การขนส่งในประเทศฮังการี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
การขนส่งในประเทศฮังการี มีอยู่หลากหลายแบบ ประกอบด้วย ถนน, รถราง, รถไฟใต้ดิน, รถโทรลีย์บัส, รถไฟ, เครื่องบิน และ เรือล่องแม่น้ำ
ถนน
[แก้]ประเทศฮังการี มีถนนรวมกันความยาว 159,568 กิโลเมตร โดยที่ 70,050 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง (รวมทางด่วานความยาว 1,481 กิโลเมตร (ข้อมูลปี ค.ศ. 2016) และ 89,518 กิโลเมตร เป็นถนนไม่ลาดยาง
ถนนฮังการจัดรูปแบบตามด้านล่างนี้:
- Gyorsforgalmi út (ทางด่วน: โยร์ชโฟร์กอลมิ อูต) :
- Autópálya (ทางหลวง: เอาโตปายอ) : เลนถนน 2+2 และ เลนฉุกเฉิน 1+1, ไม่มีทางแยก เดินทางได้เร็วที่สุด จำกัดความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- Gyorsút (ถนนเร็ว: โยร์ชอูต) : 2+2 travel lanes, central reservation, few at-grade intersections, speed limit 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (68 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- Autóút (ถนนรถยนต์: เอาโตอูต) : 2+2, 2+1 or 1+1 travel lanes, central reservation, some at-grade intersections, speed limit 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (68 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- Elsődrendő főút (ถนนทางเอก: แอลเชอแร็นเดอ เฟออูต) (มีเลขถนนหนึ่งตัว เช่น 6)
- Másodrendű főút (ถนนทางโท: มาโชดิก เฟออูต) (มีเลขถนนสองตัว เช่น 57)
- Helyi út (ถนนท้องถิ่น: แฮยิ อูต) (มีเลขถนนสามตัวขึ้นไป เช่น 4519)
ทางด่วนและถนนรถยนต์
[แก้]ทางด่วน (autópálya: เอาโตปายอ) ในฮังการีมีอยู่ดังนี้:
M1 | M3 | M4 | M5 | M6 | M7 | M8 | M15 | M19 | M30 | M31 | M35 | M43 | M60
ทางรถยนต์ (autóút: เอาโต อูต) ในฮังกามีอยู่ดั้งนี้
M0 | M2 | M9 | M51 | M70 | M85 | M86
การเดินทางด้วยรถบัส
[แก้]การขนส่งรถประจำทางระหว่างเทศมลฑล มีบริษัทโวลัน (Volán) ให้บริการทั่วประเทศ โวลันคือบริษัทรถบัส 24 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1970 และตั้งชื่อตามภูมิภาคที่ให้บริการ โวลันให้บริการขนส่งท้องถิ่นในเมืองที่ไม่มีบริษัทขนส่งสาธารณะของตัวเอง (ทุกเมืองยกเว้นบูดาเปสต์, มิสโคลก์, เปช, กอโปชวาร์ และ แดแบร็ตแซน) และให้บริการรถบัสในเมืองที่บริษัทท้องถิ่นให้บริการรถรางและรถโทรลีย์บัสเท่านั้น (เมืองแซแก็ด) ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2015 บริษัท 24 แห่งได้รับการจัดตั้งเป็น บริษัทระดับภูมิภาค 7 แห่ง
ทางรถไฟ
[แก้]หมายเหตุ: ฮังการีและออสเตรียร่วมกันบริหารจัดการทางรถไฟมาตรฐานข้ามพรมแดนระหว่างเยอร์-โชโปรน-เอเบนเฟิร์ต (Győr–Sopron–Ebenfurt (GySEV/ROeEE)) ระยะทางประมาณ 101 กม. ในฮังการีและ 65 กม. ในออสเตรีย
ในบูดาเปสต์มีสถานีรถไฟ (Pályaudvar: ปายออุดวอร์) หลัก 3 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟตะวันออก (Keleti) สถานีรถไฟตะวันตก (Nyugati) และสถานีรถไฟใต้ (Déli) โดยมีสถานีนอกเมืองอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟแคแล็นเฟิลด์ (Kelenföld) จากสถานีรถไฟสามแห่ง สถานีรถไฟใต้มีความทันสมัยที่สุด แต่สถานีรถไฟตะวันออกและตะวันตก มีการตกแต่งและสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจกว่า
สถานีรถไฟที่สำคัญอื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ สถานีรถไฟเมืองโซลโน็ก (Szolnok) (จุดตัดรถไฟที่สำคัญที่สุดนอกบูดาเปสต์) สถานีรถไฟทิสซอ (Tiszai) ในเมืองมิชโกลซ์ (Miskolc) และสถานีรถไฟเปช (Pécs), สถานีรถไฟเจอร์ (Győr), สถานีรถไฟแดแบร็ตแซน (Debrecen), สถานีรถไฟแซแก็ด (Szeged) และ สถานีรถไฟเซแก็ชแฟเฮร์วาร์ (Székesfehérvár) โดยเมืองเดียวที่มีระบบรถไฟใต้ดินคือบูดาเปสต์ โดยในบูดาเปสต์ยังมีบริการรถไฟชานเมืองและรอบ ๆ เมือง ซึ่งดำเนินการภายใต้ชื่อ รถไฟเฮฟ (HÉV)
ระบบรถไฟ
[แก้]- สุทธิ 7,606 กิโลเมตร
- Standard gauge: 7,394 km 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) gauge (2,911 km electrified; 1,236 km double track)
- Broad gauge: 36 km 1,520 mm (4 ft 11 27⁄32 in) gauge
- Narrow gauge: 176 km 760 mm (2 ft 5 15⁄16 in) gauge (1998)
ระบบรถไฟระหว่างประเทศ
[แก้]- ใช้รางแบบเดียวกัน:
- ใช้รางคนละแบบ – 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) / 1,520 mm (4 ft 11 27⁄32 in)
- Ukraine (2 line)
สนามบิน
[แก้]ในฮังการีมีสนามบิน 43-45 แห่งรวมถึงสนามบินขนาดเล็กที่ไม่ได้ลาดยางด้วย โดยสนามบินนานาชาติ 5 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติลิสต์ แฟแร็นซ์ (Budapest-Liszt Ferenc), ท่าอากาศยานนานาชาติแดแบร็ตแซน (Debrecen Airport), ท่าอากาศยานเฮวีซ-บอลอโตน (Hévíz – Balaton International Airport) (ก่อนหน้านี้คือ ชาร์แมลเล็ค Sármellék หรือที่เรียกว่า FlyBalaton เนื่องจากอยู่ใกล้กับทะเลสาบบอลอโตน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของฮังการี) ท่าอากาศยานนานาชาติเยอร์-เปร์ (Győr-Pér และ ท่าอากาศยานนานาชาติเปช-โปกาญ (Pécs-Pogány) (ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ไม่มีการให้บริการเที่ยวบินผู้โดยสารปกติจาก Győr-Pér และ ท่าอากาศยานนานาชาติเปช-โปกาญ (Pécs-Pogány) โดยสายการบินประจำชาติฮังการี สายการบินฮังการีมอเล็ฟ (Malév Hungarian Airlines) หยุดให้บริการในปี ค.ศ. 2012
- สนามบินที่มีรันเวย์ลาดยาง
20 แห่ง
- ยาวกว่า 3,047 m: 2
- 2,438 to 3,047 m: 8
- 1,524 to 2,437 m: 4
- 914 to 1,523 m: 1
- สั้นกว่า 914 m: 1
- สนามบินที่ไม่มีรันเวย์ราดยาง
27 แห่ง
- 2,438 to 3,047 m: 3
- 1,524 to 2,437 m: 5
- 914 to 1,523 m: 12
- สั้นกว่า 914 m: 7
สนามบินนานาชาติ
[แก้]สนามบินที่นานาชาติ 5 สนามบินในฮังการี จากใหญ่ที่สุด ไปน้อยที่สุด:
- Budapest Ferenc Liszt International Airport (BUD) : ท่าอากาศยานนานาชาติลิสต์ แฟแรนซ์
- Debrecen International Airport (DEB) : ท่าอากาศยานนานาชาติแดแบร็ตแซน
- Hévíz–Balaton Airport (SOB) : ท่าอากาศยานเฮวีซ-บอลอโตน
- Győr-Pér International Airport (QGY) : ท่าอากาศยานนานาชาติเยอร์-เปร์
- Pécs-Pogány International Airport (QPJ) : ท่าอากาศยานนานาชาติเปช-โปกาญ
สนามจอดเฮลิคอปเตอร์
[แก้]ประเทศฮังการีมีสนามจอดเฮลิคอปเตอร์อยู่ 5 สนาม[1]
ทางน้ำ
[แก้]ประเทศฮังการีมีแม่น้ำระยะทาง 1,373 กิโลเมตร ที่สามารถเดินเรือได้
ท่าเรือ
[แก้]ท่าเรือที่สำคัญที่สุด คือ กรุงบูดาเปสต์ (Budapest) เมืองที่สำคัญรองลงมา คือ เมืองดูนออูยวาโรช (Dunaújváros) และ เมืองบอยอ (Baja)
ท่าเรือแม่น้ำดานูบ:
- Győr-Gönyű: เมืองเจอร์
- Komárom: เมืองโคมาโรม
- Budapest: กรุงบูดาเปสต์ (ท่าเรือแชแปล)
- Dunaújváros: เมืองดูนออูยวาโรช
- Dunavecse: เมืองดูนอแวแช
- Madocsa: เมืองมอโดชอ
- Paks: เมืองป็อคช์
- Fadd-Dombori: เมืองฟอดด์-โดมโบริ
- Bogyiszló: เมืองโบจยิซโล
- Baja: เมืองบอยอ
- Mohács: เมืองโมฮาช
ท่าเรือแม่น้ำทิสซอ:
- Szeged: เมืองแซแก็ด
ขนส่งในเมือง
[แก้]บริษัทที่ให้บริการขนส่งสาธารณะในประเทศฮังการี
[แก้]- BKK (กรุงบูดาเปสต์ Budapest) (รถบัส รถแทร็ม รถโทรลีย์บัส และ รถไฟใต้ดิน/เมโทร)
- DKV Zrt. (เมืองแดแบร็ตแซน Debrecen) (รถบัส รถแทร็ม และ รถโทรลีย์บัส)
- MVK Zrt. (เมืองมิชโกลซ์ Miskolc) (รถบัส และ รถแทร็ม)
- SzKT Kft. (เมืองแซแก็ด Szeged) (รถแทร็ม และ รถโทรลีย์บัส, ส่วนบัสนั้นเป็นของบริษัท Volánbusz)
- Tüke Busz Zrt. (เมืองเปช Pécs) (รถบัส)
- KT Zrt. (เมืองกอโปชวาร์ Kaposvár) (รถบัส)
- T-busz Kft. (เมืองตอตอบาญอ Tatabánya) (รถบัส)
- V-busz Kft. (เมืองแว็สเปรม Veszprém) (รถบัส)
- KeKo (เมืองแก็ชแกเมต Kecskemét) (รถบัส)
ส่วนในเมืองอื่น ๆ การบริการรถสาธารณะระหว่างเมืองที่ไม่ใช่รถไฟ จะมีแต่รถบัสเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดเป็นของบริษัทโวลันบุส Volánbusz
เมโทร/รถไฟใต้ดิน
[แก้]เมโทรบูดาเปสต์ (Budapest Metro) คือ รถไฟใต้ดินในกรุงบูดาเปสต์ รถไฟใต้ดินสาย 1 ซึ่งเปิดใน ค.ศ. 1896 เป็นรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในภาคพื้นทวีปยุโรป, รถไฟใต้ดินสาย 2 เปิดในปี ค.ศ. 1970, รถไฟใต้ดินสาย 3 เปิดในปี ค.ศ. 1976 และ รถไฟใต้ดินสาย 4 เปิดในปี ค.ศ. 2014
-
สถานีบอยซอ อุตซอ (Bajza utca station), M1
-
สถานีจตุรัสบาทยาญ (Batthyány tér), M2
-
สถานีฮอตาร์ อูต (Határ út), M3
-
สถานีจัตุรัสวงกลม โมริตซ์ จิกม็อนด์ (Móricz Zsigmond körtér), M4
รถราง/รถแทร็ม (Tram)
[แก้]รถราง รถแทร็ม หรือ วิลลอโมช ในเมืองแบบดั้งเดิมที่พลุกพล่านที่สุดในโลกอยู่ในกรุงบูดาเปสต์ เป็นรถรางสาย 4/6 ในบูดาเปสต์ โดยรถรางยาว 50 เมตรจะวิ่งในช่วงเวลา 120 ถึง 180 วินาที[2] ในช่วงเวลาเร่งด่วนและในรถรางมักจะเต็มไปด้วยผู้คน ส่วนหนึ่งของเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดียวกับที่รถรางไฟฟ้าเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกบนโลกในปี ค.ศ. 1887 โดยตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เครือข่ายรถรางของบูดาเปสต์ได้รับการปรับปรุงโดยการสั่งซื้อรถรางใหม่ (Combino Supra และ CAF Urbos 3) รวมถึงการขยายเส้นทางแทร็มบางสาย (เช่นสาย 1 ไปยังสถานีรถไฟแคแล็นเฟิลด์ (Kelenföld))
มืองที่มีแทร็มในประเทศฮังการี
- บูดาเปสต์ (Budapest)
- มิชโกลซ์ (Miskolc)
- แซแก็ด (Szeged)
- แดแบร็ตแซน (Debrecen)
-
รถรางในมิชโกลซ์ Trams in Miskolc
-
รถรางในเมืองแซแก็ด Trams in Szeged
-
รถรางในเมืองแดแบร็ตแซน Trams in Debrecen
โทรลีย์บัส (Trolleybus)
[แก้]โทรลีย์บัส คือ รถรางใช้ไฟฟ้าที่มีหน้าตาเหมือนรถบัส มีสายไฟต่ออยู่ข้างบน โทรลีย์บัสพบได้ใน 3 เมือง คือ กรุงบูดาเปสต์ (Budapest), เมืองแดแบร็ตแซน (Debrecen) และ เมืองแซแก็ด (Szeged)
ท่อส่งแก็ส
[แก้]- น้ำมันดิบ: 1,204 กิโลเมตร
- ก๊าซธรรมชาติ: 4,387 กิโลเมตร (ใน ค.ศ. 1991)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hungary". Texas Tech University - Office of International Affairs.
- ↑ "Timetables | Budapesti Közlekedési Központ". www.bkk.hu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Public Transport and Railways in Hungary เก็บถาวร 2020-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน