ข้ามไปเนื้อหา

กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป (อังกฤษ: European Exchange Rate Mechanism, ย่อ: ERM) เป็นระบบซึ่งริเริ่มโดยประชาคมยุโรปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเงินยุโรป เพื่อลดความแปรปรวนของอัตราแลกเปลี่ยนและบรรลุเสถียรภาพการเงินในยุโรป เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน และการริเริ่มเงินยูโรสกุลเดียว ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 หลังเริ่มใช้เงินยูโร นโยบายได้เปลี่ยนเป็นการเชื่อมโยงสกุลเงินของประเทศนอกยูโรโซนเข้ากับเงินสกุลยูโร โดยมีสกุลเงินกลางเป็นจุดกลาง เป้าหมายคือ เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพของค่าเงินเหล่านี้ เช่นเดียวกับการเพิ่มกลไกการประเมินสำหรับสมาชิกยูโรโซนที่มีศักยภาพ กลไกนี้รู้จักกันในชื่อ ERM2

เจตนาและการดำเนินการ ERM

[แก้]

ERM ตั้งอยู่บนแนวคิดของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ แต่โดยอัตราแลกเปลี่ยนผันแปรได้ภายในขอบเขต ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังได้ชื่อว่า ระบบกึ่งอิงเงินสกุลอื่น (semi-pegged system) ก่อนเริ่มใช้เงินสกุลยูโร อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับหน่วยเงินตรายุโรป ซึ่งมูลค่าพิจารณาจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเศรษฐกิจประเทศผู้เข้าร่วม

กริด (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Parity Grid) ของอัตราทวิภาคี คำนวณได้จากพื้นฐานของอัตรากลางเหล่านี้ที่แสดงใน ECU และความผันผวนสกุลเงินต้องถูกจำกัดภายในขอบ 2.25% ทั้งสองฝ่ายของอัตราทวิภาคี (ยกเว้นสกุลลีร่าอิตาลี ซึ่งอนุญาตให้ขอบเป็น 6%) การแทรกแซงที่กำหนดและข้อตกลงกู้ยืมคุ้มครองสกุลเงินที่เข้าร่วมมิให้มีอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น

ใน พ.ศ. 2536 ขอบเขตดังกล่าวขยายเป็น 15% เพื่อจัดให้เหมาะสมกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสและสกุลอื่น

การถูกบีบออกจาก ERM ของปอนด์สเตอร์ลิง

[แก้]

สหราชอาณาจักรเข้า ERM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ถูกบีบให้ออกจากโครงการภายในสองปีหลังปอนด์สเตอร์ลิงได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากผู้สังเกตการณ์เงินตรา รวมทั้งจอร์จ โซรอส เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์ตกเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่เกิดขึ้นตามมา ถูกขนานนามภายหลังว่า "วันพุธทมิฬ" มีการทบทวนทัศนะต่อเหตุการณ์นี้โดยแสดงสมรรถนะทางเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งของสหราชอาณาจักรหลัง พ.ศ. 2535 โดยมีผู้วิจารณ์เรียกว่า "วันพุธขาว"[1] นักวิจารณ์บางคน หลังนอร์แมน เท็บบิต เรียก ERM ว่าเป็น "กลไกถดถอยตลอดกาล" (Eternal Recession Mechanism)[2] หลังสหราชอาณาจักรเข้าสู่ห้วงเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 สหราชอาณาจักรใช้เงินกว่า 6,000 ล้านปอนด์พยายามรักษาค่าเงินให้อยู่ในขีดจำกัดแคบ ๆ โดยมีรายงานกว้างขวางว่า รายได้ส่วนตัวของโซรอสมีถึง 1 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 12 ปอนด์ของประชากรอังกฤษแต่ละคน[3][4][5] และขนานนามโซรอสว่าเป็น "ชายผู้ทุบธนาคารอังกฤษ"

การแทนที่ด้วยสกุลยูโรและ ERM 2

[แก้]

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 อัตราแลกเปลี่ยนหน่วยเงินตรายุโรปของประเทศยูโรโซนถูกหยุดและมูลค่าของเงินยูโร ซึ่งขณะนั้นเข้าแทนที่หน่วยเงินตรายุโรปตามมูลค่า ถูกจัดตั้งขึ้น[6]

ใน พ.ศ. 2542 ERM 2 ได้ใช้แทน ERM ดั้งเดิม สกุลเงินกรีกและเดนมาร์กเป็นส่วนหนึ่งของกลไกใหม่นี้ แต่เมื่อกรีซเข้าร่วมยูโรใน พ.ศ. 2544 เงินโครนเดนมาร์กขณะนั้นถูกทิ้งให้เป็นสมาชิกผู้เข้าร่วมเพียงหนึ่งเดียว สกุลเงินใน ERM 2 อนุญาตให้ลอยตัวในพิสัย ±15% เทียบกับอัตรากลางของยูโร ในกรณีของโครน ธนาคารแห่งชาติเดนมาร์กรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในพิสัยแคบ ๆ ± 2.25% เทียบกับอัตรากลาง ที่ 1 ยูโร = 7.460 โครนเดนมาร์ก

ประเทศสหภาพยุโรปที่ยังมิได้ใช้เงินยูโรถูดคาดหวังให้เข้าร่วมเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีใน ERM 2 ก่อนเข้าร่วมยูโรโซน

สถานะปัจจุบัน

[แก้]

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ธนาคารกลางแห่งชาติสิบประเทศของประเทศสมาชิกใหม่กลายเป็นภาคีต่อความตกลงธนาคาร ERM 2 สดุลเงินแห่งชาตินั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ ERM 2 ตั้งแต่วันที่ตกลง

เงินครูนเอสโตเนีย ลิตัสลิทัวเนีย และโตลาร์สโลวีเนียถูกรวมเข้ากับ ERM 2 ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปอนด์ไซปรัส ลัตส์ลัตเวีย และลีรามอลตาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โครูนาสโลวาเกียเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[7] สกุลเงินของประเทศใหญ่ที่สุดซึ่งเข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ได้แก่ ซวอตีโปแลนด์ โครูนาเช็ก และโฟรินต์ฮังการี) ได้รับการคาดหวังให้ปฏิบัติตามในที่สุด

ประเทศอื่นซึ่งเข้าร่วมยูโรโซน และออกจาก ERM 2 มีสโลวีเนีย ไซปรัส มอลตา สโลวาเกียและเอสโตเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kaletsky, Anatole (9 June 2005). "The reason that Europe is having a breakdown...it's the Euro, stupid". The Times. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 30 December 2008.
  2. Tebbit, Norman (10 February 2005). "An electoral curse yet to be lifted". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 30 December 2008.
  3. http://books.google.com/books?cd=1&id=js_OAAAAIAAJ&dq=soros+pound+man+woman+and+child+in+britain&q=+man+woman+and+child#search_anchor
  4. http://books.google.com/books?cd=2&id=3OZTqgObT5EC&dq=soros+pound+man+woman+and+child+in+britain&q=+man+woman+and+child+#search_anchor
  5. http://books.google.com/books?id=J7I26pZK8TUC&pg=PP1&dq=soros+pound+man+woman+and+child+in+britain&cd=3#v=onepage&q=%20man%20woman%20and%20child%20in%20britain&f=false
  6. "Council Regulation (EC) No 1103/97 of 17 June 1997 on certain provisions relating to the introduction of the euro". สืบค้นเมื่อ 25 April 2010.
  7. "European Central Bank". European Central Bank. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.