ข้ามไปเนื้อหา

กาจัง

พิกัด: 2°59′35″N 101°47′20″E / 2.99306°N 101.78889°E / 2.99306; 101.78889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Kajang
กาจัง
การถอดเสียง 
 • อักษรยาวีكاجڠ
 • จีน加影
 • ทมิฬகாஜாங்
เขตเมืองเก่า
เขตเมืองเก่า
คำขวัญ: 
Beretika Kehidupan Berkualiti (อังกฤษ: Quality Living through Ethics)
Kajang กาจังตั้งอยู่ในมาเลเซียตะวันตก
Kajang กาจัง
Kajang
กาจัง
ที่ตั้งของกาจังในมาเลเซียตะวันตก
พิกัด: 2°59′35″N 101°47′20″E / 2.99306°N 101.78889°E / 2.99306; 101.78889
ประเทศประเทศมาเลเซีย
รัฐรัฐเซอลาโงร์
ก่อตั้งค.ศ. 1807
แต่งตั้งเป็นเทศบาล1 มกราคม ค.ศ. 1997
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีDato' Hasan Nawawi bin Abd Rahman
พื้นที่
 • ตัวเมือง235.71 ตร.กม. (91.01 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล787.61 ตร.กม. (304.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)
 • ตัวเมือง342,657 คน
 • ความหนาแน่น435 คน/ตร.กม. (1,498.78 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล539,561 คน
เขตเวลาUTC+8 (MST)
รหัสไปรษณีย์43xxx
รหัสพื้นที่+6-03
ทะเบียนพาหนะB
เว็บไซต์http://www.mpkj.gov.my

กาจัง (มลายู: Kajang ) เป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 20 กิโลเมตร ในตำบล (มูเก็ม) กาจัง ในเขตฮูลูลังกัต (Hulu Langat )[1]

ภูมิศาสตร์และการพัฒนา

[แก้]

กาจังอยู่ห่างจากย่านธุรกิจใจกลางเมืองของกัวลาลัมเปอร์ประมาณครึ่งชั่วโมงโดยทางรถยนต์ โดยส่วนใหญ่จะผ่านถนนเชรัส (Jalan Cheras) และทางด่วนแกรนด์ซากา (Grand Saga) ทั้งสองเส้นทางเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1

เมืองกาจังตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำลังกัต ล้อมรอบด้วยเมืองเชรัส, เซอเมอญิฮ์, บางี, ปูตราจายา และเซอร์ดัง (ตามเข็มนาฬิกา)

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาเมืองขนาดเล็กจำนวนหนึ่งในกาจัง เช่น ทามันปริมาซาอุจานา และทามันกาจังปริดานา มีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มูลค่าสูงเช่น Twin Palms, Country Heights, Jade Hills และ Prima Paramount

พื้นที่โดยรอบเมืองเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางด่วนซิลก์ (SILK)

เมืองกาจัง รวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตฮูลูลังกัต อยู่ภายใต้การบริหารโดยสภาเทศบาลกาจัง

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในกาจังเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1709 ต่อมาในปี ค.ศ. 1807 เมืองกาจังก่อตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์สงครามกลัง (Klang War) เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ จึงเป็นที่ตั้งของเมืองหลักของเขตฮูลูลังกัต

กาจัง พัฒนาเป็นเมืองสมัยใหม่โดยการใช้ที่ดินในการปลูกกาแฟที่เริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 หนึ่งในธุรกิจกาแฟที่มีชื่อเสียงคืออินซ์เคนเนท (Inch Kenneth) ซึ่งบริหารงานโดยพี่น้องคินเดอร์สลีย์ (Kindersley) ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ปลูกยางพาราในเชิงพาณิชย์ในประเทศมาเลเซีย ธุรกิจอีกแห่งหนึ่งคือเปรังเบซาร์ (Perang Besar (Great War)) ซึ่งริเริ่มโดยอดีตนายทหารอังกฤษนำโดยพันเอกเฮนรี โก (Henry Gough) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการขยายพันธุ์ต้นยางในประเทศด้วยเทคนิคการติดตา

ระหว่างการรุกรานของญี่ปุ่น กาจังถูกทิ้งระเบิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1942 หนึ่งวันหลังจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ถูกยึดครอง ระเบิดซึ่งมุ่งเป้าไปที่สถานีรถไฟ พลาดเป้าและทำลายโบสถ์ซึ่งอยู่ใกล้เคียงแทน[2]

กาจังได้รับสถานะเทศบาลเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 ก่อนหน้านี้เมืองอยู่ภายใต้เขตอำนาจของสภาเขตฮูลูลังกัต (Majlis Daerah Hulu Langat, MDHL)

ประชากร

[แก้]

มีประชากร 342,657 คน แบ่งเป็นชาวมลายูร้อยละ 60.4, ชาวจีนร้อยละ 19.3, ชาวอินเดียร้อยละ 9.7 อื่น ๆ อีกร้อยละ 10.6[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Wolfram-Alpha: Computational Knowledge Engine". wolframalpha.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
  2. "History of Kajang". สืบค้นเมื่อ 4 April 2021.
  3. "Population Distribution by Local Authority Areas and Mukims, 2010". Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]