กรุสมบัติ
กรุสมบัติ (อังกฤษ: Treasure trove) อาจจะมีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นก้อนสมบัติที่รวมทั้งทอง, เงิน, อัญมณี, เงินตรา หรือสิ่งของมีค่าอื่น ๆ ที่ฝังเอาไว้ใต้ดิน หรือ ห้องใต้หลังคา หรือ ห้องใต้ดิน ที่ต่อมามาขุดพบ สมบัติที่อยู่ในข่ายนี้สรุปว่าเป็นสมบัติเก่าแก่ที่เจ้าของเดิมเสียชีวิตไปแล้วและไม่อาจจะหาทายาทได้ แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” และวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่พบแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเทศ และ แล้วแต่ยุคสมัย
นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้เป็นคำอุปมาอีกด้วย เช่นงานเขียนที่เป็นการรวบรวมเรื่องต่าง ๆ ก็อาจจะใช้ชื่อคำว่า “กรุสมบัติ” นำหน้าเช่น “กรุสมบัติแห่งวิทยาศาสตร์” นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการตั้งชื่อวรรณกรรมสำหรับเยาวชนเมื่อต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20
ที่มาของคำ
[แก้]กรุสมบัติแปลตรงตามตัวอักษรว่า “สมบัติที่พบ” คำนี้ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากคำว่า “tresor trové” ของภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส[1] ที่เทียบเท่ากับคำในภาษากฎหมายของภาษาละตินว่า “thesaurus inventus” ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของอังกฤษคำภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศสได้รับการแปลว่า “treasure found” (สมบัติที่พบ) แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มมีการพ่วงด้วยคำภาษาฝรั่งเศสว่า “trové” ที่แผลงเป็นภาษาอังกฤษเป็น “trovey”, “trouve” หรือ “trove”[2]
ความหมายอีกความหมายหนึ่งของคำว่า “กรุสมบัติ” เป็นการใช้อย่างเป็นอุปมาที่แปลว่า “สิ่งของที่มีค่าที่พบ” ฉะนั้นก็เท่ากับเป็นแหล่งของมีค่า หรือ ที่เก็บรักษาสิ่งของมีค่า[3]
ประวัติ
[แก้]กฎหมายโรมัน
[แก้]ในกฎหมายโรมันกรุสมบัติเรียกว่า “thesaurus” ที่แปลว่าสมบัติ และนิยามโดยนักกฎมายโรมันจูเลียส พอลลัส พรูเดนทิสซิมัสว่าเป็น “vetus quædam depositio pecuniæ, cujus non extat memoria, ut jam dominum non habeat”[4] (ที่บรรจุโบราณของเงินที่ไม่อยู่ในความทรงจำของผู้ใด ซึ่งเท่ากับไม่มีเจ้าของในปัจจุบัน[5] อาร์. ดับเบิลยู. ลีออกความเห็นใน “The Elements of Roman Law” (ฉบับที่ 4 ค.ศ. 1956) ให้ความเห็นว่าคำนิยามนี้เป็นคำนิยามที่ “ไม่เป็นที่น่าพอใจ” เพราะสมบัติมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเงินตราเท่านั้น หรือเป็นสิ่งที่ทิ้งโดยเจ้าของ[5] ภายใต้กฎหมายโรมัน ถ้าผู้ใดพบสมบัติในบริเวณที่ดินของตนเอง หรือ บนที่ดินที่เป็นเทวสถาน ผู้พบสมบัติดังว่าก็มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นสมบัติที่พบโดยบังเอิญ และ โดยมิได้จงใจที่จะหาในที่ดินของผู้พบ กึ่งหนึ่งของสมบัติก็จะเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งจะตกไปเป็นของเจ้าของที่ดินที่อาจจะเป็นพระมหาจักรพรรดิ, เจ้าหน้าที่การคลัง, เมือง หรือเจ้าของกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง[6] ตามความเห็นของนักกฎหมายดัตช์ฮูโก โกรเทียส (ค.ศ. 1583–ค.ศ. 1645) กล่าวว่าเมื่อระบบศักดินาแพร่ขยายไปทั่วยุโรป เจ้านายก็ถือกันว่าเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด สิทธิในการเป็นเจ้าของกรุสมบัติจึงกลายเป็น “jus commune et quasi gentium” (สิทธิสามัญและกึ่งสากล) ในอังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สเปน และ เดนมาร์ก[7]
กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ
[แก้]เป็นที่กล่าวกันว่าความคิดเกี่ยวกับกรุสมบัติในกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษมีมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ (ราว ค.ศ. 1003/1004 – ค.ศ. 1066) [8] ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษกรุสมบัติหมายถึงทองหรือเงินในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ, จาน หรือเครื่องช้อนส้อม[9] หรือแท่งเงิน หรือแท่งทอง[10][11] ที่ถูกซ่อนและมาพบในภายหลัง และไม่อาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ ถ้าต่อมาพบผู้เป็นเจ้าของ กรุสมบัติก็จะตกไปเป็นของเจ้าของ[12][13] หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าของเดิม การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติ สิ่งของในกรุต้องมีจำนวนพอสมควร ที่ประกอบด้วยทองหรือเงินจำนวนกึ่งหนึ่ง[14]
กรุสมบัติต้องเป็นสิ่งที่ซ่อนโดยมีวัตถุประสงค์ “animus revocandi” ที่หมายความว่าตั้งใจที่จะให้มาขุดคืนต่อมา ถ้าสิ่งของเพียงแต่หายหรือถูกทิ้งขว้างเช่นสิ่งของที่พบเกลื่อนกลาดบนพื้นดิน หรือ ในทะเล สิ่งของเหล่านั้นก็จะเป็นของบุคคลแรกที่พบ[12][15] หรือของเจ้าของที่ดินตามสมบัติที่สูญหาย, คลาดเคลื่อน และ ทิ้งขว้าง (Lost, mislaid, and abandoned property) ซึ่งเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการพบสิ่งของ ฉะนั้นสิ่งของที่พบในปี ค.ศ. 1939 ที่ซัททันฮูจึงไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติ เพราะสมบัติที่พบเป็นส่วนหนึ่งของการฝังศพในเรือ ซึ่งผู้ที่ทำการฝังไม่มีวัตถุประสงค์ที่มาขุดคืนต่อมา[16] สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งเครือจักรภพมีพระราชอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติที่พบ และถ้าสถานการณ์เกี่ยวกับการพบสมบัติเป็นสิ่งที่สรุปได้ว่าเป็นที่ถูกซ่อน สมบัตินั้นก็จะตกไปเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากจะมีผู้สามารถแสดงโฉนดหลักฐาน[17] สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถมอบสิทธิของกรุให้แก่ผู้ใดก็ได้ในรูปของอภิสิทธิ์โดยทุนสนับสนุนของรัฐบาล (government-granted monopoly) [12][13][18]
ผู้พบกรุหรือผู้รู้เบาะแสเกี่ยวกับกรุมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการพบสิ่งที่อาจจะเป็นกรุสมบัติต่อเจ้าหน้าที่ชันสูตรของตำบล การปิดบังการพบกรุถือว่ามีความผิดทางอาญา[19][20] ที่อาจจะได้รับการถูกลงโทษโดยการปรับหรือจำคุก[12][21] เจ้าหน้าที่ชันสูตรมีหน้าที่จัดการไต่สวนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อระบุว่าผู้ใดคือผู้พบ หรือ ผู้ใดที่สงสัยว่าเป็นผู้พบ[13][22] ถ้าปรากฏว่ามีการปิดบัง คณะผู้ไต่สวนก็สามารถทำการสืบสวนว่าสมบัติที่พบถูกซ่อนเร้นจากเจ้าของโดยชอบธรรมอย่างใด แต่ผลของการไต่สวนก็มักจะไม่เป็นที่สรุปได้[23] เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ไต่สวนมักจะไม่มีอำนาจในการสืบถามเกี่ยวกับโฉนดของสมบัติระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และผู้อ้างผู้อื่น ถ้าผู้ใดต้องการที่จะเสนอโฉนดต่อพระคลังผู้นั้นก็จะต้องดำเนินเรื่องเป็นกรณีทางศาลต่างหาก[20][24]
เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสหราชอาณาจักรมีหน้าที่เงินทดแทนให้แก่ผู้พบที่รายงานการพบอย่างรวดเร็วและส่งสมบัติต่อไปยังองค์การที่เหมาะสม เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงคุณค่าทางโบราณคดีของสิ่งของดังกล่าว ที่ได้ทำการเก็บรักษาไว้สำหรับสถาบันแห่งชาติหรืออื่นๆ เช่นพิพิธภัณฑ์ สิ่งของที่มิได้ทำการเก็บรักษาเอาไว้ก็จะคืนให้แก่ผู้พบ[13][25]
กฎหมายจารีตประเพณีของสกอตแลนด์
[แก้]ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของกฎหมายสกอตแลนด์ บทที่เกี่ยวกับกรุสมบัติของสกอตแลนด์ยังคงถือว่าเป็นกรณีพิเศษในหัวข้อของกฎหมายทั่วไปในมาตราที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” (bona vacantia) ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่สูญหาย, หลงลืม หรือ ทิ้งขว้าง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ระบุว่า “quod nullius esfit domini regis” คือไม่เป็นของผู้ใดที่กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถาบันกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติ เพราะถือว่ากรุสมบัติคือ “regalia minora” หรือ “สมบัติย่อยของพระมหากษัตริย์” ซึ่งหมายถึงสิทธิในเรื่องทรัพย์สมบัติที่สถาบันพระมหากษัตริย์กษัตริย์มีสิทธิที่จะทำเช่นใดก็ได้กับสมบัติดังกล่าวที่รวมทั้งการมอบให้แก่ผู้อื่นด้วย
กฎหมายสหรัฐอเมริกา
[แก้]รัฐหลายรัฐในสหรัฐอเมริกาอนุมัติการใช้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษเป็นระบบกฎหมายของรัฐ ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 1863 สภานิติบัญญัติแห่งไอดาโฮอนุมัติกฎหมายที่ทำให้ “กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ...เป็นกฎของการตัดสินโดยศาลทุกศาล” ของรัฐ แต่พื้นฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษในข้อที่เกี่ยวกับกรุสมบัติไม่มีผลในสหรัฐอเมริกา ในกรณีนี้ศาลใช้กฎที่เกี่ยวกับการพบสิ่งของที่สูญหายหรือไม่มีเจ้าของแทนที่
กฎที่เกี่ยวกับกรุสมบัติได้รับการพิจารณากันอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกโดยศาลฎีกาแห่งรัฐออริกอนในปี ค.ศ. 1904 ในกรณีที่เกี่ยวกับเด็กชายผู้พบเหรียญทองที่มีมูลค่าหลายพันดอลลาร์สหรัฐที่ซ่อนไว้ในกล่องโลหะขณะที่ทำความสะอาดเล้าไก่ ศาลเข้าใจผิดว่ากฎที่ใช้ในการตัดสินเป็นกฎเดียวกันกับกฎที่ใช้ก่อนหน้านั้นในการระบุความเป็นเจ้าของแก่ผู้พบสิ่งของที่สูญหายและหาเจ้าของไม่ได้ การที่ศาลตัดสินว่าสิ่งที่พบเป็นของเด็กผู้พบก็เท่ากับเป็นนัยยะว่าผู้พบมีสิทธิในสิ่งของที่ถูกฝังเอาไว้ และละเลยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่พบสมบัติ[26]
ในปีต่อๆ มานโยบายทางกฎหมายก็ยิ่งเพิ่มความคลุมเคลือจากกรณีของอังกฤษและอเมริกันที่เกิดขึ้นที่ตัดสินว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิในสมบัติมีค่าที่พบในที่ดินศาลฎีกาแห่งรัฐเมนทำการพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ใหม่ซึ่งเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างชายสามคนขุดพบเหรียญขณะที่ขุดดินในที่ดินที่เป็นของนายจ้าง ศาลตัดสินตามแนวของคดีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ในไอดาโฮ และตัดสินว่าสมบัติที่ขุดพบเป็นของผู้พบ ในช่วง 30 ปีต่อมาศาลในรัฐต่างๆ ที่รวมทั้ง จอร์เจีย, อินดีแอนา, ไอโอวา, โอไฮโอ และ วิสคอนซิน ต่างก็ใช้กฎที่ดัดแปลงเกี่ยวกับ “treasure trove” ที่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 แต่ตั้งแต่นั้นมาแนวการตัดสินคดีดังกล่าวก็หมดความนิยมลง หนังสือตำราทางกฎหมายสมัยใหม่ถือว่าเป็น “การตัดสินที่เป็นการยอมรับ ถ้าไม่ควบคุม” แต่ก็มีผู้ออกความเห็นว่าเป็น “การตัดสินของกลุ่มน้อยที่มีที่มาอันเคลือบแคลง ที่ใช้กันอย่างเข้าใจผิด และไม่ถูกต้องในรัฐต่างๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1904 จนถึงปี ค.ศ. 1948”[26]
นิยามทางกฎหมายในปัจจุบัน
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]อังกฤษ, ไอร์แลนด์เหนือ และ เวลส์
[แก้]ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกร, นักโบราณคดี และ นักล่าสมบัติต่างก็มีโอกาสขุดพบสมบัติอันสำคัญที่มีคุณค่าอันใหญ่หลวงทางประวัติศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และทางคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ แต่ความจำกัดของกฎหมายทำให้สิ่งที่ค้นพบได้รับการตัดสินว่าไม่อยู่ในข่ายที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการถูกนำไปขายยังต่างประเทศ หรือ รอดมาได้ด้วยการซื้อขายในราคาสูงเพื่อรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวอย่างเช่นสิ่งของที่เป็นของซัททันฮูที่ไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติเพราเป็นสมบัติที่ฝังไว้กับผู้ตาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการฝังสมบัติที่มีวัตถุประสงค์ในการซ่อนเพื่อที่จะมาขุดพบใหม่ต่อมา ต่อมาอีดิธ เมย์ พริททีผู้เป็นเจ้าของอุทิศสมบัตินี้ให้แก่ชาติในพินัยกรรมในปี ค.ศ. 1942
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 ก็ได้มีผู้พบกรุเหรียญกษาปณ์โรมัน ราว 7,811 เหรียญที่ฝังไว้ในทุ่งในลิงคอล์นเชอร์ ที่ประกอบด้วยเหรียญที่เชื่อกันว่าตีราวระหว่าง ค.ศ. 253 ถึง ค.ศ. 281 ศาลตัดสินว่าไม่ใช่กรุสมบัติเพราะเหรียญมีส่วนประกอบที่เป็นเงินต่ำ ฉะนั้นจึงเป็นสมบัติของเจ้าของทุ่งที่พบ และ ไม่เป็นอาจจะนำมาเป็นของพิพิธภัณฑ์บริติชได้[27]
ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996[28] จึงได้แจงรายละเอียดใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1997[29] ที่ว่าสมบัติใดที่พบเมื่อหรือหลังวันดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการฝังด้วยวัตถุประสงค์ใด หรือแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สูญหาย หรือ ทิ้งเอาไว้โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมาขุดคืน จะเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นอยู่กับความสนใจ และ สิทธิขององค์กรของสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้น[30] รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม, การสื่อสาร และการกีฬาอาจจะมีหน้าที่ในการโยกย้าย หรือ กำจัด[31] หรือในการจัดการสิทธิที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของของสถาบันพระมหากษัตริย์[32][33]
พระราชบัญญัติใช้คำว่า “สมบัติ” แทนคำว่า “กรุสมบัติ” คำหลังในปัจจุบันจำกัดใช้เฉพาะสำหรับสิ่งที่ค้นพบก่อนนหน้าที่จะมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งที่อยู่ในข่าย “สมบัติ” ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้แก่[33][34]
- ถ้าสิ่งที่พบไม่ใช่เหรียญ[35] ก็จะต้องเป็นสิ่งที่มีอายุอย่างน้อย 300 ปี[36] และมีน้ำหนักที่เป็นโลหะมีค่า (คือทองหรือเงิน) [37] อย่างน้อย 10%[38]
- ถ้าสิ่งที่พบเป็นเหรียญก็อาจจะเป็น:
- เหรียญชนิดเดียวกันอย่างน้อยสองเหรียญในสมบัติกลุ่มเดียวกันที่พบ[39] ที่มีอายุอย่างน้อย 300 ปีเมื่อพบ และ มีน้ำหนักที่เป็นโลหะมีค่าอย่างน้อย 10% หรือ
- เหรียญชนิดเดียวกันอย่างน้อยสิบเหรียญในสมบัติกลุ่มเดียวกันที่พบที่มีอายุอย่างน้อย 300 ปีเมื่อพบ
- สิ่งที่มีอายุอย่างน้อย 200 ปีเมื่อพบที่เป็นของกลุ่มสิ่งของที่ถือว่ามีคุณค่าสำคัญทางประวัติศาสตร์, โบราณคดี หรือวัฒนธรรมที่ได้รับการระบุโดยรัฐมนตรีแห่งรัฐ[40] เมื่อปี ค.ศ. 2006 กลุ่มสิ่งของดังกล่าวประกอบด้วย:[41]
- สิ่งใดก็ตามที่เป็นกรุสมบัติที่พบก่อนวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1997
- สิ่งใดก็ตามที่เมื่อพบเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พบในกรุเดียวกันที่รวมทั้ง:
- สิ่งที่กล่าวในหัวข้อ (1), (2), (3) หรือ (4) ข้างต้นที่พบในเวลาเดียวกันหรือก่อนหน้านั้น หรือ
- สิ่งที่ก่อนหน้านั้นที่ตกอยู่ในหัวข้อ (1), (2) หรือ (3) ข้างต้นที่พบในเวลาเดียวกัน
สมบัติไม่รวมสิ่งของธรรมชาติที่ไม่ได้รับประดิษฐ์ หรือ โลหะที่หลอมจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือ หรือ สิ่งที่ได้รับการระบุว่าไม่เป็นสมบัติ[44] โดยโดยรัฐมนตรีแห่งรัฐ[45] สิ่งของที่ตกอยู่ในข่ายสิ่งของจากเรือแตก[46] ก็ไม่ถือว่าเป็นสมบัติ[33][47]
ผู้ตรวจสอบยังคงมีอำนาจทางกฎหมายในการสืบถามเกี่ยวสมบัติที่พบในดิสตริคท์ของตนเอง และเกี่ยวกับผู้สงสัยว่าจะเป็นผู้พบ[48] ผู้ใดก็ตามที่พบสิ่งของไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่สงสัยว่าสิ่งที่พบอาจจะเป็นสมบัติต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ในดิสตริคท์ที่พบสิ่งของภายใน 14 วันเริ่มตั้งแต่วันหลังจากวันที่พบ ถ้าต่อมาก็คือวันที่ผู้พบเชื่ออย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่พบคือสมบัติ[49] Not doing so is an offence.[50] การสืบสวนจัดขึ้นโดยไม่มีคณะผู้พิจารณานอกจากว่าผู้ตรวจสอบจะระบุ[51] ผู้ตรวจสอบต้องรายงานต่อพิพิธภัณฑ์บริติชถ้าดิสตริคท์ตั้งอยู่ในอังกฤษ, กระทรวงสิ่งแวดล้อมถ้าในไอร์แลนด์เหนือ หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งเวลส์[52] เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินตามขั้นตอนอันเหมาะสมในการแจ้งผู้ใดก็ตามที่ดูเหมือนจะเป็นผู้พบสมบัติ, ผู้ใดก็ตามที่เมื่อพบสมบัติเป็นอยู่ในที่ดินที่พบสมบัติ[53] และผู้ใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพบ หรือ ผู้มีผลประโยชน์ในที่ดินที่พบสมบัติในขณะนั้น[54] แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่มีอำนาจในการตัดสินทางกฎหมายว่าผู้พบ, เจ้าของที่ดิน หรือ ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินมีลิขสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ ศาลเท่านั้นที่จะมีสิทธิในการต้ดสินดังกล่าว และอาจจะตรวจสอบรายงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับสมบัติที่พบ[33][55]
ในกรณีที่สมบัติเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์และต้องส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑ์ รัฐมนตรีแห่งรัฐก็จะต้องระบุว่าทางพิพิธภัณฑ์ควรจะให้รางวัลอย่างใดหรือไม่ก่อนที่จะทำการโยกย้าย[56] แก่ผู้พบ, ผู้เกี่ยวข้อง, ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ดิน หรือผู้มีผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในที่ดินในช่วงเวลาที่พบสมบัติ[57] ถ้ารัฐมนตรีแห่งรัฐเห็นควรว่าควรจะจ่ายรางวัล ก็จะต้องระบุราคาตลาดของสมบัติดังกล่าวโดยความช่วยเหลือของคณะกรรมการประเมินราคาสมบัติผู้มีหน้าที่ในด้านนี้[58], จำนวนเงินรางวัล (ที่ไม่เกินราคาตลาด) และ ผู้ควรได้รับรางวัล และ ถ้ามีผู้รับเกินกว่าหนึ่งคนแต่ละคนควรจะได้คนละเท่าใด[33][59]
ในอังกฤษและเวลส์ผู้พบสิ่งของที่มิได้ถือว่าเป็น “สมบัติ” หรือ “กรุสมบัติ” ได้รับการสนับสนุนให้รายงานเกี่ยวกับพบโดยความสมัครใจภายใต้ “โครงการสมบัติโบราณที่เคลื่อนย้ายได้” (Portable Antiquities Scheme) ต่อเจ้าหน้าที่บริหารหรือพิพิธภัณฑ์ส่วนท้องถิ่น ตามโครงการนี้ที่เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1997 เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบสิ่งที่พบและรายงานข้อมูลแก่ผู้พบ นอกจากนั้นแล้วก็จะทำการบันทึกสิ่งของที่พบ, ประโยชน์การใช้สอย, เวลาที่สร้าง, วัสดุ และ ตำแหน่งที่พบ และ เก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่พบอาจจะใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับบริเวณที่พบต่อมา[60] สิ่งของที่มิได้ถือว่าเป็น “สมบัติ” เป็นของผู้พบหรือเจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิในการทำอย่างใดก็ได้ต่อสิ่งของที่พบตามความประสงค์[61]
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ก็มีการพบสมบัติแองโกล-แซ็กซอนจำนวนมากที่สุดตั้งแต่เคยพบมา ที่ประกอบด้วยสิ่งของที่ทำด้วยทองและโลหะมีค่าจำนวนกว่า 1,500 ชิ้น ที่รวมทั้งดาบตกแต่ง และ หมวกเกราะที่สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 600 ถึง ค.ศ. 800 เทอร์รี เฮอร์เบิร์ตผู้พบสิ่งของดังกล่าวที่สตาฟฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษรายงานการพบต่อเจ้าหน้าที่ “โครงการสมบัติโบราณที่เคลื่อนย้ายได้” และเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2009 สิ่งของที่พบก็ได้รับการประกาศว่าเป็น “สมบัติ” โดยเจ้าหน้าที่ของเซาธ์สตาฟฟอร์ด[62]
สกอตแลนด์
[แก้]พระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996 ไม่มีผลบังคับใช้ในสกอตแลนด์[63] การตัดสินกรณี “กรุสมบัติ” ในสกอตแลนด์จะตัดสินตามกฎหมายคอมมอนลอว์ของสกอตแลนด์ กฎโดยทั่วไปสำหรับ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” – ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่สูญหาย, หลงลืม หรือ ทิ้งขว้าง เป็น “quod nullius esfit domini regis” คือสิ่งที่ไม่เป็นของผู้ใดจะกลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[64][65] และกฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติเป็นกรณีพิเศษของกฎข้อนี้[66] สกอตแลนด์ก็เช่นเดียวกับอังกฤษ สถาบันกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติ[67] เพราะถือว่ากรุสมบัติคือ “regalia minora” หรือ “สมบัติย่อยของพระมหากษัตริย์”[68] ซึ่งหมายถึงสิทธิในเรื่องทรัพย์สมบัติที่สถาบันพระมหากษัตริย์กษัตริย์มีสิทธิที่จะทำเช่นใดก็ได้กับสมบัติดังกล่าวที่รวมทั้งการมอบให้แก่ผู้อื่นด้วย[69]
การที่จะระบุได้ว่าเป็นกรุสมบัติได้ สิ่งของที่พบจะต้องเป็นสิ่งที่มีค่า สิ่งที่ซ่อนไว้ และ สิ่งที่ไม่มีข้อพิสูจน์หรือข้อสงสันในความเป็นเจ้าของโดยเจ้าของเดิม แต่ไม่เช่นเดียวกับกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ ซึ่งกรุสมบัติไม่จำกัดอยู่แต่เพียงสิ่งที่ทำด้วยเงินหรือทองเท่านั้น[70] ในปี ค.ศ. 1888 ทางการอ้างว่าได้มีการขุดพบสร้อยที่ทำด้วยแร่เจ็ต และสิ่งอื่นๆ ที่ฟอร์ฟาร์เชอร์ ซึ่งไม่ใช่สมบัติที่ทำด้วยเงินหรือทอง หลังจากที่ทำการตกลงกันได้แล้วสมบัติดังกล่าวก็ได้ทำการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์[7] ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1958 ก็ได้มีการขุดพบกระดูกวาฬพร้อมด้วยสิ่งของอีก 28 ชิ้นที่ทำด้วยเงินเจือ (เข็มกลัด 12 ชิ้น, ชาม 7 ใบ, ชามแขวน และ งานโลหะชิ้นเล็กอื่นๆ) ใต้แผ่นหินที่มีเครื่องหมายกางเขนบนพื้นในวัดที่เกาะเซนต์นิเนียนในShetland สมบัติที่พบมีอายุมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 800 หลังจากการพบแล้วก็เกิดการฟ้องร้องกันในคดีเกี่ยวกับสิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติดังกล่าวระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ข้างหนึ่ง และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีนผู้ดำเนินการสำรวจทางโบราณคดีผู้เป็นผู้พบอีกข้างหนึ่ง ในกรณี สถาบันพระมหากษัตริย์ v. มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (Lord Advocate v. University of Aberdeen) ในปี ค.ศ. 1963 ศาลตัดสินว่าสมบัติที่พบตกอยู่ในข่ายกรุสมบัติ[71] นอกจากนั้นแล้วกฎที่ระบุว่าสมบัติต้องเป็นสิ่งที่ถูก "ซ่อน" มิได้มีความหมายมากไปกว่าเป็นสิ่งที่ถูกอำพราง ซึ่งหมายถึงสภาวะของการขุดพบและมิได้หมายถึงวัตถุประสงค์เดิมของผู้เป็นเจ้าของในการทำการซ่อนสิ่งของดังกล่าว[72] ผลที่สุดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการไม่อาจระบุเจ้าของเดิมได้อย่างแน่นอนนั้น หมายความว่าจะต้องไม่มีวิธีที่สามารถที่จะสืบหาบุคคลที่เป็นเจ้าของเดิมหรือลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ได้[73] แม้ว่าสมบัติจะมิได้ตกอยู่ในข่ายกรุสมบัติแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อาจที่จะอ้างความเป็นเจ้าของได้ภายใต้ “ทรัพย์ปลอดพันธะ”[74]
ที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์และรัฐมนตรีการคลัง (Queen's and Lord Treasurer's Remembrancer (QLTR)) เป็นสำนักงานภายใต้การดำเนินการของผู้แทนพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีหน้าที่เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ในการอ้างสิทธิภายใต้ “ทรัพย์ปลอดพันธะ”[64] ผู้พบสิ่งของมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการพบแก่สำนักงานสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ องค์กรกรุสมบัติ (Treasure Trove Unit (TTU)) ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์ที่เอดินบะระห์ กรณีการพบแต่ละกรณีก็จะได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการเพื่อการระบุการเป็นเจ้าของของสมบัติทางโบราณคดีแห่งสกอตแลนด์ (Scottish Archaeological Finds Allocation Panel) ผู้มีหน้าที่ประเมินว่าสิ่งที่พบมีความสำคัญระดับชาติหรือไม่ ถ้ามีทางคณะกรรมการก็จะยื่นข้อเสนอโดยองค์กรกรุสมบัติต่อแผนกที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ที่สำนักงานสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ที่จะแจ้งไปยังผู้พบว่าสมบัติที่พบเป็นที่ยอมรับตามข้อเสนอของคณะกรรมการว่าเป็นกรุสมบัติหรือ “ทรัพย์ปลอดพันธะ”[75] นอกจากนั้นคณะกรรมการก็จะทำการเสนอต่อที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ถึงรางวัลสำหรับสมบัติตามราคาตลาดในขณะนั้นตามความเหมาะสม และ พิพิธภัณฑ์ในสกอตแลนด์ที่ควรจะมีหน้าที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติดังกล่าว จากนั้นองค์กรกรุสมบัติก็จะติดต่อกับพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้ทำการประมูลสมบัติถึงข้อเสนอของคณะกรรมการ พิพิธภัณฑ์มีเวลาทั้งหมด 14 วันในการคัดค้านหรือยอมรับข้อเสนอทั้งที่เกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษาและรางวัลที่จะให้แก่ผู้พบ ถ้าที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ก็จะแจ้งผู้พบเกี่ยวกับจำนวนเงินรางวัลและพิพิธภัณฑ์ที่จะมีหน้าที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติ และ จะแจ้งให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้พบ[75] ขณะที่กฎของกระทรวงการคลังของปี ค.ศ. 1886 ระบุให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติต่างๆ มีหน้าที่เก็บรักษาสมบัติอันเหมาะสม และ มีหน้าที่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้พบ[7] แม้ว่าทางสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะให้รางวัลสำหรับกรุสมบัติที่ทางสถาบันอ้างสิทธิ แต่ตามความเป็นจริงแล้วทางสถาบันก็มักจะทำการให้รางวัลโดยใช้ราคาตลาดเป็นแนวทาง จำนวนรางวัลอาจจะถูกหักหรือลดถ้าผู้พบทำความเสียหายให้แก่สิ่งที่พบเป็นต้นว่าโดยการจับถืออย่างไม่ถูกต้อง การทำความสะอาด หรือการขัดเงา[76] ผู้พบมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับรางวัลก็ได้ รางวัลมิได้มอบให้เมื่อการพบเกิดขึ้นระหว่างโครงการการขุดค้นอย่างเป็นทางการ[75]
สหรัฐอเมริกา
[แก้]กฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติของสหรัฐอเมริกาแตกต่างกันไปตามแต่รัฐ แต่ก็สามารถสร้างข้อสรุปโดยทั่วไปได้ว่า การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติได้ สิ่งของที่พบจะต้องเป็นเงินหรือทอง[77] ธนบัตรก็ถือว่าเป็นกรุสมบัติเพราะเป็นสิ่งที่ใช้แทนเงินหรือทองได้[78] จากพื้นฐานเดียวกันก็นับได้ว่าเหรียญที่ทำด้วยโลหะที่ไม่ใช่เงินหรือทองก็เป็นส่วนหนึ่งของกรุสมบัติ แต่ก็ยังต้องมีการวางรากฐานอย่างชัดเจนขึ้น[79] สิ่งของดังกล่าวต้องได้รับการซ่อนไว้เป็นเวลานานพอที่เจ้าของที่แท้จริงไม่อาจจะที่จะมีโอกาสที่จะปรากฏตัวมาอ้างความเป็นเจ้าของได้[80] ข้อที่ดูเหมือนจะพ้องกันคือวัตถุสิ่งของจะต้องมีอายุอย่างน้อยก็เป็นเวลาหลายสิบปี[81][82]
ศาลรัฐส่วนใหญ่ที่รวมทั้งศาลรัฐอาร์คันซอ, คอนเนตทิคัต, เดลาแวร์, จอร์เจีย, อินดีแอนา, ไอโอวา, เมน, แมริแลนด์, นิวยอร์ก, โอไฮโอ, ออริกอน และ วิสคอนซินต่างก็ตัดสินว่าสิทธิของสมบัติเป็นของผู้พบ ตามทฤษฎีแล้วการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษมีพื้นฐานมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิดั้งเดิมของผู้พบสมบัติ เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้นำมาบังคับใช้ในสหรัฐอเมริกาหลังจากการประกาศอิสรภาพ สิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติจึงหวนกลับไปเป็นของผู้พบ[83] ในไอดาโฮ[84] และ เทนเนสซี[85] ศาลตัดสินว่ากรุสมบัติเป็นของเจ้าของที่ที่พบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการให้รางวัลแก่ผู้บุกรุกเข้ามาในที่ดินที่เป็นของผู้อื่น ในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นในรัฐเพนซิลเวเนีย[86] ศาลล่างตัดสินว่าคอมมอนลอว์มิได้ให้สิทธิกรุสมบัติแก่ผู้พบแต่เป็นของพระมหากษัตริย์ และทำการมอบเงินจำนวน 92,800 ดอลลาร์สหรัฐ92,800 ให้แก่รัฐ แต่คำพิพากษาดังกล่าวมาถูกเปลี่ยนโดยศาลฎีกาแห่งรัฐเพนซิลเวเนียต่อมาด้วยเหตุผลที่ว่ายังมิได้มีการตัดสินอย่างเป็นทางการว่ากฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของรัฐเพนซิลเวเนีย[87] ส่วนศาลฎีกายังคงพยายามเลี่ยงการตัดสินที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว[88]
ในรัฐอื่นๆ การพบเงินหรือสิ่งของที่สูญหายดำเนินไปตามกฎที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติ รัฐบัญญัติดังว่านี้ระบุให้ผู้พบรายงานการพบและมอบสิ่งของที่พบต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำการโฆษณาเพื่อที่จะพยายามหาเจ้าของที่แท้จริง ถ้าไม่มีผู้ใดอ้างสิทธิในช่วงเวลาที่ระบุไว้สิทธิในการเป็นเจ้าของก็จะตกไปเป็นของผู้พบ[89] นิวเจอร์ซีย์ระบุว่าสมบัติที่ฝังหรือซ่อนเป็นของเจ้าของที่ดิน[90], อินดีแอนาระบุว่าเป็นของเคาน์ตี้[91], เวอร์มอนต์ระบุว่าเป็นของเมือง[92] และเมนระบุว่าเป็นของเมืองและผู้พบเท่าๆ กัน[93][94] ลุยเซียนาใช้ประมวลกฎหมายฝรั่งเศสซึ่งระบุว่ากึ่งหนึ่งของสมบัติเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งเป็นของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน[7] ส่วนกฎหมายของเปอร์โตริโกที่มีพื้นฐานมาจากกฎหมายแพ่งก็คล้ายคลึงกัน[95]
ผู้พบที่เป็นผู้รุกล้ำที่ดินมักจะไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ[96] นอกจากว่าผู้รุกล้ำจะถือว่าเป็น “technical or trivial”[97][98]
ในเกือบทุกกรณีที่ถ้าผู้พบเป็นลูกจ้างสิ่งที่พบก็ควรจะเป็นของนายจ้างถ้าเกิดเป็นคดีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของลูกค้า ถ้าไม่เช่นนั้นก็ควรจะตกไปเป็นของลูกจ้าง[99] สมบัติที่พบในธนาคารโดยทั่วไปแล้วก็จะตกไปเป็นของธนาคาร เพราะสมบัติดังกล่าวก็น่าที่จะเป็นของลูกค้าของธนาคาร และธนาคารก็มีหน้าที่ต่อลูกค้า (fiduciary duty) ในการพยายามหาเจ้าของของสมบัติที่หายไป[100] เช่นเดียวกันกับผู้รับส่ง (common carrier) มีหน้าที่ต่อผู้โดยสาร[101] หรือโรงแรงมีหน้าที่ต่อแขก (เฉพาะเมื่อสิ่งของที่พบพบในห้องพักมิใช่บริเวณทั่วไปในโรงแรม) [102][103] ทัศนคตินี้ใช้เป็นพื้นฐานที่เหมาะแก่สิ่งของที่สูญหายไปไม่นานนัก เพื่อที่จะพยายามหาเจ้าของให้แก่สิ่งของที่พบ แต่ก็เท่ากับเป็นการยกสิทธิความเป็นเจ้าของให้แก่สิ่งของเก่าให้แก่เจ้าของที่ดิน เพราะของเก่ามีโอกาสน้อยที่จะกลับไปเป็นของเจ้าของเดิม กฎดังกล่าวจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่มีคุณค่าทางโบราณคดี[26]
เนื่องจากการขัดกันของผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ[104] และบุคคลอื่นผู้มีหน้าที่ทางด้านการบังคับใช้กฎหมาย[105] และทหาร[106] ในบางรัฐไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ[107]
ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางโบราณคดี ค.ศ. 1979 ของสหรัฐอเมริกา[108] ระบุว่าสมบัติที่พบที่มีอายุกว่าหนึ่งร้อยปีบนที่ดินที่เป็นของรัฐบาลเป็นของรัฐบาล ส่วนในกรณีสมบัติสุสานของชาวอเมริกันอินเดียนที่พบบนดินแดนของรัฐบาลกลาง (Federal lands) และดินแดนของชนเผ่าอเมริกันอินเดียนก็จะใช้กฎหมายเฉพาะกรณีภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองและการเวนคืนสุสานชาวอเมริกันอินเดียน (Native American Graves Protection and Repatriation Act) [109] enacted on 16 November 1990.[110]
ดูเพิ่ม
[แก้]- Geocaching
- Gold coin
- Hoard
- Lost, mislaid, and abandoned property
- Silver coin
- Treasure Valuation Committee
อ้างอิง
[แก้]- ↑ That is, the dialect of French that developed in England following the decline of the Anglo-Norman language.
- ↑ "treasure-trove", OED Online (2nd ed.), Oxford: Oxford University Press, 1989, สืบค้นเมื่อ 10 April 2008.
- ↑ "trove", OED Online (2nd ed.), Oxford: Oxford University Press, 1989, สืบค้นเมื่อ 11 April 2008. See, for example, the following news articles: Rebecca Morelle (16 May 2007), Antarctic 'treasure trove' found, BBC News ("An extraordinarily diverse array of marine life has been discovered in the deep, dark waters around Antarctica.") ; Helen Briggs (11 March 2008), Cosmic 'treasure trove' revealed, BBC News ("A Nasa space probe measuring the oldest light in the Universe has found that cosmic neutrinos made up 10% of matter shortly after the Big Bang. ... Scientists say it is collecting a 'treasure trove' of information about the Universe's age, make-up and fate.") ; "The Titanic historical treasure trove discovered in a shoe box after death of last living survivor", Daily Mail, 28 March 2008 ("The moving story of one of the last survivors of the Titanic can be revealed for the first time after touching letters and documents were discovered after her death.").
- ↑ Digest, 41. I. 31, 1: see Justinian I; Thomas Collett Sandars, transl. & annot. (1859), The Institutes of Justinian (2nd ed.), London: John W. Parker and Son, p. 190.
- ↑ 5.0 5.1 R.W. Lee (1956 (2007 printing)), The Elements of Roman Law: With a Translation of the Institutes of Justinian (4th ed.), London: Sweet & Maxwell, p. 139 (§211: "Thesaurus (treasure)"), ISBN 978-0-421-01780-1 (pbk.)
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help). - ↑ Institutes of Justinian, bk. II, tit. i, para. 39: see Sandars, Institutes of Justinian, p. 190; Lee, Elements of Roman Law, pp. 139, 145.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Hugh Chisholm, ed. (1910–1911), The Encyclopædia Britannica (11th ed.), Cambridge: Cambridge University Press
{{citation}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help), 29 vols. - ↑ Tom Denning, Baron Denning M.R. in Attorney-General of the Duchy of Lancaster v. G.E. Overton (Farms) Ltd. [1982] Ch. 277 at p. 285, Court of Appeal of England and Wales
- ↑ "plate, n.", OED Online, Oxford: Oxford University Press, March 2008, สืบค้นเมื่อ 9 April 2008.
- ↑ "bullion2", OED Online (2nd ed.), Oxford: Oxford University Press, 1989, สืบค้นเมื่อ 9 April 2008.
- ↑ In Attorney-General of the Duchy of Lancaster v. G.E. Overton (Farms) Ltd., p. 288, Lord Denning said: "'Coin' is a coin of gold or silver, 'plate' is something manufactured of it; 'bullion' is a lump of it. Anything which is not a gold or silver object is not treasure trove."
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Edward Coke (1648), The Third Part of the Institutes of the Laws of England: Concerning High Treason, and other Pleas of the Crown, and Criminall Causes, London: M. Flesher, for W. Lee, & D. Pakeman, pp. 132–133.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Lord Simonds, gen. ed. (1954), Halsbury's Laws of England, vol. 7 (3rd ed.), London: Butterworths & Co., p. 540
{{citation}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help), paras. 1161–1163. - ↑ Attorney-General of the Duchy of Lancaster v. G.E. Overton (Farms) Ltd. at pp. 291–292.
- ↑ Henry de Bracton; Samuel E. Thorne (transl.) (1968–1977), Bracton on the Laws and Customs of England, Cambridge, Mass.; London: Belknap Press of Harvard University Press in association with the Selden Society, book 3, ch. 3, folio 118; Armory v. Delamirie (1722) 1 Stra. 505.
- ↑ Rupert [Leo Scott] Bruce-Mitford (1975), The Sutton Hoo Ship-burial: Vol. 1, Excavations, Background, the Ship, Dating and Inventory, London: British Museum Publications, pp. 718–731, ISBN [[Special:BookSources/9780714113340, 9780714113319|9780714113340, [[Special:BookSources/9780714113319|9780714113319]]]]
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help). - ↑ Attorney-General v. Moore [1893] 1 Ch. 676 at 683; Attorney-General v. Trustees of the British Museum [1903] 2 Ch. 598.
- ↑ John Rastell (1624), Les Termes de la Ley: Or, Certaine Difficult and Obscure Words and Termes of the Common Lawes of this Realme Expounded. [By John Rastell.] Now newly imprinted, and much inlarged and augmented, London: Company of Stationers, p. 565, OCLC 222436919; Joseph Chitty the Younger (1820), A Treatise on the Law of the Prerogatives of the Crown; and the Relative Duties and Rights of the Subject, London: J. Butterworth & Son, p. 152, OCLC 66375255, cited with approval in Attorney-General v. Moore, p. 683, and Attorney-General v. Trustees of British Museum, p. 608.
- ↑ R. v. Toole (1867) 11 Cox. C.C. 75; R. v. Thomas & Willett (1863) Le. & Ca. 313, 12 W.R. 108.
- ↑ 20.0 20.1 Lord Simonds, gen. ed. (1954), Halsbury's Laws of England, vol. 8 (3rd ed.), London: Butterworths & Co., pp. 543–544
{{citation}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help), paras. 1039–1040. - ↑ R. v. Thomas & Willett.
- ↑ De Officio Coronatoris (Office of Coroner Act) 1276 (4 Edw. I, c. 2), which was declaratory of the common law. This statute was repealed by the Coroners Act 1887 (50 & 51 Vict., c. 71), s. 45, Sch. 3, but the coroner's jurisdiction as regards treasure trove was preserved by ss. 36 and 45 (5) of the same Act. See also Bracton, book 3, ch. 6, fol. 122; John Britton; Francis Morgan Nichols, ed. (1865), Britton: The French Text Carefully Revised, with an English Translation, Introduction and Notes, Oxford: Clarendon Press, pp. 8, 18, 66, OCLC 25061529
{{citation}}
:|author2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); Michael Dalton (1670), Officium Vicecomitum: The Office and Authority of Sherifs: Gathered out of the Statutes ... to which is Added an Appendix ... containing a Collection of the Statutes Touching Sheriffs made since Mr. Dalton's Writing ... With a New and Copious Table, wherein the Defects ... of the Old Table are Supplyed, [etc.], London: Printed by John Streater, James Flesher, and Henry Twyford, assigns of Richard Atkins and Edward Atkins, and are to be sold by George Sawbridge, [etc.], p. 376, OCLC 12414543. - ↑ Edward Umfreville (1761), Lex Coronatoria: Or the Office and Duty of Coroners, [etc.], London: [s.n.], p. 536, OCLC 79529094, 2 vols.; Attorney-General v. Moore, p. 683; Attorney-General of the Duchy of Lancaster v. G.E. Overton (Farms) Ltd., p. 287.
- ↑ Attorney-General v. Moore; Attorney-General v. Trustees of British Museum.
- ↑ Home Office Instruction 159308/14 dated 30 June 1925; Home Office Instruction 159308/47 dated 12 June 1931.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Richard B. Cunningham (7 February 2000), "The slow death of treasure trove", Archaeology, New York, N.Y.: Archaeological Institute of America, ISSN 0003-8113, สืบค้นเมื่อ 18 January 2008.
- ↑ For comments on difficulties caused by the law relating to treasure trove, see Roger Bland (1996), "Treasure Trove and the Case for Reform", Art, Antiquity and Law, Leicester: Institute of Art and Law: 11, ISSN 1362-2331.
- ↑ Treasure Act (1996 c. 24). See also the Treasure Act 1996 Code of Practice (2nd Revision) England and Wales (PDF), London: Department for Culture, Media and Sport, 19 March 2007, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-03, สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
- ↑ Treasure Act 1996 (Commencement No. 2) Order 1997 S.I. 1997/1977), art. 2.
- ↑ Treasure Act, ss. 4 (1), 4 (4).
- ↑ Treasure Act, s. 6 (2).
- ↑ Treasure Act, s. 6 (3).
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 Lord Mackay of Clashfern, ed. (2006 Reissue), Halsbury's Laws of England, vol. 9 (2) (4th ed.), London: LexisNexis Butterworths, pp. 623–629
{{citation}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help), paras. 1077–1100. - ↑ Treasure Act, s. 1 (1).
- ↑ "Coin" includes any metal token which was, or can reasonably be assumed to have been, used or intended for use as or instead of money: Treasure Act, ss. 3 (1), 3 (3).
- ↑ An object which can reasonably be taken to be at least a particular age is to be presumed to have been at least that age, unless shown not to be: Treasure Act, ss. 3 (1), 3 (6).
- ↑ Treasure Act, ss. 3 (1), 3 (3).
- ↑ The figure of 10% was chosen because if an alloy has more than 10% gold or silver, it shows that one of those precious metals was deliberately added to the alloy. It also excludes objects which are merely plated with gold or silver: House of Commons Official Report SC F (Treasure Bill), 17 April 1996, cols. 10 and 11.
- ↑ An object is part of the same find as another object if (1) they are found together; (2) the other object was found earlier in the same place where they had been left together; or (3) the other object was found earlier in a different place, but they had been left together and had become separated before being found: Treasure Act, ss. 3 (1), 3 (4).
- ↑ Treasure Act, s. 2 (1).
- ↑ Treasure (Designation) Order 2002 (S.I. 2002/2666), art. 3.
- ↑ Treasure (Designation) Order 2002, art. 2.
- ↑ An object is of prehistoric date if it dates from the Iron Age or any earlier period: Treasure (Designation) Order 2002, art. 2.
- ↑ Under the Treasure Act, s. 2 (2).
- ↑ Treasure Act, s. 1 (2). As at 2006, no designation had been made.
- ↑ The term "wreck" includes flotsam (floating debris from a shipwreck), jetsam (goods thrown overboard from a ship in distress to lighten its load), lagan (goods found or left on the sea floor) and derelict (abandoned goods) found in or on the shores of the sea or any tidal water: Merchant Shipping Act 1995, s. 255 (1), made applicable by the Treasure Act, ss. 3 (1), 3 (7).
- ↑ Treasure Act, ss. 3 (1), 3 (7).
- ↑ Coroners Act 1988 (1998 c. 13), s. 30.
- ↑ Treasure Act, ss. 8 (1), 8 (2).
- ↑ Treasure Act, s. 8 (3).
- ↑ Treasure Act, s. 7 (4).
- ↑ Treasure Act, ss. 9 (2), 13 (b).
- ↑ Treasure Act, s. 9 (3).
- ↑ Treasure Act, ss. 9 (5), 9 (7).
- ↑ Under the Coroners Act, s. 13, or by way of judicial review.
- ↑ Treasure Act, ss. 10 (1), 10 (2).
- ↑ Treasure Act, s. 10 (5).
- ↑ Treasure finds, Department for Culture, Media and Sport, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07, สืบค้นเมื่อ 12 April 2008.
- ↑ Treasure Act, s. 10 (3).
- ↑ "The Scheme's history", Portable Antiquities Scheme, Department for Culture, Media and Sport, 2006, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11, สืบค้นเมื่อ 14 April 2008.
- ↑ "Frequently asked questions about the Scheme", Portable Antiquities Scheme, Department for Culture, Media and Sport, 2006, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-01, สืบค้นเมื่อ 14 April 2008.
- ↑ Maev Kennedy (24 September 2009), "Largest ever hoard of Anglo-Saxon gold found in Staffordshire: First pieces of gold were found in a farm field by an amateur metal detector who lives alone on disability benefit", The Guardian; "Anglo-Saxon gold: largest ever hoard officially declared treasure", The Daily Telegraph, 24 September 2009.
- ↑ Treasure Act, s. 15 (3).
- ↑ 64.0 64.1 "The legal position", Treasure Trove [Scotland], Crown Office and Procurator Fiscal Service, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-27, สืบค้นเมื่อ 13 April 2008.
- ↑ Lord Patrick in Lord Advocate v. University of Aberdeen 1963 S.C. 533 at p. 554, Inner House, Court of Session, citing Sands v. Bell & Balfour (22 May 1810), F.C.; William Hunter, Lord Hunter in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 549, Outer House, Court of Session, citing an earlier edition of George Joseph Bell; William Guthrie (1989), Principles of the Law of Scotland (10th, rev. and enl. ed.), Edinburgh; London: Law Society of Scotland; Butterworths, ISBN 9780406179036, s. 1291 (3).
- ↑ Lord Mackintosh in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 561, Outer House, citing an earlier edition of John Erskine of Carnock; James Badenach Nicolson (1989), An Institute of the Law of Scotland (8th ed.), Edinburgh: Law Society of Scotland, ISBN 9780406178978, vol. 2, ch. 1, pp. 11–12.
- ↑ Lord Hunter in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 543, citing an earlier edition of Andrew MacDowall, Lord Bankton (1993), An Institute of the Laws of Scotland in Civil Rights: Vol. 1. with Observations upon the Agreement or Diversity between them and the Laws of England, Edinburgh: Stair Society, ISBN 9781872517056, ch. 3, pp. 14–16 and 18.
- ↑ Lord Hunter, Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 542, citing Thomas Craig; James Avon Clyde, transl. (1934), The Jus Feudale ... With an Appendix Containing the Books of the Feus, Edinburgh; London: William Hodge & Co., OCLC 15085710, vol. 1, ch. 16, pp. 40 and 45; James Dalrymple, Viscount Stair; John S. More, ed. (1832), The Institutions of the Law of Scotland, Deduced from its Originals, and Collated with the Civil, Canon, and Feudal Laws, and with the Customs of Neighbouring Nations (2nd, rev., corr. & much enl. ed.), Edinburgh: Bell & Bradfute, OCLC 60714357
{{citation}}
:|author2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help), vol. 2, ch. 3, p. 60, and vol. 3, ch. 3, p. 27; Bankton, An Institute of the Laws of Scotland in Civil Rights, vol. 1, ch. 3, p. 16; and Bell, Principles of the Law of Scotland, s. 1293. - ↑ Angus MacKay (29 March 2000), Justice and Home Affairs Committee Official Report [Meeting No 13, 2000], Scottish Parliament, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-15, สืบค้นเมื่อ 2010-05-04, col. 1010.
- ↑ Lord Hunter in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 548, Outer House, citing Bankton, An Institute of the Laws of Scotland in Civil Rights, vol. 1, ch. 8, p. 9.
- ↑ Lord Mackintosh in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 559, Inner House; see also Lord Patrick in the same case, p. 555.
- ↑ Lord Mackintosh in Lord Advocate v. University of Aberdeen, pp. 559–560, Inner House.
- ↑ Lord Hunter in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 548, Outer House, citing More's notes to Stair, The Institutions of the Law of Scotland, vol. 1, p. cxlvi.
- ↑ Lord Mackintosh in Lord Advocate v. University of Aberdeen, p. 559, Inner House.
- ↑ 75.0 75.1 75.2 "What happens when a find is claimed as treasure trove?", Treasure Trove [Scotland], Crown Office and Procurator Fiscal Service, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18, สืบค้นเมื่อ 13 April 2008.
- ↑ "Rewards to finders of treasure trove", Treasure Trove [Scotland], Crown Office and Procurator Fiscal Service, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-24, สืบค้นเมื่อ 13 April 2008.
- ↑ In Favorite v. Miller 407 A. 2d 974 (Connecticut, 1978), the court stated that the "strict definition" that limited treasure trove to gold and silver objects was "well-established" in US law.
- ↑ Terry v. Lock 37 S.W. 3d 202 at p. 206 (Arkansas, 2001).
- ↑ Favorite v. Miller, at p. 978 n. 2 (the court held it was unnecessary to decide the issue definitively).
- ↑ Hill v. Schrunk 292 P. 2d 141 at p. 143 (Oregon, 1956).
- ↑ In Terry v. Lock, 11 years was held to be too little time, whereas in Benjamin v. Lindner Aviation, Inc. 534 N.W. 2d 400 at p. 407 (Iowa, 1995) and Ritz v. Selma United Methodist Church 467 N.W. 2d 266 at p. 269 (Iowa, 1991) the view was taken that periods of 35 and 59 years respectively might be sufficient.
- ↑ John M. Kleeberg, Treasure Trove Law in the United States (PDF), Numismatik.org – Texte und Materialien zur Numismatik [Texts and Materials about Numismatics], pp. 15–16, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-07, สืบค้นเมื่อ 13 April 2008.
- ↑ William Blackstone; Wayne Morrison (ed.) (2001), Blackstone's Commentaries on the Laws of England, vol. 2, London: Cavendish, p. 296, ISBN 9781859414828 (set)
{{citation}}
:|author2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help) and James Kent (1873), Oliver Wendell Holmes, Jr. (บ.ก.), Commentaries on American Law, vol. 2 (12th ed.), Boston, Mass.: Cambridge [printed], pp. 357–358, OCLC 794522, cited in Kleeberg, p. 17. - ↑ Corliss v. Wenner 34 P. 3d 1100 (Idaho C.A., 2001).
- ↑ Morgan v. Wiser 711 S.W. 2d 220 (Tennessee Court of Appeals, 1985).
- ↑ In re Escheat of $92,800 (Philadelphia County Court of Common Pleas, 1948) : see "Note, Treasure Trove – History and Development", Temple Law Quarterly, 22: 326 at pp. 339–341, 1948–1949.
- ↑ In re Rogers 62 A. 2d 900 at p. 903 (Philadelphia, 1949).
- ↑ Kleeberg, p. 18.
- ↑ See, for example, Alaska Statutes §12.36.045; California Civil Code §2050; New York Personal Property Law §254 (Consolidated, 1988) ; Wisconsin Statutes and Annotations §§170.07–11.
- ↑ New Jersey Statutes Annotated §46:30C-4.
- ↑ Indiana Code §32-34-8-9.
- ↑ Vermont Statutes Annotated, title 27, §1105.
- ↑ Maine Revised Statutes Annotated, title 33, §1056.
- ↑ Kleeberg, pp. 18–19.
- ↑ Kleeberg, p. 14.
- ↑ Barker v. Bates 23 Am. Dec. 678 (Massachusetts, 1832) ; Mitchell v. Oklahoma Cotton Growers' Ass'n 235 P. 597 at p. 599 (Oklahoma, 1925) ; Niederlehner v. Weatherley 54 N.E. 2d 312 at p. 315 (Ohio C.A., 1943) ; Bishop v. Ellsworth 234 N.E. 2d 49 (Illinois C.A., 1968) ; Favorite v. Miller; Morgan v. Wiser, pp. 222–223.
- ↑ Favorite, p. 977.
- ↑ Kleeberg. p. 19.
- ↑ See, for example, Ray v. Flower Hospital 439 N.E. 2d 942 (Ohio C.A., 1981).
- ↑ Foster v. Fiduciary Safe Deposit Co. 145 S.W. 139 (Missouri Court of Appeals, 1912) ; Dennis v. Nw. National Bank 81 N.W. 2d 254 (Minnesota, 1957).
- ↑ McDonald v. Railway Express Agency, Inc. 81 S.E. 2d 525 (Georgia Court of Appeals, 1954).
- ↑ Jackson v. Steinburg 200 P. 2d 376 (Oregon, 1948) ; Flax v. Monticello Realty Co. 39 S.E. 2d 308 (Virginia, 1946).
- ↑ Kleeberg, pp. 20–22.
- ↑ Arizona Revised Statutes §12-941; Florida Statutes §705.104; New York Personal Property Law §256 (Consolidated, 1988) ; Washington Revised Code §63.21.070; Wisconsin Statutes and Annotations §170.105; In re Funds in the Possession of Conemaugh Township Supervisors 724 A. 2d 990 (Philadelphia Commw. Ct., 1999) ; Pennsylvania v. $7,000.00 in U.S. Currency 742 A. 2d 711 (Philadelphia Commw. Ct., 1999).
- ↑ Farrare v. City of Pasco 843 P. 2d 1082 (Washington Court of Appeals, 1992) (baggage examiner in airport).
- ↑ Morrison v. US 492 F. 2d 1219 (Ct. Cl., 1974).
- ↑ Kleeberg, pp. 21–22.
- ↑ 16 United States Code §§470aa–mm (2000).
- ↑ 25 United States Code §§3001–3013 at §3002.
- ↑ Kleeberg, pp. 22–23.
ทั่วไป
[แก้]- Cunningham, Richard B. (7 February 2000), "The slow death of treasure trove", Archaeology, New York, N.Y.: Archaeological Institute of America, ISSN 0003-8113, สืบค้นเมื่อ 18 January 2008.
- Kleeberg, John M., Treasure Trove Law in the United States (PDF), Numismatik.org – Texte und Materialien zur Numismatik [Texts and Materials about Numismatics], คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-07, สืบค้นเมื่อ 13 April 2008.
- Lord Mackay of Clashfern, บ.ก. (2006), Halsbury's Laws of England (Reissue), vol. 9 (4th ed.), London: LexisNexis Butterworths, pp. 623–629
{{citation}}
:|format=
ต้องการ|url=
(help), paras. 1077–1100. - Official website for treasure trove in Scotland, 31 March 2008, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2007, สืบค้นเมื่อ 13 April 2008.
- Lord Simonds, บ.ก. (1954), Halsbury's Laws of England, vol. 7 (3rd ed.), London: Butterworths & Co., p. 540, paras. 1161–1163.
- Lord Simonds, บ.ก. (1954), Halsbury's Laws of England, vol. 8 (3rd ed.), London: Butterworths & Co., pp. 543–544, paras. 1039–1040.
คดี
[แก้]- Attorney-General v. Moore [1893] 1 Ch. 676
- Attorney-General v. Trustees of the British Museum [1903] 2 Ch. 598
- Attorney-General of the Duchy of Lancaster v. G.E. Overton (Farms) Ltd. [1982] Ch. 277, C.A.
- Lord Advocate v. University of Aberdeen 1963. S.C. 533
- R. v. Thomas & Willett (1863) Le. & Ca. 313, 12 W.R. 108
ดูเพิ่ม
[แก้]บทความ
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]- Bland, Roger (1996), "Treasure Trove and the Case for Reform", Art, Antiquity and Law, Leicester: Institute of Art and Law: 11, ISSN 1362-2331.
- Fincham, Derek (2008), "A Coordinated Legal and Policy Approach to Undiscovered Antiquities: Adapting the Cultural Heritage Policy of England and Wales to Other Nations of Origin", International Journal of Cultural Property, 15 (3): 347–370, doi:10.1017/S094073910808020X, S2CID 159695848.
- Hanworth, Rosamund (1995), "Treasure Trove: New Approaches to Antiquities Legislation", ใน Tubb, Kathryn Walker (บ.ก.), Antiquities: Trade or Betrayed – Legal, Ethical and Conservation Issues, London: Archetype in conjunction with United Kingdom Institute for Conservation of Historic and Artistic Works (UKIC) Archaeology Section, pp. 173–175, ISBN 978-1-873132-70-8.
- Miller, David L. Carey; Sheridan, Alison (1996), "Treasure Trove in Scotland", Art, Antiquity and Law: 393.
- Palmer, Norman (1981), "Treasure Trove and the Protection of Antiquities", Modern Law Review, 44 (2): 178, doi:10.1111/j.1468-2230.1981.tb02745.x.
- Palmer, Norman E. (1993), "Treasure Trove and Title to Discovered Antiquities", International Journal of Cultural Property, 2 (2): 275–318, doi:10.1017/S0940739193000335, S2CID 162644707.
- Ward, Allan (1992), "Treasure Trove and the Law of Theft", International Journal of Cultural Property, 1 (1): 195–198, doi:10.1017/S094073919200016X, S2CID 159762462.
สหรัฐอเมริกา
[แก้]- Bradley, Lawrence D. Jr. (September 2000), "U.S. Treasure Trove Law", GPSolo, 17 (6), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04, สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
- Finders Keepers, Losers Weepers, New York State Museum, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-26, สืบค้นเมื่อ 15 April 2008.
- Gerstenblith, Patty (1995), "Identity and Cultural Property: The Protection of Cultural Property in the United States", B.U. L. Rev., 75: 559 at 596–597.
- Izuel, Leeanna (1991), "Note, Property Owners' Constructive Possession of Treasure Trove: Rethinking the Finders Keepers Rule", UCLA Law Review, 78: 1659 at 1692.
- "Keep or Weep?", Time, 13 March 1964, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2009.
- Krys, Roman (1982), "Treasure Trove under Anglo-American Law", Anglo-American Law Review, 11 (3): 214, doi:10.1177/147377958201100302, S2CID 159726774.
- "Annotation, Modern Status of Rules as to Ownership of Treasure Trove as between Finder and Owner of Property on which Found", A.L.R., 61: 1180, 1988.
หนังสือ
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]- Beard, Charles Relly (1933), The Romance of Treasure Trove, London: Sampson Low & Co, OCLC 9567664.
- Buildings, Monuments and Sites Division, Department for Culture, Media and Sport, Treasure Annual Report, London: Department for Culture, Media and Sport, OCLC 439000765
{{citation}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Carman, John (1996), Valuing Ancient Things: Archaeology and Law, London; New York, N.Y.: Leicester University Press, ISBN 978-0-7185-0012-2.
- Hill, George Francis (1936), Treasure Trove in Law and Practice, from the Earliest Time to the Present Day, Oxford: Clarendon Press, OCLC 7330579.
- Normand, Andrew C. (2003), Review of Treasure Trove Arrangements in Scotland, Edinburgh: Scottish Executive, ISBN 978-0-7559-0970-4.
- Queen's and Lord Treasurer's Remembrancer (2007), Treasure Trove in Scotland: Annual Report by the Queen's and Lord Treasurer's Remembrancer, Edinburgh: RR Donelly, OCLC 226090979.
- The Reform of Treasure Trove Arrangements in Scotland, [Scotland]: Scottish Executive, 2003, ISBN 978-0-7559-0971-1.
- Rhind, Alexander Henry (1858), British Archæology: Its Progress and Demands. (The Law of Treasure Trove: How Can It be Best Adapted to Accomplish Useful Results?), Edinburgh: Thomas Constable and Co., OCLC 34268368, สืบค้นเมื่อ 29 May 2018 – โดยทาง Internet Archive, 2 pts.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กรุสมบัติ