กลุ่มภาษาวิซายัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กลุ่มภาษาวิซายัน เป็นกลุ่มของภาษาในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง กลุ่มภาษานี้ส่วนใหญ่ใช้พูดในบริเวณวิซายา แต่ก็มีผู้ใช้ในบริเวณบิกอล (โดยเฉพาะซอร์ซอกอนและมัสบาเต) หมู่เกาะทางใต้ของลูซอน ทางเหนือและทางตะวันตกของมินดาเนา และในจังหวัดซูลูที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมินดาเนา ผู้อยู่ในเมโทรมะนิลาบางส่วนพูดภาษาในกลุ่มนี้ด้วย
สมาชิกของภาษาในกลุ่มนี้มีมากกว่า 30 ภาษา ภาษาทีมีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดคือภาษาเซบัวโนมี 20 ล้านคน ในบริเวณวิซายากลาง ทางตะวันตกและทางเหนือของมินดาเนา อีก 2 ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษาฮิลิไกนอน มีผู้พูด 7 ล้านคนในวิซายาตะวันตก และภาษาวาไร-วาไร มีผู้พูด 3 ล้านคนในวิซายาตะวันออก
ระบบการเรียกชื่อ
[แก้]ผู้พูดกลุ่มภาษาวิซายันเป็นภาษาแม่ทั้งภาษาเซบัวโน ภาษาฮิลิไกนอน และภาษาวาไร-วาไรจะเรียกภาษาของตนว่าบีซายาหรือบินซายา แม้ว่าภาษาที่ต่างกันเหล่านี้จะฟังกันไม่เข้าใจก็ตาม สำหรับผู้พูดกลุ่มภาษานี้นอกวิซายาจะไม่ใช้คำว่าบีซายาอ้างถึงภาษาของตนเอง เช่นผู้พูดภาษาบูตัวนอน ภาษาซูริกานอน และภาษามัสบาเตญโญ คำว่าวิซายาหมายถึงหมายถึงภาษาเซบัวโน ในขณะที่ชาวเตาซุกที่เป็นมุสลิม คำว่าวิซายาหมายถึงชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
[แก้]ภาษาในกลุ่มนี้แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มย่อย ดังนี้
- ภาษาอาซี ใช้พูดบนเกาะตาบลัส เกาะบันตอน เกาะซีมารา และมาเอลโตรเด กัมโปในจังหวัดรอมบลอน
- ภาษาเซบัวโนรวมภาษาโบโฮลาโน
- กลุ่มวิซายาใต้ ได้แก่ ภาษาเตาซุก ภาษาบูตัวนอน ภาษาซูริกานอน
- กลุ่มวิซายากลาง ได้แก่ ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร ภาษารอมบลอน ภาษาอาตี ภาษากาปิซนอน ภาษามัสบาเตญโญ ภาษาโปโรฮานอน ภาษาบิโกล และอื่น ๆ
- กลุ่มวิซายาเหนือ ได้แก่ ภาษากินารายอา ภาษาอากลานอน ภาษาอีบายยานอน ภาษาออนฮัน ภาษากาลูยานอน ภาษากูโยนอน ภาษาราตักนอน และอื่น ๆ
จำนวนผู้พูด
[แก้]ภาษา | ISO 639 Lang Code |
จำนวนผุ้พูด |
---|---|---|
ภาษาอากลานอน | akl | 394,545 (1990 census) |
ภาษาอาตี | ati | 1,500 (1980 SIL) |
ภาษาอาซี | bno | 200,000 (2002 SIL) |
ภาษาบูตัวนอน | btw | 34,547 (1990 census) |
ภาษากาลูยานอน | clu | 30,000 (1994 SIL) |
ภาษากาปิซนอน | cps | 638,653 (2000) |
ภาษาเซบัวโน | ceb | 20,043,502 ในฟิลิปปินส์ (1995 census) |
ภาษากูโยนอน | cyo | 123,384 (1990 census) |
ภาษาฮิลิไกนอน | hil | 7,000,000 ในฟิลิปปินส์ (1995) |
ภาษาออนฮัน | loc | 85,829 (2000 WCD) |
ภาษากินารายอา | krj | 377,529 (1994 SIL) |
ภาษามาลายนอน | mlz | 8,500 (1973 SIL) |
ภาษามัสบาเตญโญ | msb | 350,000 (2002 SIL) |
ภาษาโปโรฮานอน | prh | 23,000 |
ภาษาราตักนอน | btn | 2 to 3 (2000 Wurm) (ใกล้ตาย) |
ภาษารอมโบลมานอน | rol | 200,000 (1987 SIL) |
Sorsogon, Masbate | bks | 85,000 (1975 census) |
Sorsogon, Waray | srv | 185,000 (1975 census) |
ภาษาซูริเกานอน | sul | 344,974 (1990 census) |
ภาษาเตาซุก | tsg | 900,000 ในฟิลิปปินส์ (2000 SIL) (ทุกประเทศ: 1,022,000) |
ภาษาวาไร-วาไร | war | 2,437,688 (1990 census) |
ทั้งหมด | 33,463,654 |