ข้ามไปเนื้อหา

กลัมการี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลัมการีในพิพิธภัณฑ์ศิลปะมหานคร นิวยอร์ก

กลัมการี (อักษรโรมัน: Kalamkari) เป็นศิลปะภาพพิมพ์บนผืนผ้าที่มีที่มาจากอานธรประเทศในประเทศอินเดีย ศิลปกรรมโบราณนี้เชื่อว่ามีขึ้นมามากกว่า 3,000 ปี ก่อนจะแพร่ความนิยมมายังอินเดียใต้ในสมัยจักรวรรดิวิชัยนคร กลัม แปลว่า 'ปากกา' และ การี แปลว่า 'ศิลปกรรม' ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวโมกุลตั้งให้ในสมัยปกครองแถบเดกกัน กลัมการีแบบดั้งเดิมจะใช้สีย้อมธรรมชาติเท่านั้น และมีขั้นตอนการทำ 23 กระบวนการ[1][2][3] กลัมการีแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ คือ รูปแบบพิมพ์บล็อกที่ทำในมจิลิปัฏณัม และแบบวาดมือที่นิยมทำในศรีกาฬหัสติ

กลัมการีแบบศรีกาฬหัสติผลิตโดยใช้งานวาดมือด้วยปากกา มีผลืตเป็นหลักอยู่ที่ศรีกาฬหัสติในอำเภอตรีปุระ รูปแบบนี้นิยมสร้างเป็นรูปของบุคคลและเรื่องราวทางศาสนา และได้รับความนิยมขึ้นมาจากกมลเทวี จัตโตปาธยายขณะดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการหัตถกรรมอินเดียทั้งปวง[4]

กลัมการีแบบมจิลีปัฏณัม หรือแบบเปทานะ ใช้การพิมพ์บล็อก[5] มีผลิตเป็นหลักในมจิลิปัฏณัมในอำเภอกฤษณะ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของรัฐโดบรัฐบาล[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kalamkari: An Ancient Style of Hand Painting". Utsavpedia (Circular reference) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  2. "Fine Craftsmanship: A crash course on 8 art and craft traditions from India". Architectural Digest India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  3. Bajpai, Ishita (2020-02-20). "Watch: Learn About Different 'Lok Kalas' Of India". ED Times | Youth Media Channel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  4. Abraham, David (September 16, 2017). "The revivalist woman behind All India Handicrafts Board and Central Cottage Industries Emporia". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
  5. "Kalamkari back in demand". The Hindu. Tirupati. 25 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2011.
  6. "Registration Details of Geographical Indications" (PDF). Intellectual Property India, Government of India. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.