ข้ามไปเนื้อหา

โวก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การตื่นรู้)
Refer to caption
อดีต ส.ส. สหรัฐฯ มาร์เซีย ฟัดจ์ ถือเสื้อยืดที่มีข้อความว่า "Stay Woke: Vote" ในปี 2018

โวก (อังกฤษ: woke) หรือในภาษาไทยมีการแปลว่า การตื่นตัว, การตื่นรู้ เป็นคำพ้องความหมายกับคำว่า awake ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันทั่วไป ในภาษาอังกฤษท้องถิ่นอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน มีการใช้คำนี้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา เพื่ออ้างถึงการตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน โดยมักจะใช้ในรูปแบบ stay woke

นับจากช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา มีการนำมาใช้เพื่ออ้างถึงการตระหนักรู้ในวงกว้างมากขึ้นเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น ความอยุติธรรมทางเชื้อชาติ การกีดกันทางเพศ และการปฏิเสธสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ คำว่าโวก ยังใช้ในแนวคิดบางอย่างของอเมริกันฝ่ายซ้าย ที่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ทางการเมืองและความยุติธรรมทางสังคม เช่น เอกสิทธิ์คนขาวและการชดเชยให้กับการค้าทาสในสหรัฐอเมริกา[1]

มีการเอ่ยถึงวลี "stay woke" ขึ้นในเพลงที่บันทึกเสียงตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ของลีด เบลลีและหลังปี 2000 กับเพลงของเอรีกาห์ บาดู คำว่า "woke" ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงทศวรรษปี 2010 เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มเชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่น ๆ นอกเหนือไปจากเชื้อชาติ เช่น เพศ และอัตลักษณ์ที่ถูกมองว่าถูกกีดกัน มากขึ้น ในระหว่างการประท้วงที่เฟอร์กูสันในปี 2014 วลีดังกล่าวได้รับความนิยมจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวแบล็กไลฟส์แมตเทอร์ (BLM) ที่ต้องการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการยิงชาวแอฟริกันอเมริกันโดยตำรวจ หลังจากที่คำนี้ถูกใช้ในสังคมผู้เล่นทวิตเตอร์ผิวสีดำ คนผิวขาวก็ได้ใช้ คำว่า wake up กันมากขึ้น โดยพวกเขามักใช้คำนี้เพื่อแสดงการสนับสนุน BLM คำนี้ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นวัยมิลเลนเนียลและคนรุ่นวัยเครือข่ายสื่อสาร เมื่อมีการใช้คำนี้แพร่หลายไปทั่วโลก คำว่า awake จึงมีการเพิ่มเข้าไปใน พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ในปี 2017

ภายในปี 2019 คำนี้ใช้ในเชิงเสียดสี เป็นคำที่ดูถูกเหยียดหยามในหมู่ฝ่ายขวาและกลุ่มสายกลาง บางกลุ่มในประเทศตะวันตกที่โจมตีกลุ่มฝ่ายซ้ายและกลุ่มก้าวหน้าต่าง ๆ คำนี้ใช้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์การกระทำว่าทำแบบผิวเผินหรือไม่จริงใจ[2] ในเวลาต่อมา คำศัพท์ต่าง ๆ เช่น การล้างการตื่นรู้ (woke-washing) และ ทุนนิยมตื่นรู้ (woke capitalism) ได้เกิดขึ้นเพื่อวิพากษ์วิจารณ์องค์กรที่โฆษณาว่ามุ่งมั่นเพื่อความยุติธรรมทางสังคมเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "การเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออก" (performative activism)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mirzaei, Abas (September 8, 2019). "Where 'woke' came from and why marketers should think twice before jumping on the social activism bandwagon". The Conversation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2023. สืบค้นเมื่อ April 8, 2021.
  2. Sobande, Francesca; Kanai, Akane; Zeng, Natasha (2022). "The hypervisibility and discourses of 'wokeness' in digital culture". Media, Culture & Society (ภาษาอังกฤษ). 44 (8): 1576–1587. doi:10.1177/01634437221117490. ISSN 0163-4437.