ข้ามไปเนื้อหา

กระบวนการเพลตแห้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบวนการเพลตแห้ง (อังกฤษ: dry plate process) เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1867 โดย B.J.Sayce และ W.B. Bojton ได้ร่วมคิดค้นวัตถุไวแสงและพบว่าเยื่อไวแสงโคโลเดียน โดยใช้ซิลเวอร์โบรไมด์และซิลเวอร์ไนเตรตฉาบบนแผ่นกระจกแล้วผึ่งให้แห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน ถ่ายเมื่อใดก็ได้ และในปี ค.ศ. 1867 มีบริษัท The Liverpool Dry Plate and Photohgraphic Company ผลิตเพลทแห้งออกจำหน่ายแต่ไม่ได้ความนิยมเท่าที่ควร เพราะใช้เวลานานกว่าเพลทเปียกถึง 3 เท่า เมื่อปี ค.ศ. 1871 Dr. Richard Leach Maddox ได้คิดค้นวัตถุไวแสงที่เป็นเจลลาตินขึ้น ชึ่งจากเดิมใช้โคโลเดียนข้อเสียคือ มีกลิ่นเหม็นของอีเธอร์ เจลลาตินมีลักษณะเป็นสารเหนียวใสไม่มีกลิ่น ได้จากการเคี่ยวกระดูกและหนังสัตว์ วิธีการคือเอาเจลลาติน มาแช่น้ำจนชุ่ม แล้วเติมสารแคดเมียมโบรไมด์ลง แล้วเติมสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต ฉาบบนกระจกแล้วผึ่งให้แห้ง

เมื่อปี ค.ศ. 1878 Charles Bennet ได้ปรับปรุงการทำเพลทแห้งโดยนำเอาเพลทที่ฉาบมาล้างในขณะที่ยังหมาดอยู่ เพื่อล้างเกลือเงินที่อยู่ในอีมัลชันออกให้หมด เพราะถ้าทิ้งไว้เพลทอาจมีตำหนิ เบนเนทยังปรับปรุงเรื่องความไวแสงของเพลท และเบนเนทได้ทำเพลทแห้งแบบสำเร็จรูปออกมาจำหน่ายด้วย นับว่าช่วงนี่เป็นจุดเริ่มต้นการถ่ายภาพแบบทันสมัยที่สุด ความนิยมเพลตแห้งแบบเจลลาตินเพราะมีข้อดีคือ

  • ผู้เป็นช่างภาพไม่ต้องทำเพลทใช้เอง
  • ไม่ต้องทนอยู่ในห้องมืดเป็นเวลานานๆ
  • ไม่ต้องรีบล้างเพลททันที

ดูเพิ่ม

[แก้]