การตีโฉบฉวยที่คาบานาตวน
การตีโฉบฉวยที่คาบานาตวน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง, เขตสงครามแปซิฟิก | |||||||
ภาพถ่ายของเหล่าเชลยศึกกำลังเฉลิมฉลองที่เมืองคาบานาตวน เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1945 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ญี่ปุ่น | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เฮนรี มูสซี อาร์เทอร์ ดี. ซิมมอนส์ Juan Pajota Eduardo Joson | โทโมยูกิ ยามาชิตะ | ||||||
กำลัง | |||||||
133 U.S. soldiers from the 6th Ranger Battalion and Alamo Scouts 250–280 Filipino guerrillas |
est. 220 Japanese guards and soldiers est. 1,000 Japanese near the camp est.5,000~8,000 Japanese at Cabanatuan City | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
U.S. Soldiers 2 killed 4 wounded 2 prisoners died แม่แบบ:Country data Philippine Commonwealth Filipino Guerillas 9 wounded in action |
Empire of Japan: 530–1,000+ killed 4 tanks out of action |
การตีโฉบฉวยที่คาบานาตวน (Filipino: Pagsalakay sa Cabanatuan), ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การตีโฉบฉวยครั้งใหญ่ (Filipino: Ang Dakilang Pagsalakay), เป็นการช่วยเหลือแก่เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและพลเรือนจากค่ายของญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้กับเมืองคาบานาตวนในประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดย หน่วยจู่โจมกองทัพบกสหรัฐ หรือหน่วยเรนเจอร์ ลูกเสือแอละโม และ กองโจรชาวฟิลิปปินส์ซึ่งปลดปล่อยได้มากกว่า 500 คนจากค่ายเชลยศึก
ภายหลังการยอมจำนนของทหารอเมริกันจำนวนกว่าหมื่นนายในช่วงยุทธการที่บาตาอัน หลายคนได้ถูกส่งไปยังค่ายเรือนจำคาบานาตวนภายหลังจากการเดินขบวนแห่งความตายที่บาตาอัน ญี่ปุ่นได้โยกย้ายเชลยศึกส่วนใหญ่ไปยังพื้นที่อื่นๆ เหลือเพียงแค่จำนวน 500 คนที่เป็นทั้งเชลยศึกจากอเมริกันและฝ่ายสัมพันธมิตรและพลเรือนภายในที่คุมขัง ด้วยการที่ประสบสภาวการณ์ที่โหดร้าย รวมทั้งโรคภัย การทรมาน และความอดอยากหิวโหย พวกเชลยศึกต่างเกรงกลัวว่าพวกเขาจะถูกประหารโดยพวกที่จับกุมก่อนที่การมาถึงของนายพล ดักลาส แมกอาเธอร์ และกองกำลังอเมริกันของเขาที่เดินทางกลับมายังเกาะลูซอน ในปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 แผนดังกล่าวได้ริเริ่มขึ้นโดยผู้นำแห่งกองทัพที่หกและกองโจรฟิลิปปินส์เพื่อส่งกองกำลังขนาดเล็กไปช่วยเหลือแก่เชลยศึก กลุ่มของหน่วยเรนเจอร์กว่า 100 นายและกองโจรฟิลิปปินส์ 200 คนได้เดินทางจากระยะทาง 30 ไมล์(48 กิโลเมตร) ทางด้านหลังของแนวพิ้นที่ของญี่ปุ่นเพื่อไปยังค่ายแห่งนั้น
ในช่วงการตีโฉบฉวยตอนค่ำมืด ภายใต้ความมืดที่ปกคลุมและถูกเบี่ยงเบนความสนใจโดยเครื่องขับไล่ตอนกลางคืน พี-61 แบล็กวิโดว์ กลุ่มกองกำลังได้สร้างประหลาดใจแก่กองกำลังญี่ปุ่นทั้งภายในและบริเวณรอบๆของค่าย ทหารญี่ปุ่นจำนวนร้อยนายล้วนถูกฆ่าตายจากการโจมตีที่ประสานงานกันภายในเวลา 30 นาที ฝ่ายอเมริกันได้รับความสูญเสียที่เล็กน้อย หน่วยเรนเจอร์ ลูกเสือ และกองโจรได้ทำการอพยพพาเหล่าเชลยศึกกลับไปยังแนวพื้นที่ของอเมริกัน การช่วยเหลือครั้งนี้ได้ทำให้เหล่าเชลยสามารถบอกเล่าถึงการเดินขบวนแห่งความตายและการสังหารโหดในค่ายกักกัน ซึ่งได้กระตุ้นในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเพื่อทำสงครามกับญี่ปุ่น หน่วยทหารที่ให้ความช่วยเหลือได้รับการยกย่องจากแมกอาเธอร์และยังได้รับการยอมรับจากประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ อนุสรณ์สถานในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ที่เป็นอดีตค่ายและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นของการตีโฉบฉวยที่ถูกบรรยายไว้ในภาพยนตร์หลายเรื่อง