ข้ามไปเนื้อหา

การดูหมิ่นอัลกุรอาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราสมุส พาลูดันเผาอัลกุรอานฉบับแปล

"การดูหมิ่นอัลกุรอาน" (อังกฤษ: Quran desecration) เป็นการปฏิบัติต่ออัลกุรอานในรูปแบบที่อาจถือเป็นการดูหมิ่น

ในกฎหมายอิสลาม ผู้ศรัทธาต้องไม่ทำลายอัลกุรอานและมีข้อบังคับให้ทำวุฎูอ์ (ทำน้ำละหมาด) ก่อนที่จะจับอัลกุรอาน[1] ในทางกลับกัน การจงใจทำให้สกปรกหรือทำลายอัลกุรอานนั้น ชาวมุสลิมจะถือว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนา จนถึงขั้นเป็นจุดถกเถียงกันว่าควรให้ผู้มิใช่มุสลิมปฏิบัติตามกฎหมายอิสลามหรือไม่[2] และหัวข้อละเอียดอ่อนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าควรจัดการอย่างไรเมื่อมุสลิมเรียกร้องให้ผู้ไม่ศรัทธาปฏิบัติตามหลักคำสอนของอัลกุรอาน[3][4][5]

การกำจัดสำเนาอัลกุรอานเป็นสิ่งที่น่ากังวลสำหรับชาวมุสลิม เพราะในกุรอานไม่ได้บอกว่าให้กำจัดกุรอานที่เสียหายอย่างไร โดยแต่ละพื้นที่มีวิธีกำจัดอัลกุรอานที่เสียไม่เหมือนกัน ไมเคิล คุก นักประวัติศาสตร์อิสลาม ได้กล่าวว่ากุรอานควรเก็บในถุงผ้าแล้วฝังไว้ในที่ที่ไม่ถูกเหยียบย่ำ หรือที่ที่ "ปลอดภัย" จากสิ่งสกปรก[1] การเผาเมื่อกระทำอย่างมีเกียรติก็ถือว่ายอมรับได้เช่นกัน:[6] เช่น ในประเทศซาอุดีอาระเบียมีการทำลายอัลกุรอานที่ไม่ได้มาตรฐานของรัฐด้วยการเผา เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้หน้ากระดาษเปื้อน[7][8]

การดูหมิ่นสำเนาคัมภีร์อัลกุรอานโดยเจตนาจะส่งผลให้ต้องโทษจำคุกในบางประเทศ และอาจถึงขั้นประหารชีวิตในอัฟกานิสถาน, อิหร่าน, ซาอุดีอาระเบีย และโซมาเลีย หรือถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิตในปากีสถาน ตามกฎหมายข้อที่ 295-B ในประมวลกฎหมายอาญาของปากีสถาน[9][10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

  [s] - ข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษส่วนใหญ่มาจาก: [9][10][11]

  1. 1.0 1.1 Myrvold, Kristina (2010). The Death of Sacred Texts: Ritual Disposal and Renovation of Texts in World. Farnham Surrey England: Ashgate Publishing. pp. 31–57. ISBN 9780754669180.
  2. Hansen, Lene. "The politics of securitization and the Muhammad cartoon crisis: A post-structuralist perspective." Security Dialogue 42.4-5 (2011): 357-369.
  3. Blue Holmes, Catherine. "Quran Burning and Religious Hatred: A Comparison of American International, and European Approaches to Freedom of Speech." Wash. U. Global Stud. L. Rev. 11 (2012): 459.
  4. Al-Rawi, Ahmed. "The Online Response to the Quran Burning Incidents." Political Islam and Global Media: The boundaries of religious identity (2016): 105-21.
  5. Hansen, Lene. "Theorizing the image for security studies: Visual securitization and the Muhammad cartoon crisis." European journal of international relations 17.1 (2011): 51-74.
  6. "Disposing of the sheets of Quran". ourdialogue.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2006. Reprint from Our Dialogue Q&A series, Adil Salahi, Arab News, Jeddah
  7. Dissing the Koran, The Weekly Standard, May 30, 2005, retrieved Feb 7 2012
  8. "Back". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1999-10-09. สืบค้นเมื่อ 2005-05-25.
  9. 9.0 9.1 "Newsweek says Koran desecration report is wrong", David Morgan, Reuters (Washington, DC), 15 May 2005.
  10. 10.0 10.1 "BBC NEWS | South Asia | Riots over US Koran 'desecration'", BBC.com, 11 May 2005, webpage: BBC-491.
  11. "Six Christians killed in Pakistan over Koran 'insult' ", Persecutionbd.org, August 2009, webpage: Persec-insult เก็บถาวร 2012-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (compute-bound).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]