ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาพบนแผ่นหินแห่งเทือกเขาอัลไตในมองโกเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาพบนแผ่นหินแห่งเทือกเขาอัลไตในมองโกเลีย *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศมองโกเลีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2554 (คณะกรรมการสมัยที่ 35)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กลุ่มภาพบนแผ่นหินแห่งเทือกเขาอัลไตในมองโกเลีย (อังกฤษ: Petroglyphic Complexes of the Mongolian Altai) เป็นภาพแกะสลักหินและที่ฝังศพจำนวนมากที่พบในแหล่งโบราณคดี 3 แห่งในบริเวณนี้ อธิบายถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของมองโกเลียที่มีมากว่า 12,000 ปี ภาพสลักที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด (11,000-6,000 ปีก่อนคริสตกาล) แสดงว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยมีบางส่วนเป็นป่าละเมาะและหุบเขาที่อยู่อาศัยของนักล่าสัตว์ด้วยการล่าขนาดใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาพแกะสลักการต้อนฝูงสัตว์เป็นลักษณะเด่น ภาพสลักในยุคใหม่สุดแสดงถึงการเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นชนขี่ม้าเร่ร่อนอย่างอิสระในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงสมัยสิเถียนและสมัยอิทธิพลเติร์กตอนปลาย (คริสต์ศตวรรษที่ 7-8 หรือ พุทธศตวรรษที่ 12-13) ภาพแกะสลักเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดความเข้าใจต่อสภาพสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียเหนือที่มีคุณค่ายิ่ง

มรดกโลก

[แก้]

กลุ่มภาพบนแผ่นหินแห่งเทือกเขาอัลไตในมองโกเลียได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 35 เมื่อปี พ.ศ.2554 (ค.ศ. 2011) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว