ข้ามไปเนื้อหา

กามัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กามัง (ญี่ปุ่น: 我慢โรมาจิgaman) เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น อันมีต้นกำเนิดจากศาสนาพุทธนิกายเซน ซึ่งหมายถึง "ซึ่งอดทนในสิ่งที่เหลือทน ด้วยขันติและความสง่างาม"[1] คำดังกล่าวมักแปลว่า "ความมานะอุตสาหะ" หรือ "ขันติ" ส่วนศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กามันซูโยอิ (ญี่ปุ่น: 我慢強いโรมาจิgamanzuyoi) คำประสมซึ่งรวมกับคำว่า สึโยอิ (เข้มแข็ง) หมายถึง "ได้รับความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่เหลือทน" หรือมีระดับความอดทนประเภทไม่ยินดียินร้ายสูง[2]

กามังได้รับการอธิบายไว้หลากหลายตั้งแต่เป็น "กฎ"[3] "คุณธรรม"[4] "อุปนิสัย"[5] หรือ "คุณสมบัติ"[6] เป็นต้น หมายความว่า ทำสิ่งที่ดีที่สุดในช่วงเวลาทุกข์ยาก และคงการควบคุมตนเองและระเบียบวินัยไว้[7][8][9][10][11] กามังเป็นคำสอนของนิกายเซน[12]

การวิเคราะห์

[แก้]

กามังเป็นคำที่คาดว่าใช้แก่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นและอื่น ๆ ที่ถูกคุมขังอยู่ในค่ายกักกันของสหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[13] และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น[14] บางครั้ง คำว่า "กามัง" ถูกเข้าใจผิดไปว่าเป็นพฤติกรรมที่คิดถึงแต่ตัวเอง หรือขาดความแน่วแน่หรือขาดความริเริ่ม มากกว่าการแสดงความเข้มแข็งขณะเผชิญกับความทุกข์ยากหรือความเจ็บปวดทรมาน[15] กามังเป็นรูปแบบที่ไม่แสดงออกและมุ่งเน้นการอดทนและไม่ปริปากบ่นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ผู้คนจะร่วมกันบรรลุเป้าประสงค์ของพวกเขา[16]

หลังแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ความสามารถในการกลับฟื้นคืน ความมีอารยะ การไร้ซึ่งเหตุจี้ปล้น และความสามารถของชาวญี่ปุ่นในการช่วยเหลือกันและกันถูกเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณกามังอย่างกว้างขวาง[10] คนงานราว 50–70 คนซึ่งยังรั้งอยู่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งที่ได้รับความเสียหายและปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะมีอันตรายร้ายแรงนั้น ถูกนับว่าเป็นกามังเช่นเดียวกัน[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Smithsonian, "The Art of Gaman", "Arts and Crafts from the Japanese American Internment Camps, 1942-1946" เก็บถาวร 3 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. DeMente, Boye. (2003). Japan's Cultural Code Words: 233 Key Terms that Explain the Attitudes and Behavior of the Japanese, p. 74–75, ที่กูเกิล หนังสือ
  3. "Crushed, but true to law of gaman," The Australian (Australia), 16 มีนาคม 2011; headline excerpt, "...true to law of gaman"
  4. "Japanese resilience shines in light of tragedy," เก็บถาวร 2011-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนCTV Ottawa (Canada), 19 มีนาคม 2011; excerpt, "... "it can't be helped," as well as the virtue "gaman" which defies easy translation, ... "
  5. Arnold, Wayne. "Enduring the unendurable," Business Standard (India). 15 มีนาคม 2011; excerpt, "Experience with crises has shaped the Japanese ethos of “gaman” — “enduring the unendurable”. Even after the March 11 disaster ...."
  6. Jones, Clayton. "A nuclear meltdown in Japan? Not if these brave workers can help it," Christian Science Monitor(US). 15 มีนาคม 2011; excerpt, "One noble trait that the Japanese admire is gaman. It is their word for the ability to persevere, endure, and overcome, with patience .... Japan may remember them for their gaman despite personal exposure to dangerous levels of radiation.
  7. Shibusawa, T.: Japanese American Elders In: Kolb, Patricia J. (Ed.) (2007). Social Work Practice with Ethnically and Racially Diverse Nursing Home Residents and Their Families,, p. 146, ที่กูเกิล หนังสือ
  8. Burns, Catherine. (2004). Sexual violence and the law in Japan, p. 51, ที่กูเกิล หนังสือ
  9. "A nuclear meltdown in Japan? Not if these brave workers can help it," Christian Science Monitor(US). 15 มีนาคม 2011; สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011; Arnold, Wayne. "Enduring the unendurable,"Business Standard (India), 15 มีนาคม 2011; สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  10. 10.0 10.1 "U.S. troops exposed to radiation," เก็บถาวร 2011-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Detroit Free Press (US), 16 มีนาคม 2001; สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011; Lloyd, Mike. "Japanese remain calm while dealing with quake aftermath," เก็บถาวร 2011-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Post (Canada). 16 มีนาคม 2011; สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  11. Calum MacLeod (16 มีนาคม 2011). "Foreigners flee Japan as nuclear crisis worsens". USA Today. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2021.
  12. West, Mark I. (2009). The Japanification of Children's Popular Culture: from Godzilla to Miyazaki,, p. 4, ที่กูเกิล หนังสือ
  13. Japanese National American Museum, "The Art of Gaman: Enduring the Seemingly Unbearable with Patience and Dignity," เก็บถาวร 2014-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มีนาคม 2010; สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011; "Art by Japanese-American Detainees During World War Two Shows Their Struggle and Humanity," VOA News (US). 18 พฤษภาคม 2010; สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  14. Köhler, Nicholas and Nancy Macdonald with Jason Kirby. "Why the world is wrong to count Japan out," เก็บถาวร 2014-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Maclean's (Canada). 25 มีนาคม 2011.
  15. Niiya, Brian. (1993). Japanese American History: An A-to-Z Reference from 1868 to the Present, p. 143., p. 143, ที่กูเกิล หนังสือ, citing Betty S. Furuta, (1981). "Ethnic Identities of Japanese-American Families: Implications for Counseling," in Understanding the Family: Stress and Change in American Family Life (Cathleen Gerry and Winnifred Humphreys, eds.), pp. 200-231, 212.
  16. Haghirian, Parissa. "Mastering The Basics," เก็บถาวร 2011-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน American Chamber of Commerce in Japan เก็บถาวร 30 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ACCJ), 15 กุมภาพันธ์ 2011; excerpt, "Where ganbaru is an active process and requires people to do something to achieve their goals, gaman is passive and focuses more on enduring and not complaining."
  17. Mateo, Ibarra C. "Japanese show power of patience, stoic discipline amid triple crises," Philippine Daily Inquirer, 27 มีนาคม 2011; excerpt, "Fueled by gaman ..., the workers did not abandon their posts even if it seemed suicidal to go on. They showed another Japanese trait: putting first their country, community and group over their individual concerns."

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]