กลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย
หน้าตา
กลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย สำหรับประเทศไทยมีการจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญไว้สามกลุ่ม ตามทิศทางการวางตัวและการเคลื่อนที่
ประเภทของกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย
[แก้]- กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ปิง ทอดตัวผ่านอำเภอตากฟ้า, อำเภอพยุหะคีรี, อำเภอเมือง (นครสวรรค์), อำเภอขาณุวรลักษบุรี, อำเภอคลองขลุง, อำเภอเมือง (กำแพงเพชร) ในแนวทิศตะวันตกเฉัยงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 161 กิโลเมตร[1]
- กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ วางตัวอยู่ทางตะวันออกของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี อยู่ในร่องแม่น้ำกลอง และแควใหญ่ ไปจนถึงเขตแดนพม่า มีความยาวเฉลี่ยกว่า 500 กิโลเมตร เป็นรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวทั้งใหญ่และเล็กหลายครั้ง แต่ที่รุนแรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 มีขนาด 5.9 [2]
- กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ทอดตัวผ่านอำเภอทองผาภูมิ, อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนแกลง ทอดตัวผ่านอำเภอพนัสนิคม, อำเภอบ้านบึง, อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์, อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีความยาวโดยประมาณ 98 กิโลเมตร
ในมหายุคมีโซโซอิกมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แต่ในยุคเทอร์เชียรีทิศการเคลื่อนที่จะกลับไปทางขวา
- กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนเชียงแสน ทอดตัวผ่านอำเภอแม่จัน, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 22 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนแพร่ ทอดตัวผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 25 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ทอดผ่านอำเภอเมือง, อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น, อำเภอนาน้อย, อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 150 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนระนอง ทอดตัวผ่านอำเภอเมือง, อำเภอกะเปอร์, อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง, เลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 98 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทอดตัวผ่านอำเภอบ้านตาขุน, อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด, อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จากนั้นเลยไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ความยาว 148 กิโลเมตร
- กลุ่มรอยเลื่อนแบบปกติวางตัวอยู่ในแนวเกือบเหนือใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา
- กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์
- กลุ่มรอยเลื่อนปัตตานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
- ↑ "รอยเลื่อนมีพลัง ในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-17.
- กรมทรัพยากรธรณี. ธรณีวิทยาประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่2. ซอยร่วมศิริมิตร ถนนวิภาวดีรังสิต. โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
- แผ่นดินไหว..เขื่อนแตก..ไม่ง่าย??!!! ตั้งสติรับมือ...ปลอดภัย เก็บถาวร 2011-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่ประเทศไทยแสดงแนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยกรมทรัพยากรธรณี (พ.ศ. 2555)