กระเล็น
กระเล็น ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลโอซีนยุคสุดท้าย - ปัจจุบัน | |
---|---|
กระเล็นขนปลายหูสั้น (T. macclellandi) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Sciuridae |
วงศ์ย่อย: | Callosciurinae หรือ Sciurinae[1] |
เผ่า: | Callosciurini |
สกุล: | Tamiops Allen, 1906 |
ชนิด | |
|
กระเล็น หรือ กระถิก หรือ กระถึก[2] เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระรอก ใช้ชื่อสกุลว่า Tamiops
กระเล็นจัดว่าเป็นกระรอกขนาดเล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย ขนาดโดยเฉลี่ยรวมความยาวทั้งลำตัว, หัว และหางแล้วประมาณ 20 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดำพาดขนานตามยาวของลำตัวเห็นเด่นชัด ตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง คล้ายกับลายของชิพมังค์ (Tamias spp.) ซึ่งเป็นกระรอกขนาดเล็กเช่นกัน แต่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนหางของกระเล็นจะไม่เป็นพวงฟูเหมือนกระรอกทั่วไป ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 6 เต้า[3]
กระเล็นหากินในเวลากลางวัน หากินบนต้นไม้สูง ๆ เป็นหลัก กินอาหารได้หลากหลายเหมือนกระรอกทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้, ตอนใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งหมด 4 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ 2 ชนิด[2] พบได้ทั่วไปทั้งในป่าทึบหรือในชุมชนเมือง โดยที่ไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนแต่ประการใด[4]
การจำแนก
[แก้]- Tamiops macclellandi (Horsfield, 1840) – กระเล็นขนปลายหูสั้น (พบได้ในประเทศไทย)
- Tamiops maritimus (Bonhote, 1900) – กระเล็นมาริไทม์
- Tamiops rodolphei (Milne-Edwards, 1867) – กระเล็นขนปลายหูยาว (พบได้ใประเทศไทย)
- Tamiops swinhoei (Milne-Edwards, 1874) – กระเล็นสวินโฮ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Tamiops". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ 2.0 2.1 กระเล็น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ Thorington, R. W. Jr. and R. S. Hoffman. 2005. Family Sciuridae. pp. 754–818 in Mammal Species of the World a Taxonomic and Geographic Reference. D. E. Wilson and D. M. Reeder eds. Johns Hopkins University Press, Baltimore.
- ↑ สัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tamiops ที่วิกิสปีชีส์