การลอบวางแผนโพพิช
การคบคิดพ็อพพิช (อังกฤษ: Popish Plot) (ค.ศ. 1678 - ค.ศ. 1681) เป็นข่าวลือที่ไม่มีมูลที่สร้างขึ้นโดยไททัส โอตส์ ที่เป็นผลที่ทำให้ประชาชนเกิดมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงไปทั่วในราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681[1] โอตส์อ้างว่ามีการคบคิดกันอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้นับถือโรมันคาทอลิก ที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ข่าวลือนี้ทำให้มีผู้ถูกจับและถูกประหารชีวิตไปอย่างน้อย 15 คน และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การออกร่างพระราชบัญญัติยกเว้น ในที่สุดข่าวลืออันซับซ้อนของโอตส์ก็เป็นที่เปิดเผยซึ่งทำให้ถูกจับในข้อหาการสร้างเรื่องเท็จ
เบื้องหลัง
[แก้]สาธารณชนผู้นับถือโปรเตสแตนต์เพิ่มความหวาดระแวงถึงอิทธิพลของกลุ่มโรมันคาทอลิกในอังกฤษเมื่อรัชทายาทของพระเจ้าชาร์ลส์--เจมส์ สจวต ดยุคแห่งยอร์ค--เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก นอกจากนั้นพระมเหสีของพระองค์--พระราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซา--ก็เป็นโรมันคาทอลิก พระราชนโยบายของพระองค์ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1670 ก็ทำให้ทรงมีความขัดแย้งกับรัฐสภาในปี ค.ศ. 1672 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงออกพระราชประกาศผ่อนปรนสิทธิของผู้เป็นโรมันคาทอลิกที่หยุดยั้งการลงโทษทางกฎหมายอาญาต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและผู้เป็นปฏิปักษ์ทางศาสนาทั้งหมด[2]
พระเจ้าชาร์ลส์ไม่มีพระประสงค์ที่จะหุ้นอำนาจกับรัฐสภาแต่ทรงต้องทรงพึ่งรัฐสภาทางการเงิน ทรงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสจะช่วยผ่อนคลายสถานะการณ์ทางการเงินของพระองค์ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทรงต้องพึ่งรัฐบาลอีก ขณะเดียวกันอำนาจของ องคมนตรีคาบาล (Cabal Ministry) ก็เริ่มเสื่อมลง ในขณะที่อำนาจของทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 หรือลอร์ดแดนบีย์ผู้ที่มาแทนทอมัส คลิฟฟอร์ด บารอนคลิฟฟอร์ดที่ 1 หนึ่งในกลุ่มองคมนตรีคาบาลเดิมก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมพระคลัง (Lord High Treasurer) ลอร์ดแดนบีย์พยายามถวายคำแนะนำให้พระเจ้าชาร์ลส์ลดนโยบายนิยมในฝรั่งเศสลงบ้าง[3]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1677 ก็มีการแจกใบปลิวที่ไม่ลงชื่อ (อาจจะเป็นแอนดรูว์ มาร์เวิร์ลล์) ไปทั่วลอนดอนเตือนว่าโรมวางแผนที่เปลี่ยนรัฐบาลที่ถูกกฎหมายของอังกฤษ [4]
แผนการคบคิด
[แก้]แผนการคบคิดถูกเปิดเผยด้วยวิธีที่ค่อนข้างแปลก โอตส์และอิสราเอล ทังก์เขียนเอกสารที่กล่าวโทษสถาบันโรมันคาธอลิกว่าสนับสนุนการปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 โดยใช้มือของนักบวชเยซูอิดในอังกฤษ นอกจากนั้นเอกสารยังได้ระบุนามนักบวชเยซูอิดร่วมร้อยคนที่เป็นผู้สนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนการปลงพระชนม์ แต่ไม่มีอะไรในเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าจริง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฮีลด์, เฮ็นเรียตตา (ค.ศ. 1992). บันทึกเหตุการณ์ของอังกฤษ. ฌาคส์ เลอกรองด์. p. หน้า 605. ISBN 0192116959.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ Fraser, pp.305–308 and Hutton, pp.284–285
- ↑ มาร์ค ไนท์, “ออสบอร์น ทอมัส ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 (ค.ศ. 1632–ค.ศ. 1712)”, พจนานุกรมชีวประวัติแห่งชาติ ฉบับออกซฟอร์ด, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด, กันยายน ค.ศ. 2004
- ↑ ฮีลด์, เฮ็นเรียตตา (ค.ศ. 1992). บันทึกเหตุการณ์ของอังกฤษ. ฌาคส์ เลอกรองด์. p. หน้า 603. ISBN 0192116959.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นาธาเนียล เรดดิง เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายนามนักบวชเยซูอิดแปดคนที่ถูกกล่าวหา เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ภาพ
[แก้]-
สายลับ วิลเลียม เบดโล (William Bedloe)
-
ไททัส โอตส์พบแผน
-
ผู้พิพากษา เอ็ดมันด์ เบอร์รีย์ กอดฟรีย์ (Edmund Berry Godfrey) และโอตส์
-
วิลเลียม บรุคส์ (William Brooks) เทศมนตรีแห่งดับลิน
-
บุญราศีทอมัส พิคเคอริง (Blessed Thomas Pickering), พระเบ็นนาดิคตินและเหยื่อของแผนพ็อพพิช
-
นาธาเนียล เรดดิง (Nathaniel Reading) ในขื่อคา
-
เอ็ดมันด์ โคลมัน (Edward Colman]] เหยื่อของแผนพ็อพพิช
-
การสังหารนักบวชเยซูอิดห้าคน]]