กลุ่มภาษาฟินโน-โวลกาอิก
หน้าตา
กลุ่มภาษาฟินโน-โวลกาอิก | |
---|---|
(สมมติฐาน) | |
ภูมิภาค: | เฟนโนสแกนเดียตอนเหนือ, รัฐบอลติก, รัสเซียตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ยูรัล
|
กลุ่มย่อย: | |
กลอตโตลอก: | None |
ขอบเขตของกลุ่มภาษาฟินโน-โวลกาอิก |
กลุ่มภาษาฟินโน-โวลกาอิก (Finno-Volgaic) เป็นกลุ่มย่อยตามสสสติฐานของตระกูลภาษายูราลิกซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วย กลุ่มภาษาบัลติก-ฟินนิก กลุ่มภาษามอร์ดวินิก ภาษามารี กลุ่มภาษาซามี คาดว่าแตกแขนงออกมาจากกลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิกเมื่อราว 2000 ปีก่อนคริสตฺศักราช[1][2][3]
แต่เดิมจัดให้กลุ่มภาษามอร์ดวินิกและภาษามารีรวมกันเป็นกลุ่มภาษาโวลกา-ฟินนิก ส่วนกลุ่มภาษาบัลติก-ฟินนิกรวมกับกลุ่มภาษาซามีเป็นกลุ่มภาษาฟินโน-แลปปิก ในปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ปฏิเสธการจัดกลุ่มภาษาโวลกา-ฟินนิก แต่สำหรับการจัดกลุ่มเป็นกลุ่มภาษาฟินโน-โวลกาอิก กลุ่มภาษาฟินโน-แลปปิก และกลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิกยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Differentiation of Uralic languages over time
- ↑ Encyclopedia of the Languages of Europe
- ↑ The Finno-ugric republics and the Russian state By Rein Taagepera; p. 33; ISBN 0-415-91977-0
- ↑ Salminen, Tapani 2002: Problems in the taxonomy of the Uralic languages in the light of modern comparative studies. http://www.helsinki.fi/~tasalmin/kuzn.html