การทดลองซิฟิลิสในกัวเตมาลา
การทดลองซิฟิลิสในกัวเตมาลา เป็นการทดลองในมนุษย์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ในกัวเตมาลา นับตั้งแต่ ค.ศ. 1946 ถึง 1948 แพทย์ทำให้ทหาร นักโทษและผู้ป่วยทางจิตติดเชื้อโรคซิฟิลิสและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ โดยไม่มีการยินยอมรับการรักษาพยาบาลจากผู้ป่วยและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ในปี ค.ศ. 2010 สหรัฐอเมริกาแถลงการณ์ขอโทษต่อกัวเตมาลาเนื่องจากการทดลองดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
การทดลอง
[แก้]การทดลองดังกล่าวนำโดยแพทย์กรมบริการสาธารณสุขแห่งสหรัฐ จอห์น ซี. คัทเลอร์ ผู้ซึ่งในภายหลังมีส่วนในการทดลองซิฟิลิสในทัสคีจี[1] ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยโดยซูซาน เอ็ม. รีเวอร์บี แห่งวิทยาลัยเวลส์เลย์ ผู้ซึ่งค้นพบเอกสารใน ค.ศ. 2005 ในขณะที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการทดลองซิฟิลิสในทัสคีจี เธอได้แบ่งปันสิ่งที่เธอค้นพบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา การวิจัยดังกล่าวมีขึ้นโดยความเห็นชอบของรัฐบาลกัวเตมาลาในขณะนั้น[2] มีคนไข้ทั้งหมด 696 คน ในขณะที่การทดลองทัสคีจีมีขึ้นหลังจากการแพร่เชื้อซิฟิลิสตามธรรมชาติ แต่ในกัวเตมาลา แพทย์ได้ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ เป้าหมายของการศึกษาเพื่อประเมินผลของเพนิซิลลินในการป้องกันและการรักษากามโรค นักวิจัยให้ค่าจ้างแก่โสเภณีซึ่งถูกทำให้ติดเชื้อซิฟิลิสโดยให้มีเพศสัมพันธ์กับนักโทษและมีบางส่วนที่ถูกทำให้ติดเชื้อโดยตรงจากการฉีดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย เมื่อคนไข้ติดโรคแล้ว พวกเขาจะได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าคนไข้ได้รับการรักษาทั้งหมดหรือไม่[3] ฟรานซิส คอลลอนส์ ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ เรียกการทดลองดังกล่าวว่า "ส่วนมืดในประวัติศาสตร์การแพทย์" และระบุว่ากฎสมัยใหม่ห้ามการวิจัยในมนุษย์โดยปราศจากความยินยอมรับการรักษาโดยเด็ดขาด[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ McGreal, Chris (1 October 2010). "US says sorry for 'outrageous and abhorrent' Guatemalan syphilis tests". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 October 2010.
- ↑ "Wellesley professor unearths a horror: Syphilis experiments in Guatemala". Boston Globe. 1 October 2010. สืบค้นเมื่อ 2 October 2010.
- ↑ 3.0 3.1 McNeil Jr, Donald (1 October 2010). "U.S. Apologizes for Syphilis Tests in Guatemala". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 October 2010.