กองทัพชาติปลดปล่อยประชาพลรัฐเขมร
กองทัพชาติปลดปล่อยประชาพลรัฐเขมร (เขมร: កងទ័ពជាតិរំដោះប្រជាពលរដ្ឋខ្មែរ กงทัพชาติรํเฎาะบฺรชาพลรฎฺฐขฺแมร; อังกฤษ: Khmer People's National Liberation Armed Forces: KPNLAF) เป็นกองกำลังทางทหารของแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมืองที่จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อต่อต้านรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่มีเวียดนามหนุนหลัง[1] หัวหน้ากลุ่มคือ ซอน ซาน ที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยระบอบสังคมของสีหนุ
การจัดตั้ง
[แก้]กองทัพนี้ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 จากกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์หลายกลุ่มที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และเป็นกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มีเวียดนามหนุนหลัง ผู้นำของกองทัพคือเดียน เดล ซึ่งเคยเป็นทหารสมัยสาธารณรัฐเขมร ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2522 มีทหารประมาณ 1,600 คน[2]
การประกาศจัดตั้งมีขึ้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ที่ค่ายสุขสันต์ ในเขตภูเขากระวานของกัมพูชา โดยอ้างว่ามีทหารราว 2,000 คน[3] ซึ่งรวมมาจากกลุ่มต่างๆ 13 กลุ่ม บางส่วนเคยอยู่ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรมาก่อน ผู้ควบคุมกองทัพคือ สัก สุตสคัน ซึ่งอยู่ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรมาก่อน
การขยายตัว พ.ศ. 2524 – 2525
[แก้]นายพลเดียน เดลได้เปิดค่ายฝึกที่ค่ายผู้อพยพอัมปึล (บ้านสังแก) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2524[4] กองทัพนี้ได้รับการสนับสนุนทางอาวุธจากจีน[5]
เพราะจุดยืนของซอน ซานคือการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้กลุ่มนี้สร้างทางเลือกใหม่สำหรับกัมพูชา โดยไม่สนับสนุนทั้งพระนโรดม สีหนุ ฮานอยและเขมรแดง และกลายเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองที่แนวชายแดนไทย เป็นรองแต่กองทัพเขมรแดงเท่านั้น ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 มีกำลังทหารติดอาวุธประมาณ 7,000 คนเพื่อคุ้มครองค่ายผู้อพยพ และเพื่อเข้ายึดครองประเทศกัมพูชา ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2525 แนวร่วมปลดปล่อยเข้าร่วมในแนวร่วมเขมรสามฝ่าย แม้ว่ากองกำลังทหารจะไม่ได้รวมกันอย่างแท้จริง
ค่ายผู้อพยพหนองจันกลายเป็นศูนย์บัญชาการทางทหารของแนวร่วมปลดปล่อยในช่วงปลายปี พ.ศ. 2525 ส่วนค่ายอัมปึลยังมีความสำคัญทางการบริหารจนถูกทำลายในช่วงต้นปี พ.ศ. 2528 ค่ายผู้อพยพหนองจันเป็นที่ตั้งของกองกำลังที่ 3 7 และ 9 รวมทั้งกองกำลังพิเศษ ในขณะที่หน่วยที่ 1 อยู่ที่ค่าผู้อพยพหนองเสม็ด และหน่วยที่สองอยู่ที่ค่ายอัมปึล[6] ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2527 ซอน ซานกล่าวอ้างว่ามีทหารที่ผ่านการฝึกแล้ว 12,000 และกำลังฝึกอีก 8,000 คน แต่ยังมีอาวุธไม่เพียงพอ[7]
การโจมตีของเวียดนาม
[แก้]การสู้รบกับเวียดนามเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงฤดูแล้งระหว่างพฤศจิกายน พ.ศ. 2524 – มีนาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งทำให้กองทัพอ่อนแอลงและทำให้ถอยร่นเข้าหาแนวชายแดนไทยมากขึ้น กองทัพแห่งชาติสีหนุและกองทัพเขมรแดงได้รับผลกระทบจากการโจมตีของเวียดนามด้วย และทำให้จำนวนค่ายผู้อพยพลดลง รัฐบาลไทยและหน่วยงานระดับนานาชาติอื่นๆได้เพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยค่ายผู้อพยพ และให้แยกค่ายผู้อพยพที่เป็นพลเรือนออกจากกำลังทหาร
หลังจากนั้นได้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้นำของแนวร่วมคือซอน ซาน และเดียน เดล แต่ได้ไกล่เกลี่ยให้ยุติลงได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2529
การสลายตัว
[แก้]กองทัพสลายตัวไปในราวกลางปี พ.ศ. 2532 หลังจากเวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาหมดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2532[8] นายพลเดียน เดลประกาศสลายกองทัพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Keat Gin Ooi, Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, ABC-CLIO, 2004, ISBN 1576077705
- ↑ Corfield, p. 10.
- ↑ Bekaert, J., "Kampuchea: The Year of the Nationalists?" Southeast Asian Affairs, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore (1983), pp. 169.
- ↑ Corfield, P. 13.
- ↑ Heder, S. "KPNLF’s Guerrilla Strategy Yields Mixed Results," Indochina Issues 45 (April 1984), p. 3.
- ↑ Radu, M. and Arnold, A. The New Insurgencies: Anticommunist Guerrillas in the Third World New Brunswick, N.J.: Transaction Publishers, 1990, p. 218-19.
- ↑ Paul Quinn-Judge, “Hanoi’s Headache: Son Sann’s Anti-Vietnamese Coalition Faction is Gaining Strength, Militarily and Politically.” Far Eastern Economic Review, Jan 19, 1984 p. 32. Two months earlier William Branigan reported similar numbers: “…the Khmer People’s National Liberation Front numbers 10,000 to 12,000 armed fighters, with another 6,000 unarmed recruits, diplomats said.” The Washington Post, Nov 22, 1983.
- ↑ Gottesman E. Cambodia after the Khmer Rouge: Inside the Politics of Nation Building. New Haven: Yale University Press, 2003, pp. 308-09.
- ↑ "Cambodians Hand Over Weapons to the UN", New Straits Times, Feb 23, 1992.