ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงอาณานิคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทรวงอาณานิคม (อังกฤษ: Colonial Office) เป็นหน่วยงานของราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และต่อมาเป็นสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1768 เพื่อดูแลกิจการในอาณานิคมของอังกฤษโดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ เช่น 13 รัฐ และแคนาดาที่เพิ่งยึดมาจากฝรั่งเศส กระทรวงอาณานิคมดำรงอยู่จนถึงปี 1782 จึงรวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทย ในปี 1801 กิจการอาณานิคมได้ถ่ายโอนจากกระทรวงมหาดไทยไปยังกระทรวงสงครามก่อนเกิดสงครามนโปเลียน กลายมาเป็นกระทรวงสงครามและอาณานิคมมีหน้าที่ดูแลและปกป้องอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช กระทรวงอาณานิคมถูกตั้งขึ้นใหม่เป็นหน่วยงานอิสระในปี 1854 ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาณานิคม ในที่สุดก็ได้รวมเข้ากับกระทรวงเครือจักรภพในปี 1966

กระทรวงอาณานิคมยุคที่ 1 (1768–1782)

[แก้]

ก่อนปี 1768 ความรับผิดชอบต่ออาณานิคมของอังกฤษ เป็นหน้าที่หลักของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายใต้ (Secretary of State for the Southern Department) และคณะกรรมการสภาองคมนตรีชุดหนึ่งที่เรียกว่า คณะกรรมการการค้าและการปลูกพืช (Board of Trade and Plantations)[1] ตั้งแต่ปี 1755 เป็นต้นมา หน่วยงานที่เรียกว่า "กรมอินเดียนแดง" มีหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์และติดต่อประสานงานกับชนพื้นเมืองอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ

ในปี 1768 กระทรวงอาณานิคมอเมริกาหรือกระทรวงอาณานิคมแยกออกมาจัดตั้งขึ้น เพื่อดูแลกิจการอาณานิคมในบริติชอเมริกา อย่างไรก็ตาม ด้วยการสูญเสียอาณานิคม 13 แห่ง ทำให้หน่วยงานนี้ถูกยุบเลิกในปี 1782 ความรับผิดชอบต่ออาณานิคมที่เหลืออยู่ถูกมอบให้แก่กระทรวงมหาดไทย และต่อมาในปี 1801 ได้โอนไปยังกระทรวงสงคราม

กระทรวงสงครามและอาณานิคม (1801–1854)

[แก้]

ในปี 1801 กระทรวงสงครามได้มีการปรับโครงสร้างโดยการรวมเอาหน้าที่ดูแลอาณานิคมเข้ามาด้วย ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงสงครามและอาณานิคม โดยสะท้อนถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของอาณานิคม ปี 1825 เป็นปีที่เกิดตำแหน่งใหม่ขึ้นมาในกระทรวงนี้ นั่นคือ ตำแหน่ง "รองปลัดกระทรวงอาณานิคม" เดิมทีตำแหน่งนี้อยู่ในความดูแลของ รอเบิร์ต วิลเลียม เฮย์ ผู้สืบทอดตำแหน่งของเขา ได้แก่ เจมส์ สตีเฟน, เฮอร์แมน เมริเวล, เฟรเดริก โรเจอร์ส, รอเบิร์ต เฮอร์เบิร์ต และรอเบิร์ต เฮนรี มีด[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Colonial Office, The Canadian Encyclopedia
  2. MacLeod, Roy (13 February 2003), Government and Expertise: Specialists, Administrators and Professionals, 1860–1919, Cambridge University Press, p. 168, ISBN 978-0-521-53450-5

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Beaglehole, J.C. (1941). "The Colonial Office, 1782–1854". Historical Studies: Australia and New Zealand. 1 (3): 170–189. doi:10.1080/10314614108594796.
  • Egerton, Hugh Edward. A Short History of British Colonial Policy (1897) 610pp online
  • Laidlaw, Zoë. Colonial connections, 1815–45: patronage, the information revolution and colonial government (Oxford University Press, 2005).
  • McLachlan, N.D. (1969). "Bathurst at the Colonial Office, 1812–27: A reconnaissance∗". Historical Studies. 13 (52): 477–502. doi:10.1080/10314616908595394.
  • Manning, Helen Taft (1965). "Who Ran the British Empire 1830–1850?". Journal of British Studies. 5: 88–121. doi:10.1086/385512. S2CID 145709510.
  • Shaw, A.G.L. (1969). "British Attitudes to the Colonies, ca. 1820–1850". Journal of British Studies. 9: 71–95. doi:10.1086/385581. S2CID 145273743.

แหล่งข้อมูลหลัก

[แก้]
  • Bell, Kenneth Norman, and William Parker Morrell, eds. Select documents on British colonial policy, 1830–1860 (1928)