กระรอกดินเคป
กระรอกดินเคป | |
---|---|
กระรอกดินเคปที่เขตอนุรักษ์ครูเกอร์ดรอป, กาวเต็ง, แอฟริกาใต้ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Sciuridae |
สกุล: | Xerus |
สกุลย่อย: | Geosciurus |
สปีชีส์: | X. inauris |
ชื่อทวินาม | |
Xerus inauris (Zimmerman, 1780) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
กระรอกดินเคป (อังกฤษ: Cape ground squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Xerus inauris) สัตว์ฟันแทะจำพวกกระรอก จัดเป็นกระรอกดินชนิดหนึ่ง โดยชื่อกระรอกดินเคปนี้อาจทำให้สับสนกับกระรอกต้นไม้ เช่น กระรอกสีเทาตะวันออก ที่พบได้ทั่วไปในเคปทาวน์ ซึ่งนำเข้ามาจากยุโรป โดย เซซิล จอห์น โรดส์
กระรอกดินเคป อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงหรือครอบครัวเล็ก ๆ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ ตั้งแต่แอฟริกาใต้ตลอดจนถึงบอตสวานา และนามิเบีย และพบได้ในทะเลทรายคาลาฮารี โดยพฤติกรรมในทะเลทรายคาลาฮารี มักจะอาศัยอยู่ใกล้กับฝูงเมียร์แคท จนบางครั้งทำให้สับสนกันว่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน เนื่องจากมีรูปร่าง ลักษณะ จนถึงพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน มีหางยาวเป็นพวงเหมือนกระรอกทั่วไป โดยใช้ประโยชน์ของหางที่มียาวกว่าความยาวลำตัวนี้ในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย โดยใช้หางห่อหุ้มลำตัวบังแดด กระรอกดินเคปจะลดความร้อนด้วยการนอนราบกับพื้นและเหยียดขาทั้งสี่ข้างออก และใช้พลังงานในการดำรงชีวิตได้ถึงร้อยละ 5 ซึ่งถ้าหากอากาศร้อนเกินไป จะหลบหรือขุดหลุมเข้าไปหลบร้อน และเมื่ออากาศหนาวก็จะเข้าไปอยู่ในหลุม กินอาหารจำพวกเมล็ดพืชและดอกไม้ โดยที่ชื่นชอบคือ พืชที่มีความอ่อนนุ่ม เช่น เมลอน หรือแตงโม
หลุมหรือโพรงของกระรอกดินเคป มีความยาวถึง 20 เมตร ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงดูลูก และหลบภัย ซึ่งบางครั้งจะมีสัตว์ชนิดอื่นเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมด้วย[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ {{{assessors}}} (2008). Xerus inauris. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 8 January 2009.
- ↑ หน้า 7 จุดประกาย WILD, คาราฮารีมีหาง. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10456 วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560