ข้ามไปเนื้อหา

การทนความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในระบบคอมพิวเตอร์ทนต่อความผิดพร่อง โดยเฉพาะระบบแบบกระจาย การทนความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ (Byzantine fault tolerance, BFT) เป็นลักษณะของระบบที่ทนต่อความขัดข้อง (failure) ในกลุ่มที่เรียกว่า Byzantine Generals' Problem[1] อันเป็นกรณีทั่วไปของปัญหา Two Generals' Problem ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าแก้ไม่ได้ ความขัดข้องแบบไบแซนไทน์ พิจารณาว่าเป็นความขัดข้องแบบทั่วไปที่สุดและยากที่สุดในบรรดารูปแบบการขัดข้องทั้งหลาย เทียบกับรูปแบบการขัดข้องที่เรียกว่า fail-stop ซึ่งเป็นแบบง่ายที่สุด คือเป็นการขัดข้องที่เกิดได้โดยวิธีเดียวคือสถานีในเครือข่ายล้มเหลว โดยสถานีอื่น ๆ จะตรวจจับได้ แต่ความขัดข้องแบบไบแซนไทน์ไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้ คือ สถานีที่เกิดความขัดข้องอาจสร้างข้อมูลมั่ว ทำเป็นเหมือนข้อมูลถูกต้อง ซึ่งทำให้ทนต่อความผิดพร่องได้ยากมาก

ความผิดพร่อง (fault) แบบไบแซนไทน์เป็นความผิดพร่องใดก็ได้ที่แสดงอาการต่าง ๆ ต่อผู้สังเกตการณ์ต่าง ๆ[2] ความขัดข้อง (failure) แบบไบแซนไทน์เป็นการเสียบริการของระบบเนื่องจากความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ ในระบบที่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้อง (consensus)[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. doi:10.1145/357172.357176
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand Full ArticlePDF
  2. doi:10.1109/DASC.2004.1390734
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  3. doi:10.1007/978-3-540-39878-3_19
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]