กะโหลกแก้ว
กะโหลกแก้ว เป็นงานแกะสลักหินแข็งรูปกะโหลกศีรษะมนุษย์ ทำมาจากควอตซ์สีใสหรือขาวขุ่น (หรือเรียกว่า "ร็อกคริสตัล") และถูกอ้างว่าเป็นโบราณวัตถุจากเมโสอเมริกายุคพรีโคลัมเบียโดยผู้ที่อ้างว่าค้นพบ กระนั้น คำกล่าวอ้างเหล่านี้ได้ถูกปฏิเสธว่าเป็นเท็จทั้งหมดหลังการศึกษาเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ากะโหลกแก้วผลิตขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือหลังจากนั้น และแทบจะมั่นใจได้ว่าผลิตในยุโรป ในสมัยที่ความสนใจในวัฒนธรรมโบราณกำลังเป็นที่นิยม[1][2][3] เข้าใจว่ากะโหลกเหล่านี้ทำขึ้นในเยอรมนี โดยเฉพาะในเมืองอีดาร์-โอเบอร์ชไตน์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากงานหัตถกรรมแกะสลักควอตซ์ที่นำเข้ามาจากบราซิลในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[2][4]
ถึงแม้ว่าจะมีคำกล่าวอ้างในวรรณกรรมมากมายที่สร้างความนิยมให้กับกะโหลกแก้วเหล่านี้ว่ามีพลังวิเศษ ในความเป็นจริงไม่ปรากฏตำนานหรือความเชื่อที่คล้ายกันเลยในปรัมปราวิทยาของชาวเมโสอเมริกันและชาวพื้นเมืองอเมริกันแท้จริงใด ๆ[5] กะโหลกเหล่านี้ยังมักถูกอ้างว่ามากับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติโดยบรรดาสมาชิกของขบวนการนิวเอจ และยังปรากฏในงานสมมติมากมาย เช่น ในนวนิยายวิทยาศาสตร์, ละครโทรทัศน์, ภาพยนตร์ ไปจนถึงวิดีโอเกม
การค้นคว้า
[แก้]กะโหลกแก้วจำนวนมากถูกอ้างว่าเป็นของสมัยพรีโคลัมเบียน ส่วนใหญ่อ้างว่ามาจากอารยธรรมแอซเท็ก หรือ มายา ในวัฒนธรรมของเมโสอเมริกามีการผลิตวัตถุรูปกะโหลกอยู่มากมาย แต่ไม่มีกะโหลกแก้วชิ้นใดที่มาจากการขุดค้นที่มีบันทึกไว้เลย[6] งานค้นคว้าวิจัยกะโหลกแก้วจำนวนมากของพิพิธภัณฑ์บริติชในปี ค.ศ. 1967, 1996 และอีกครั้งในปี 2004 แสดงให้เห็นว่าเส้นร่อง (indented lines) ที่ใช้ทำเป็นรูปฟัน (กะโหลกเหล่านี้ไม่มีการแยกขากรรไกรออกมา ไม่เหมือนกะโหลกมิตเชล-เฮดจิส) แกะสลักโดยใช้เครื่องมือสำหรับการทำเครื่องประดับอย่างเครื่องมือโรตารี ซึ่งมีพัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้คำอ้างว่าเป็นของยุคพรีโคลัมเบียนเป็นไปได้น้อยลง[7]
คริสตัลที่ใช้ถูกนำไปตรวจสอบด้วยการตรวจสิ่งเจือปนประเภทคลอไรต์[8] การตรวจสอบพบว่าคริสตัลที่ใช้ทำกะโหลกนี้พบได้เฉพาะที่มาดากัสการ์และบราซิลเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำมาใช้ในเมโสอเมริกายุคพรีโคลัมเบียน งานวิจัยสรุปว่ากะโหลกแก้วสร้างขึ้นในเยอรมนีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นไปได้สูงว่ามาจากเมืองอีดาร์-โอเบอร์ชไตน์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากงานหัตถกรรมแกะสลักควอตซ์นำเข้าจากบราซิลในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19[4]
มีการยืนยันแล้วว่ากะโหลกแก้วของพิพิธภัณฑ์บริติช และพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา (Musée de l'Homme) ในปารีส[9] ถูกขายมาโดยพ่อค้าของโบราณชาวฝรั่งเศส Eugène Boban ผู้ทำงานค้าขายอยู่ในเม็กซิโกซิตีในระหว่างปี ค.ศ. 1860 ถึง 1880[10] กะโหลกแก้วของพิพิธภัณฑ์บริติชถูกส่งต่อผ่านมาทางบริษัททิฟฟานีแอนด์โคจากนิวยอร์ก ส่วนกะโหลกของ Musée de l'Homme บริจาคให้โดยนักชาติพันธุ์วรรณา Alphonse Pinart ซึ่งซื้อกะโหลกนี้มาจาก Boban
กะโหลกชิ้นสำคัญ
[แก้]กะโหลกมิตเชล-เฮดจิส
[แก้]กะโหลกมิตเชล-เฮดจิส (อังกฤษ: Mitchell-Hedges skull) เป็นกะโหลกชิ้นโด่งดังที่ถูกอ้างว่าพบในปี ค.ศ. 1924 โดยแอนนา มิตเชล-เฮดจิส (Anna Mitchell-Hedges) ลูกสาวบุญธรรมของนักผจญภัยและนักเขียนชาวอังกฤษ เอฟ เอ มิตเชล-เฮดจิส กะโหลกนี้เป็นประเด็นหลักในสารคดีปี ค.ศ. 1990 เรื่อง Crystal Skull of Lubaantun[11] กะโหลกนี้ได้รับการตรวจสอบโดยนักวิจัยของสถาบันสมิตโซเนียน และสรุปผลว่า "แทบจะเป็นของทำเลียนแบบจากกะโหลกของพิพิธภัณฑ์บริติช - แทบจะเป็นรูปเดียวกัน แต่มีการทำรูปบริเวณตาและฟันที่ละเอียดกว่า"[12] มิตเชล-เฮดจิส อ้างว่าเธอค้นพบกะโหลกนี้ฝังอยู่ใต้แท่นบูชาที่ถล่มในวิหารแห่งหนึ่งใน Lubaantun ประเทศบริติชฮอนดูรัส (ปัจจุบันคือประเทศเบลีซ)[13]
พิพิธภัณฑ์บริติช
[แก้]กะโหลกแก้วของพิพิธภัณฑ์บริติชมีปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ. 1881 จากในร้านค้าของพ่อค้าของโบราณ Eugène Boban ในปารีส ต้นตอของกะโหลกไม่มีระบุไว้ในแคตตาล็อกในเวลานั้น มีการกล่าวอ้างว่าเขาพยายามขายกะโหลกนี้ให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเม็กซิโกในฐานะโบราณวัตถุของแอซเท็ก แต่ไม่สำเร็จ จากนั้นเขาได้ย้ายธุรกิจมาที่นครนิวยอร์ก ที่ซึ่งเขาได้ขายกะโหลกนี้ให้กับ จอร์จ เอช ซิสสัน กะโหลกนี้ได้ไปจัดแสดงในงานพบปะของสมาคมอเมริกันเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในนครนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ. 1887 โดยจอร์จ เอฟ กุนซ์[14] ต่อมากะโหลกถูกขายต่อในงานประมูล ที่ซึ่งบริษัททิฟฟานีแอนด์โคได้ซื้อไป และขายต่อแก่พิพิธภัณฑ์บริติชในปี ค.ศ. 1897[15][2]
ในบัญชีโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์บริติชระบุข้อมูลของกะโหลกแก้วนี้ในส่วนแหล่งกำเนิดว่า "น่าจะมาจากยุโรป, ในคริสต์ศตวรรษที่ 19"[15] และบรรยายไว้ว่า "ไม่ใช่โบราณวัตถุยุคพรีโคบัมเบียนที่แท้จริง" ("not an authentic pre-Columbian artefact".)[16][17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Crystal Skulls". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-06. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 British Museum (n.d.-b).
- ↑ Jenkins (2004, p. 217), Sax et al. (2008), Smith (2005), Walsh (1997; 2008).
- ↑ 4.0 4.1 Craddock (2009, p. 415).
- ↑ Aldred (2000, passim.) ; Jenkins (2004, pp. 218–219). In this latter work, Philip Jenkins, former Distinguished Professor of History and Religious Studies and subsequent endowed Professor of Humanities at PSU, writes that crystal skulls are among the more obvious of examples where the association with Native spirituality is a "historically recent" and "artificial" synthesis. These are "products of a generation of creative spiritual entrepreneurs" that do not "[represent] the practice of any historical community".
- ↑ Walsh (2008)
- ↑ Craddock (2009, p. 415)
- ↑ "These iron chlorite inclusions found in the British Museum's fake skull are found only in quartz from Brazil or Madagascar but not Mexico;
from google (crystal skull fakes) result 1". - ↑ The specimen at the Musée de l'Homme is half-sized.
- ↑ See "The mystery of the British Museum's crystal skull is solved. It's a fake", in The Independent (Connor 2005). See also the Museum's issued public statement on its crystal skull (British Museum (n.d.-c).
- ↑ "Crystal Skull of Labaantun (1990)". Movies & TV Dept. The New York Times. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
- ↑ Walsh (2008). See also the 1936 debate on its resemblance to the British Museum skull, in Digby (1936) and Morant (1936), passim.
- ↑ See Garvin (1973, caption to photo 25) ; also Nickell (2007, p. 67).
- ↑ "A Great Labor Problem. It Receives Attention from the Scientists. They devote attention, too, to a beautiful adze and a mysterious crystal skull" (PDF). New York Times. No. August 13. 1887. สืบค้นเมื่อ 2008-07-17.
- ↑ 15.0 15.1 British Museum (n.d.-a).
- ↑ British Museum (n.d.-c).
- ↑ See also articles on the investigations which established it to be a fake, in Connor (2005), Jury (2005), Smith (2005), and Walsh (1997, 2008).
บรรณานุกรม
[แก้]- Aldred, Lisa (Summer 2000). "Plastic Shamans and Astroturf Sun Dances: New Age Commercialization of Native American Spirituality". American Indian Quarterly. 24 (3): 329–352. doi:10.1353/aiq.2000.0001. ISSN 0095-182X. JSTOR 1185908. OCLC 184746956. PMID 17086676. S2CID 6012903.
- British Museum. "Rock crystal skull". Explore: Highlights. Trustees of the British Museum. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- British Museum. "Study of two large crystal skulls in the collections of the British Museum and the Smithsonian Institution". Explore: Articles. Trustees of the British Museum. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- British Museum. "The crystal skull". News and press releases: Statements. Trustees of the British Museum. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
- Calligaro, Thomas; Yvan Coquinot; Ina Reiche; Jacques Castaing; Joseph Salomon; Gerard Ferrand; Yves Le Fur (March 2009). "Dating study of two rock crystal carvings by surface microtopography and by ion beam analyses of hydrogen". Applied Physics A: Materials Science & Processing. 94 (4): 871–878. Bibcode:2009ApPhA..94..871C. doi:10.1007/s00339-008-5018-9. ISSN 0947-8396. OCLC 311109270. S2CID 18204055.
- Connor, Steve (2005-01-07). "The mystery of the British Museum's crystal skull is solved. It's a fake". The Independent. London: Independent News & Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
- Craddock, Paul (2009). Scientific Investigation of Copies, Fakes and Forgeries. Oxford, UK and Burlington, MA: Butterworth-Heinemann. ISBN 978-0-7506-4205-7. OCLC 127107601.
- Digby, Adrian (July 1936). "Comments on the Morphological Comparison of Two Crystal Skulls". Man. 36: 107–109. doi:10.2307/2789342. ISSN 0025-1496. JSTOR 2789342. OCLC 42646610.
- Garvin, Richard (1973). The Crystal Skull: The Story of the Mystery, Myth and Magic of the Mitchell-Hedges Crystal Skull Discovered in a Lost Mayan City During a Search for Atlantis. New York: Doubleday. ISBN 978-0-385-09456-6. OCLC 553587.
- Hammond, Norman (2008-04-28). "Secrets of the crystal skulls are lost in the mists of forgery". The Times. London: News International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
- Hewlett-Packard (magazine editorial staff) (กุมภาพันธ์ 1971). "History or hokum? – Santa Clara's crystals lab helps tackle the case of the hard-headed Honduran." (PDF online facsimile at HParchive). Measure (Staff Magazine). Palo Alto, CA: Hewlett-Packard: 8–10. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2008.
- Hidalgo, Pablo (2008-04-07). "The Lost Chronicles of Young Indiana Jones". StarWars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2008-05-03.
- Holmes, William H. (1886-02-19). "The trade in spurious Mexican antiquities". Science. New Series. ns-7 (159S): 170–172. doi:10.1126/science.ns-7.159S.170. ISSN 0036-8075. OCLC 213776464. PMID 17787662. S2CID 5254735.
- Hruby, Zachary (May 2008). "Critical Notes on "Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull"". Mesoweb Reports & News. Mesoweb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
- Jenkins, Philip (2004). Dream Catchers: How Mainstream America Discovered Native Spirituality. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516115-1. OCLC 54074085.
- Jury, Louise (2005-05-24). "Art market scandal: British Museum expert highlights growing problem of fake antiquities". The Independent. London: Independent News & Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
- Kelly, Jim. "A brief history of SiC". Industrial Materials Group, University College London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ 2008-05-23.
- Kunz, George Frederick (1890). Gems and precious stones of North America: A popular description of their occurrence, value, history, archæology, and of the collections in which they exist, also a chapter on pearls, and on remarkable foreign gems owned in the United States. Illustrated with eight colored plates and numerous minor engravings. New York: The Scientific Publishing Company. OCLC 3257032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.
- McCoy, Max (1995). Indiana Jones and the Philosopher's Stone. New York: Bantam Books. ISBN 978-0-553-56196-8. OCLC 32417516.
- McCoy, Max (1996). Indiana Jones and the Dinosaur Eggs. New York: Bantam Books. ISBN 978-0-553-56193-7. OCLC 34306261.
- McCoy, Max (1997). Indiana Jones and the Hollow Earth. New York: Bantam Books. ISBN 978-0-553-56195-1. OCLC 36380785.
- McCoy, Max (1999). Indiana Jones and the Secret of the Sphinx. New York: Bantam Books. ISBN 978-0-553-56197-5. OCLC 40775168.
- Mitchell-Hedges, F.A. (1954). Danger My Ally. London: Elek Books. OCLC 2117472.
- Morant, G.M. (July 1936). "A Morphological Comparison of Two Crystal Skulls". Man. 36: 105–107. doi:10.2307/2789341. ISSN 0025-1496. JSTOR 2789341. OCLC 42646610.
- Nickell, Joe (2007). Adventures in Paranormal Investigation. Lexington: University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-2467-4. OCLC 137305722.
- Olivier, Guilhem (2003). Mockeries and Metamorphoses of an Aztec God: Tezcatlipoca, "Lord of the Smoking Mirror". Michel Besson (trans.) (Translation of: Moqueries et métamorphoses d'un dieu aztèque (Paris : Institut d'ethnologie, Musée de l'homme, ©1997) ed.). Boulder: University Press of Colorado. ISBN 978-0-87081-745-8. OCLC 52334747.
- Rincon, Paul (2008-05-22). "Crystal skulls 'are modern fakes'". Science/Nature. BBC News online. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.
- Rosemberg, Claire (2008-04-18). "Skullduggery, Indiana Jones? Museum says crystal skull not Aztec". AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- Sax, Margaret; Jane M. Walsh; Ian C. Freestone; Andrew H. Rankin; Nigel D. Meeks (October 2008). "The origin of two purportedly pre-Columbian Mexican crystal skulls". Journal of Archaeological Science. 35 (10): 2751–2760. doi:10.1016/j.jas.2008.05.007. ISSN 1095-9238. OCLC 36982975.
- Smith, Donald (2005). "With a high-tech microscope, scientist exposes hoax of 'ancient' crystal skulls". Inside Smithsonian Research. Washington, DC: Smithsonian Institution Office of Public Affairs. 9 (Summer). OCLC 52905641. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
- Taube, Karl A. (1992). "The iconography of mirrors at Teotihuacan". ใน Janet Catherine Berlo (บ.ก.). Art, Ideology, and the City of Teotihuacan: A Symposium at Dumbarton Oaks, 8th and 9th October 1988. Washington DC: Dumbarton Oaks Research Library and Collection. pp. 169–204. ISBN 978-0-88402-205-3. OCLC 25547129.
- Walsh, Jane MacLaren (1997). "Crystal skulls and other problems: or, "don't look it in the eye"". ใน Amy Henderson; Adrienne L. Kaeppler (บ.ก.). Exhibiting Dilemmas: Issues of Representation at the Smithsonian. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. ISBN 978-1-56098-690-4. OCLC 34598037.
- Walsh, Jane MacLaren (Spring 2005). "What is Real? A New Look at PreColumbian Mesoamerican Collections" (PDF online publication). AnthroNotes: Museum of Natural History Publication for Educators. 26 (1): 1–7, 17–19. doi:10.5479/10088/22411. ISSN 1548-6680. OCLC 8029636.
- Walsh, Jane MacLaren (May–June 2008). "Legend of the Crystal Skulls". Archaeology. 61 (3): 36–41. ISSN 0003-8113. OCLC 1481828. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dunning, Brian (29 เมษายน 2008). "Skeptoid #98: The Crystal Skull: Mystical, or Modern?". Skeptoid.
- ที่พิพิธภัณฑ์บริติช: BM https://www.britishmuseum.org/collection/object/E_Am1898-1