ข้ามไปเนื้อหา

กระทุ่มนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทุ่มนา
ภาพวาด "Stephegyne diversifolia"
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: ดอกหรีดเขา
วงศ์: วงศ์เข็ม
สกุล: Mitragyna

(Wall. ex G.Don) Havil.[1]
สปีชีส์: Mitragyna diversifolia
ชื่อทวินาม
Mitragyna diversifolia
(Wall. ex G.Don) Havil.[1]
ชื่อพ้อง

Stephegyne tubulosa Fern.-Vill.
Stephegyne parvifolia Vidal
Stephegyne diversifolia (Wall. ex G.Don) Hook.f.
Stephegyne diversifolia (Wall. ex G.Don) Brandis
Nauclea diversifolia Wall. ex G.Don
Nauclea adina Blanco
Mitragyna javanica Koord. & Valeton
Mamboga capitata Blanco

กระทุ่มนา กระท่อมขี้หมู หรือ ตุ้มแซะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitragyna diversifolia) เป็นพืชในวงศ์เข็ม ลักษณะเป็นไม้ต้น สูง 8–15 เมตร หูใบรูปขอบขนาน ยาว 1–1.5 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือรูปรี ออกเรียงตรงข้าม ยาว 5–16 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1–2.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น เรียงคล้ายช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ หรือช่อซี่ร่ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2 เซนติเมตร มีใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย ยาว 2–3 มิลลิเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายจักตื้น ๆ หลอดกลีบดอกยาว 3–4 มิลลิเมตร กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 2.5–3.5 มิลลิเมตร ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาว 6–7 มิลลิเมตร ออกดอกเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม ผลแบบผลแห้งแตก ช่อผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.3–1.8 เซนติเมตร ผลย่อยรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก[2][3]

กระทุ่มนามีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี[4] ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง ปลูกเป็นไม้ประดับเพราะดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใบกระทุ่มนามีสรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด เปลือกต้นใช้รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Plant List: Mitragyna diversifolia (accessed 3/6/2013
  2. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 22, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  3. "กระทุ่มนา". ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.
  4. "Mitragyna diversifolia (Wall. ex G.Don) Havil. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.
  5. "กระทุ่มนา - อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]