ข้ามไปเนื้อหา

กวาเม อึนกรูมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวาเม อึนกรูมา
นายกรัฐมนตรีกานา
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์:
Charles Noble Arden-Clarke
(6 มีนาคม – 24 มิถุนายน 1957)
Lord Listowel
(24 มิถุนายน 1957 – 1 กรกฎาคม 1960)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ประธานาธิบดีกานา
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปโจเซฟ อาร์เธอร์ อันกราห์
(รัฐประหาร)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน ค.ศ. 1909(1909-09-21)
โกลด์โคสต์
เสียชีวิต27 เมษายน ค.ศ. 1972(1972-04-27) (62 ปี)
 บูคาเรสต์, ประเทศโรมาเนีย
พรรคการเมืองConvention Peoples' Party
คู่สมรสฟาเธีย ริสค์
บุตรFrancis, Gamal, Samia, Sekou

ฟรานซิส กวาเม อึนกรูมา (อังกฤษ: Francis Kwame Nkrumah; 21 กันยายน ค.ศ. 1909 – 27 เมษายน ค.ศ. 1972) เป็นนักการเมือง นักทฤษฎีการเมือง และนักปฏิวัติชาวกานา เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโกลด์โคสต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 จนถึง ค.ศ. 1957 เมื่อประเทศได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร[1] ต่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีกานาคนแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1957 จนถึง ค.ศ. 1966 อึนกรูมาเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่ออุดมการณ์รวมกลุ่มแอฟริกัน นอกจากนี้ เขายังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU) และได้รับรางวัลสันติภาพเลนินจากสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1962[2]

อึนกรูมาได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศเป็นเวลาสิบสองปี ซึ่งทำให้เขาได้พัฒนาแนวคิดทางการเมืองตลอดจนรวบรวมผู้นิยมอุดมการณ์รวมกลุ่มแอฟริกันไว้ด้วยกัน อึนกรูมาเดินทางกลับโกลด์โคสต์เพื่อเริ่มต้นอาชีพทางการเมืองในฐานะผู้สนับสนุนเอกราชของชาติ[3] เขาก่อตั้งพรรครวมกลุ่มประชาชน (Convention People's Party) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากความสนใจที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไป[4] เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1952 และยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากประเทศกานาได้รับเอกราชจากบริเตนใน ค.ศ. 1957 ซึ่งนับเป็นชาติแรกในภูมิภาคซาฮาราตอนล่างที่ได้รับเอกราช ต่อมาใน ค.ศ. 1960 ชาวกานาได้อนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเลือกให้อึนกรูมาเป็นประธานาธิบดี[5]

การบริหารของเขาใช้แนวทางสังคมนิยมและชาตินิยมเป็นหลัก ซึ่งมีการให้ทุนสนับสนุนโครงการอุตสาหกรรมและพลังงานแห่งชาติ พัฒนาระบบการศึกษาของชาติให้แข็งแกร่ง และส่งเสริมวัฒนธรรมรวมกลุ่มแอฟริกัน[6] ภายใต้การปกครองของอึนกรูมา กานามีบทบาทนําในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทวีปแอฟริกาและขบวนการรวมกลุ่มแอฟริกันในช่วงการปลดอาณานิคมในแอฟริกา[7]

หลังจากความพยายามที่ล้มเหลวหลายครั้งในชีวิตของเขา ควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ยากลําบากมากขึ้น รัฐบาลอึนกรูมาจึงเริ่มการปกครองแบบเผด็จการในช่วงทศวรรษ 1960 โดยได้ปราบปรามฝ่ายค้านทางการเมืองและดําเนินการเลือกตั้งที่ไม่เสรีหรือยุติธรรม[8][9][10][11][12] ใน ค.ศ. 1964 กานากลายเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวหลังจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกำหนดให้อึนกรูมาเป็นประธานาธิบดีตลอดชีพของประเทศ[13] เขาสนับสนุนลัทธิบูชาบุคคล โดยได้จัดตั้งสถาบันทางอุดมการณ์และประกาศใช้คำนำหน้าชื่อเป็น "โอซักเยโฟ ดีอาร์." (Osagyefo Dr.)[14] อึนกรูมาถูกปลดใน ค.ศ. 1966 เนื่องจากรัฐประหารที่นำโดยคณะปลดปล่อยแห่งชาติซึ่งมีซีไอเออยู่เบื้องหลัง ซึ่งทำให้การกำกับดูแลเศรษฐกิจของประเทศถูกโอนไปเป็นของเอกชน[15] อึนกรูมาใช้ชีวิตที่เหลือในประเทศกินี โดยที่นั่นเขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานร่วมกิตติมศักดิ์

ประวัติ

[แก้]

วัยเด็กและการศึกษา

[แก้]

กวาเม อึนกรูเป็นบุตรของนางเนียนิบา[16] เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2452[17] ในเมืองอึนโกรฟุล โกลด์โคสต์[18] เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนอะคิโมตาซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองอักกราในปี 1930[19] เขาเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2478 จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยลินคอล์น รัฐเพนซิลเวเนีย ในปี พ.ศ. 2482 ปริญญาโทด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี พ.ศ. 2484 และปริญญาโทด้านปรัชญาในปีต่อมา[20]

ระหว่างที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา อึนกรูมาเทศน์ที่โบสถ์เพรสไบทีเรียนของคนผิวดำในฟิลาเดเฟียและนครนิวยอร์ก เขาอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเมืองและศาสนา และสอนวิชาปรัชญาแก่นักเรียน อึนกรูมาได้พบกับแนวความคิดของมาร์กัส การ์วี และในพ.ศ. 2486 เขาได้พบและเริ่มติดต่อกับซี. แอล. อาร์ เจมส์ นักการเมืองลัทธิมาร์กซชาวตรินิแดด ผู้ซึ่งภายหลังอึนกรูมากล่าวถึงว่าเป็นผู้สอนให้เขาได้รู้ว่าการปฏิบัติการใต้ดินนั้นให้ผลได้อย่างไร[21]

อึนกรูมาเดินทางมาลอนดอนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 โดยตั้งใจว่าจะศึกษาต่อที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน หลังจากที่ได้พบกับจอร์จ แพดมอร์ เขาช่วยการจัดงานประชุมแพน-อัฟริกันครั้งที่ห้าในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ตอนนั้นเขาได้ก่อตั้งคณะเลขาธิการแห่งประเทศแอฟริกาตะวันตกเพื่อที่จะยกเลิกอาณานิคมในแอฟริกา อึนกรูมาได้รับตำแหน่งรองประธานสมาคมนักเรียนแอฟริกาตะวันตก (WASU)

ภายหลัง อึนกรูมายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยลินคอล์น มหาวิทยาลัยรัฐมอสโก มหาวิทยาลัยไคโร มหาวิทยาลัยฮัมโบล์ท และอื่น ๆ อีกด้วย

กลับสู่โกลด์โคสต์

[แก้]

ในฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ. 2490 อึนกรูมาได้รับเชิญให้รับตำแหน่งเลขาธิการของ United Gold Coast Convention (UGCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อดำเนินการสู่อิสรภาพ อึนกรูมารับตำแหน่งนี้และออเดินทางสู่โกลด์โคสต์ หลังจากที่หยุดแวะที่ประเทศเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และโกตดิวัวร์ เขาก็เดินทางมาถึงโกลด์โคสต์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2490

อ้างอิง

[แก้]
  1. o'Hara, Glen (11 April 2012), "President Kennedy, Prime Minister Macmillan and the Gold Market, 1960–63", Governing Post-War Britain, Palgrave Macmillan, pp. 53–72, doi:10.1057/9780230361270_4, ISBN 978-0-230-36127-0
  2. Rathbone, Richard (23 September 2004). "Nkrumah, Kwame (1909?–1972), president of Ghana". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/31504. (ต้องรับบริการหรือเป็นสมาชิกหอสมุดสาธารณะสหราชอาณาจักร)
  3. Hsü, Leonard Shihlien (5 November 2013), "Political Progress", The Political Philosophy of Confucianism, Routledge, pp. 258–273, doi:10.4324/9781315018775, ISBN 978-1-315-01877-5
  4. Proceedings of the convention at which the American federation of arts was formed. B. S. Adams. 1909. doi:10.5479/sil.380651.39088006011662.
  5. "Prime Minister 1957–60", Kwame Nkrumah. Vision and Tragedy, Sub-Saharan Publishers, pp. 192–214, 15 November 2007, doi:10.2307/j.ctvk3gm60.17, ISBN 978-9988-647-81-0
  6. Stanek, Łukasz (2020). Architecture in global socialism: Eastern Europe, West Africa, and the Middle East in the Cold War. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-19455-4. OCLC 1134854794.
  7. Nkrumah, Kwame (1953). [Letter: Kwamé Nkrumah to Richard Wright]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
  8. Mazrui, Ali (1966). "Nkrumah: The Leninist Czar". Transition (26): 9–17. doi:10.2307/2934320. ISSN 0041-1191. JSTOR 2934320.
  9. Kilson, Martin L. (1963). "Authoritarian and Single-Party Tendencies in African Politics". World Politics (ภาษาอังกฤษ). 15 (2): 262–294. doi:10.2307/2009376. ISSN 1086-3338. JSTOR 2009376. S2CID 154624186. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  10. Bretton, Henry L. (1958). "Current Political Thought and Practice in Ghana*". American Political Science Review (ภาษาอังกฤษ). 52 (1): 46–63. doi:10.2307/1953012. ISSN 1537-5943. JSTOR 1953012. S2CID 145766298. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  11. "Ghana's Kwame Nkrumah: visionary, authoritarian ruler and national hero". Deutsche Welle (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  12. "Portrait of Nkrumah as Dictator". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 May 1964. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  13. "VII. The Reluctant Nation", One-Party Government in the Ivory Coast, Princeton: Princeton University Press, pp. 219–249, 31 December 1964, doi:10.1515/9781400876563-012, ISBN 978-1-4008-7656-3
  14. Commanding Heights, 1998
  15. "Country capabilities and the strategic state: How national political institutions affect multinational corporations' strategies". Long Range Planning. 28 (1): 142. 1995. doi:10.1016/0024-6301(95)92200-8. ISSN 0024-6301.
  16. Asante Fordjour (6 March 2006). "Nkrumah And The Big Six". Feature Article. Ghana Home Page. สืบค้นเมื่อ 2007-04-30.
  17. "Rulers - Nkrumah, Kwame". Lists of heads of state and heads of government. Rulers.org. สืบค้นเมื่อ 2007-03-24.
  18. Yaw Owusu, Robert (2005). Kwame Nkrumah's Liberation Thought: A Paradigm for Religious Advocacy in Contemporary Ghana. pp. 97.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bio
  20. "Kwame Nkrumah At Penn". University Archives and Records Center, University of Pennsylvania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-22.
  21. "Padmore and CLR James". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
แม่แบบ:S-dip
ก่อนหน้า กวาเม อึนกรูมา ถัดไป
วาระในพรรคการเมือง
New office หัวหน้าConvention People's Party
1948–66
สมัยต่อมา
สิ้นสุดตำแหน่ง
ตำแหน่งทางการเมือง
New office นายกรัฐมนตรีแห่งบริติชโกลด์โคสต์
1952–57
สมัยต่อมา
Himself as Prime Minister of Ghana
สมัยก่อนหน้า
Himself as Prime Minister of the Gold Coast
นายกรัฐมนตรีกานา
1957–60
Vacant
Title next held by
Kofi Abrefa Busia
New office รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
1957–58
สมัยต่อมา
Kojo Botsio
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
1957–60
สมัยต่อมา
Charles de Graft Dickson
สมัยก่อนหน้า
Krobo Edusei
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
1958
สมัยต่อมา
Ashford Emmanuel Inkumsah
สมัยก่อนหน้า
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
as พระมหากษัตริย์แห่งกานา
ประธานาธิบดีกานา
1960–66
สมัยต่อมา
โจเซฟ อาร์เธอร์ อันกราห์
สมัยก่อนหน้า
Ebenezer Ako-Adjei
รัฐมนตรีว่าการกระทรงต่างประเทศ
1962–63
สมัยต่อมา
Kojo Botsio
สมัยก่อนหน้า
ญะมาล อับดุนนาศิร
ประธานองค์การสหภาพแอฟริกา
1965–66
สมัยต่อมา
โจเซฟ อาร์เธอร์ อันกราห์