กฤชนนท์ อัยยปัญญา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
กฤชนนท์ อัยยปัญญา ชื่อเล่น ตั้น (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2523) เป็นนักธุรกิจ อาจารย์พิเศษระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน เคยเป็นผู้สมัครลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 29 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ประวัติ
[แก้]ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา (ตั้น) ชื่อเดิม กฤชนนท์ ห่อทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2523 กรุงเทพมหานคร
การศึกษา
[แก้]สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 8 (พ.ศ. 2544) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พ.ศ. 2550) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พ.ศ. 2557)
การทำงาน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2547 ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา ได้ก่อตั้งบริษัทเอกชนควบคู่กับการเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันอื่นๆ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่า คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การเมือง
[แก้]- ปี พ.ศ. 2561 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพรรค รวมไปถึงร่างนโยบายต่างๆ ของทางพรรค
- ปี พ.ศ. 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตบางแค (เขต 28) กรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ (ได้รับคะแนนเสียง 29,413 เสียง) โดยพ่ายแพ้ให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคอนาคตใหม่เพียง 146 คะแนน
- 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ได้รับการแต่งตั้งจากมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม
- 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งจากมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ปี พ.ศ. 2566 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเลือกตั้งที่ 29 กรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งคือนางสาวทิสรัตน์ เลาหพล ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล
ต่อมา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[1]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- อายุน้อยร้อยล้าน ธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์เคมี - thaitv channelthai, 16 กันยายน 2562
- ในวิกฤต...ยังมีโอกาส - ข่าวสด, 30 มกราคม 2559
- “สยามธุรกิจ” บุก เยี่ยมชม โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ “ ไอออนิค” การันตรีมาตราฐานระดับสากล - สยามธุรกิจ 29 มิถุนายน 2561
- เรื่องเล่าจากสองข้างทาง - มติชน เทคโนโลยีชาวบ้าน เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 เมษายน 2555
- ข่าวการเมือง - เดลินิวส์ , 9 มิถุนายน 2563
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พรรคพลังประชารัฐ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.