การคำนวนหลังจดหมาย
การคำนวนหลังจดหมาย (อังกฤษ: back-of-the-envelope calculation) คือ การคำนวนคร่าว ๆ โดยปกติแล้วจะถูกจดลงบนเศษกระดาษที่มีอยู่เช่นข้างหลังของซองจดหมาย เป็นการคำนวนที่มากกว่าการเดาทว่าน้อยกว่าการคำนวนจริง ๆ หรือ การพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์ จุดเด่นของการคำนวนหลังจดหมายอยู่ที่การใช้สมมติฐานที่ไม่ซับซ้อน วลีอื่นที่คล้ายกันได้แก่ "หลังผ้าเช็ดปาก" ซึ่งถูกใช้ในวงการธุรกิจเพื่อกล่าวถึงการร่างความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือกิจการออกมาอย่างรวดเร็ว[1] ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ วลีที่คล้ายกันคือ "หลังกล่องบุหรี่"
ความเป็นมา
[แก้]ในวงการวิทยาศาสตร์ การคำนวนหลังจดหมาย มักถูกโยงเข้ากับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อว่า เอนรีโก แฟร์มี[2] ซึ่งเป็นที่รู้จักในการนำวิธีการประมาณสมการที่มีความซับซ้อนอยู่ภายในอันดับของขนาดเดียวโดยใช้การคำนวนง่าย ๆ เขาได้พัฒนาการคำนวนแบบง่ายที่ถูกเรียกว่า "คำถามแฟร์มี" หรือ "การคำนวนหลังจดหมาย" และใช้ใช้เพื่อตอบข้อปัญหาแฟร์มี[3][4]
แฟร์มีเป็นที่รู้จักในการหาคำตอบที่รวดเร็วและแม่นยำจากคำถามที่มักทำให้คนอื่นติดขัด เหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกในรัฐนิวเม็กซิโกเมื่วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ขณะที่คลื่นแรงระเบิดมาถึงเขา แฟร์มีปล่อยเศษกระดาษลงพื้น เขาสามารถเทียบตำแหน่งที่วัดจากการกระเด็นของกระดาษกับตารางและประมาณแรงที่ได้รับได้ เขาประมาณแรงเท่ากับ 10 กิโลตันของทีเอ็นที ขณะที่ตัวเลขที่แท้จริงอยู่ที่ 18.6[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]- Buckingham pi theorem เทคนิคที่มักใช้กันในกลศาสตร์ของไหลเพื่อใช้ประมาณค่าอันดับของขนาด
- ข้อปัญหาแฟร์มี
- Guesstimate
- Scientific Wild-Ass Guess
- วิทยาการศึกษาสำนึก
- Order-of-magnitude analysis
- Rule of thumb
- Sanity testing
บันทึกและอ้างอิง
[แก้]- ↑ NetworkWorld.com: Ethernet, Compaq, Facebook and napkins
- ↑ Where Fermi stood.
- ↑ Back of the Envelope Calculations
- ↑ High School Mathematics at Work: Essays and Examples for the Education of All Students
- ↑ "Nuclear Weapons Journal, Los Alamos National Laboratory, Issue 2 2005" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-29. สืบค้นเมื่อ 2016-03-14.