ข้ามไปเนื้อหา

กระบองลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟนบาสเก็ตบอลชายของ Kansas Jayhawks เฉลิมฉลองช่วงดึกที่ Phog ด้วยกระบองลมเชียร์กีฬา
กระบองลมเชียร์กีฬาที่ยังไม่ได้เป่าลม

กระบองลม หรือ กระบองลมเชียร์กีฬา หรือ กระบองพลาสติกอัดลม[1] (Thundersticks - ธันเดอร์สติ๊ก) บางครั้งเรียกว่า แบมแบม เป็นลูกโป่งพลาสติกทรงกระบอกยาวที่ใช้ในการสร้างเสียงที่ดังกว่ามากและใช้แรงน้อยกว่าการตบมือ โดยการตีกระบองลมสองอันกระทบกัน นอกจากนี้ยังใช้โบกประกอบจังหวะการเชียร์และสามารถพกพาได้สะดวกด้วยการเป่าลมเมื่อต้องการใช้ โดยทั่วไปมักใช้ในการแข่งขันกีฬา

ที่มาและความนิยม

[แก้]

กระบองลมเชียร์กีฬา หรือธันเดอร์สติ๊ก (thunderstick) ในภาษาอังกฤษเนื่องจากมีเสียงที่ดัง หรือเรียกในภาษาเกาหลีว่า 막대풍선 (makdae pungseon แปลว่า แท่งบอลลูน) เนื่องจากสร้างและใช้ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2537 ในเกาหลีใต้ผลิตโดย Balloon Stix Korea ในการแข่งขันเบสบอลของทีมแอลจีทวินส์ (LG Twins)[2][3][4][5] ต่อมาพวกเขาได้รับความนิยมในอเมริกาเหนือ เมื่อแฟน ๆ ของ Anaheim Angels ใช้ในช่วง World Series ปี 2002 ปัจจุบันแฟนกีฬาหลายทีมใช้กระบองลมเชียร์เพื่อแสดงการเชียร์กีฬา เช่น ฟุตบอล[6] วอลเล่ย์บอล วิ่งทางไกล[7] และยังใช้ในกิจกรรมการแสดงอื่น ๆ รวมทั้งในการแสดงคอนเสิร์ต แต่ปัจจุบันกระบองลมถูกลดความนิยมเนื่องจากสร้างความรำคาญต่อผู้อื่นและบดบังการชมกีฬา[8] และถูกห้ามนำเข้าคอนเสิร์ตเนื่องจากมีเสียงที่ดังเกิน รบกวนการแสดงและผู้ชมอื่น ๆ [9] และเปลี่ยนไปใช้แท่งไฟหรือป้ายไฟต่าง ๆ แทน

กระบองลมเชียร์กีฬาบางครั้งก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น "แบงเกอร์" [10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อุปกรณ์การเชียร์กีฬาอื่น ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ไทยรัฐ ตร.เชียงใหม่ผวา นำกำลังตรึงแดง ที่แท้เกาหลีใต้เชียร์บอล 12 มิถุนายน 2553.
  2. "막대풍선이란?". 벌룬스틱스 코리아 주식회사. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-31. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  3. "전태수 사장이 밝히는 막대풍선의 역사". 동아닷컴 (ภาษาเกาหลี). 27 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-20. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  4. Mercer, Bobby (18 March 2011). ManVentions: From Cruise Control to Cordless Drills - Inventions Men Can't Live Without (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 9781440510748. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  5. ReadAlert เกิดทันมั้ย? แท่งไฟแบบเนี้ย! เก็บถาวร 2021-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 12 พฤศจิกายน 2562.
  6. ไทยรัฐ ตร.เชียงใหม่ผวา นำกำลังตรึงแดง ที่แท้เกาหลีใต้เชียร์บอล 12 มิถุนายน 2553.
  7. Pantip Buriram Marathon งานมาราธอนที่นักวิ่งมีความสุขที่สุดและยิ่งใหญ่ไม่เหมือนใคร 15 กุมภาพันธ์ 2560.
  8. Jeff Raasch Thunder sticks steal thunder from real cheering[ลิงก์เสีย] Iowa State Daily, 23 ตุลาคม 2545.
  9. กฎระเบียบและข้อห้ามคอนเสิร์ต 4 กุมภาพันธ์ 2561.
  10. Daniel Engber. "Who Made That Inflatable Noisemaker?" The New York Times, June 13, 2014