ข้ามไปเนื้อหา

กวิเอตุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวิเอตุส
ผู้แย่งชิงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน
กวิเอตุสบนเหรียญ
เฉลิมฉลอง กรุงโรมชั่วนิรันดร์[1]
ครองราชย์ค.ศ. 260-1 (ร่วมกับมากริอานุส มินอร์)
ก่อนหน้ากัลลิเอนุส
ถัดไปกัลลิเอนุส
สวรรคตค.ศ. 261
เอเมซา, ซีเรีย
พระนามเต็ม
ติตุส ฟุลวิอุส ยูนิอุส กวิเอตุส
พระรัชกาลนาม
อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ติตุส ฟุลวิอุส ยูนิอุส กวิเอตุส เอากุสตุส
พระราชบิดามากริอานุส มายอร์
พระราชมารดา? (เชื้อสายวุฒิสมาชิกแห่งโรมัน)

ติตุส ฟุลวิอุส ยูนิอุส กวิเอตุส (เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 261) เป็นผู้แย่งชิงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งโรมันในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิกัลลิเอนุส

ประวัติ

[แก้]

กวิเอตุสเป็นบุตรชายของฟุลวิอุส มากริอานุส[2] กับสตรีชั้นสูงคนหนึ่ง ตามฮิสตอเรีย เอากุสตา กวิเอตุสได้มีตำแหน่งเป็นผู้ควบคุมทหารในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิวาแลริอานุส[3] แต่ข้อมูลดังกล่าวถูกปัดตกโดยนักประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]

กวิเอตุสได้รับตำแหน่งจักรพรรดิพร้อมกับพี่ชายนามว่า มากริอานุส มินอร์ หลังจากการจับตัวของจักรพรรดิวาแลริอานุสในสงครามกับจักรวรรดิซาเซเนียนในปี ค.ศ. 260[4] ด้วยทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างจักรพรรดืกัลลิเอนุส ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางตะวันตก ทหารได้เลือกจักรพรรดิทั้งสอง การสนับสนุนจากบิดาของเขา ซึ่งเป็นผู้ควบคุมสมบัติของจักรวรรดิ และอิทธิพลของบาลิสตา ซึ่งเป็นขุนนางไปรตอเรียนของจักรพรรดิวาแลริอานุส ผู้สวรรคตไปแล้ว[5]

กวิเอตุสและมากิรอานุส ผู้เป็นกงสุลที่ได้รับเลือก[6] ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องเผชิญกับจักรพรรดิกัลลิเอนุสในทางตะวันตก ส่วนกวิเอตุสและบาลิสตาอยู่ในมณฑลทางตะวันออก ขณะที่พี่ชายและบิดายกทัพไปยุโรปเพื่อยึดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิโรมัน หลังจากความพ่ายแพ้และการเสียชีวิตของพี่ชายและพ่อของเขาในเทรซในปี ค.ศ. 261 กวิเอตุสก็ได้สูญเสียการควบคุมของมณฑลในการสนับสนุนโดยแซ็ปติมุส ออไดนาตัสแห่งพัลมีรา กษัตริย์ที่ภักดีของชาวโรมัน ผู้ซึ่งช่วยผลักดันชาวเปอร์เซียออกจากจังหวัดทางตะวันออกและฟื้นฟูมณฑลเมโสโปเตเมียแห่งโรมันใน ค.ศ. 260[ต้องการอ้างอิง] กวิเอตุสถูกบังคับให้หนีไปยังเมืองเอเมซา[7] ซึ่งกวิเอตุสถูกปิดล้อมที่นั่นโดยออไดนาตัส[ต้องการอ้างอิง] ในระหว่างที่กวิเอตุสถูกสังหารโดยชาวเมือง ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นการที่บาลิสตายุยง[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รูปจำลองของกวิเอตุสและจักรพรรดิร่วมมากริอานุส มินอร์เฉลิมฉลองให้กับกองทัพ ความมั่นใจในชัยชนะ และการมาถึงของเวลาแห่งความสุขที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า หัวข้อทั้งหมดนี้มีความสำคัญมากในช่วงเวลาฉุกเฉิน เมื่อจักรวรรดิโรมันสูญเสียจักรพรรดิในการสู้รบกับจักรวรรดิซาเซเนียน และกองทัพอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู
  2. Jones, pg. 757
  3. Historia Augusta, Tyranni Triginta, 12:10
  4. Jones, pg. 758
  5. Körner, www.roman-emperors.org/galusurp.htm#Note%202
  6. Körner, www.roman-emperors.org/galusurp.htm#Note%202
  7. Jones, pg. 757
  8. (Zonaras xii.24)

บรรณานุกรม

[แก้]