ข้ามไปเนื้อหา

การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายของนักโทษ ซึ่งภายหลังระบุตัวตนว่าเป็น Abdou Hussain Saad Faleh กำลังถูกทรมานที่คุกอะบูฆุร็อยบ์ เป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก

ในช่วงแรกของสงครามอิรัก สมาชิกของกองทัพสหรัฐและซีไอเอ ภายใต้บังคับบัญชาโดยตรงของรัฐมนตรีกลาโหม ดอนัลด์ รัมสเฟลด์ กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงครามต่อผู้ถูกคุมขังในเรือนจำอะบูฆุร็อยบ์ในประเทศอิรัก[1] ซึ่งประกอบด้วยการทำร้ายร่างกาย, ล่วงละเมิดทางเพศ, ทรมาน, ข่มขืน, สังวาสทางทวารหนัก และ ฆาตกรรม[2][3][4][1] การทรมานและใช้อำนาจในทางมิชอบนี้ปรากฏสู่สาธารณชนหลังภาพถ่ายหลักฐานการทารุณถูกเผยแพร่บนซีบีเอสนิวส์ในเดือนเมษายน 2004 เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจและความโกรธไปทั่ว รวมถึงถูกประณามอย่างรุนแรงจากทั้งในสหรัฐเองและจากทั่วโลก[5]

รัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ้างว่าการทรมานและละเมิดสิทธิมนุษยชนท่ทอะบูฆุร็อยบ์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยขาดการรับรู้และโดยไม่ได้เกิดจากนโยบายของสหรัฐ[6][ต้องการเลขหน้า][7]: 328  คำกล่าวอ้างนี้ถูกต่อต้านโดยองค์การมนุษยชนเช่น กาชาดสากล, แอมเนสตี อินเทอร์เนชั่นนอล และ ฮิวอมนไรตส์วอทช์ องค์กรเหล่านี้ระบุว่กาารทรมานที่อะบูฆุร็อยบ์เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการทรมานและการดูแลอย่างโหดร้ายทารุณในทัณฑสถานโพ้นทะเลของอเมริกัน ทั้งในประเทศอิรัก, อัฟกานิสถาน และ กวนตานาโมเบย์[7]: 328 

เอกสารซึ่งรู้จักในชื่อ บันทึกความจำเรื่องการทรมาน (Torture Memos) ออกสู่สาธารณะในสองสามปีถัดมา เอกสารเหล่านี้มีการเตรียมการในช่วงเดือนก่อนการบุกรุกอิรักในปี 2003 โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ รายละเอียดมีการมอบอำนาจและยินยอมให้มีเทคนิคการสอบสวนแบบพิเศษ (โดยทั่วไปคือให้มีการทารุณกรรมได้) ใช้กับผู้ถูกคุมขังที่เป็นชาวต่างชาติ รวมถึงระบุข้อมูลว่ากฎหมายว่าด้วยมนุษยธรรมสากล เช่น ข้อตกลงเจนีวา จะไม่ถูกบังคับใช้กับผู้สอบสวนอเมริกันโพ้นทะเล

กระทรวงกลาโหมสหรัฐตอบกลับเหตุการณ์นี้ด้วยการพ้นสภาพทหารและเจ้าหน้าที่จำนวน 17 คน ระหว่างพฤษภาคม 2004 ถึงเมษายน 2006 ทหารเหล่านี้ถูกตัดสินจำคุกที่ทัณฑสถานกองทัพ และถูกปลดออกจากกองทัพ ในจำนวนนี้มีสหารสองคนที่ก่อเหตุอย่างเลวร้ายขั้นสุด คือ ชารลส์ แกรเนอร์ และ ลินน์ดี อิงแลนด์ ถูกตัดสินลงโทษด้วยทัณฑ์ที่หนักกว่ามาก แกรเนอร์ถูกตัดสินกระทำผิดฐานฆาตกรรม, ทำร้ายร่างกาย, สมรู้ร่วมคิด, ดูแลนักโทษผิด ๆ, กระทำการเสื่อมเสียและขัดต่อหน้าที่ และถูกจำคุก 10 ปี, ถูกถอดยศและเงินตำแหน่ง[8] อิงแลนด์ถูกตัดสินความผิดฐานสมรู้ร่วมคิด, ดูแลนักโทษผิด ๆ แะลกระทำการเสื่อมเสียต่อกองทัพ ถูกตัดสินจำคุกสามปี[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Walsh, Joan; Michael Scherer; Mark Benjamin; Page Rockwell; Jeanne Carstensen; Mark Follman; Page Rockwell; Tracy Clark-Flory (March 14, 2006). "Other government agencies". The Abu Ghraib files. Salon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2008. สืบค้นเมื่อ February 24, 2008. The Armed Forces Institute of Pathology later ruled al-Jamadi's death a homicide, caused by "blunt force injuries to the torso complicated by compromised respiration."
  2. Hersh, Seymour M. (May 17, 2004). "Chain of Command". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2012. สืบค้นเมื่อ September 13, 2011. NBC News later quoted U.S. military officials as saying that the unreleased photographs showed American soldiers "severely beating an Iraqi prisoner nearly to death, having sex with a female Iraqi prisoner, and 'acting inappropriately with a dead body.' The officials said there also was a videotape, apparently shot by U.S. personnel, showing Iraqi guards raping young boys."
  3. Benjamin, Mark (May 30, 2008). "Taguba denies he's seen abuse photos suppressed by Obama: The general told a U.K. paper about images he saw investigating Abu Ghraib – not photos Obama wants kept secret". Salon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2009. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009. The paper quoted Taguba as saying, "These pictures show torture, abuse, rape and every indecency." [...] The actual quote in the Telegraph was accurate, Taguba said – but he was referring to the hundreds of images he reviewed as an investigator of the abuse at Abu Ghraib prison in Iraq
  4. Hersh, Seymour Myron (June 25, 2007). "The General's Report: how Antonio Taguba, who investigated the Abu Ghraib scandal, became one of its casualties". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2007. สืบค้นเมื่อ June 17, 2007. Taguba said that he saw "a video of a male American soldier in uniform sodomizing a female detainee"
  5. Sontag, Susan (May 23, 2004). "Regarding The Torture Of Others". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2017.
  6. Brown, Michelle (September 2005). ""Setting the Conditions" for Abu Ghraib: The Prison Nation Abroad". American Quarterly. 57 (3): 973–997. doi:10.1353/aq.2005.0039. JSTOR 40068323. S2CID 144661236.
  7. 7.0 7.1 Smeulers, Alette; van Niekirk, Sander (2009). "Abu Ghraib and the War on Terror - A case against Donald Rumsfeld?" (PDF). Crime, Law and Social Change. 51 (3–4): 327–349. doi:10.1007/s10611-008-9160-2. S2CID 145710956. After the pictures were published the Bush administration was quick to condemnthe abuse and accuse the low ranking soldiers who featured in the pictures. Secretaryof Defense Rumsfeld described the abuse at Abu Ghraib as an isolated case andPresident Bush talked about: 'disgraceful conduct by a few American troops who dishonoured our country and disregarded our values.' The abuse however did not constitute isolated cases but represented further proof of a widespread pattern.
  8. "Graner gets 10 years for Abu Ghraib abuse". NBC News. Associated Press. January 6, 2005. สืบค้นเมื่อ March 20, 2021.
  9. Dickerscheid, P.J. (June 29, 2009). "Abu Ghraib scandal haunts W.Va. reservist". The Independent (Ashland, Kentucky). Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2020.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]