ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น
马来亚人民抗日军
มีส่วนร่วมในการต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดครองมลายาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ธงของกองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น
ปฏิบัติการธันวาคม ค.ศ. 1941 (1941-12)ธันวาคม ค.ศ. 1945 (1945-12)
แนวคิดคอมมิวนิสต์
ผู้นำLai Teck, จีนเป็ง
พื้นที่ปฏิบัติการบริติชมาลายา, สิงคโปร์
กำลังพล~6,500 (ยืนยัน); 10,000 (ประมาณ)
ปรปักษ์ ญี่ปุ่น
การสู้รบและสงครามสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น (Malayan Peoples' Anti-Japanese Army; MPAJA) เป็นขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดครองมลายาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในหมู่ชาวมลายาเชื้อสายจีน นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ทหารบางส่วนได้รับการฝึกจากอังกฤษและใช้การสู้รบแบบกองโจรต่อต้านญี่ปุ่น

จุดกำเนิด

[แก้]

ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเข้ายึดครองมลายา ชาวมลายาเชื้อสายจีนมีความหวั่นไหวต่อข่าวของญี่ปุ่นมากซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2480 ต่อมา เมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ช่วงเวลาสั้นๆก่อนที่สิงคโปร์จะแตก อังกฤษและพรรคคอมมิวนิสต์มลายาที่เคยเป็นศัตรูกันได้ตกลงที่จะร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการยึดครองมลายาของญี่ปุ่น และอังกฤษได้ปล่อยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มลายาที่ถูกคุมขังไว้ และได้ฝึกฝนสมาชิกพรรคบางส่วนทางด้านการสู้รบแบบกองโจร กลุ่มเหล่านี้ได้แพร่กระจายไปในเขตชนบทเพื่อปฏิบัติการต่อต้านญี่ปุ่นแบบใต้ดิน แม้ว่ากลุ่มนี้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็จะเป็นศูนย์กลางในการจัดตั้งกองทัพประชาชนต่อไป ทหารส่วนใหญ่ของกองทัพประชาชนประกาศว่าเป็นประชาชนทั่วไปในมลายาที่ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นหลังสิงคโปร์แตกเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485

พรรคคอมมิวนิสต์มลายาได้เข้าร่วมในการป้องกันสิงคโปร์ โดยเข้ารบร่วมกับทหารอังกฤษ สาเหตุที่กองทัพประชาชนมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวมลายาเชื้อสายจีนมีหลายเหตุผล อย่างแรกคือความเป็นศัตรูกันอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น และนโยบายในการปกครองมลายาของญี่ปุ่นที่มักจะบีบคั้นชาวจีนมากกว่าเชื้อชาติอื่น แม้จะมีชาวมลายูและชาวมลายาเชื้อสายอินเดียเข้าร่วมด้วย กองทัพประชาชนนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา และถูกควบคุมโดยพรรค แม้ว่าสมาชิกกองทัพประชาชนไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคทั้งหมด

พัฒนาการ

[แก้]

เจียะห์ (บุนเค็ง) กล่าวว่าการต่อสู้ของกองทัพประชาชนในการต่อต้านญี่ปุ่นแบ่งเป็นสามสมัย โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2486 เป็นช่วงที่ขาดแคลนอาหาร และอยู่ระหว่างการฝึกฝน ช่วงที่ 2 คือช่วงระหว่างกลางปี พ.ศ. 2486 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2487 เป็นช่วงที่กองทัพประชาชนปรับปรุงขึ้น มีอาหารเพียงพอ การฝึกทหารและการสื่อสารดีขึ้น ช่วงที่สามคือระหว่างกลางปี พ.ศ. 2487 จนสิ้นสุดสงคราม เป็นช่วงที่เข้มแข็งที่สุดและได้รับการสนับสนุนจากปฏิบัติการทางอากาศของฝ่ายอังกฤษ โดยหลังจากสิงคโปร์แตก กองทัพประชาชนและกองทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ติดต่อกัน และพยายามจัดตั้งการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

การสู้รบของกองทัพประชาชนได้รับผลดีจากการล่มสลายของเศรษฐกิจในมลายาจากการที่ชาติตะวันตกขัดขวางการขนส่งของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถขนส่งดีบุกและยางพารากลับไปประเทศได้ และญี่ปุ่นก็ไม่สามารถส่งสินค้ามาได้ ทำให้เกิดการขาดแคลนข้าวในพื้นที่ที่ต้องนำเข้าข้าว ชาวจีนได้หลบหนีออกจากเมืองไปหาที่เพาะปลูกและเข้าร่วมกับกองทัพประชาชน กองทัพญี่ปุ่นเข้าขัดขวางโดยการเผาทำลายหมู่บ้านที่สนับสนุนกองทัพประชาชน

ผลที่ตามมา

[แก้]

กองทัพประชาชนกล่าวอ้างว่าในการโจมตีฝ่ายญี่ปุ่นสามารถสังหารทหารญี่ปุ่นได้ 5,500 คนและหายสาบสูญไป 1,000 คน ส่วนกองทัพญี่ปุ่นประกาศว่าทหารญี่ปุ่นบาดเจ็บและเสียชีวิตราว 600 คน และเป็นตำรวจท้องถิ่น2000 คน และสังหารฝ่ายกองทัพประชาชนได้ 2,900 คน กองทัพประชาชนได้ยุติบทบาทไปเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

อ้างอิง

[แก้]
  • Bayly, Christopher Alan and Harper, Timothy Norman, Forgotten armies: the fall of British Asia, 1941-1945, London: Allen Lane, 2004. ISBN 0-7139-9463-0
  • Chapman, F. Spencer, The Jungle is Neutral, Corgi Books: London, 1957
  • Chin Peng, My Side of History, as told to Ian Ward and Norma Miraflor, Singapore: Media Masters, 2003. ISBN 981-04-8693-6
  • Chin,C.C. and Karl Hack, "Dialogue with Chin Peng --- New Light on Malayan Communist Party",
  • Singapore University Press: Singapore, 2004
  • Tan Chong Tee, Force 136, Story of a WWII resistance fighter, Asiapac Publications, Singapore 1995, ISBN 981-3029-90-0