กระหม่อมหน้า
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle) | |
---|---|
มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง | |
กระหม่อมหน้าของทารก อายุ 1 เดือน | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | f. posterior |
TA98 | A02.1.00.028 |
TA2 | 432 |
FMA | 75439 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
กระหม่อมหน้า (อังกฤษ: anterior fontanelle, bregmatic fontanelle หรือ frontal fontanelle) เป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ที่จุดร่วมของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture), รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture), และรอยประสานหน้าผาก (frontal suture) มีรูปร่างเหมือนเพชรหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในแนวหน้าหลังยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และในแนวขวางประมาณ 2.5 เซนติเมตร กระหม่อมช่วยทำให้กะโหลกศีรษะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เล็กน้อยขณะคลอดเพื่อช่วยในการผ่านช่องคลอดและช่วยให้กะโหลกขยายได้เมื่อมีการขยายขนาดของสมองหลังคลอด
ในขณะที่กระหม่อมหลังและกระหม่อมด้านข้างจะปิดประมาณ 6 เดือนหลังคลอด กระหม่อมหน้าจะยังไม่ปิดจนกระทั่งถึงประมาณกลางขวบปีที่ 2 การกลายเป็นกระดูก (ossification) จะเริ่มเต็มที่เมื่อปลายอายุ 20 และสิ้นสุดก่อนอายุ 50 ปี
ความสำคัญทางคลินิก
[แก้]กระหม่อมมีความสำคัญและมีประโยชน์ในทางคลินิก การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้ายุบลงแสดงถึงภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในขณะที่หากกระหม่อมหน้าตึงหรือปูดโปนออกมามากแสดงถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) อย่างไรก็ตามการนูนของกระหม่อมหน้าอาจไม่ได้บ่งบอกถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกเสมอไป หากทารกร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้กระหม่อมนูนในลักษณะเดียวกันเช่นกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]- เบรกมา (Bregma)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- NIC25 at FPnotebook เก็บถาวร 2008-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- -556793806 ที่ GPnotebook
- กายวิภาคศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต skel/fetal2