ข้ามไปเนื้อหา

หน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรีนเบอเรต์)
หน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ
ตราประจำเหล่ารบพิเศษ
ประจำการ
  • 19 มิถุนายน ค.ศ. 1952 (ก่อตั้งกลุ่ม 10 แรก)[1][2]
  • 9 เมษายน ค.ศ. 1987 (วันก่อตั้งทางการ)[3][4][5]
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
เหล่า กองทัพบกสหรัฐ
รูปแบบหน่วยรบพิเศษ
บทบาทงานเฉพาะกิจหลัก:
  • การสงครามนอกแบบ
  • ป้องกันความมั่นคงภายในประเทศ
  • การปฏิบัติการโดยตรง
  • การปราบปรามการก่อกบฏ
  • การลาดตระเวนพิเศษ
  • การต่อต้านการก่อการร้าย
  • ปฏิบัติการข่าวสาร
  • การต่อต้านการแพร่กระจาย
  • การช่วยรักษาความปลอดภัย
ขึ้นกับ หน่วยบัญชาการรบพิเศษที่ 1
หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพบกสหรัฐ
หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐ
Headquartersค่ายแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา
สมญาเบอเรต์เขียว, ผู้เชี่ยวชาญด้านความเงียบ[6],ทหาร-เหล่านักการทูต,ตัวกินงู,ไอ้เครา,จักรวรรดิแดง[7]
คำขวัญเพื่อปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ (De Oppresso Liber)
สีของเบอเรต์      สีเขียวไรเฟิล
เพลงหน่วย"The Ballad of the Green Berets"
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์www.soc.mil/USASFC/HQ.html

หน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ (อังกฤษ: United States Army Special Forces) หรือชื่อเล่นคือ กรีนเบอเรต์ (อังกฤษ: Green Berets) ก่อตั้งขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมาชิกของหน่วยถูกฝึกมาสำหรับงานก่อวินาศกรรม การกระโดดร่ม การปฏิบัติงานทั้ง บกและทางน้ำ การปีนเขาและสกี ทว่าทหารหน่วยนี้เป็นที่รู้จักในช่วงสงครามเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ. 2510 – 2515 นอกเหนือจากการเป็นหัวหอกการรบในสมรภูมิ วีรกรรมอันโด่งดังของกรีนเบเร่ต์ในที่นี้คือ การฝึกหน่วยรบนอกแบบหรือยุทธวิธีการรบแบบกองโจร(Guerilla faction) ให้กับกองทัพเวียดนามใต้ใช้ต่อสู้กับเวียดนามเหนือ โดยใช้กลยุทธ์ในแบบฉบับ "setting a thief to catch a thief " ซึ่งได้ผลดีเกินคาดเพราะทำให้กองกำลังเล็กๆสามารถสู้กับกองทัพเต็มรูปแบบได้

เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง แม้ฝ่ายใต้จะพ่ายแพ้สงครามให้ฝ่ายเหนือ แต่กรีนเบเร่ต์ก็ทำให้โลกได้รู้จักกับ"ยุทธวิธีการรบแบบกองโจร"ในสงครามสมัยใหม่เป็นหนแรก ก่อนจะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเรื่อยมาในกองกำลังต่างๆทั่วโลก

กรีนเบเร่ต์ยังถือเป็นหน่วยแรกสุดของกองทัพบก สหรัฐฯ ที่การย่างเท้าเข้าสู้ประเทศอัฟกานิสถานเพื่อเปิดฉากปฏิบัติการเด็ดหัวนาย อุซามะห์ บินลาดิน หัวหน้ากลุ่มอัลกออิดะห์ ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งกบดานอยู่บริเวณรอยต่อของอัฟกานิสถานและปากีสถาน ก่อนจะถูกปิดฉากการไล่ล่า 11 ปีลงด้วยหน่วยซีลทีมซิกซ์

กรีนเบเร่ต์ยังถือเป็นหน่วยแรกของกองทัพสหรัฐฯที่ก้าวเท้าเข้าสู่อัฟกานิสถานเพื่อตามไล่ล่าตัว อุซามะห์ บินลาดิน หัวหน้ากลุ่มอัลกออิดะห์ ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 11 กันยา

สมาชิกของกรีนเบอเรต์เป็นอาสาสมัคร ต้องมีความสามารถทางโดดร่ม ผ่านโปรแกรม การฝึกที่เข้มข้นยาวนานประมาณ 44 – 62 สัปดาห์ คัดผู้ที่ไม่เหมาะสมออกไป และทหารทุกคน ต้องมีทักษะทางด้านต่อสู้ไหวพริบ และความฉลาด การใช้อาวุธพิเศษ การติดต่อสื่อสารหรือ ความชำนาญในการใช้ภาษาต่างประเทศ แต่ละกลุ่มของกรีนเบอเรต์ จะมีตรารูปโล่เป็นสีต่าง ๆ ติดอยู่บนหมวก

แผ่นปะของหน่วยรบพิเศษกรีนเบอเรต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "How the Green Berets got their name". Army Times. 14 July 2020.
  2. "History of the Special Forces". goarmy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-11. สืบค้นเมื่อ 2021-07-18.
  3. "Army Birthdays (Branch Birthdays)".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Image of Order No. 35".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-12-23.
  6. Stanton, Doug (24 June 2009). "The Quiet Professionals: The Untold Story of U.S. Special Forces in Afghanistan". Huffington Post.
  7. "Most Popular E-mail Newsletter". USA Today. 9 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-18.
  8. "Inside the Green Berets' Hunt for Wanted Warlord Joseph Kony". NBC News. 6 March 2017.
  9. "Special Operations Troops From 15 Countries Conduct Allied Spirit VI". Department of Defence. 29 March 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]