ข้ามไปเนื้อหา

การขโมยข้อมูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขโมยข้อมูล เป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยเกิดจากการที่ผู้ดูแลระบบและพนักงานออฟฟิศ ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ รวมไปถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์พกพาที่สามารถเก็บข้อมูลดิจิทัล เช่น ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ไอพอด และกล้องดิจิทัล โดยปกติแล้วพนักงานได้ใช้เวลาในการร่างสัญญา และข้อมูลของบริษัทที่เป็นความลับหรือมีลิขสิทธิ์ ดังนั้นเหล่าพนักงานอาจรู้สึกว่าพวกเขามีสิทธิ์บางส่วนต่อข้อมูลเหล่านั้น และอาจคัดลอก หรือ/และ ลบ บางส่วนของข้อมูลเหล่านั้นตอนออกจากบริษัท หรือแม้กระทั่งใช้ข้อมูลเหล่านั้นในทางผิดๆขณะถูกจ้าง บางครั้ง ลูกจ้างอาจเลือกที่จะใช้ความไว้วางใจในการเข้าถึงข้อมูลในทางที่ผิด และใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการเปิดโปงการประพฤติที่ไม่เหมาะสมของผู้ว่าจ้าง จากมุมมองของสังคมแล้ว การกระทำแบบวิสเซิลโบลว์เออร์นั้นอาจถูกมองในทางบวก[1] และยังถูกปกป้องโดยกฎหมายในบางเขตอำนาจศาลเช่นในสหรัฐอเมริกา

ในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ได้นำไฟร์วอลล์ และระบบการตรวจสอบผู้บุกรุก มาใช้ มีไม่กี่องค์กรที่ที่คำนึงถึงอันตรายจากลูกจ้างซึงคัดลอกข้อมูลที่เป็นทรัพย์สิน และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบริษัทอื่น ตัวอย่างที่พบได้โดยทั่วไปคือเมื่อพนักงานขายได้คัดลอกฐานข้อมูลการติดต่อของลูกค้าไว้เพื่อใช้ในอาชัพต่อไป ปกติแล้วนี่จะถือว่าเป็นการละเมิดสัญญาว่าจ้างอย่างชัดเจน 

เชลซี แมนนิง เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน และ Hervé Falciani การขโมยข้อมูลที่เป็นที่รู้จัก เป็นตัวอย่างของบุคคลที่อ้างตัวเองเป็นวิสเซิลโบลว์เออร์และทำการขโมยข้อมูล

คำว่าการขโมยข้อมูล จริงๆแล้วเป็นชื่อไม่เหมาะสม ด้วยความที่การขโมยข้อมูลนั้นไม่เหมือนกับการขโมยของโจร ตรงที่ข้อมูลที่ถูกขโมยนั้นเป็นการสร้างสำเนาโดยไม่ได้รับการอนุญาต และเจ้าของข้อมูลนั้นยังยังเข้าถึงข้อมูลได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Schneier, Bruce (10 June 2013). "Government Secrets and the Need for Whistle-blowers". Schneier on Security. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.