зоны 14 населенных пунктов" (ภาษารัสเซีย). Interfax. 6 June 2023.
- ↑ "Ukraine says Nova Kakhovka dam blast will not stop military plans". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
- ↑ "Destruction of Ukraine's biggest dam impacts the environment". IFAW (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ Pannett, Rachel (7 June 2023). "A Ukrainian zoo survived through war. The Kakhovka flood ended it". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ "Novaya Kakhovka refutes Ukrainian media reports about alleged deaths of zoo animals". TASS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ "Did Trapped Zoo Animals Drown After the Nova Kakhovka Dam Collapse?". Snopes (ภาษาอังกฤษ). 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ Krasteva, Gergana (6 June 2023). "Zoo animals drown in flood water after Ukrainian dam is destroyed". metro.co.uk.
- ↑ Stepanenko, Vasilisa; Blann, Susie (6 June 2023). "Ukraine accuses Russia of destroying major dam, warns of ecological disaster". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023 – โดยทาง latimes.com.
- ↑ Pannett, Rachel (7 June 2023). "A Ukrainian zoo survived through war. The Kakhovka flood ended it". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023 – โดยทาง The Washington Post.
- ↑ Waterhouse, James; Mackintosh, Thomas (8 June 2023). "Ukraine dam: Dislodged mines a major concern as residents flee Kherson". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ Kramer, Andrew E.; Sonne, Paul; Kim, Victoria (7 June 2023). "Zelensky warns that hundreds of thousands of people don't have 'normal access to drinking water'". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ "IAEA Director General to inspect Zaporizhia NPP in the aftermath of crucial dam destruction". Nuclear Engineering International. 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ "In one day, water level in Kakhovka reservoir decreased by 2.5 metres". Yahoo News. 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
- ↑ "Kakhovka Reservoir drains by 1 metre overnight, average flood level in Kherson Oblast is 5.6 metres".
- ↑ "Ukraine says water level at Kakhovka Reservoir at "dead" point". Anadolu Ajansı. 9 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ 83.0 83.1 "Ukraine warns over reservoir level after Kakhovka dam collapse". Reuters. 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ "THE DECREASE IN THE WATER LEVEL IN THE KAKHOVKA RESERVOIR CONTINUES". Ukrhydroenergo. 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Canal irrigating Crimea getting 'drastically less' water after Ukraine dam blast, says Kremlin". Reuters. 6 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
- ↑ "Crimean Canal Key to its Liberation". Institute for War and Peace Reporting. 31 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ 87.0 87.1 Osborn, Andrew (6 June 2023). "Canal irrigating Crimea getting 'drastically less' water after Ukraine dam blast, says Kremlin". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ "Північно-Кримський канал. Історія будівництва". Історична правда (ภาษายูเครน). 13 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ "No threat to water supply via North Crimean Canal after damage to Kakhovka HPP – officials". TASS. 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ "MSN". msn.com. 9 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ Charbonneau, Mirjam; Donath, Louis (27 March 2014). "U.N. General Assembly declares Crimea secession vote invalid". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 30 June 2017.
- ↑ "General Assembly Adopts Resolution Calling upon States Not to Recognize Changes in Status of Crimea Region". United Nations. 27 March 2014. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ Polityuk, Pavel (7 June 2023). "Ukraine warns over impact of Kakhovka dam collapse on farmland". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ 94.0 94.1 Знищення росіянами Каховської ГЕС завдало значних збитків сільському господарству України [The destruction of the Kakhovskaya HPP by the Russians caused significant damage to the agriculture of Ukraine]. Міністерство аграрної політики та продовольства України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Khan, Yusuf; MacDonald, Alistair (6 June 2023). "Ukraine Dam Explosion Shakes Farmers, Pushes Grain Prices Higher". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ "Ukraine's grain, oilseeds harvest could fall 8% to 68 mln tonnes in 2023 – association". Interfax. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
- ↑ Cundy, Antonia (2022-06-07). "Dead dolphins: how nature became another casualty of the Ukraine war". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
- ↑ "Ukraine dam collapse: what scientists are watching". Nature Publishing Group. 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
- ↑ "10,500,000,000 UAH to USD". Ukrainian Hryvni to US Dollars Exchange Rate. 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ Barnes, Joe (6 June 2023). "Ukrainian dam destroyed in blow to counter-offensive". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Miller, Christopher; Seddon, Max (6 June 2023). "Military briefing: Russia has most to gain from Ukrainian dam breach". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "The invaders blew up the Kakhovka Hydroelectric Power Plant". Mil.in.ua. 6 June 2023.
- ↑ "Ukraine calls for UN Security Council meeting and new sanctions against Russia after dam disaster". CNN. 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ 104.0 104.1 Berg, Stephanie van den; Deutsch, Anthony (6 June 2023). "Explainer: Ukraine dam: When do attacks on civilian installations amount to war crimes?". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Camut, Nicolas; Gabriel, Rinaldi; Bayer, Lili (6 June 2023). "Western leaders accuse Russia of war crime over dam destruction". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.
- ↑ "Dam break is "another devastating consequence" of Russia's invasion of Ukraine, UN secretary general says". CNN. 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Stoltenberg, Jens [@jensstoltenberg] (6 June 2023). "The destruction of the Kakhovka dam today puts thousands of civilians at risk and causes severe environmental damage" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Michel, Charles [@CharlesMichel] (6 June 2023). "Shocked by the unprecedented attack of the Nova Kakhovka dam" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Destruction of the Nova Kakhovka dam in the Kherson region of Ukraine: statement by Council of Europe leaders". coe.int.
- ↑ Ciobanu, Ramona (6 June 2023). "Klaus Iohannis, reacție după distrugerea barajului Nova Kahovka: Rusia trebuie trasă la răspundere". Libertatea (ภาษาโรมาเนีย).
- ↑ Sabbagh, Dan (6 June 2023). "Thousands flee homes as collapse of dam is blamed on Russian forces". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ Bern, Stefaniia (6 June 2023). "Ukraine dam blast a result of Russian invasion -UK minister". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Statement by the Ministry of Foreign Affairs on Russia's attack on the Nova Kakhovka dam". mzv.cz. 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.