ข้ามไปเนื้อหา

การต่อต้านระบอบนาซีของชาวเยอรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Two variants of Josef Wirmer's 1944 "Resistance" design, created by his brother, Ernst. The top flag was proposed by conservative parties as a flag for West Germany (1948).

การต่อต้านระบอบนาซีของชาวเยอรมัน (เยอรมัน: Widerstand gegen den Nationalsozialismus) เป็นการต่อต้านโดยบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ในเยอรมนีต่อการปกครองของระบอบนาซี ระหว่างปี ค.ศ. 1933 และ ค.ศ. 1945 ซึ่งส่วนใหญ่นั้นได้มีส่วนร่วมในการต่อต้านอย่างแข็งขัน รวมทั้งความพยายามที่จะโค่นล้มอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ออกจากอำนาจด้วยการลอบสังหารหรือไม่ก็ล้มล้างระบอบการปกครองที่เขาสร้างขึ้น

การต่อต้านของชาวเยอรมันนั้นไม่ได้ถูกยอมรับว่าเป็นขบวนการต่อต้านแบบรวมกลุ่มในช่วงที่นาซีเรืองอำนาจ[1] ซึ่งแตกต่างกับขบวนการต่อต้านชาวอิตาลี พลพรรคชาวโซเวียต รัฐใต้ดินโปแลนด์ ขบวนการต่อต้านชาวกรีก พลพรรคชาวยูโกสลาเวีย ขบวนการต่อต้านชาวฝรั่งเศส ขบวนการต่อต้านชาวดัตซ์ และขบวนการต่อต้านชาวนอร์เวย์ที่คอยประสานงานกันมากขึ้น การต่อต้านของชาวเยอรมันนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มเล็ก ๆ ที่โดดเดี่ยวเพียงลำพัง ซึ่งไม่สามารถระดมกำลังคนในการต่อต้านทางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง แต่ละบุคคลจะโจมตีผู้มีอำนาจนาซี ก่อวินาศกรรม และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานผลิตยุทธภัณฑ์ของนาซีแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งประสบความสำเร็จ ในขณะที่กลุ่มต่อต้านชาวออสเตรียที่นำโดยไฮน์ริช ไมเออร์ ซึ่งมีจำนวนมากที่ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน หนึ่งกลยุทธ์คือชักชวนให้ผู้นำกองทัพแวร์มัคท์ทำการก่อรัฐประหารต่อระบอบการปกครอง ความพยายามลอบสังหารต่อฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1944 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดการรัฐประหารดังกล่าว[2]

พลเมืองชาวเยอรมันจำนวนประมาณ 77,000 คน ล้วนถูกประหารชีวิตสำหรับการต่อต้านรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งโดยศาลพิเศษ ศาลทหาร ศาลประชาชน และระบบยุติธรรมพลเรือน ชาวเยอรมันหลายคนเหล่านี้ต่างได้ทำงานรับราชการในรัฐบาล ทหาร หรือในตำแหน่งพลเรือน ซึ่งทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการบ่อนทำลายและการสมรู้ร่วมคิด นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ชาวแคนาดาทีชื่อว่า ปีเตอร์ ฮอฟแมน ยังนับจำนวนอีก "หนึ่งหมื่นคน" ที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ในค่ายกักกันนาซีซึ่งถูกต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในการต่อต้าน[3] ในทางตรงกันข้าม นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันที่ชื่อว่า Hans Mommsen ได้เขียนไว้ว่า การต่อต้านในเยอรมนีคือ "การต่อต้านโดยปราศจากประชาชน" และจำนวนชาวเยอรมันที่มีส่วนพัวพันในการต่อต้านระบอบนาซีนั้นมีน้อยมาก[4] การต่อต้านในเยอรมนี รวมทั้งพลเมืองชาวเยอรมันที่ไม่เชื้อชาติเยอรมัน เช่น สมาชิกของชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ที่ก่อตั้งกลุ่มต่อต้านขึ้น เช่น โอลิมป์(Olimp)[5]

บทนำ

[แก้]

ฝ่ายค้านและขบวนการต่อต้านของชาวเยอรมันประกอบไปด้วยกลุ่มการเมืองและอุดมการณ์ที่แตกต่างกันซึ่งแสดงให้เห็นถึงชนชั้นต่าง ๆ ของสังคมชาวเยอรมัน และแทบจะไม่สามารถจะทำงานร่วมกันได้ - แน่นอนแล้วว่า ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่มีการติดต่อหากันเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลยระหว่างกลุ่มต่อต้านที่แตกต่างกัน กลุ่มต่อต้านพลเรือนจำนวนหนึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้น แต่กองทัพบกเป็นองค์กรเดียวเท่านั้นที่มีความสามารถในการโค่นล้มรัฐบาล และจากภายในนั้นก็มีเจ้าหน้าที่จำนวนน้อยได้เสนอภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในระบอบนาซี[6] สำนักงานการต่างประเทศและอัพแวร์(หน่วยข่าวกรองทางทหาร) ยังให้การสนับสนุนที่สำคัญแก่ขบวนการ[7] แต่จนในที่สุด เจ้าหน้าที่หลายคนในกองทัพได้เลือกที่จะพยายามโค่นล้มฮิตเลอร์ ซึ่งในตอนแรกได้ให้การสนับสนุนแก่ระบอบการปกครองนี้ หากไม่ใช่วิธีการทั้งหมด การกวาดล้างทางทหารของฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1938 นั้นมาพร้อมกับความเข้มแข็งที่เพิ่มขึ้นในการทำให้กลายเป็นนาซีของเยอรมนี การกดขี่ข่มเหงที่รุนแรงมากขึ้นต่อชาวยิว พวกรักร่วมเพศ[8] และผู้นำสหภาพแรงงาน[9] และนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าว ได้นำพาเยอรมนีเข้าสู่สงคราม ในเวลานี้เองที่ทำให้เกิดฝ่ายต่อต้านของชาวเยอรมัน

ผู้ที่ต่อต้านระบอบนาซีได้รับเหตุจูงใจมาจากปัจจัยสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทารุณกรรมต่อชาวยิว การคุกคามต่อคริสตจักร และการกระทำที่รุนแรงของฮิมเลอร์และตำรวจลับเกสตาโป[10] ในประวัติศาสตร์ฝ่ายต่อต้านชาวเยอรมันของเขา ปีเตอร์ ฮอฟแมนได้เขียนไว้ว่า "ชาติสังคมนิยมไม่ได้เป็นเพียงแค่พรรคที่เหมือนพรรคอื่น ๆ ด้วยการยอมรับโดยรวมของอาชญากรรมว่า เป็นการกำเนิดของความชั่วร้าย เพื่อให้ทุกคนที่มีจิตใจผูกพันกับประชาธิปไตย คริสต์ศาสนา เสรีภาพ มนุษยชาติ หรือแม้แต่เพียงความถูกต้องก็พบว่าพวกเขาเองก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมเป็นพันธมิตร..."

Dietrich Bonhoeffer ที่ Sigurdshof, 1939.

การสั่งห้าม พรรคการเมืองใต้ดินที่มีส่วนทำให้เกิดการต่อต้าน สิ่งเหล่านี้ได้รวมถึงฝ่ายสังคมประชาธิปไตย(SPD) กับนักเคลื่อนไหว จูลิอัส เลเบอร์ - ฝ่ายคอมมิวนิสต์(KPD) และกลุ่มฝ่ายสหการอนาธิปไตยจากสหภาพแรงงานเสรีแห่งเยอรมนี(FAUD) ที่ได้เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านนาซีและช่วยเหลือผู้คนในการหลบหนีออกนอกประเทศ[11] อีกกลุ่มหนึ่งคือ ออร์เคสตราแดง (Rote Kapelle) ประกอบไปด้วยพวกต่อต้านฟาสซิสต์ คอมมิวนิสต์ และสตรีชาวอเมริกัน แต่ละบุคคลในกลุ่มนี้เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนชาวยิวนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933

คริสตจักรของชาวคริสเตียนทั้งนิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ มีส่วนทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นอีก ท่าทีของพวกเขามีความหมายเชิงสัญลักษณ์ คริสตจักรในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ได้ให้การสนับสนุนยแก่รัฐนาซีอย่างเปิดเผย แต่พวกเขายังคงเป็นหนึ่งในสถาบันของเยอรมนีที่มีเพียงไม่กี่แห่งที่รักษาอิสรภาพบางส่วนจากรัฐ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะคอยประสานงานการต่อต้านได้ในระดับหนึ่งต่อนโยบายของรัฐบาล พวกเขาได้ต่อต้านต่อความพยายามของระบอบการปกครองที่เข้ามาก้าวก่ายต่อการปกครองตนเองของพระสงฆ์ แต่จากจุดเริ่มต้น นักบวชชนกลุ่มน้อยแสดงความไม่พอใจในวงกว้างเกี่ยวกับระเบียบใหม่ และการวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเขาก็ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น "การวิจารณ์ที่สอดคล้องและเป็นระบบของคำสอนมากมายของชาติสังคมนิยม"[12] นักบวชบางคน เช่น Jesuits Alfred Delp และ Augustin Rösch และนักเทศน์นิกายลูเธอรัน Dietrich Bonhoeffer — ได้มีความแข็งขันและอิทธิพลภายในการต่อต้านของชาวเยอรมันที่เป็นความลับ ในขณะที่บุคคลอื่น ๆ เช่น บาทหลวงนิกายโปรเตสแตนต์ Martin Niemöller (ผู้ก่อตั้งคริสตจักรนิกายสารภาพ) และบิชอปนิกายคาทอลิก Clemens August Graf von Galen (ผู้ที่ประณามการการุณยฆาตและไม่เคารพกฏหมายของนาซี) ได้เสนอคำวิจารณ์ต่อสาธารณะที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับอาณาจักรไรช์ที่สาม — ไม่ใช่เพียงแค่ต่อต้านการก้าวก่ายเท่านั้นโดยระบอบการปกครอง ได้เข้าสู่การปกครองของคริตจักรและการเข้ากุมนักบวชและการเวนคืนทรัพย์สินคริสตจักร แต่ยังรวมไปถึงพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมอันเป็นรากฐานของระบบการเมือง[13] ตัวอย่างของพวกเขาเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการต่อต้านอย่างเปิดเผย เช่น กลุ่มนักศึกษากุหลาบขาวในมิวนิก และได้ก่อให้เกิดการกระตุ้นทางศีลธรรมและแนวทางสำหรับบุคคลสำคัญในการต่อต้านทางการเมือง[14]

ในออสเตรียนั้น มีกลุ่มที่ได้รับแรงจูงใจจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สิ่งเหล่านี้ได้เป็นที่จุดสนใจเป็นพิเศษของเกสตาโป เนื่องจากเป็นเป้าหมายร่วมกันของพวกเขา - การล้มล้างระบอบการปกครองของนาซีและก่อตั้งออสเตรียที่เป็นประเทศเอกราชขึ้นมาใหม่ภายใต้การนำของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นการยุแหย่เป็นพิเศษสำหรับระบอบการปกครองของนาซี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเลย เพราะฮิตเลอร์นั้นมีความเกลียดชังอย่างเต็มอกต่อราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธถึงหลักการของฮาพส์บวร์คที่มีอายุมายาวนานหลายศตวรรษอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของ "การมีชีวิตและปล่อยให้มีชีวิต" เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ประชาชน ชนกลุ่มน้อย ศาสนา วัฒนธรรม และภาษา[15][16][17][18]

อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค

เนื่องจากคำสั่งของฮิตเลอร์ นักสู้ฝ่ายต่อต้านจำนวนมากเหล่านี้ (- มีการประมาณการในปัจจุบันว่า มีนักสู้ฝ่ายต่อต้านฮาพส์บวร์ค จำนวน 4,000 - 4,500 คน) ได้ถูกส่งตรงไปยังค่ายกักกันโดยไม่มีการพิจารณาคดี นักสู้ฝ่ายต่อต้านฮาพส์บวร์ค 800 คน ถึง 1,000 คน ล้วนถูกประหารชีวิต ในขณะที่ความพยายามที่เป็นพิเศษในไรช์เยอรมันต่อการดำเนินอย่างแข็งกร้าวต่อรัฐนาซีหรือเกสตาโป แผนการของพวกเขาเกี่ยวกับการประหารชีวิต Karl Burian ในภายหลังจากที่ได้ระเบิดสำนักงานใหญ่ของเกสตาโปในกรุงเวียนนาที่ใช้งาน กลุ่มต่อต้านคาทอลิกที่นำโดย ไฮน์ริช ไมเออร์ ต้องการที่จะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในช่วงหลังสงครามในแง่หนึ่งและประสบความสำเร็จอย่างมากในการส่งผ่านต่อแผนการและสถานที่การผลิตของจรวดวี-2 รถถังทีเกอร์ และเครื่องบินรบให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1943 อย่างน้อย การส่งผ่านข้อมูลเหล่านี้ไปให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับทราบถึงผังที่ตั้งที่แน่นอนของโรงงานผลิตของเยอรมัน ด้วยภาพร่างที่ตั้งของโรงงานการผลิต เครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าโจมตีได้อย่างแม่นยำ ในตรงกันข้ามกับกลุ่มต่อต้านเยอรมันอื่น ๆ มากมาย เช่น กลุ่มไมเออร์ ได้แจ้งล่วงหน้าเกี่ยวกับการสังหารหมู่ชาวยิวผ่านทางการติดต่อกับโรงงาน Semperit ใกล้กับเอาช์วิทซ์ ซึ่งเป็นข้อความที่ชาวอเมริกันในเมืองซือริชในช่วงแรกนั้นไม่เชื่อในวงที่จำกัด[19][20][21][22][23]

แต่แม้ว่าฝ่ายต่อต้านฮาพส์บวร์คในขนาดเล็กน้อยก็ยังถูกปฏิบัติอย่างเข้มงวด ตัวอย่างเช่น ในการพิจารณาคดีของศาลประชาชน ("Volksgerichtshof") ในเวียนนา หญิงวัยชราคนหนึ่งที่ป่วยหนักและอ่อนแอถูกตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปี สำหรับการเป็นเจ้าของบันทึกที่เขียนขึ้นเองซึ่งถูกพบในกระเป๋าสตางค์ของเธอพร้อมกับข้อความคล้องจองที่เขียนว่า "Wir wollen einen Kaiser von Gottesgnaden und keinen Blutmörder aus Berchtesgaden (แปลว่า เราต้องการองค์จักรพรรดิที่ทรงพระคุณอันศักดิสิทธิ์ของพระผู้เป็เจ้า และไม่ใช่ฆาตกรอันเลือดเย็นจากแบร์ชเทิสกาเดิน)"[24] ผู้สนับสนุนฮาพส์บวร์คอีกคนหนึ่งถูกศาลนาซีในเวียนนาตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิตสำหรับข้อหาบริจาคเงิน 9 ไรชส์มาร์คแก่ "Rote Hilfe" ("ความช่วยเหลือสีแดง" - องค์กรพันธมิตรเยอรมันขององค์กรความช่วยเหลือสีแดงระดับประเทศและเป็นพันธมิตรของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี) สองพี่น้องตระกูล Schönfeld ที่สนับสนุนฮาพส์บวร์คยังถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต สำหรับข้อหาทำการผลิตแผ่นผับใบปลิวต่อต้านนาซี[25]

Ernst Karl Winter ได้ก่อตั้งองค์กรขึ้นในปี ค.ศ. 1939 ในนิวยอร์ก ในชื่อว่า "ศูนย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน" ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับประเทศที่ไม่ฝักฝ่ายใดที่มีภูมิหลังของฮาพส์บวร์ค องค์กรนี้ได้จัดให้มีการสาธิตและเดินขบวนและตีพิมพ์สิ่งพิมพ์รายสัปดาห์ ในสหรัฐอเมริกายังมี "สันนิบาตชาวออสเตรีย-อเมริกัน" ที่เป็นองค์กรสนับสนุนฮาพส์บวร์ค อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์คทรงต่อต้านระบอบนาซีอย่างมาก หากพระองค์ถูกจับกุมโดยพวกนาซี พระองค์สมควรที่จะถูกยิงเป้าทันทีโดยไม่ต้องมีการไต่สวนแต่อย่างใด ในอีกด้านหนึ่ง ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คได้ให้วีซ่าช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยหลายพันคนและอีกด้านหนึ่ง ได้สร้างการเมืองให้กับประชาชนในยุโรปกลางกับฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจัยที่ชี้ขาดคือความพยายามที่จะทำให้ประชาชนในยุโรปกลางให้พ้นจากอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ และเพื่อถ่วงดุลอำนาจเยอรมนีที่มีอิทธิพลในช่วงหลังสงคราม เขาได้รับการสนับสนุนจากวินสตัน เชอร์ชิล สำหรับ "สหพันธ์ดานูบ" ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งมีผลในการฟื้นฟูออสเตรีย-ฮังการี แต่โจเซฟ สตาลินได้ขัดขวางแผนการเหล่านี้.[26][27][28][29][30][31]

ชาวเยอรมันแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคนขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็น "การต่อต้านโดยไม่มีการรวมตัว" ได้ท้าทายต่อระบอบการปกครองของนาซีในรูปแบบวิธีการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ช่วยเหลือชาวยิวให้รอดพ้นจากฮอโลคอสต์ของนาซีโดยการซ่อนพวกเขา การจัดหาเอกสารสำหรับพวกเขา หรือด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือพวกเขา ชาวเยอรมันมากกว่า 300 คน ได้รับการยอมรับในเรื่องนี้[32] นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีต่อ ๆ มาของระบอบการปกครอง เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการของหนุ่มสาวชาวเยอรมันที่หลบเลี่ยงการเข้าร่วมในหน่วยยุวชนฮิตเลอร์และท้าทายต่อนโยบายทางวัฒนธรรมของนาซีในรูปแบบต่าง ๆ

กองทัพบกเยอรมัน สำนักงานการต่างประเทศ และอัพแวร์ องค์กรหน่วยข่าวกรองทางทหารกลายเป็นแหล่งที่มาของแผนการต่อต้านฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1938 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1939 แต่ด้วยเหตุผลหลายประการที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนไว้ได้ ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมันในยุทธการที่สตาลินกราดในปี ค.ศ. 1943 พวกเขาได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ในกองทัพบกหลายคนซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์กำลังนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ แม้ว่าจะมีน้อยกว่าคนที่เต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในการต่อต้านอย่างเปิดเผย ผู้ต่อต้านที่แข็งขันในกลุ่มนี้มักจะดึงมาจากสมาชิกชนชั้นสูงของปรัสเซีย

เกือบทุกชุมชนในเยอรมนีนั้นได้มีสมาชิกถูกพาตัวไปยังค่ายกักกัน ในช่วงแรกของปี ค.ศ. 1935ได้มีเสียงจิงเกิลออกมาดังขึ้นว่า: "ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์โง่เขลา เพื่อที่ข้าพระองค์จะได้ไม่ต้องไปดาเคา" (เกือบจะเป็นคำคล้องจองในภาษาเยอรมัน: Lieber Herr Gott mach mich stumm / Daß ich nicht nach Dachau komm)[33] "ดาเคา" ที่กล่าวถึง ค่ายกักกันดาเคา นี่คือการล้อเลียนคำอธิฐานของเด็กชาวเยอรมัน คำว่า "Lieber Gott mach mich fromm, daß ich in den Himmel komm" ("ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า, โปรดทำให้ข้าพระองค์มีความศรัทธา, เพื่อให้ข้าพระองค์ได้ไปสวรรค์")

การต่อต้านในช่วงก่อนสงคราม ปี ค.ศ. 1933-39

[แก้]
วิลเฮ็ล์ม คานาริส, ในขณะที่ดำรงตำแหน่งยศเป็นกัปตันเรือลาดตระเวน (Korvettenkapitän)

แทบจะไม่มีการต่อต้านอย่างใดที่เป็นระบบต่อระบอบการปกครองของฮิตเลอร์ในช่วงระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 และวิกฤตการณ์เชโกสโลวาเกียที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938. ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 พรรคการเมืองอื่น ๆ และสหภาพแรงงานทั้งหมดล้วนถูกปราบปราม สื่อมวลชนและวิทยุอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐและองค์ประกอบส่วนใหญ่ของประชาสังคมที่เป็นกลาง เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 สนธิสัญญาระหว่างเยอรมนีและสันตะสำนักได้ยุติความเป็นไปได้ของการต่อต้านอย่างเป็นระบบโดยคริสตจักรนิกายคาทอลิก.[34] คริสตจักรนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด, คริสตจักรอีแวนเจลิคัลชาวเยอรมัน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นผู้สนับสนุนนาซี, แม้ว่าสมาชิกคริสตจักรมีจำนวนน้อยนิดที่จะต่อต้านฐานะนี้. การล้มล้างอำนาจของหน่วยเอ็สอาใน "คืนมีดยาว" ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1934 ได้ยุติความเป็นไปได้ของการท้าทายจากปีก "สัมคมนิยม" ของพรรคนาซีและยังได้ทำให้กองทัพบกได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับระบอบการปกครอง[35]

ระบอบการปกครองของฮิตเลอร์ได้รับความนิยมอย่างล้มหลามจากชาวเยอรมันในช่วงเวลานี้ ความล้มเหลวของสาธารณรัฐไวมาร์ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเสื่อมเสียในสายตาของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจนของฮิตเลอร์ในการฟื้นฟูการจ้างแรงงานที่เต็ม ภายหลังจากความพินาศของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ซึ่งประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่ผ่านทางการรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารและนโยบายที่สนับสนุนให้สตรีอยู่บ้านและเลี้ยงดูบุตร และโครงการเสริมสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์อย่างเร่งรัด และการขับไล่ชาวยิวออกจากแรงงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่องานของพวกเขาได้ถูกส่งไปให้กับคนที่ไม่ใช่ยิว), และนโยบายการต่างประเทศโดยไม่เสียเลือดเนื้อของเขาได้ประสบความสำเร็จ เช่น การยึดครองไรน์ลันท์กลับคืนในปี ค.ศ. 1936 และการผนวกดินแดนออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1938 ทำให้เขาได้รับเสียงโห่ร้องด้วยความชื่นชมจากทั่วโลก[36]

ในช่วงเวลานี้ ฝ่ายสังคมประชาธิปไตยและฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้จัดการดูแลเครือข่ายใต้ดิน แม้ว่ามรดกของความขัดแย้งในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1933 ระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถร่วมมือกันได้ เกสตาโปมักจะเข้าแทรกซึมภายในเครื่อข่ายนี้และอัตราของการเข้าจับกุมและประหารชีวิตแก่นักเคลื่อนไหวทั้งฝ่ายสังคมประชาธิปไตยและฝ่ายคอมมิวนิสตนั้นสูง แต่เครือข่ายยังคงสามารถรับสมาชิกใหม่จากชนชั้นแรงงานจากเขตอุตสาหกรรม ที่ไม่พอใจกับกฏระเบียบแรงงานที่เข้มงวดซึ่งถูกกำหนดโดยระบอบการปกครองในช่วงการแข่งขันเสริมสร้างอาวุธ ผู้นำฝ่ายสัมคมประชาธิปไตยที่ถูกเนรเทศในกรุงปรากได้ยอมรับและเผยแพร่รายงานเหตุการณ์ที่ถูกต้องภายในเยอรมนี แต่นอกเหนือไปจากการคงไว้ซึ่งการดำรงอยู่และก่อให้เกิดความไม่สงบสุขในเขตอุตสาหกรรม บางครั้งส่งผลก่อให้เกิดการประท้วงในช่วงสั้น ๆ เครือข่ายเหล่าได้ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย[37]

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีรากฐานสำคัญในการต่อต้านระบอบการปกครองของฮิตเลอร์ แม้ว่าพรรคนาซีจะเข้าควบคุมรัฐเยอรมัน แต่ก็ไม่ได้ทำลายและสร้างเครื่องมือของรัฐขึ้นมาใหม่ในแบบที่ระบอบการปกครองของพวกบอลเชวิคเคยทำในสหภาพโซเวียต สถาบันต่าง ๆ เช่น สำนักงานการต่างประเทศ หน่วยข่าวกรอง และเหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือ กองทัพบก ที่ยังคงรักษาความเป็นอิสระไว้ได้บางส่วน ในขณะที่ได้สวามิภักดิ์อย่างออกนอกหน้าต่อระบอบการปกครองใหม่ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1934 พลเอกอาวุโส ลูทวิช เบ็ค เสนาธิการกองทัพบก ได้รับข้อเสนอให้ลาออกจากตำแหน่ง ถ้าหากมีการเตรียมการเพื่อทำสงครามกับเชโกสโลวาเกีย[38] ความเป็นอิสระของกองทัพบกได้ถูกกัดกร่อนในปี ค.ศ. 1938, เมื่อทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม พลเอก แวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค และผู้นำกองทัพบก พลเอก แวร์เนอร์ ฟ็อน ฟริทช์ ได้ถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่เครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่ไม่เป็นทางการได้วิพากษ์วิจารณ์ระบอบการปกครองของนาซียังคงมีอยู่[39]

ในปี ค.ศ. 1936, ต้องขอบคุณแก่ผู้ให้ข้อมูลว่า เกสตาโปได้บุกเข้าโจมตีกลุ่มสหการอนาธิปไตยทั้งหมดทั่วทั้งเยอรมนี ส่งผลทำให้มีการจับกุม 89 คน ส่วนใหญ่ลงเอยด้วยการถูกคุมขังหรือถูกสังหารโดยระบอบการปกครอง กลุ่มต่าง ๆ ได้สนับสนุนให้มีการนัดหยุดงาน ตีพิมพ์และแจกจ่ายใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านนาซีและรับคนเพื่อต่อสู้กับพันธมิตรลัทธิฟาสซิสต์ของนาซี ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน[40]

ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับกองกำลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมโดยซึ่งฮิตเลอร์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1933 ฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท ยังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งจนถึงปี ค.ศ. 1938 ในช่วงเวลาที่การควบคุมของน็อยราท สำนักงานการต่างประเทศกับเครือข่ายนักการทูตและการเข้าถึงหน่วยสืบ กลายเป็นที่พักของแวดวงของฝ่ายต่อต้าน ภายใต้อุปถัมภ์อย่างรอบคอบของปลัดกระทรวงรัฐ Ernst von Weizsäcker[41] ผู้มีชื่อเสียงในแวดวงนี้ ได้แก่ เอกอัครราชฑูตประจำกรุงโรม Ulrich von Hassell เอกอัครราชฑูตประจำกรุงมอสโก Friedrich Graf von der Schulenburg และเจ้าหน้าที่ Adam von Trott zu Solz, Erich Kordt และ Hans Bernd von Haeften แวดวงเหล่านี้รอดตัวมาได้ แม้ว่านาซีผู้กระตือรือร้นอย่าง โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ จะรับช่วงต่อตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากน็อยราทก็ตาม[42]

ศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดของฝ่ายต่อต้านต่อระบอบการปกครองภายในเครื่องมือรัฐอยู่ที่หน่วยข่าวกรอง ซึ่งปฏิบัติการที่ถูกปกปิดได้เสนอความครอบคลุมที่ดีเยี่ยมสำหรับองค์กรทางการเมือง บุคคลสำคัญของที่นี่คือ พันเอก ฮันส์ โอสเทอร์ หัวหน้าสำนักงานข่างกรองทางทหาร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 และเป็นฝ่ายต่อต้านนาซี ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1934 เขาได้รับการปกป้องโดยหัวหน้าหน่วยอัพแวร์ พลเรือเอก วิลเฮ็ล์ม คานาริส[43] โอสเทอร์ได้จัดตั้งเครือข่ายลับที่มีศักยภาพของฝ่ายต่อต้านในกองทัพและหน่วยข่าวกรอง เขาได้พันธมิตรรุ่นแรกอย่าง Hans Bernd Gisevius เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงมหาดไทย ฮยัลมาร์ ชัคท์ ผู้ว่าการแห่งธนาคารไรช์ ยังได้ติดต่อกับฝ่ายต่อต้านนี้[44]

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่กลุ่มเหล่านี้ต้องเผชิญหน้าคือ รูปแบบการต่อต้านต่อฮิตเลอร์ที่สามารถเผชิญหน้ากับชัยชนะอย่างต่อเนื่องของระบอบการปกครอง พวกเขาได้ตระหนักดีว่าอาจจะมีความเป็นไปไม่ได้ที่จะแสดงการต่อต้านทางการเมืองอย่างเปิดเผย สิ่งนี้ไม่ได้เป็นไปตามที่ระบุเอาไว้ในบางครั้ง เนื่องจากเครื่องมือการกดขี่ข่มเหงของระบอบการปกครองได้แพร่หลายอย่างกว้างขวางจนการประท้วงในที่สาธารณะแทบจะเป็นไปไม่ได้—ดังตัวอย่างที่ได้แสดงให้เห็นคือ เมื่อชาวคาทอลิกได้ประท้วงต่อการถอนไม้กางเขนออกจากโรงเรียนโอลเดนแบร์กในปี ค.ศ. 1936 และระบอบการปกครองได้สนับสนุน แต่เป็นเพราะว่า ฮิตเลอร์ได้รับแรงสนับสนุนอย่างมากในหมู่ชาวเยอรมัน ในขณะที่การเคลื่อนไหวต่อต้านในประเทศที่ถูกยึดครองสามารถถูกระตุ้นในความรู้สึกรักชาติต่อการยึดครองของเยอรมัน แต่ในเยอรมนี การต่อต้านนั้นก็มีความเสี่ยงต่อการถูกมองว่า ไม่รักชาติ โดยเฉพาะในช่วงสงคราม แม้แต่เจ้าหน้าที่ในกองทัพบกและเจ้าหน้าที่หลายคนที่เกลียดชังฮิตเลอร์ก็ยิ่งเกลียดชังเข้าไปอีกอย่างมากที่จะมีส่วนร่วมในการกระทำ "ล้มล้าง" หรือ "ทรยศ" ต่อรัฐบาล[45][46]

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1936 โอสเทอร์และ Gisevius ได้ลงความเห็นว่าระบอบการปกครองที่ถูกครอบงำโดยชายคนเดียวอย่างสิ้นเชิงสามารถถูกทำลายได้โดยการกำจัดชายคนนั้น - ไม่ว่าจะทำการลอบสังหารฮิตเลอร์หรือก่อรัฐประหารต่อเขาโดยกองทัพบก อย่างไรก็ตาม เป็นเวลายาวนานก่อนที่ชาวเยอรมันจำนวนมากจะยอมรับมุมมองนี้ หลายคนได้ยึดติดกับความเชื่อที่ว่า ฮิตเลอร์อาจถูกโน้มน้าวให้ควบคุมระบอบการปกครองของเขาเองหรือคนอื่น ๆ ที่มีฐานะพอควรกว่าที่สามารถเข้ามาแทนที่เขาได้ คนอื่นได้แย้งว่า ฮิตเลอร์ไม่ควรตำหนิเรื่องอำนาจที่มากเกินไปของระบอบการปกครองและต้องกำจัดไฮน์ริช ฮิมเลอร์ และลดอำนาจของหน่วยเอ็สเอ็สเป็นสิ่งจำเป็น ฝ่ายต่อต้านบางคนเป็นชาวคริสเตียนผู้ศรัทธาที่ไม่เห็นด้วยกับการลอบสังหารตามหลักการ คนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้าหน้าที่ในกองทัพบก ที่มีความรู้สึกผูกพันกับคำสัตย์ปฏิญาณส่วนบุคคลของพวกเขาที่มีต่อฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1934[47]

ฝ่ายต่อต้านยังถูกขัดขวางด้วยข้อตกลงที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของพวกเขา นอกเหนือจากความต้องการที่จะปลดฮิตเลอร์ออกจากอำนาจ ฝ่ายต่อต้านบางคนเป็นพวกเสรีนิยมที่ต่อต้านอุดมการณ์ของระบอบนาซีอย่างสิ้นเชิงและต้องการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กองทัพบกส่วนใหญ่และข้าราชการพลเรือนหลายคนเป็นพวกฝ่ายอนุรักษ์นิยมและชาตินิยม และหลายคนสนับสนุนนโยบายของฮิตเลอร์ในช่วงแรก—คาร์ล เกอร์เดอเลอร์ นายกเทศมนตรีเมืองไลป์ซิกเป็นตัวอย่างที่ดี บางคนที่นิยมจะฟื้นฟูราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ในขณะที่คนอื่น ๆ นิยมระบอบเผด็จการ แต่ไม่ใช่ระบอบนาซี บางคนไม่เห็นด้วยกับความมุ่งมั่นที่จะนำพาเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งใหม่ เนื่องจากความแตกต่างหลายอย่างของพวกเขา ฝ่ายต่อต้านจึงไม่สามารถจัดตั้งขบวนการที่เป็นเอกภาพหรือส่งข้อความที่สอดคล้องไปยังพันธมิตรที่มีศักยภาพจากภายนอกเยอรมนี[48]

บทบาทของคริสตจักร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Klemperer, Klemens von (1992). German Resistance Against Hitler: The Search for Allies Abroad 1938–1945. Oxford University Press. pp. 4–5. ISBN 978-0191606793.
  2. Klemperer, Klemens von (1992). German Resistance Against Hitler: The Search for Allies Abroad 1938–1945. Oxford University Press. pp. 4–5. ISBN 978-0191606793.
  3. Peter Hoffmann "The History of the German Resistance, 1933–1945 "p. xiii
  4. Mommsen, Hans "German Society and the Resistance Against Hitler" pp. 255–73 from The Third Reich The Essential Readings edited by Christian Leitz, Blackwell: London, 1999 pp. 259–62.
  5. Maciejewska, Beata (5 June 2007), "Hołd dla polskich patriotów z Breslau", Gazeta Wroclaw, สืบค้นเมื่อ 14 July 2010
  6. Anton Gill; An Honourable Defeat; A History of the German Resistance to Hitler; Heinemann; London; 1994; p. 2
  7. Anton Gill; An Honourable Defeat; A History of the German Resistance to Hitler; Heinemann; London; 1994; p. 4
  8. "Nazi persecution of homosexuals". United States Holocaust Museum (ภาษาอังกฤษ). 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-04.
  9. http://www.ushmm.org/wlc/en/article.php?ModuleId=10005420
  10. Joachim Fest; Plotting Hitlers Death: The German Resistance to Hitler 1933–45; Weidenfeld & Nicolson 1996 p. 309
  11. "A-Infos (en) Britain, Organise! #65 – The FAUD Undergound in the Rhineland anarchist resistance to nazism". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01.
  12. Theodore S. Hamerow; On the Road to the Wolf's Lair – German Resistance to Hitler; Belknap Press of Harvard University Press; 1997; ISBN 0674636805; p. 133
  13. Theodore S. Hamerow; On the Road to the Wolf's Lair—German Resistance to Hitler; Belknap Press of Harvard University Press; 1997; ISBN 0674636805; pp. 288–89
  14. Graml, Mommsen, Reichhardt & Wolf; The German Resistance to Hitler; B. T. Batsford Ltd; London; 1970; p. 201
  15. Timothy Snyder "The Red Prince: The Secret Lives of a Habsburg Archduke" (2008).
  16. James Longo "Hitler and the Habsburgs: The Fuhrer's Vendetta Against the Austrian Royals" (2018).
  17. Bob Carruthers "Hitler's Violent Youth: How Trench Warfare and Street Fighting Moulded Hitler" (2015).
  18. On Habsburg and the diversity of religions: Pieter M. Judson "The Habsburg Empire. A New History" (Harvard 2016).
  19. Elisabeth Boeckl-Klamper, Thomas Mang, Wolfgang Neugebauer: Gestapo-Leitstelle Wien 1938–1945. Vienna 2018, ISBN 978-3902494832, pp. 299–305.
  20. Hans Schafranek: Widerstand und Verrat: Gestapospitzel im antifaschistischen Untergrund. Vienna 2017, ISBN 978-3707606225, pp. 161–248.
  21. Fritz Molden: Die Feuer in der Nacht. Opfer und Sinn des österreichischen Widerstandes 1938–1945. Vienna 1988, p. 122.
  22. Peter Broucek "Die österreichische Identität im Widerstand 1938–1945" (2008), p. 163.
  23. Hansjakob Stehle "Die Spione aus dem Pfarrhaus (German: The spy from the rectory)" In: Die Zeit, 5 January 1996.
  24. Vienna – Volksgerichtshof GZ 5H 18/44 u. 8 J 203/43.
  25. Bailer, Maderthaner, Scholz „Die Vollstreckung verlief ohne Besonderheiten“ (2013), p. 90.
  26. Heinz Arnberger, Winfried R. Garscha, Rudolf G. Ardelt, Christa Mitterrutzner "Anschluß 1938", Dokumentationsarchiv des Österreichischen Widerstandes, Vienna 1988.
  27. Peter Broucek " Militärischer Widerstand: Studien zur österreichischen Staatsgesinnung und NS-Abwehr." Vienna 2008, ISBN 320577728X, p. 414.
  28. Stephan Baier, Eva Demmerle "Otto von Habsburg. Die Biografie." Vienna 2007, ISBN 978-3850024860.
  29. Documentation by Austrian-TV ORF from the “People and Powers” series. Broadcast on ORF 2 on July 4, 2011 at 9:10 p.m.
  30. Archduke Otto von Habsburg, The Telegraph 4 July 2011.
  31. Scally, Derek "Death of former 'kaiser in exile' and last heir to Austro-Hungarian throne". The Irish Times. 5 July 2011.
  32. Martin Gilbert, The Righteous: The Unsung Heroes of the Holocaust, 181
  33. Janowitz, Morris (1 January 1946). "German Reactions to Nazi Atrocities". American Journal of Sociology. 52 (2): 141–46. doi:10.1086/219961. JSTOR 2770938. PMID 20994277. S2CID 44356394.
  34. Wolf, Hubert (2010). Pope and Devil: The Vatican's Archives and the Third Reich (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. pp. 81–223. ISBN 978-0674050815.
  35. Shirer, William L (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon and Schuster. ISBN 978-0671728687.
  36. Shirer, William L (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon and Schuster. ISBN 978-0671728687.
  37. Cox, John M. (2009). Circles of Resistance: Jewish, Leftist, and Youth Dissidence in Nazi Germany (ภาษาอังกฤษ). Peter Lang. pp. 33–36. ISBN 978-1433105579.
  38. History of the German Resistance, 1933–1945, Peter Hoffman, p. 38
  39. Shirer, William L (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon and Schuster. ISBN 978-0671728687.
  40. "A-Infos (en) Britain, Organise! #65 – The FAUD Undergound in the Rhineland anarchist resistance to nazism". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01.
  41. 1902–1975., Wheeler-Bennett, John Wheeler, Sir (2005). The nemesis of power : the German Army in politics, 1918–1945. Overy, R. J. (2nd ed.). New York: Palgrave Macmillan. ISBN 978-1403918123. OCLC 52878765.{{cite book}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  42. Michael, Bloch (1992). Ribbentrop (1st American ed.). New York: Crown Publishers. p. 195. ISBN 978-0517593103. OCLC 27068729.
  43. Aspects of the Third Reich. Koch, H. W. (Hannsjoachim Wolfgang). London: Macmillan. 1985. ISBN 978-0333352724. OCLC 15163178.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  44. Ann, Tusa; Tusa, John (1983). The Nuremberg trial. London: Macmillan. ISBN 978-0333274637. OCLC 59060676.
  45. Balfour, Michael (2013-06-20). Withstanding Hitler (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1136088681.
  46. Kershaw, Ian The Nazi Dictatorship Problems and Perspectives of Interpretation, London: Arnold Press, 2000 pp. 183–84.
  47. Balfour, Michael (2013-06-20). Withstanding Hitler (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1136088681.
  48. Shirer, William L (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon and Schuster. ISBN 978-0671728687.