การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น
วันที่ | 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1942 – 20 มีนาคม ค.ศ.1946[1][2][3] |
---|---|
ที่ตั้ง | |
Prisoners | ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นระหว่าง 110,000 และ 120,000 คนที่อาศัยอยู่ที่เวสต์โคสต์ 1,200 ถึง 1,800 คนที่อาศัยอยู่ที่รัฐฮาวาย |
การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น เป็นการที่รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาย้ายที่และการกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นผู้อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 110,000 คน ไปยังค่ายที่เรียกว่า "ค่ายย้ายที่สงคราม" ในช่วงที่กระตุ้นเตือนจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1942[5] การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นนี้นำมาใช้อย่างไม่เท่ากันทั่วสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นผู้อาศัยตามชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาถูกกักกันทั้งหมด ขณะที่ในฮาวาย ซึ่งมีชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นมากกว่า 150,000 คน หรือมากกว่าหนึ่งในสามของประชากร มีเพียง 1,200[6] ถึง 1,800 คนเท่านั้นที่ถูกกักกัน[7] ในบรรดาผู้ที่ถูกกักกันทั้งหมดนั้น เป็นพลเมืองอเมริกัน 62%[8][9]
ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ อนุมัติการกักกันด้วยคำสั่งฝ่ายบริหารที่ 9066 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งอนุญาตให้ผู้บังคับบัญชาทหารท้องถิ่นกำหนด "พื้นที่ทหาร" เป็น "เขตการกีดกัน" โดย "ทุกคนอาจถูกแยกออกไป" อำนาจนี้ใช้เพื่อประกาศว่าบุคคลใดก็ตามที่มีบรรพบุรุษชาวญี่ปุ่นจะถูกกันออกไปจากทั่วชายฝั่งแปซิฟิก รวมทั้งในรัฐแคลิฟอร์เนียทั้งหมด และส่วนใหญ่ของรัฐออริกอนและรัฐวอชิงตัน ยกเว้นผู้ที่อยู่ในค่ายกักกัน[10] ใน ค.ศ. 1944 ศาลสูงสุดได้สนับสนุนความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของคำสั่งแยก ขณะที่ให้ความเห็นว่า บทบัญญัติที่เลือกเฉพาะผู้ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวญี่ปุ่นนั้นเป็นอีกประเด็นแยกต่างหากนอกขอบเขตแห่งกระบวนพิจารณา[11] สำนักงานสำรวจประชากรสหรัฐอเมริกาสนับสนุนความพยายามกักกันโดยการจัดข้อมูลย่านที่เป็นความลับของชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น บทบาทของสำนักงานนั้นถูกปฏิเสธมาหลายทศวรรษ กระทั่งมีข้อพิสูจน์ใน ค.ศ. 2007[12][13]
ใน ค.ศ. 1988 รัฐสภาคองเกรสผ่านและประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ลงนามในกฎหมายซึ่งขอโทษสำหรับการกักกันในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ตัวกฎหมายนั้นกล่าวว่า พฤติการณ์ของรัฐบาลนั้นตั้งอยู่บน "อคติแห่งเชื้อชาติ หวาดผวาสงคราม และล้มเหลวในภาวะผู้นำทางการเมือง"[14] รัฐบาลเบิกจ่ายเงินมากกว่า 1,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันและทายาท[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Burton, J.; Farrell, M.; Lord, F.; Lord, R. "Confinement and Ethnicity (Chapter 3)". www.nps.gov. National Park Service. สืบค้นเมื่อ November 30, 2016.
- ↑ "Japanese American Internment » Tule Lake". njahs.org. National Japanese American Historical Society. สืบค้นเมื่อ November 30, 2016.
- ↑ Weik, Taylor (March 16, 2016). "Behind Barbed Wire: Remembering America's Largest Internment Camp". NBC News. สืบค้นเมื่อ November 30, 2016.
- ↑ National Park Service (2012). Wyatt, Barbara (บ.ก.). "Japanese Americans in World War II: National historic landmarks theme study" (PDF). Washington, DC: U.S. Department of the Interior. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ February 22, 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ National Park Service. Manzanar National Historic Site
- ↑ Ogawa, Dennis M. and Fox, Jr., Evarts C. Japanese Americans, from Relocation to Redress. 1991, page 135.
- ↑ "Internment – WWII Hawaii". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-10-27.
- ↑ Semiannual Report of the War Relocation Authority, for the period January 1 to June 30, 1946, not dated. Papers of Dillon S. Myer. Scanned image at เก็บถาวร 2018-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน trumanlibrary.org. Retrieved September 18, 2006.
- ↑ "The War Relocation Authority and The Incarceration of Japanese Americans During World War II: 1948 Chronology," Web page เก็บถาวร 2015-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at www.trumanlibrary.org. Retrieved September 11, 2006.
- ↑ Korematsu v. United States dissent by Justice Owen Josephus Roberts, reproduced at findlaw.com. Retrieved September 12, 2006.
- ↑ Hakim, Joy (1995). A History of Us: War, Peace and all that Jazz. New York: Oxford University Press. pp. 100–104. ISBN 0-19-509514-6.
- ↑ JR Minkel (March 30, 2007). "Confirmed: The U.S. Census Bureau Gave Up Names of Japanese-Americans in WW II". Scientific American.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Haya El Nasser (March 30, 2007). "Papers show Census role in WWII camps". USA Today.
- ↑ 100th Congress, S. 1009, reproduced at เก็บถาวร 2010-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน internmentarchives.com. Retrieved September 19, 2006.
- ↑ "Wwii Reparations: Japanese-American Internees". Democracy Now!. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Japanese American Internment Records available in the Archival Research Catalog of the National Archives and Records Administration
- Densho: The Japanese American Legacy Project, Free digital archive containing hundreds of video oral histories and 10,000 historical photographs and documents