ข้ามไปเนื้อหา

การควบรวมกิจการ ทรู-ดีแทค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การควบรวมกิจการระหว่างทรูคอร์ปอเรชั่นและดีแทค ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ของประเทศไทย ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการประกาศต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้บริษัทใหม่ที่รวมกันกลายเป็นเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดแซงหน้าเอไอเอสซึ่งเป็นผู้นำตลาดในปัจจุบันและลดจำนวนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในตลาดให้เหลือเพียงสองราย โดยได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มนักวิชาการและกลุ่มประชาสังคม โดยมองว่าข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคและผลประโยชน์สาธารณะ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้รับทราบการควบรวมกิจการดังกล่าวโดยมีเงื่อนไขบางประการเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนทางกฎหมายบางประการว่า กสทช. มีอำนาจในการอนุมัติการควบรวมกิจการดังกล่าวหรือไม่ และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าควรเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่[1] คำร้องได้ยื่นต่อศาลปกครองในเดือนพฤศจิกายน โดยสภาองค์กรของผู้บริโภคและเอไอเอส[2][3]

บริษัทซิทริน โกลบอลก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ทรู) และเทเลนอร์ (ดีแทค) บริษัทจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ด้วยทุนจดทะเบียน 100,000 บาท สำนักงานตั้งอยู่ที่ อาคารซีพี ทาวเวอร์ เลขที่ 313 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร[4][5]

บริษัทเริ่มปรากฏชื่อและบทบาทในฐานะผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของทรูและดีแทค ภายหลังการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคแล้ว บริษัทฯ จะซื้อหุ้นจากทรูในราคาหุ้นละ 5.09 บาท และจะซื้อหุ้นจากดีแทคในราคาหุ้นละ 47.76 บาท การควบรวมกิจการคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 ของบริษัททรู คอร์ปอเรชั่นที่ประชุมได้มีมติอนุมัติการควบรวมกิจการกับดีแทค เช่นเดียวกับทางดีแทค ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติการควบรวมกิจการกับทรู คอร์ปอเรชั่น[7][8] การควบรวมกิจการดังกล่าวได้รับการ "ยอมรับ" โดย กสทช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565[9] บริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการใหม่นี้ ยังคงใช้ชื่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใต้ชื่อหุ้นว่า TRUE เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "What lies ahead after NBTC decision to allow controversial True-Dtac merger?". Thai PBS World. 25 October 2022. สืบค้นเมื่อ 17 November 2022.
  2. "Court urged to halt True, Dtac merger". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 17 November 2022.
  3. Tortermvasana, Komsan (16 November 2022). "AWN petitions court to block True merger". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 November 2022.
  4. สำรวจ ‘ซิทริน โกลบอล’ บริษัทร่วมทุนระหว่าง ‘ซีพี’ และ ‘เทเลนอร์’ ผู้เตรียมทำคำเสนอซื้อหุ้น TRUE-DTAC พบเริ่มตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2564 Survey of 'Citrine Global', a joint venture company between 'CP' and 'Telenor', who is preparing to make a tender offer for TRUE-DTAC, found the company's establishment on 9 July 2021. (in Thai)
  5. บริษัท ซิทริน โกลบอล จำกัด Citrine Global Company Limited (in Thai)
  6. "DTAC และ TRUE แจ้งดำเนินการควบรวมต่อ" [DTAC and TRUE notify the merger will continue. (in Thai)]. Thanachart Securities. สืบค้นเมื่อ 2022-03-15.
  7. 'ผู้ถือหุ้นโอเค' อนุมัติควบรวมกิจการ 'ทรู-ดีแทค' 'Shareholders OK' approve the merger of 'True-DTAC' (in Thai)
  8. DTAC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ “ผู้ถือหุ้น” อนุมัติควบรวม TRUE DTAC notifies the Stock Exchange of Thailand "Shareholders" to approve the merger with TRUE (in Thai)
  9. Thai telecoms regulator allows $7.3bn True-DTAC merger
  10. Merged True-DTAC to be called True Corp