ข้ามไปเนื้อหา

การกบฏของเอเธลวาลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Map of the British Isles in the tenth century
เกาะบริเตนช่วงต้นศตวรรษที่ 10

การกบฏของเอเธลวาลด์ (อังกฤษ: Æthelwold's Revolt) เป็นการพยายามของเจ้าชายเอเธลวาลด์ที่จะยึดบัลลังก์ของแองโกลแซ็กซันมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชใน ค.ศ. 899 สิ้นสุดลงเมื่อเอเธลวาลด์ถูกปลงพระชนม์ในสมรภูมิเมื่อ ค.ศ. 902 ขณะกำลังต่อสู้เคียงข้างกับพันธมิตรชาวเดนท์

ที่มา

[แก้]

หลังพระเจ้าอัลเฟรดรดมหาราชสวรรคตในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 899[1] โอรสของพระองค์ เอ็ดเวิร์ด ได้ถูกคาดหมายให้สืบสันตติวงศ์ พระญาติของเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสของพระเชษฐาของอัลเฟรด พระเจ้าเอเธล์เรดที่ 1 กดดันแก่งแย่งอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์[1]

การกบฏในภาคใต้

[แก้]

การเคลื่อนไหวแรของเอเธลวาลด์คือการพากองทัพเล็กๆไปยึดวิมบอร์นในดอร์เซ็ต สถานที่ฝังพระศพของเอเธลเร็ด พระบิดาของพระองค์[1] จากนั้นพระองค์เข้าควบคุมที่ดินของราชวงศ์ที่ไครสต์เชิร์ชและกลับไปที่วิมบอร์นเพื่อรอการตอบสนองของเอ็ดเวิร์ด[1] เอ็ดเวิร์ดรวบรวมกองทัพและเคลื่อนพลไปแบดบรีแต่เอเธลวาลด์ปฏิเสธที่จะเผชิญหน้ากับพระองค์ในสมรภูมิ กลับทรงอยู่ที่วิมบอร์นกับคนของพระองค์และลักพาตัวแม่ชีเหมือนเตรียมที่จะหนี แม้จะปรากฏว่ามีแหล่งที่มาที่บอกว่าพระองค์ได้รับบาดเจ็บที่กระโหลกส่วนหน้าและกำลังเตรียมการโจมตีตอนที่ขี่ม้าขึ้นเหนือในคืนนั้น

การสนับสนุนของไวกิ้ง

[แก้]

เอเธลวาลด์เข้าสู่ตอนเหนือไม่นานหลังจากที่ทรงหนีจากการเผชิญหน้าที่วิมบอร์น พระองค์เรียกร้องการสนับสนุนจากกษัตริย์ไวกิ้งแห่งนอร์ธัมเบรียและได้รับการสาบานตนสวามิภักดิ์ เหรียญเงินถูกผลิตในช่วงที่แสดงให้เห็นว่าเอเธลวาลด์ได้รับการประกาศสิทธิ์จากกษัตริย์ในยอร์วิช[1] ขณะเดียวกัน เอ็ดเวิร์ดได้รับการสวมมงกุฎที่คิงสตันเหนือเธมส์ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 900[2]

ในฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. 901 เอเธลวาลด์ล่องเรือพร้อมกับกองทัพเรือจากพันธมิตรใหม่เข้าสู่เวสเซ็กซ์[1] ค.ศ. 902 พระองค์และชาวเดนส์อีสต์แองเกลียโจมตีเมอร์เซีย หนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญพอๆกับคลิกแลดในวิลต์เชียร์ของเอ็ดเวิร์ด[1]

สมรภูมิแห่งโฮล์ม

[แก้]

เอ็ดเวิร์ดตอบโต้โดยการปล้นสะดมอีสต์แองเกลียและเมื่อพระองค์ล่าถอย คนของเคนต์ฝ่าฝืนคำสั่งถอนทัพ เผชิญหน้ากับพวกเดนส์ที่สมรภูมิแห่งโฮล์มในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 902 พวกเดนท์ปราบกองทัพของเอ็ดเวิร์ด แต่ผลของสมรภูมิ ทั้งเอเธลวาลด์และอีลริค กษัตริย์ชาวเดนท์ของแองเกลีย ต่างถูกปลงพระชนม์ ฝ่ายแองโกลแซ็กซันเสียไพร่พลมากมาย รวมถึงผู้นำท้องถิ่นของเคนท์ ซิกเฮล์มและซิกวูล์ฟ.[1][3]

หลังสมรภูมิ

[แก้]

ในมุมของซีริล ฮาร์ท พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดลงมือทางยุทธศาสตร์ผิดพลาดในการต่อสู้กับพวกเดนท์ด้วยกองทัพทั้งหมดที่มี นำมาซึ่งกระแสตีกลับที่คุกคามต่อพระราชอำนาจ โดยเฉพาะในเคนต์ และนี่อาจอธิบายถึงเหตุผลที่ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับธิดาของผู้นำท้องถิ่นซิกเฮล์ม อีดกิฟู[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Miller, Sean (2004). "Edward (called Edward the Elder) (870s?–924), King of the Anglo-Saxons". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/8514. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017. (ต้องรับบริการหรือเป็นสมาชิกหอสมุดสาธารณะสหราชอาณาจักร)
  2. England: Anglo-Saxon Consecrations: 871-1066 - Archontology.org
  3. Hart, Cyril (1992). The Danelaw. London, UK: The Hambledon Press. p. 514. ISBN 1-85285-044-2.
  4. Hart, p. 515