การดับเพลิง
การดับเพลิง เป็นการกระทำของความพยายามที่จะป้องกันการแพร่กระจายและดับไฟที่ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญในอาคาร, ยานพาหนะ, ป่าไม้ ฯลฯ โดยนักผจญเพลิงระงับไฟเพื่อปกป้องชีวิตทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม[1]
นักผจญเพลิงมักได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคในระดับสูง[1][2] เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการดับเพลิงทางโครงสร้างและการดับเพลิงป่า การฝึกอบรมเฉพาะด้านประกอบด้วยการดับเพลิงด้วยเครื่องบิน, การดับเพลิงบนเรือ, การดับเพลิงทางอากาศ, การดับเพลิงทางทะเล และการดับเพลิงระยะประชิด
หนึ่งในอันตรายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดับเพลิงคือสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษที่สร้างขึ้นโดยวัสดุที่ติดไฟได้ ความเสี่ยงที่สำคัญสี่ประการ ได้แก่ ควัน, การขาดออกซิเจน, อุณหภูมิที่สูงขึ้น และบรรยากาศที่เป็นพิษ[3] อันตรายเพิ่มเติม ได้แก่ การล้มและการวิบัติโครงสร้างที่สามารถทำให้ปัญหารุนแรงขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงเหล่านี้ นักผจญเพลิงจึงแบกเครื่องช่วยหายใจชนิดถังติดตัว
ขั้นตอนแรกในปฏิบัติการดับเพลิงคือการสำรวจเพื่อค้นหาต้นกำเนิดของไฟและเพื่อระบุความเสี่ยงเฉพาะ
ไฟสามารถดับได้ด้วยน้ำ, การกำจัดน้ำมันเชื้อเพลิง หรือกำจัดสารที่ทำให้สารอื่นรวมตัวกับออกซิเจน หรือการยับยั้งเปลวไฟทางเคมี
ประวัติ
[แก้]นักดับเพลิงที่รู้จักแรกสุดอยู่ในเมืองโรม โดยในคริสตศักราช 60 จักรพรรดิเนโรได้ก่อตั้งเหล่าวีจิลส์ (Vigiles) เพื่อปกป้องกรุงโรมหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ที่ประกอบด้วยคนในปกครอง 7,000 คนพร้อมถังและขวานซึ่งทำหน้าที่ดับเพลิง รวมถึงทำหน้าที่เป็นตำรวจ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Firefighter". National Careers Service (UK). 13 September 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2016.
- ↑ "Recruitment « UK Fire Service Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2016. สืบค้นเมื่อ 30 November 2016.
- ↑ Safety, Government of Canada, Canadian Centre for Occupational Health and (2018-11-17). "Fire Fighter : OSH Answers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2016. สืบค้นเมื่อ 30 November 2016.
- ↑ International Fire Service Training Association. Fire Service Orientation and Indoctrination. Philadelphia: Board of Regents, 1984. Print.