กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย
หน้าตา
กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | R65 |
ICD-9 | 995.90 |
ในทางการแพทย์ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (systemic inflammatory response syndrome) หรือ SIRS เป็นภาวะการอักเสบของทั้งร่างกายโดยไม่ระบุสาเหตุของการติดเชื้อ นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
นิยามของ SIRS
[แก้]เกณฑ์ของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1992[1] ซึ่งแพทย์จะจัดว่าผู้ป่วยมีกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายต่อเมื่อมีอาการเข้าเกณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อย 2 ข้อ[2][3][4][5]
- อัตราหัวใจเต้น มากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
- อุณหภูมิร่างกายน้อยกว่า 36 หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
- อัตราหายใจเร็ว (tachypnea) คือมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือมี PaCO2 น้อยกว่า 4.3 kPa (32 mm Hg) ในการวัด blood gas
- เม็ดเลือดขาว (ภาวะเม็ดเลือดขาวมากเกิน (leukocytosis) หรือมากกว่า 12000 เซลล์/ลบ.มม.) (ภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยเกิน (leukopenia) < 4 x 109 หรือ > 12 x 109 เซลล์/ลิตร) หรือมีนิวโตรฟิลตัวอ่อนมากกว่า 10%
ความแตกต่างระหว่าง SIRS และภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
[แก้]มีคำที่มักจะใช้สับสนระหว่างกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (SIRS) และภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) SIRS ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่สงสัยหรือที่ทราบได้นั้นคือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
หรือกล่าวโดยสรุปว่า SIRS + การติดเชื้อ = ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ [2][3]
ภาวะแทรกซ้อนของ SIRS
[แก้]- ภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่รุนแรง คือภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่มีอวัยวะล้มเหลวตั้งแต่ 1 อวัยวะขึ้นไป
- กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายทำให้เกิดกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ (multiple organ dysfunction syndrome)
- ความดันต่ำ (hypotension) เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด
- ช็อกเหตุปริมาตรเลือดน้อย (hypovolemic shock)
สาเหตุของ SIRS
[แก้]- การบาดเจ็บ (trauma) ที่ร้ายแรง
- ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด
- ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ (Adrenal insufficiency)
- สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (Pulmonary embolism)
- ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพอง (aortic aneurysm)
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
- การตกเลือด (hemorrhage)
- การบีบรัดหัวใจ (cardiac tamponade)
- แอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis)
- การใช้ยาเกินขนาด
- แผลไหม้
- ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (acute pancreatitis)
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency) เช่น เอดส์[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis)
- ช็อก (Shock)
- ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (Septic shock)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine Consensus Conference: definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis". Crit. Care Med. 20 (6): 864–74. 1992. PMID 1597042.
- ↑ 2.0 2.1 Irwin RS, Cerra FB, Rippe JM. Irwin and Rippe's Intensive Care Medicine. 5th Ed. Lippincott Williams & Wilkins. Hagerstown, MD. 2003. ISBN 0-7817-1425-7. Publisher's information on the book เก็บถาวร 2005-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ 3.0 3.1 Marino PL. The ICU Book. 2nd Ed. Lippincott Williams & Wilkins. Hagerstown, MD. 1998. ISBN 0-683-05565-8. Publisher's information on the book เก็บถาวร 2006-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Sharma S, Steven M. Septic Shock. eMedicine.com, URL: http://www.emedicine.com/MED/topic2101.htm Accessed on Nov 20, 2005.
- ↑ Tslotou AG, Sakorafas GH, Anagnostopoulos G, Bramis J. Septic shock; current pathogenetic concepts from a clinical perspective. Med Sci Monit. 2005 Mar;11 (3) :RA76-85. PMID 15735579. Full Text.
- ↑ Santhanam S, Tolan RW. Sepsis. eMedicine.com, URL: http://www.emedicine.com/ped/topic3033.htm Accessed on Mar 12, 2006.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bacteremia and Septic Shock (Merck Manual) - explains the usage of the terms bacteremia, septic shock, sepsis and septicemia.